กองทัพบกพม่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองทัพบกพม่า
တပ်မတော် (ကြည်း)   (พม่า)
แปลว่า กองทัพ (กองทัพบก)
ตราสัญลักษณ์กองทัพพม่า[a][1]
ประจำการพ.ศ. 2488; 79 ปีที่แล้ว (2488)
ประเทศ พม่า (ที่รู้จักในชื่อ เมียนมาร์)
รูปแบบกองทัพภาคพื้นดิน
กำลังรบทหารประจำการ 325,000 นาย[2]
กำลังสำรอง:
  • กองกำลังป้องกันชายแดน, BGF (23 กองพัน)
  • กลุ่มกองกำลังติดอาวุธประชาชน, PMG (46 กลุ่ม),[3]
  • กองทัพน้อยฝึกอบรมมหาวิทยาลัย, UTC (5 กองทัพน้อย)[4]
ขึ้นกับ พม่า
สมญาTatmadaw Kyi
คำขวัญ
  • ရဲသော်မသေ၊ သေသော်ငရဲမလား။
  • ရဲရဲတက်၊ ရဲရဲတိုက်၊ ရဲရဲချေမှုန်း။
สีหน่วย
  •   สีเขียวมะกอก
  •   สีเขียวอ่อน
  •   สีแดง
วันสถาปนา27 มีนาคม พ.ศ. 2488
ปฏิบัติการสำคัญความขัดแย้งภายในพม่า
การทัพตามแนวชายแดนจีน-พม่า
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการ (กองทัพบก) รองพลเอกอาวุโส โซ วิน
ผบ. สำคัญ
เครื่องหมายสังกัด
ธงประจำกองทัพพม่า
เครื่องหมายอาร์มสำนักงานผู้บัญชาการทหารบก
เครื่องหมายอาร์มทหารราบและทหารราบเบา
อดีตธง (พ.ศ. 2491-2537)

กองทัพบกพม่า (อังกฤษ: Myanmar Army พม่า: တပ်မတော် (ကြည်း), ออกเสียง: [taʔmədɔ̀ tɕí]) เป็นเหล่าทัพที่ใหญ่ที่สุดของกองทัพพม่า (ตะมะดอ) (เมียนมาร์) รับผิดชอบปฏิบัติการทางทหารบนบก กองทัพบกพม่ายังคงเป็นกองกำลังประจำการที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากกองทัพประชาชนเวียดนาม[5] ซึ่งกองทัพบกพม่ามีการปะทะกับกลุ่มก่อความไม่สงบทางชาติพันธุ์และการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491

กองกำลังดังกล่าวนำโดยผู้บัญชาการทหารบกพม่า ปัจจุบันเป็นคือรองพลเอกอาวุโส โซวิน รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดพม่า พร้อมด้วย พลเอกอาวุโส มี่นอองไลง์ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดพม่า ตำแหน่งสูงสุดของกองทัพบกพม่าคือพลเอกอาวุโส เทียบเท่ากับจอมพลในกองทัพบกตะวันตก และปัจจุบันดำรงตำแหน่งโดย มี่นอองไลง์ หลังจากเลื่อนจากตำแหน่งรองพลเอกอาวุโส

ในปี พ.ศ. 2554 หลังจากการเปลี่ยนจากรัฐบาลทหารมาเป็นรัฐบาลรัฐสภาพลเรือน กองทัพพม่าได้บังคับใช้ร่างกฎหมายทหารกับพลเมืองทุกคน โดยผู้ชายทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ถึง 35 ปี และผู้หญิงทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ถึง 27 ปี สามารถเกณฑ์เข้ารับราชการทหารได้ 2 ปีในช่วงภาวะฉุกเฉินแห่งชาติ ส่วนอายุสำหรับทหารอาชีพคือไม่เกิน 45 ปี สำหรับผู้ชาย และ 35 ปี สำหรับผู้หญิง โดยประจำการ 3 ปี ในการรับราชการทั้งในระดับชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวน

รัฐกิจจานุเบกษา รายงานว่างบประมาณปี 2554 เป็นงบประมาณทางการทหาร 1.8 ล้านล้านจั๊ต (ประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) หรือร้อยละ 23.6 ของงบประมาณแผ่นดิน[6]

ประวัติโดยย่อ[แก้]

กองทหารพม่ากำลังสำรวจชายแดนพม่า–จีน ประมาณเดือนเมษายน พ.ศ. 2497 เพื่อค้นหากองทหารชาตินิยมจีนที่หลบหนีไปยังพม่าภายหลังความพ่ายแพ้ในสงครามกลางเมืองจีน

การปกครองของสหราชอาณาจักรและญี่ปุ่น[แก้]

ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 ในช่วงที่สหราชอาณาจักรปกครอง องค์กรหรือพรรคการเมืองของพม่าจำนวนหนึ่งได้ก่อตั้งพันธมิตรชื่อกลุ่ม Htwet-Yet (ปลดปล่อย) ของพม่า หนึ่งในนั้นคือสมาคมเราชาวพม่า (Dobama Asiayone) เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่เป็นคอมมิวนิสต์ พวกเขาจึงต้องการความช่วยเหลือจากคอมมิวนิสต์จีน แต่เมื่อ ทขิ่น อองซาน และคู่หูแอบไปจีนเพื่อขอความช่วยเหลือ พวกเขาพบเพียงนายพลญี่ปุ่นและได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับกองทัพญี่ปุ่น ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1940 อองซานและผู้เข้าร่วมอีก 29 คนแอบไปฝึกทหารภายใต้กองทัพญี่ปุ่น และคน 30 คนเหล่านี้ ต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อ "30 ทหาร" ในประวัติศาสตร์พม่า และถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของกองทัพบกพม่าสมัยใหม่

เมื่อญี่ปุ่นพร้อมบุกพม่า กลุ่ม 30 ทหารจึงเกณฑ์ชาวพม่าในประเทศไทยและก่อตั้งกองทัพเพื่อเอกราชพม่า (Burma Independence Army: BIA) ซึ่งเป็นระยะแรกของกองทัพบกพม่า ในปี พ.ศ. 2485 กองทัพเพื่อเอกราชพม่าได้ช่วยเหลือกองทัพญี่ปุ่นในการพิชิตพม่าซึ่งการรบครั้งนั้นประสบความสำเร็จ หลังจากนั้นกองทัพญี่ปุ่นได้เปลี่ยนกองทัพเพื่อเอกราชพม่าเป็นกองทัพป้องกันพม่า (Burmese Defence Army: BDA) ซึ่งเป็นระยะที่ 2 ต่อมาในปี พ.ศ. 2486 ญี่ปุ่นได้ประกาศให้พม่าเป็นประเทศเอกราชอย่างเป็นทางการ แต่รัฐบาลพม่าชุดใหม่ไม่ได้ครอบครองการปกครองประเทศโดยพฤตินัย

ขณะช่วยเหลือกองทัพสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2488 กองทัพบกพม่าได้เข้าสู่ระยะที่ 3 ในฐานะกองกำลังรักชาติพม่า (Patriotic Burmese Force: PBF) และประเทศก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรอีกครั้ง ต่อมาโครงสร้างของกองทัพตกอยู่ภายใต้อำนาจของสหราชอาณาจักร ด้วยเหตุนี้ สำหรับผู้ที่ยินดีรับใช้ชาติแต่ไม่ได้อยู่ในกองทัพนั้น นายพลอองซานจึงได้จัดตั้งกองกำลังสหายประชาชน (People's Comrades force) ขึ้น

ยุคหลังได้รับเอกราช[แก้]

