กิตติกร โล่ห์สุนทร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กิตติกร โล่ห์สุนทร
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
เริ่มดำรงตำแหน่ง
26 กันยายน พ.ศ. 2566
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 (55 ปี)
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสพัชรียา โล่ห์สุนทร

กิตติกร โล่ห์สุนทร เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (ประจำนายสมศักดิ์ เทพสุทิน) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตประธานคณะกรรมาธิการการพลังงานในสภาผู้แทนราษฎร[1] สมาชิกบ้านเลขที่ 109 และเป็นบุตรชายของไพโรจน์ โล่ห์สุนทร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

ประวัติ[แก้]

กิตติกร โล่ห์สุนทร ชื่อเล่น กร[2] เกิดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายไพโรจน์ โล่ห์สุนทร กับนางรำไพ โล่ห์สุนทร มีพี่น้องรวม 5 คน คือ ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร กิตติกร โล่ห์สุนทร ศรินทร โล่ห์สุนทร ณฐาพร โล่ห์สุนทร และนายธนาธร โล่ห์สุนทร[3] จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2534 จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาจนสำเร็จการศึกษาปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ (MBA) จาก Drake University และปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ จาก Iowa State University

ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับพัชรียา (สกุลเดิม: อภินันท์รัตนกุล) เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554

การทำงาน[แก้]

หลังจากจบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ เขาได้ทำงานเป็นวิศวกร ประจำบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ เวนเจอร์ อินเตอร์เนชันแนล (SVI) จากนั้นได้ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2538 ได้กลับมาทำงานเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจประจำการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้เข้าทำงานประจำในโครงการท่อส่งก๊าซฯ และโรงแยกก๊าซไทย–มาเลเซีย กระทั่งในปี พ.ศ. 2548 จึงได้ลาออกมาทำงานการเมือง

นายกิตติกร เข้าสู่งานการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง สังกัดพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมของนายจินดา วงศ์สวัสดิ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยการสนับสนุนของนายไพโรจน์ โล่ห์สุนทร และนายบุญชู ตรีทอง ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 สังกัดพรรคพลังประชาชน ต่อมาเขาถูกตัดสิทธิทางการเมืองเนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เปิดชื่อ 35 ประธาน กมธ. “เสรีพิศุทธ์”นั่งปราบทุจริต
  2. ""กิตติกร โล่ห์สุนทร" ดาวดวงใหม่จากลำปาง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-03-12.
  3. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางสาวตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