การก่อการกำเริบในลาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การก่อการกำเริบในลาว
ส่วนหนึ่งของ สงครามอินโดจีนครั้งที่สาม
วันที่2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 – พ.ศ. 2551[4]
สถานที่
ม้ง: ภาคกลางและเหนือของประเทศลาว (พ.ศ. 2518–2551)
นิยมเจ้า, ฝ่ายขวา: ลาวใต้ (พ.ศ. 2523–ต้น พ.ศ. 1990)
สถานะ

มีการประกาศสิ้นสุดความขัดแย้งใน พ.ศ. 2551:[4]

  • ชาวม้งที่พยายามก่อรัฐประหาร ซึ่งกล่าวหาว่าจัดการโดยชาวม้งอพยพในสหรัฐเมื่อ พ.ศ. 2550 ถูกทหารลาวปราบได้
  • ผู้วางแผนในอเมริกาถูกนำตัวเข้าไปในศาล (ยกเลิกทุกคดี)
  • ลาวและเวียดนามยุติการเผชิญหน้าที่โดดเด่นใด ๆ ที่มีการทำงานร่วมกันได้ในบริเวณชายแดนลาว
  • ชาวม้งที่อพยพเข้ามาในไทยถูกบังคับส่งตัวกลับ; ที่เหลืออพยพไปยังสหรัฐและเฟรนช์เกียนา
คู่สงคราม

ลาว ลาว

เวียดนาม เวียดนาม
 เวียดนามเหนือ (ถึง พ.ศ. 2519)
 สหภาพโซเวียต (ถึง พ.ศ. 2532)

กบฏชาวม้ง


กษัตริย์นิยม


ฝ่ายขวา

สนับสนุนโดย:
จีน ประเทศจีน (ถึง พ.ศ. 2531)[1]
กัมพูชา กัมพูชาประชาธิปไตย (ถึง พ.ศ. 2522)
กัมพูชา เขมรแดง
กัมพูชา พรรคกัมพูชาประชาธิปไตย (พ.ศ. 2524 - 2533)
ไทย ประเทศไทย (ฝ่ายขวา: ตั้งแต่ต้นถึงกลางพุทธทศวรรษ 2523) (ม้ง: ถึง พ.ศ. 2533)
สหรัฐ สหรัฐ (ม้ง: พ.ศ. 2533)
Neo Hom (2524–2550)[2][3]
ลาว รัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่น

ชาวม้งอพยพหลายกลุ่ม
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ลาว จูมมะลี ไซยะสอน
(พ.ศ. 2549–50)
ลาว คำไต สีพันดอน
(พ.ศ. 2541–49)
ลาว หนูฮัก พูมสะหวัน
(พ.ศ. 2535–2541)
ลาว ไกสอน พมวิหาน
(พ.ศ. 2534–35)
ลาว เจ้าสุภานุวงศ์
(พ.ศ. 2518–34)
ลาว บัวสอน บุบผาวัน
(2549–50)
ลาว บุนยัง วอละจิด
(พ.ศ. 2544–49)
ลาว สีสะหวาด แก้วบุนพัน
(พ.ศ. 2541–44)
ลาว คำไต สีพันดอน
(พ.ศ. 2534–41)
ลาว ไกสอน พมวิหาน
(พ.ศ. 2518–34)
ไม่ทราบ
ความสูญเสีย
ไม่ทราบ ไม่ทราบ

การก่อการกำเริบในลาว เป็นเหตุการณ์ความขัดแย้งของกองทัพประชาชนลาวกับสมาชิกกองทัพลับของชาวม้ง ซึ่งประกอบด้วยชาวม้งที่สหรัฐให้การสนับสนุนและกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์ในสงครามกลางเมืองลาว ในช่วง พ.ศ. 2523 กลุ่มกบฏนิยมเจ้ายังคงอยู่และมีกองโจรโจมตีเป็นครั้งคราว กลุ่มกบฏฝ่ายขวาที่มีต่างชาติสนับสนุนมีกิจกรรมต่อเนื่องมาจนถึงราว พ.ศ. 2533 ส่วนกลุ่มกบฏม้งเป็นกลุ่มที่ยังคงมีกิจกรรมยาวนานที่สุด โดยระยะเวลาเริ่มตั้งแต่สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง จนสิ้นสุดสงครามกลางเมืองลาว