ช่วงที่พม่าได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2491 กองทัพพม่ายังคงอ่อนแอ เล็ก และมีความแตกแยก รอยแตกปรากฏขึ้นตามภูมิหลังทางชาติพันธุ์ ความเกี่ยวข้องทางการเมือง ที่มาขององค์กร และบริการต่าง ๆ ความสามัคคีและประสิทธิภาพการดำเนินงานของกองทัพอ่อนแอลงอีกจากการแทรกแซงของพลเรือนและนักการเมืองในกิจการทหาร และช่องว่างระหว่างนายทหารเสนาธิการและผู้บังคับบัญชาภาคสนาม

กองทหารเกียรติยศของกองทัพบกพม่าทำความเคารพการมาถึงของคณะผู้แทนไทยในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553

ตามข้อตกลงที่บรรลุในการประชุมแคนดี้ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2488 กองทัพพม่าได้รับการจัดระเบียบใหม่โดยผสมผสานกองทัพบริติชพม่าและกองทัพรักชาติพม่า (PBF) เข้าด้วยกัน นายทหารในแต่ละเหล่าจะมาจากอดีตนายทหารกองทัพรักชาติพม่า และนายทหารจากกองทัพบริติชพม่า และกองทัพขององค์การกำลังสำรองพม่า (Army of Burma Reserve Organisation: ARBO) รัฐบาลอาณานิคมในเวลานั้นยังได้ตัดสินใจที่จะจัดตั้งสิ่งที่เรียกว่า "กองพันชนชาติ" ตามเชื้อชาติ ในช่วงเวลาที่ได้รับเอกราชมีกองพันปืนเล็กยาวทั้งหมด 15 กองพัน และสี่กองพันประกอบด้วยอดีตสมาชิกของกองทัพรักชาติพม่า (PBF) ตำแหน่งที่มีอำนาจทั้งหมดภายในสำนักงานสงครามและการบังคับบัญชาได้รับการดูแลจากนายทหารที่ไม่ใช่กองทัพรักชาติพม่า (PBF) บริการทั้งหมดรวมทั้งวิศวกรทหาร การจัดหาและขนส่ง อาวุธยุทโธปกรณ์และบริการทางการแพทย์ กองทัพเรือและกองทัพอากาศ ล้วนได้รับคำสั่งจากอดีตนายทหารจากกองทัพขององค์การกำลังสำรองพม่า (ABRO) และกองทัพบริเตนพม่า

การประกอบกำลังของกองทัพพม่าในปี พ.ศ. 2491
กองพัน การประกอบกำลัง
ปืนเล็กยาวพม่าที่ 1 ชาวพม่า (สารวัตรทหารพม่า)
ปืนเล็กยาวพม่าที่ 2 ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ + ชนชาติอื่นที่ไม่ใช่ชาวพม่า (ได้รับคำสั่งจากพันโทซอ ชิต คิน [นายทหารกะเหรี่ยงจากกองทัพบริติชพม่า])
ปืนเล็กยาวพม่าที่ 3 ชาวพม่า / อดีตสมาชิกของกองกำลังพม่ารักชาติ (Patriotic Burmese Force)
ปืนเล็กยาวพม่าที่ 4 ชาวพม่า / อดีตสมาชิกของกองกำลังพม่ารักชาติ (Patriotic Burmese Force) – ได้รับคำสั่งจากพันโทเนวี่นในขณะนั้น
ปืนเล็กยาวพม่าที่ 5 ชาวพม่า / อดีตสมาชิกของกองกำลังพม่ารักชาติ (Patriotic Burmese Force)
ปืนเล็กยาวพม่าที่ 6 ชาวพม่า / อดีตสมาชิกของกองกำลังพม่ารักชาติ (Patriotic Burmese Force)
ปืนเล็กยาวกะเหรี่ยงที่ 1 ชาวกะเหรี่ยง / อดีตสมาชิกของกองทัพบริติชพม่าและ ABRO
ปืนเล็กยาวกะเหรี่ยงที่ 2 ชาวกะเหรี่ยง / อดีตสมาชิกของกองทัพบริติชพม่าและ ABRO
ปืนเล็กยาวกะเหรี่ยงที่ 3 ชาวกะเหรี่ยง / อดีตสมาชิกของกองทัพบริติชพม่าและ ABRO
ปืนเล็กยาวกะชีนที่ 1 ชาวกะชีน / อดีตสมาชิกของกองทัพบริติชพม่าและ ABRO
ปืนเล็กยาวกะชีนที่ 2 ชาวกะชีน / อดีตสมาชิกของกองทัพบริติชพม่าและ ABRO
ปืนเล็กยาวชีนที่ 1 ชาวชีน / อดีตสมาชิกของกองทัพบริติชพม่าและ ABRO
ปืนเล็กยาวชีนที่ 2 ชาวชีน / อดีตสมาชิกของกองทัพบริติชพม่าและ ABRO
กรมทหารพม่าที่ 4 กูรข่า
กองพันเทือกเขาชีน ชาวชีน

รูปขบวนและโครงสร้าง[แก้]

กองทัพบก ถือเป็นกองทัพที่ใหญ่ที่สุดในพม่ามาโดยตลอด และได้รับส่วนแบ่งงบประมาณด้านการป้องกันประเทศสูงมาโดยตลอด[7][8] กองกำลังนี้มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้ของพม่าต่อกลุ่มก่อความไม่สงบ 40 กลุ่ม หรือมากกว่านั้นนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 และได้รับชื่อเสียงว่าเป็นกองกำลังที่แข็งแกร่งและมีไหวพริบสูง ในปี พ.ศ. 2524 ได้รับการขนานนามว่าเป็น "กองทัพบกที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกเหนือจากเวียดนาม"[9] คำตัดสินดังกล่าวสะท้อนให้เห็นในปี พ.ศ. 2526 เมื่อผู้สังเกตการณ์อีกคนหนึ่งตั้งข้อสังเกตว่า "โดยทั่วไปแล้ว ทหารราบของพม่าถูกจัดว่าเป็นหนึ่งในทหารที่แข็งแกร่งที่สุดและมีประสบการณ์การรบมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"[10] ในปี พ.ศ. 2528 นักข่าวต่างประเทศผู้มีประสบการณ์ได้มีโอกาสเห็นทหารพม่าต่อสู้กับกลุ่มก่อความไม่สงบชาติพันธุ์และกองทัพค้ายาเสพติด "ประทับใจอย่างมากกับทักษะการต่อสู้ ความอดทน และวินัยของพวกเขา"[11] ผู้สังเกตการณ์คนอื่น ๆ ในช่วงเวลานั้นระบุว่ากองทัพบกพม่าเป็น "กองกำลังทหารราบเบาที่แข็งแกร่งที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดที่ปฏิบัติการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"[12] แม้แต่คนไทยซึ่งไม่รู้จักกองทัพบกพม่ามากนักยังกล่าวถึงกองทัพบกพม่าว่า "เชี่ยวชาญด้านศิลปะการสงครามในป่า"[13]

การจัดหน่วย[แก้]

กองทัพบกพม่ามีกำลังประจำการประมาณ 370,000 นายจากทุกยศ ในปี พ.ศ. 2543 มีกองพันทหารราบ 337 กองพัน ซึ่งรวมถึงกองพันทหารราบเบา 266 กองพัน ณ พ.ศ. 2543 แม้ว่าโครงสร้างหน่วยของกองทัพบกพม่าจะอิงตามระบบกรมทหาร แต่การดำเนินกลยุทธ์ขั้นพื้นฐานและหน่วยรบก็อยู่ที่กองพันที่รู้จักกันในชื่อ ตาดยิน (တပ်ရင်း) ในภาษาพม่า ประกอบด้วยกองบัญชาการ กองร้อยปืนเล็กยาวจำนวน 5 กองร้อย เรียกว่า ตาดเขว (တပ်ခွဲ) พร้อมด้วยหมวดปืนเล็กยาว 3 หมวด เรียกว่า ตาดซู (တပ်စု) ในแต่ละกองร้อยบริหาร (administrative company) มีหน่วยการแพทย์, การขนส่ง, การส่งกำลังบำรุง และการสื่อสาร ในกองร้อยอาวุธหนักประกอบไปด้วย ปืนครก, ปืนกล และหมวดปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง แต่ละกองพันอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ พันโท Du Ti Ya Bo Hmu Gyi หรือ Du Bo Hmu Gyi โดยมี พันตรี (bo hmu) เป็นผู้บังคับบัญชาเป็นอันดับสอง มีกำลังนายทหารทั้งหมด 27 นาย และระดับอื่น ๆ อีก 723 นาย กองพันทหารราบเบาในกองทัพบกพม่ามีกำลังการจัดตั้งที่ต่ำกว่ามากประมาณ 500 นาย ทำให้ผู้ตรวจการณ์มักระบุหน่วยเหล่านี้ผิดว่าเป็นกองพันทหารราบที่มีกำลังรบที่ต่ำกว่า

ด้วยจำนวนบุคลากร อาวุธ และความคล่องตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ กองทัพบกพม่า หรือ ทัดมาดอว์ จี (Tatmadaw Kyee, တပ်မတော် (ကြည်း)) ในปัจจุบันจึงเป็นกองกำลังป้องกันประเทศตามแบบที่น่าเกรงขามสำหรับสหภาพพม่า ทหารที่มีความพร้อมรบมีจำนวนสูงขึ้นอย่างน้อยสองเท่านับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 โครงสร้างพื้นฐานด้านลอจิสติกส์และการสนับสนุนการยิงปืนใหญ่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ยุทโธปกรณ์ทางทหารที่ได้มาใหม่นี้ถูกนำมาใช้งานอย่างเปิดเผยในปฏิบัติการช่วงฤดูแล้งของกองทัพพม่าต่อฐานที่มั่นของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ในเมืองมาเนอปลอว์และคอมูรา ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ในการสู้รบเหล่านี้มาจากการโจมตีอย่างของกองทัพบกพม่า ปัจจุบัน กองทัพพม่ามีขนาดใหญ่กว่าก่อนปี พ.ศ. 2531 อย่างมาก มีความคล่องตัวมากขึ้น และมีการปรับปรุงยานเกราะ ปืนใหญ่ และการป้องกันภัยทางอากาศ ระบบ C3I (การบังคับบัญชา, ควบคุม, สื่อสาร, คอมพิวเตอร์ และข่าวกรอง) ได้รับการขยายและปรับปรุง โดยกองทัพบกพม่ากำลังพัฒนารูปแบบที่ใหญ่ขึ้นและบูรณาการมากขึ้น และพึ่งพาตนเองได้ เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติการประสานกันด้วยอาวุธต่อสู้ต่าง ๆ กองทัพบกอาจจะมีอาวุธที่ค่อนข้างเรียบง่ายเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีขนาดกองทัพใหญ่กว่า แต่กองทัพบกพม่านั้นอยู่ในจุดที่ดีกว่าในการยับยั้งการรุกรานจากภายนอกและตอบสนองต่อภัยคุกคามต่าง ๆ หากเกิดขึ้น แม้ว่าทหารเด็กอาจทำงานได้ไม่ดีนักในการต่อสู้กับศัตรู[14]

การขยายตัว[แก้]

กองพลแรกที่จะจัดตั้งขึ้นหลังจากการรัฐประหาร พ.ศ. 2531 คือ กองพลทหารราบเบาที่ 11 (Light Infantry Division: LID) ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2531 โดยมี พันเอก วิน มี้น เป็นผู้บัญชาการ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2533 ได้มีการจัดตั้ง กองบัญชาการภูมิภาคทหาร (Regional Military Command: RMC) ใหม่ขึ้นในเมืองโมนยวา โดยมี พลจัตวา จ่อ มิน เป็นผู้บัญชาการ และตั้งชื่อองบัญชาการภูมิภาคทหารภาคตะวันตกเฉียงเหนือ (กองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงเหนือ) หนึ่งปีต่อมา กองพลทหารราบเบาที่ 101 ได้ก่อตั้งขึ้นที่ปะโคะกู โดยมี พันเอก ซอ ตุน เป็นผู้บัญชาการ มีการจัดตั้ง หน่วยบัญชาการยุทธการภูมิภาค (Regional Operations Commands: ROC) จำนวน 2 หน่วยขึ้นในเมืองมะริดและลอยกอ เพื่อปรับปรุงการบังคับบัญชาและการควบคุม พวกเขาได้รับคำสั่งจาก พลจัตวา โซ ติน และ พลจัตวา หม่องจี ตามลำดับ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2538 กองทัพพม่ามีการขยายตัวอย่างมาก โดยได้จัดตั้ง หน่วยบัญชาการยุทธการทหาร (Military Operation Command: MOC) ขึ้น 11 หน่วยในเดือนนั้น หน่วยบัญชาการยุทธการทหาร (MOC) มีความคล้ายคลึงกับกองพลทหารราบยานเกราะ (Mechanized infantry division) ในโลกตะวันตก โดยแต่ละหน่วย มีกองพันทหารราบประจำการจำนวน 10 กองพัน (Chay Hlyin Tatyin) โดยมีกองบัญชาการและหน่วยสนับสนุนขึ้นตรงและปืนใหญ่สนามในแต่ละหน่วย ในปี พ.ศ. 2539 มีการก่อตั้งกองบัญชาการภูมิภาคทหาร (RMC) ขึ้นใหม่ 2 แห่ง ได้แก่ กองบัญชาการภูมิภาคทหารภาคชายฝั่ง (กองทัพน้อยชายฝั่ง) ในเมืองมะริด โดยมี พลจัตวา ซิท เมือง เป็นผู้บังคับบัญชา และกองบัญชาการภูมิภาคทหารภาคสามเหลี่ยม (กองทัพน้อยภาคสามเหลี่ยม) ในเมืองเชียงตุง โดยมีนายจัตวา เต้นเซน เป็นผู้บัญชาการ นอกจากนี้หน่วยบัญชาการยุทธการภูมิภาค (ROC) ใหม่ 3 แห่งถูกสร้างขึ้น ในกะเล่, บะมอ, และเมืองสาด ปลายปี พ.ศ. 2541 มีการจัดตั้งหน่วยบัญชาการยุทธการทหาร (MOC) ใหม่ 2 แห่ง ที่เมืองบกเปี้ยนและเมืองสาด[15]

การขยายตัวที่สำคัญที่สุด หลังจากการปรับปรุงระบบทหารราบในกองทัพบกร่วมกับยานเกราะและปืนใหญ่ เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2533 กองทัพพม่าได้จัดหารถถังหลัก ไทป์ 69II จำนวน 18 คัน และรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก ไทป์ 63 จำนวน 48 คันจากประเทศจีน มีการจัดซื้อเพิ่มเติมรวมทั้งรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ ไทป์ 85 และ ไทป์ 92 หลายร้อยคัน เมื่อต้นปี พ.ศ. 2541 กองทัพพม่ามีรถถังหลัก ไทป์ 69II ประมาณ 100 คัน รถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก ไทป์ 63 จำนวนใกล้เคียงกัน และรถถัง T-59D หลายคัน รถถังและรถหุ้มเกราะเหล่านี้ถูกกระจายไปตามกองพันทหารราบยานเกราะ 5 กองพัน และกองพันรถถัง 5 กองพัน และได้จัดตั้งกองพลยานเกราะชุดแรกของกองทัพพม่าขึ้น เป็นหน่วยบัญชาการยุทธการยานเกราะที่ 71 (71st Armoured Operations Command) โดยมีกองบัญชาการอยู่ที่เมืองปยอ-บแว

กองยุทธการพิเศษ (BSO)[แก้]