กลุ่มกบฏม้ง[แก้]

ความขัดแย้งเกิดจากเหตุการณ์ก่อนลาวได้รับเอกราชได้แก่การรัฐประหารที่ล้มเหลวของเจ้าสุพานุวง การที่ม้งเข้าช่วยเหลือทหารฝรั่งเศสในเชียงขวางต่อต้านลาวและเวียดนาม และฝรั่งเศสให้สิทธิ์แก่ชาวม้งเทียบเท่าชาวลาว

ใน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดการยึดครองของญี่ปุ่น เจ้าเพชรราช เจ้าสุพานุวงและเจ้าสุวรรณภูมาได้จัดตั้งขบวนการเรียกร้องเอกราชเพื่อล้มล้างราชบัลลังก์ของพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ผู้ที่ต้องการให้ลาวอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสได้ในระยะเวลาสั้น ๆ ชาวม้งเข้าเป็นพันธมิตรใกล้ชิดของฝรั่งเศส ตูบี ลีฟุง ผู้นำคนสำคัญของชาวม้งได้รวมกองกำลังของชาวม้ง ฝรั่งเศสและลาวในการต่อสู้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่ประกอบด้วยชาวลาวและชาวเวียดนาม และช่วยเหลือตัวแทนฝรั่งเศสไว้ในหมู่บ้านระหว่างช่วงสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง

เมื่อฝรั่งเศสถอนตัวออกจากอินโดจีน หลังจากพ่ายแพ้ในยุทธการเดียนเบียนฟู สหรัฐได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับลาวมากขึ้นเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ในอินโดจีน สหรัฐเห็นลาวเป็นโดมิโนตัวหนึ่งในทฤษฎีโดมิโน กองทัพม้งนำโดยวังเปาที่มีสหรัฐสนับสนุนได้ป้องกันการรุกหน้าของขบวนการปะเทดลาวที่มีเวียดนามหนุนหลัง พวกเขาช่วยเหลือสหรัฐในเมืองลับของสหรัฐที่ล่องแจ้งซึ่งเป็นศูนย์กลางการทิ้งระเบิดในเวียดนามและลาว[5] ใน พ.ศ. 2518 เมื่อเวียดนามใต้ล่มสลายและไม่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ ขบวนการปะเทดลาวได้เข้าควบคุมประเทศ ชาวม้งที่เข้าร่วมในปฏิบัติการทางทหารถูกโดดเดี่ยว ขบวนการปะเทดลาวเริ่มการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยมีการสังหารหมู่ วางระเบิด จัดค่ายสัมมนา และข่มขืนชาวม้งรูดอล์ฟ รุมเนลได้ประมาณว่าในการร่วมมือกับกองทัพประชาชนเวียดนาม มีชาวม้งถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ราว 100,000 คน ระหว่าง พ.ศ. 2518 – 2523 ทำให้มีชาวม้งมากกว่า 350,000 คน อพยพไปยังสหรัฐและไทย

ชาวม้งที่ยังอยู่ในลาวมากกว่า 30,000 คนถูกส่งเข้าค่ายสัมมนาในฐานะนักโทษการเมือง มีการใช้แรงงานหนัก บางส่วนเสียชีวิต ชาวม้งราวพันคนส่วนใหญ่เป็นทหารเก่าและครอบครัวอพยพไปยังเขตภูเขาห่างไกลเช่น ภูเบี้ย กลุ่มนี้ยังคงโจมตีทหารของขบวนการปะเทดลาวและเวียดนาม บางส่วนหลบซ่อนเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ในปัจจุบัน ชาวม้งในลาวส่วนใหญ่อยู่อย่างมีสันติภาพในหมู่บ้านและในเมือง มีชาวม้งกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งเป็นรุ่นที่ 2 หรือ 3 ของทหารที่เคยฝึกจากหน่วยสืบราชการลับของสหรัฐยังคงอยู่ตามพื้นที่ห่างไกลในลาวเพราะหวาดกลัวรัฐบาล ใน พ.ศ. 2546 ยังมีรายงานการโจมตีโดยกลุ่มเหล่านี้ แต่นักข่าวที่เข้าไปเยี่ยมพวกเขาในค่ายลับ กล่าวว่าพวกเขาหิวโหย เจ็บป่วยและขาดแคลนอาวุธ[6][7] และมักจะฆ่า ทำร้ายผู้หญิงและเด็ก[8]