กองบัญชาการภูมิภาคทหาร (RMC) ในปี พ.ศ. 2553

กองยุทธการพิเศษ[16][17] (Bureau of Special Operation: BSO, ကာကွယ်ရေးဌာန စစ်ဆင်ရေး အထူးအဖွဲ့) ในกองทัพบกพม่าถือเป็นหน่วยภาคสนามระดับสูงเทียบเท่ากับกองทัพสนามในนิยามของตะวันตก และประกอบด้วยกองบัญชาการภูมิภาคทหาร (RMC) ตั้งแต่ 2 หน่วยขึ้นไป ซึ่งบัญชาการโดยพลโท 1 นายและนายทหารเสนาธิการจำนวน 6 นาย

หน่วยเป็นที่รู้จักภายใต้สังกัดสำนักงานฝ่ายเสนาธิการเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2521 และ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2522 ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2521 นายพล เน วิน ประธานพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (BSPP) ได้เดินทางเยือนกองบัญชาการกองทัพน้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเมืองลาเสี้ยวเพื่อรับการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการกำเริบของพรรคคอมมิวนิสต์พม่า (BCP) และการปฏิบัติการทางทหาร เขาเดินทางมาพร้อมกับ พลจัตวา ตุน เย่ จากกระทรวงกลาโหม พลจัตวา ตุน เย่ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการส่วนภูมิภาคของกองทัพน้อยภาคตะวันออกเป็นเวลา 3 ปี และก่อนหน้านั้นเขารับราชการในพื้นที่กองทัพน้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือในตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการยุทธการทางยุทธศาสตร์ (SOC) และผู้บัญชาการกองพลทหารราบเบาเป็นเวลา 4 ปี เนื่องจากการปฏิบัติการทางทหารของพรรคคอมมิวนิสต์พม่ากระจายไปทั่วพื้นที่ 3 กองบัญชาการภูมิภาคทหาร (RMC) (ภาคเหนือ ตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือ) พลจัตวา ตุน เย จึงเป็นผู้บัญชาการที่เชี่ยวชาญมากที่สุดเกี่ยวกับการรบของพรรคคอมมิวนิสต์พม่าในกองทัพบกพม่าในขณะนั้น ในการบรรยายสรุป พลเอก เน วิน รู้สึกประทับใจกับ พลจัตวา ตุน เย่ และตระหนักว่าการประสานงานระหว่างกองบัญชาการภูมิภาคทหาร (RMC) ต่าง ๆ เป็นสิ่งจำเป็น จึงได้ตัดสินใจจัดตั้งกองดังกล่าวขึ้นที่กระทรวงกลาโหม

เดิมทีกองนี้มีไว้สำหรับ "ยุทธการพิเศษ" ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม ซึ่งต้องการการประสานงานระหว่างกองบัญชาการภูมิภาคทหาร (RMC) ต่าง ๆ ต่อมามีการนำกองอื่นมาแบ่งเขตบังคับบัญชา กองยุทธการพิเศษที่ 1 (BSO-1) จะทำหน้าที่ดูแลการปฏิบัติการภายใต้กองทัพน้อยภาคเหนือ, กองทัพน้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, กองทัพน้อยภาคตะวันออก, และกองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงเหนือ กองยุทธการพิเศษที่ 2 (BSO-2) มีหน้าที่ดูแลการปฏิบัติงานภายใต้กองทัพน้อยภาคตะวันออกเฉียงใต้, กองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงใต้, กองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงใต้ และกองบัญชาการภาคกลาง.

ในเบื้องต้นผู้บัญชาการกองยุทธการพิเศษ จะมียศเป็น พลจัตวา ต่อมาได้ปรับเป็นอัตรายศพลตรี เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2522 และในปี พ.ศ. 2533 ได้ยกระดับเป็นพลโท ระหว่างปี พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2545 เสนาธิการทหารบก (ทบ.) ควบตำแหน่งผู้บัญชาการกองยุทธการพิเศษ อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2545 มีการเพิ่มกองบัญชาการกองยุทธการพิเศษอีก 2 แห่งในสำนักงานฝ่ายเสนาธิการ จึงทำให้กองยุทธการพิเศษมี 4 แห่ง จากนั้นกองยุทธการพิเศษแห่งที่ 5 ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 และแห่งที่ 6 ในปี พ.ศ. 2550

ปัจจุบันมีกองยุทธการพิเศษ 6 แห่งในทำเนียบกำลังรบของพม่า[18]

กองยุทธการพิเศษ กองบัญชาการภูมิภาคทหาร (RMC) ผู้บัญชาการกองยุทธการพิเศษ หมายเหตุ
กองยุทธการพิเศษที่ 1 กองทัพน้อยภาคกลาง (Central Command)
กองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwestern Command)
กองทัพน้อยภาคเหนือ (Northern Command)
พลโท เทย์ ซาร์ จ่อ
กองยุทธการพิเศษที่ 2 กองทัพน้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Command)
กองทัพน้อยภาคตะวันออก (Eastern Command)
กองทัพน้อยภาคสามเหลี่ยม (Triangle Region Command)
กองทัพน้อยภาคตะวันออกกลาง (Eastern Central Command)
พลโท ออง ซอว์ เอ
กองยุทธการพิเศษที่ 3 กองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงใต้ (Southwestern Command)
กองทัพน้อยภาคใต้ (Southern Command)
กองทัพน้อยภาคตะวันตก (Western Command)
พลโท โฟน มยัต
กองยุทธการพิเศษที่ 4 กองทัพน้อยชายฝั่ง (Coastal Command)
กองทัพน้อยภาคตะวันออกเฉียงใต้ (Southeastern Command)
พลโท ออง โซ
กองยุทธการพิเศษที่ 5 กองทัพน้อยย่างกุ้ง (Yangon Command) พลโท เท ปอน
กองยุทธการพิเศษที่ 6 กองทัพน้อยภาคเนปยีดอ (Naypyidaw Command) พลโท ธัน หล่าย

กองบัญชาการภูมิภาคทหาร (RMC)[แก้]

เพื่อให้การบังคับบัญชาและการสื่อสารดีขึ้น กองทัพพม่าได้จัดตั้งกองบัญชาการภูมิภาคทหาร (Regional Military Commands: RMC, တိုင်း စစ်ဌာနချုပ်) ในปี พ.ศ. 2501 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2504 มีเพียง 2 หน่วยบัญชาการระดับภูมิภาคเท่านั้น โดยได้รับการสนับสนุนจากกองพลน้อยทหารราบ 13 หน่วยและกองพลทหารราบ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2504 กองบัญชาการภูมิภาคทหารใหม่ได้ถูกจัดตั้งขึ้น และเหลือกองพลน้อยทหารราบอิสระเพียง 2 หน่วย ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2506 กองทัพน้อยภาคเนปยีดอได้รับการจัดตั้งขึ้นชั่วคราวในย่างกุ้ง โดยมีรองผู้บัญชาการและเสนาธิการทหารบางส่วนจากกองบัญชาการกลาง ได้รับการจัดหน่วยใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็น กองบัญชาการภาคกลาง เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2508

กองพันทหารราบและกองพันทหารราบเบารวม 337 หน่วยจัดอยู่ในหน่วยบัญชาการยุทธการทางยุทธวิธี กรมทหารปืนใหญ่สนามอิสระ 37 หน่วยที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยสนับสนุนในกรม รวมถึงกองพันลาดตระเวนยานเกราะและกองพันรถถัง กองบัญชาการภูมิภาคทหารนั้นคล้ายคลึงกับกองทัพน้อยในกองทัพตะวันตก กองบัญชาการภูมิภาคทหารได้รับคำสั่งจาก พลตรี และจัดกรอบอัตรากำลังจากกองยุทธการพิเศษ (BSO) ซึ่งเทียบเท่ากับกลุ่มกองทัพสนามในนิยามของตะวันตก

กองบัญชาการภูมิภาคทหาร (RMC) ตรา รัฐและภาค กองบัญชาการ กำลัง
กองทัพน้อยภาคเหนือ (Northern Command)

(မြောက်ပိုင်းတိုင်းစစ်ဌာနချုပ်)

รัฐกะชีน มยิจีนา 32 × กองพันทหารราบ
กองทัพน้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Command)

(အရှေ့မြောက်ပိုင်းတိုင်းစစ်ဌာနချုပ်)

รัฐฉานเหนือ ล่าเสี้ยว 30 × กองพันทหารราบ
กองทัพน้อยภาคตะวันออก (Eastern Command)

(အရှေ့ပိုင်းတိုင်းစစ်ဌာနချုပ်)

รัฐฉานใต้ และ รัฐกะยา ตองจี 42 × กองพันทหารราบ
ประกอบด้วย 16 × กองพันทหารราบเบา ภายใต้
หน่วยบัญชาการยุทธการภูมิภาค (ROC) ซึ่งประจำอยู่ที่ลอยกอ
กองทัพน้อยภาคตะวันออกเฉียงใต้ (Southeastern Command)

(အရှေ့တောင်တိုင်းစစ်ဌာနချုပ်)

รัฐมอญ และ รัฐกะเหรี่ยง มอละมไยน์ 40 × กองพันทหารราบ
กองทัพน้อยภาคใต้ (Southern Command)

(တောင်ပိုင်းတိုင်းစစ်ဌာနချုပ်)

ภาคพะโค และ ภาคมะกเว ตองอู 27 × กองพันทหารราบ
กองทัพน้อยภาคตะวันตก (Western Command)

(အနောက်ပိုင်းတိုင်းစစ်ဌာနချုပ်)

รัฐยะไข่ และ รัฐชีน Ann 31 × กองพันทหารราบ
กองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงใต้ (Southwestern Command)

(အနောက်တောင်တိုင်းစစ်ဌာနချုပ်)

ภาคอิรวดี (เอยาวะดี) พะสิม (ปะเตน) 11 × กองพันทหารราบ
กองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwestern Command)

(အနောက်မြောက်တိုင်းစစ်ဌာနချုပ်)

ภาคซะไกง์ โมนยวา 25 × กองพันทหารราบ
กองทัพน้อยย่างกุ้ง (Yangon Command)

(ရန်ကုန်တိုင်းစစ်ဌာနချုပ်)

ภาคย่างกุ้ง มะย่านโก้น, โคน มิ้นต์ ธาร์ 11 × กองพันทหารราบ
กองทัพน้อยชายฝั่ง (Coastal Region Command)

(ကမ်းရိုးတန်းတိုင်းစစ်ဌာနချုပ်)

ภาคตะนาวศรี มะริด (เมอร์กวี) 43 × กองพันทหารราบ
รวมทั้งกองพันภายใต้ 2 หน่วยบัญชาการยุทธการทหาร (MOC) ซึ่งประจำอยู่ที่ทวาย
กองทัพน้อยภาคสามเหลี่ยม (Triangle Region Command)

(တြိဂံတိုင်းစစ်ဌာနချုပ်)

รัฐฉานตะวันออก เชียงตุง 23 × กองพันทหารราบ
กองทัพน้อยภาคกลาง (Central Command)

(အလယ်ပိုင်းတိုင်းစစ်ဌာနချုပ်)

ภาคมัณฑะเลย์ มัณฑะเลย์ 31 × กองพันทหารราบ
กองทัพน้อยภาคเนปยีดอ (Naypyidaw Command)

(နေပြည်တော်တိုင်းစစ်ဌာနချုပ်)

เนปยีดอ ปยี่นมะน่า ก่อตั้งปี 2549 –? × กองพันทหารราบ
กองทัพน้อยภาคตะวันออกกลาง (Eastern Central Command)

(အရှေ့အလယ်ပိုင်းတိုင်းစစ်ဌာနချုပ်)

รัฐฉานตอนกลาง น้ำจ๋าง ก่อตั้งปี 2554 – 7 × กองพันทหารราบ

ผู้บัญชาการภูมิภาคทหาร[แก้]

กองบัญชาการภูมิภาคทหาร (RMC) ก่อตั้ง ผู้บัญชาการคนแรก คนปัจจุบัน หมายเหตุ
กองทัพน้อยภาคตะวันออก 2504 พลจัตวา ซาน ยู พลจัตวา นี ลิน อ่อง ในช่วง พ.ศ. 2504 ซาน ยู ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้บัญชาการกองทัพน้อยภาคตะวันออก แต่ถูกย้ายไปที่ กองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงเหนือ และถูกแทนที่ด้วย พันเอก หม่อง ฉ่วย
กองทัพน้อยภาคตะวันออกเฉียงใต้ 2504 พลจัตวา เซน วิน พลตรี โก โก เมือง พ.ศ. 2504 เมื่อมีการจัดตั้ง กองทัพน้อยภาคตะวันออกเฉียงใต้ เซน วิน ถูกย้ายจากอดีตกองทัพน้อยภาคใต้ มาประจำการ แต่ต่อมาถูกย้ายไปที่ กองทัพน้อยภาคกลาง และแทนที่ด้วย ตอง ยี ในตอนนั้น
กองทัพน้อยภาคกลาง 2504 พันเอก ตอง ยี พลตรี โก โก อู กองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงเหนือเดิม ประจำอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์ โดยได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองทัพน้อยภาคกลาง ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2533 และ กองทัพน้อยภาคกลางเดิม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองทัพน้อยภาคใต้
กองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงเหนือ 2504 พลจัตวา จ่อ มิน พลตรี ธาน ติเก ส่วนภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งของ กองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงเหนือเดิม ในมัณฑะเลย์ โดยเปลี่ยนชื่อเป็น กองทัพน้อยภาคกลาง ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2533 และส่วนภาคเหนือเป็นส่วนหนึ่งของ กองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงเหนือเดิม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ในปี พ.ศ. 2533
กองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงใต้ 2504 พันเอก จี หม่อง พลตรี ออง ออง จี หม่อง ถูกไล่ออกในปี พ.ศ. 2506 และถูกจำคุกสองสามครั้ง เขาดำรงตำแหน่งรองประธานพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยในคริสต์ทศวรรษ 1990
กองทัพน้อยย่างกุ้ง 2512 พันเอก ทูรา จอ ถิ่น พลตรี ยุ้น วิน ส่วย ก่อตั้งเป็น กองทัพน้อยภาคเนปยีดอ เมื่อปี พ.ศ. 2506 โดยมีรองผู้บัญชาการและเจ้าหน้าที่บางส่วนจาก กองทัพน้อยภาคกลาง ต่อมาปฏิรูปและเปลี่ยนชื่อเป็น กองทัพน้อยย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2512
กองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงใต้ 2512 พันเอก หล่า ตุน พลตรี ถิ่น ลัตต์ อู
กองทัพน้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2515 พันเอก อาย โก้ พลจัตวา นาย นาย อู
กองทัพน้อยภาคเหนือ 2490 พลจัตวา เน วิน พลจัตวา มัต เตต อู กองทัพน้อยภาคเหนือเดิม แบ่งออกเป็น กองทัพน้อยภาคตะวันออก และ กองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ในปี พ.ศ. 2504 กองทัพน้อยภาคเหนือ ในปัจจุบัน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ และจัดตั้งขึ้นทางตอนเหนือของอดีตที่ตั้ง กองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
กองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงใต้ 2490 พลจัตวา ซอค ย่า โด้ พลจัตวา เต็ง วิน กองทัพน้อยรภาคใต้เดิม ในมัณฑะเลย์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองทัพน้อยภาคกลาง ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2533
กองทัพน้อยภาคตะวันออก 2539 พลจัตวา เต้นเซน พลจัตวา เมียว มิน ตุน ต่อมา เต้นเซน ได้เป็นนายกรัฐมนตรีและได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2554
กองทัพน้อยชายฝั่ง 2539 พลจัตวา ธีฮา ทูรา ทูรา ซิท หม่อง พลตรี เลื่อย ท่าน หล่าย
กองทัพน้อยภาคเนปยีดอ 2548 พลจัตวา เว่ย ลวิน พลตรี ซอ ไฮน์
กองทัพน้อยภาคตะวันออกกลาง 2554 พลจัตวา เมีย ตุน อู พลจัตวา หล่า โม่