เมื่อฝ่ายรัฐบาลยังตามล่า บางกลุ่มออกจากที่ซ่อน บางส่วนลี้ภัยมายังไทยและประเทศอื่น ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 กลุ่มผู้อพยพราว 4,500 คน ในค่ายผู้ลี้ภัยในไทยถูกบังคับให้กลับมายังลาว ชาวม้งบางส่วนอพยพไปแคลิฟอร์เนียหลังจากทหารสหรัฐถอนตัวไปจากเวียดนามและลาว

กลุ่มกบฏนิยมเจ้า[แก้]

ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2523 ได้ก่อตั้งกองทัพที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์และนิยมเจ้าขึ้นเรียกว่ากองทัพปลดปล่อยแห่งชาติลาว กองทัพนี้ก่อกบฏในลาวภาคใต้ ได้โจมตีทหารลาวและเวียดนามใน พ.ศ. 2525 กองทัพนี้ได้จัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยราชอาณาจักรลาว[9] ซึ่งเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นในกรุงเทพฯเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2525 มีเป้าหมายในการรวบรวมพื้นที่ในลาวภาคใต้ ได้รับความช่วยเหลือจากสาธารณรัฐประชาชนจีน[10] กองทัพนี้ให้ความช่วยเหลืออย่างจำกัดกับเขมรแดงในการโค่นล้มสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาที่มีเวียดนามหนุนหลัง และได้สลายตัวไปเมื่อ พ.ศ. 2533

กลุ่มกบฏฝ่ายขวา[แก้]

เป็นกลุ่มกบฏที่ร่วมมือกับกลุ่มกบฏนิยมเจ้านำโดยสหแนวร่วมเพื่อปลดปล่อยลาวและกลุ่มพันธมิตรขนาดเล็กอื่น ๆ มีกำลังทหารประมาณ 40,000 คน จีนและเขมรแดงสนับสนุนและช่วยฝึกกลุ่มกบฏฝ่ายขวา เพื่อให้กลุ่มนี้ช่วยในการสู้รบกับเวียดนาม กลุ่มนี้กล่าวอ้างว่ามีเขตปลดปล่อยเป็นของตนเอง กลุ่มนี้มีประสิทธิภาพน้อยกว่ากลุ่มนิยมเจ้า ไม่มีหลักฐานว่าเหลืออยู่ในลาวปัจจุบันและไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง

อ้างอิง[แก้]

  1. Edward C. O'Dowd (เมษายน 16, 2007). Chinese Military Strategy in the Third Indochina War: The Last Maoist War. Routledge. pp. 186–. ISBN 978-1-134-12268-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 16, 2016. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 11, 2015.
  2. "The Thwarted Overthrow of Laos Government By American Hmong". Global Politician. 2007-06-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-18. สืบค้นเมื่อ 2019-05-16.
  3. "Laos' controversial exile". BBC News. มิถุนายน 11, 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มิถุนายน 17, 2010. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 18, 2010.
  4. 4.0 4.1 Sutori. Insurgency in Laos
  5. Jane Hamilton-Merritt, Tragic Mountains: The Hmong, the Americans, and the Secret Wars for Laos, 1942-1992 (Indiana University Press, 1999), pp337-460
  6. Perrin, Andrew (2003-04-28). "Welcome to the Jungle". Time Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-03. สืบค้นเมื่อ 2007-04-27.
  7. Arnold, Richard (2007-01-19). "Laos: Still a Secret War". Worldpress. สืบค้นเมื่อ 2007-04-27.
  8. "Rebecca Sommer Film Clips". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-05. สืบค้นเมื่อ 20 March 2015.
  9. "Political Terrorism". สืบค้นเมื่อ 20 March 2015.
  10. http://www.jstor.org/pss/2644329

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]