หน่วยบัญชาการยุทธการภูมิภาค (ROC)[แก้]

หน่วยบัญชาการยุทธการภูมิภาค (Regional Operations Commands: ROC; ဒေသကွပ်ကဲမှု စစ်ဌာနချုပ်) ได้รับคำสั่งจาก พลจัตวา คล้ายกับกองพลน้อยทหารราบในกองทัพตะวันตก แต่ละกองประกอบด้วยกองพันทหารราบ 4 กองพัน (Chay Hlyin Tatyin) กองบัญชาการและหน่วยสนับสนุนขึ้นตรง ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการยุทธการภูมิภาคเป็นตำแหน่งระหว่างผู้บังคับการกองพลทหารราบเบา/ผู้บังคับการหน่วยบัญชาการยุทธการทหาร (LID/MOC) และผู้บังคับการหน่วยบัญชาการยุทธการทางยุทธวิธี (TOC) ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชากองพันทหารราบ 3 กองพัน ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการยุทธการภูมิภาคมีอำนาจทางการเงิน การบริหาร และตุลาการ ในขณะที่ผู้บังคับการหน่วยบัญชาการยุทธการทหาร (MOC) และกองพลทหารราบเบา (LID) ไม่มีอำนาจตุลาการ[8][19]

หน่วยบัญชาการยุทธการภูมิภาค (ROC) กองบัญชาการ หมายเหตุ
หน่วยบัญชาการยุทธการภูมิภาคลอยกอ ลอยกอ (လွိုင်ကော်), รัฐกะยา
หน่วยบัญชาการยุทธการภูมิภาคเล่าไก่ เล่าไก่ (လောက်ကိုင်), รัฐฉาน
หน่วยบัญชาการยุทธการภูมิภาคกะเล่ กะเล่ (ကလေး), ภาคซะไกง์
หน่วยบัญชาการยุทธการภูมิภาคซิตตเว ซิตตเว (စစ်တွေ), รัฐยะไข่
หน่วยบัญชาการยุทธการภูมิภาคแปร แปร (ပြည်), ภาคพะโค
หน่วยบัญชาการยุทธการภูมิภาคตะไนง์ ตะไนง์ (တနိုင်း), รัฐกะชีน ชื่อเดิม ROC บะมอ
หน่วยบัญชาการยุทธการภูมิภาควานห์เซิง วานห์เซิง, รัฐฉาน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2554[20]

หน่วยบัญชาการยุทธการทหาร (MOC)[แก้]

หน่วยบัญชาการยุทธการทหาร (Military Operations Commands: MOC, စစ်ဆင်ရေးကွပ်ကဲမှုဌာနချုပ်) รับคำสั่งจาก พลจัตวา มีความคล้ายคลึงกับกองพลทหารราบในกองทัพตะวันตก แต่ละหน่วยประกอบด้วย กองพันทหารราบยานเกราะ 10 กองพัน ประกอบไปด้วยรถลำเลียงพลหุ้มเกราะบีทีอาร์-3 กองบัญชาการ และหน่วยสนับสนุน รวมถึงกองพันทหารปืนใหญ่สนาม กองพันทั้ง 10 กองพันนี้ แบ่งออกเป็น 3 หน่วยหน่วยบัญชาการยุทธการทางยุทธวิธี ได้แก่ หน่วยบัญชาการยุทธการทางยุทธวิธียานเกราะ 1 หน่วย พร้อมด้วยรถลำเลียงพลหุ้มเกราะบีทีอาร์-3 และหน่วยบัญชาการยุทธการทางยุทธวิธียานยนต์ 2 หน่วย พร้อมด้วยรถบรรทุก 6x6 EQ-2102

หน่วยบัญชาการยุทธการทหาร (MOC) มีสถานะเทียบเท่ากับกองพลทหารราบเบา (LID) ในทำเนียบกำลังรบของกองทัพบกพม่า โดยทั้งสองหน่วยบังคับบัญชากองพันทหารราบ 10 กองพัน ผ่านทางหน่วยบัญชาการยุทธการทางยุทธวิธี 3 หน่วย อย่างไรก็ตาม มีความแตกต่างจากกองพลทหารราบเบา หน่วยบัญชาการยุทธการทหารเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของกองบังคับการกองบัญชาการภูมิภาคทหาร (RMC)[19] สมาชิกของหน่วยบัญชาการยุทธการทหารจะไม่สวมเครื่องหมายแขนที่โดดเด่น และใช้เครื่องหมายแขนของกองบัญชาการภูมิภาคทหารแทน ตัวอย่างเช่น หน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 20 ที่เกาะสอง สวมเครื่องหมายกองทัพน้อยชายฝั่ง

หน่วยบัญชาการยุทธการทหาร (MOC) กองบัญชาการ หมายเหตุ
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 1 (MOC-1) Kyaukme, รัฐฉาน
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 2 (MOC-2) Mong Nawng, รัฐฉาน
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 3 (MOC-3) Mogaung, รัฐกะชีน เปลี่ยนชื่อเป็น กองพลน้อยทหารราบที่ 3[21]
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 4 (MOC-4) Hpugyi, ภาคย่างกุ้ง กำหนดเป็นกองพลส่งทางอากาศ. เปลี่ยนชื่อเป็น กองพลน้อยทหารราบที่ 4[21]
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 5 (MOC-5) Taungup, รัฐยะไข่
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 6 (MOC-6) ปยี่นมะน่า (ပျဉ်းမနား), ภาคมัณฑะเลย์
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 7 (MOC-7) Hpegon (ဖယ်ခုံ), รัฐฉาน
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 8 (MOC-8) ทวาย (ထားဝယ်), ภาคตะนาวศรี
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 9 (MOC-9) Kyauktaw (ကျောက်တော်), รัฐยะไข่ ยึดโดยกองทัพยะไข่เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567[22] บัญชาการโดยพลจัตวาซอ มิน ทุน[23]
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 10 (MOC-10) Kyigon (ကျီကုန်း (ကလေးဝ)), ภาคซะไกง์
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 11 (MOC-11)
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 12 (MOC-12) ก่อกะเระ (ကော့ကရိတ်), รัฐกะเหรี่ยง ก่อนหน้านี้ได้รับคำสั่งจากนายพลจัตวา ออง ซอ ลิน[24] ผู้บัญชาการคนปัจจุบัน พันเอก เมียว มิน เตว[25]
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 13 (MOC-13) Bokpyin (ဘုတ်ပြင်း), ภาคตะนาวศรี
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 14 (MOC-14) Mong Hsat (မိုင်းဆတ်), รัฐฉาน
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 15 (MOC-15) Buthidaung (ဘူးသီးတောင်), รัฐยะไข่
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 16 (MOC-16) แสนหวี (သိန်းနီ), รัฐฉาน ถูกยึดโดยพันธมิตรสามภราดรภาพเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2567[26] ก่อนหน้านี้ได้รับคำสั่งจากพลจัตวา ทอ ซิน อู[24] ปัจจุบันได้รับคำสั่งจากพันเอกหม่องหม่องเล เปลี่ยนชื่อหน่วยเป็นกองพลน้อยทหารราบที่ 16[27]
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 17 (MOC-17) Mong Pan (မိုင်းပန်), รัฐฉาน
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 18 (MOC-18) Mong Hpayak (မိုင်းပေါက်), รัฐฉาน
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 19 (MOC-19) เย่ (ရေး), รัฐมอญ
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 20 (MOC-20) Kawthaung (ကော့သောင်း), ภาคตะนาวศรี
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 21 (MOC-21) บะมอ (ဗန်းမော်), รัฐกะชีน

กองพลทหารราบเบา (LID)[แก้]

กองพลทหารราบเบา (Light Infantry Division: LID, ခြေမြန်တပ်မ or တမခ) บัญชาการโดย พลจัตวา แต่ละกองพลมีกองพันทหารราบเบา 10 กองพัน สังกัด 3 หน่วยบัญชาการยุทธการทางยุทธวิธี บัญชาการโดย พันเอก (3 กองพัน และกองหนุน 1 กองพัน) กองพันทหารปืนใหญ่สนาม 1 กองพัน กองพันทหารม้ายานเกราะ 1 กองพัน และหน่วยสนับสนุนอื่น ๆ[8][19]

กองพลทหารราบเบาถูกใช้ครั้งแรกในกองทัพบกพม่าเมื่อปี พ.ศ. 2509 เพื่อเป็นกองกำลังเคลื่อนที่ตอบโต้เร็วสำหรับปฏิบัติการโจมตี กองพลทหารราบเบาที่ 77 ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2509 ตามด้วยกองพลทหารราบเบาที่ 88 และกองพลทหารราบเบาที่ 99 ในสองปีถัดมา กองพลทหารราบเบาที่ 77 เป็นหน่วยหลักที่สร้างความพ่ายแพ้ให้กับกองกำลังคอมมิวนิสต์ของพรรคคอมมิวนิสต์พม่า (CBP) ซึ่งมีฐานตั้งอยู่ในเนินเขาที่มีสภาพเป็นป่าของเทือกเขาพะโคตอนกลางในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 กองพลทหารราบเบาอีกสามแห่งได้รับการก่อตั้งในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ทศวรรษ 1970 (กองพลทหารราบเบาที่ 66, 55 และ 44) โดยมีกองบังคับการอยู่ที่เมืองแปร, อองบัน และสะเทิม ตามมาด้วยการก่อตั้งกองพลทหารราบเบาอีกสองแห่งในช่วงก่อนรัฐประหาร พ.ศ. 2531 (กองพลทหารราบเบาที่ 33 มีกองบังคับการอยู่ที่ซะไกง์ และกองพลทหารราบเบาที่ 22 มีกองบังคับการอยู่ที่พะอัน) กองพลทหารราบเบาที่ 11 ก่อตั้งขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2531 โดยมีกองบังคับการอยู่ที่ อินดีน, ภาคพะโค และกองพลทหารราบเบาที่ 101 ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2534 โดยมีกองบังคับการอยู่ที่ปะโคะกู[8][19]

กองพลทหารราบเบาแต่ละแห่งได้รับคำสั่งจากนายทหารระดับ พลจัตวา (Bo hmu gyoke) ประกอบด้วยกองพันทหารราบเบา 10 กองพัน ที่ได้รับการฝึกมาเป็นพิเศษในการต่อต้านการก่อความไม่สงบ การสงครามในป่า ปฏิบัติการ "ค้นหาและทำลาย" เพื่อต่อต้านกลุ่มก่อความไม่สงบทางชาติพันธุ์และกองกำลังค้ายาติดยาเสพติด กองพันเหล่านี้จัดอยู่ภายใต้ 3 หน่วยบัญชาการยุทธการทางยุทธวิธี (TOC; Nee byu har) หน่วยบัญชาการยุทธการทางยุทธวิธีแต่ละแห่งจะได้รับคำสั่งจาก พันเอก (Bo hmu gyi) ประกอบด้วยกองพันรบตั้งแต่ 3 หน่วยขึ้นไป โดยมีการจัดหน่วยบังคับบัญชาและการสนับสนุนที่คล้ายคลึงกับกองพลน้อยในกองทัพตะวันตก กองพันทหารราบหนึ่งกองอยู่ในสถานะของกองหนุน ในปี พ.ศ. 2543 กองพลทหารราบเบาทั้งหมดมีหน่วยปืนใหญ่สนามเป็นหน่วยสนับสนุนของตนเอง ตัวอย่างเช่น ตอนนี้กองร้อยทหารปืนใหญ่สนามที่ 314 เป็นส่วนหนึ่งของกองพันทหารราบเบาที่ 44 แล้ว กองพันทหารราบเบาบางแห่งได้รับการฝึกปฏิบัติการกระโดดร่มและส่งทางอากาศ และกองพลทหารราบเบา 2 กองพลได้ถูกดัดแปรสภาพเป็นทหารราบยานเกราะด้วยกองพลปืนใหญ่ กองพันลาดตระเวนยานเกราะ และกองพันรถถัง[8]

กองพลทหารราบเบาถือเป็นกองกำลังเชิงยุทธศาสตร์ของกองทัพบกพม่า และหลังจากการปรับโครงสร้างหน่วยและการปรับโครงสร้างการบังคับบัญชาของกองทัพพม่าใหม่ในปี พ.ศ. 2533 ในปัจจุบันกองพลทหารราบเบาอยู่ภายใต้การรับผิดชอบโดยตรงจากเสนาธิการทหารบก (กองทัพบก)[8][19]

กองพลทหารราบเบา (LID) ตรา ปีก่อตั้ง หน่วยบัญชาการ ผู้บัญชาการคนแรก คนปัจจุบัน หมายเหตุ
กองพลทหารราบเบาที่ 11
11th Light Infantry Division
11th Light Infantry Division
2531 อินดีน พันเอก วิน มิ้นท์ เกิดขึ้นหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2531
กองพลทหารราบเบาที่ 22
22nd Light Infantry Division
22nd Light Infantry Division
2530 พะอัน พันเอก ติน หล่า เกี่ยวข้องกับการปราบปรามผู้ประท้วงที่ไม่มีอาวุธระหว่างการลุกฮือในระบอบประชาธิปไตย การก่อการกำเริบ 8888
กองพลทหารราบเบาที่ 33
33rd Light Infantry Division
33rd Light Infantry Division
2527 มัณฑะเลย์/ต่อมาไปที่ ซะไกง์ พันเอก จ่อ บา เกี่ยวข้องกับการปราบปรามชาวโรฮีนจาในรัฐยะไข่ทางตอนเหนือ[28]

มีส่วนร่วมในความขัดแย้งในรัฐกะชีน

กองพลทหารราบเบาที่ 44
44th Light Infantry Division
44th Light Infantry Division
2522 สะเทิม พันเอก มยัต ถิน ผู้บัญชาการคนก่อน พลจัตวา เอ มิน นอง ถูกสังหารหลังจากเฮลิคอปเตอร์ถูกยิงตกในปี 2566
กองพลทหารราบเบาที่ 55
55th Light Infantry Division
55th Light Infantry Division
2523 ซะไกง์/ต่อมาไปที่ กาลอ พันเอก โฟน มิ้นท์ ยอมแพ้ต่อกองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2566[29] ซึ่งรวมถึง ผู้บัญชาการ พลจัตวา ซอ เมียว วิน[30]
กองพลทหารราบเบาที่ 66
66th Light Infantry Division
66th Light Infantry Division
2519 อินน์มา พันเอก ตอง ซาร์ ไคง
กองพลทหารราบเบาที่ 77
77th Light Infantry Division
77th Light Infantry Division
2509 มอบี/ต่อมาไปที่ พะโค พันเอก ทิน สวี
กองพลทหารราบเบาที่ 88
88th Light Infantry Division
88th Light Infantry Division
2510 มะกเว พันเอก ธัน ติน
กองพลทหารราบเบาที่ 99
99th Light Infantry Division
99th Light Infantry Division
2511 เมะทีลา พันเอก จอ ถิ่น เกี่ยวข้องกับการปราบปรามชาวโรฮีนจาในรัฐยะไข่ทางตอนเหนือ[28]
กองพลทหารราบเบาที่ 101
101st Light Infantry Division
101st Light Infantry Division
2534 ปะโคะกู พันเอก ซอว์ ตุน กองพลทหารราบเบาที่ 101 ถูกส่งไปในระหว่างการกวาดล้างฝ่ายข่าวกรองทางทหารในปี พ.ศ. 2547

ผู้บัญชาการกองพลจัตวา มิน มิน ทุน ถูกจับโดยกองทัพปลดปล่อยชาติตะอ้อง[31]

หน่วยขีปนาวุธ ปืนใหญ่ และรถหุ้มเกราะ[แก้]

หน่วยขีปนาวุธ ปืนใหญ่ และรถหุ้มเกราะไม่ได้ใช้ถูกใช้งานในบทบาทอิสระ แต่กระทรวงกลาโหมได้นำไปใช้ในการสนับสนุนทหารราบตามการร้องขอ กรมการทหารปืนใหญ่และเหล่ายานเกราะก็ถูกแบ่งออกเป็นเหล่าแยกกันในปี พ.ศ. 2544 กรมการทหารปืนใหญ่และเหล่าทหารขีปนาวุธก็แบ่งออกเป็นเหล่าที่แยกจากกันในปี พ.ศ. 2552 การขยายกำลังภายใต้กรมทหารเหล่านี้ตามมาด้วยอุปกรณ์ที่จัดหาจากจีน รัสเซีย ยูเครนและอินเดีย[8][19]

กรมการทหารขีปนาวุธ (หน่วยปืนใหญ่ขีปนาวุธพม่า)[แก้]

หน่วยบัญชาการยุทธการขีปนาวุธที่ 1[แก้]

หน่วยบัญชาการยุทธการขีปนาวุธที่ 1 (Missile Operational Command: MOC) ประกอบไปด้วย

กรมการทหารปืนใหญ่ (หน่วยทหารปืนใหญ่พม่า)[แก้]

กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 1 ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2495 โดยมีปืนใหญ่จำนวน 3 กระบอก อยู่ภายใต้กองอำนวยการของเหล่าทหารปืนใหญ่ มีการจัดตั้งกองพันปืนใหญ่อีก 3 กองพันในปลายปี พ.ศ. 2495 รูปแบบนี้ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจนกระทั่ง พ.ศ. 2531 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 กรมการทหารปืนใหญ่ได้ดูแลการขยายหน่วยบัญชาการยุทธการทหารปืนใหญ่ (Artillery Operations Command: AOC) จาก 2 เป็น 10 หน่วย ความตั้งใจที่ระบุไว้ของกองทัพพม่าคือการจัดตั้งหน่วยบัญชาการยุทธการทหารปืนใหญ่ที่ขึ้นตรงต่อทั้ง 12 กองบังคับการกองบัญชาการภูมิภาคทหาร (RMC)

ในปี พ.ศ. 2543 ทหารปืนใหญ่ของกองทัพพม่ามีกองพันประมาณ 60 กองพัน และกองร้อยทหารปืนใหญ่อิสระอีก 37 กองร้อย สังกัดกองบัญชาการภูมิภาคทหาร (RMC) กองพลทหารราบเบา (LID) หน่วยบัญชาการยุทธการทหาร (MOC) และหน่วยบัญชาการยุทธการภูมิภาค (ROC) เช่น กองร้อยทหารปืนใหญ่ที่ 314 อยู่ภายใต้กองพลทหารราบเบาที่ 44, กองร้อยทหารปืนใหญ่ที่ 326 สังกัดหน่วยบัญชาการยุทธการทหารที่ 5, กองร้อยทหารปืนใหญ่ที่ 074 อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของหน่วยบัญชาการยุทธการภูมิภาค (บะโม) และกองร้อยทหารปืนใหญ่ที่ 076 อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกองทัพน้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กองพันทหารปืนใหญ่จำนวน 20 กองพันนี้จัดกลุ่มอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการยุทธการทหารปืนใหญ่ที่ 707 (Artillery Operations Command: AOC) ในเมืองเจาะปะด้อง และหน่วยบัญชาการยุทธการทหารปืนใหญ่ที่ 808 (AOC) ในเมืองโอ๊คทวิน ใกล้เมืองตองอู กองพันที่เหลืออีก 30 กองพัน รวมถึงกองพันทหารปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยาน 7 กองพัน อยู่ภายใต้กองอำนวยการกองทัพน้อยทหารปืนใหญ่[8][19]

หน่วยบัญชาการยุทธการทหารปืนใหญ่ (AOC)[แก้]

กองพันทหารปืนใหญ่สนามเบา ประกอบด้วย กองร้อยทหารปืนใหญ่สนาม 3 กองร้อย พร้อมด้วยปืนใหญ่สนามหรือปืนใหญ่วิถีโค้ง 36 กระบอก (12 กระบอกต่อกองร้อย) กองพันทหารปืนใหญ่ขนาดกลาง ประกอบด้วย กองร้อยทหารปืนใหญ่ขนาดกลาง 3 กองร้อย พร้อมด้วยปืนใหญ่สนามหรือปืนใหญ่วิถีโค้ง 18 กระบอก (ปืน 6 กระบอกต่อ 1 กองร้อย) ในปี พ.ศ. 2554 ปืนใหญ่สนามทั้งหมดของกองทัพน้อยทหารปืนใหญ่พม่ากำลังอยู่ระหว่างโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ รวมถึงระบบควบคุมการยิงด้วยจีพีเอส

หน่วยบัญชาการยุทธการทหารปืนใหญ่ (AOC) กองบัญชาการ หมายเหตุ
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารปืนใหญ่ที่ 505 มะริด (မြိတ်)
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารปืนใหญ่ที่ 707 เจาะปะด้อง (ကျောက်ပန်းတောင်း)
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารปืนใหญ่ที่ 606 สะเทิม (သထုံ)
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารปืนใหญ่ที่ 808 ออคทวิน (အုပ်တွင်းမြို့)
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารปืนใหญ่ที่ 909 มองคอน--เชียงตุง
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารปืนใหญ่ที่ 901 บอ เน็ท จี (ဘောနက်ကြီး--ပဲခူးတိုင်း)
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารปืนใหญ่ที่ 902 นุ้งกิ้ว
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารปืนใหญ่ที่ 903 อองบัน
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารปืนใหญ่ที่ 904 โม่ญี่น (မိုးညှင်း)
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารปืนใหญ่ที่ 905 ปาเดอิน-งาเป

กรมการทหารยานเกราะ (เหล่ายานเกราะพม่า)[แก้]

กองร้อยยานเกราะที่ 1 และกองร้อยยานเกราะที่ 2 ก่อตั้งขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2493 ภายใต้กองอำนวยการกองทัพน้อยทหารยานเกราะและปืนใหญ่ พร้อมด้วยรถถังเชอร์แมน รถถังเบาสจวร์ต รถสเกาท์ฮัมเบอร์ รถหุ้มเกราะเฟอร์เรต และยูนิเวอร์เซล แคริเออร์ ทั้งสองกองร้อยนี้รวมกันเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 กลายเป็นกองพันยานเกราะที่ 1 มีกองบัญชาการอยู่ที่มีนกะลาโดน เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 กองพันรถถังได้ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับรถถังคอเมตจำนวน 25 คันที่ได้มาจากสหราชอาณาจักร

กองพลทหารยานเกราะหรือที่เรียกว่า หน่วยบัญชาการยุทธการทหารยานเกราะ (Armoured Operations Command: AROC) ภายใต้การบังคับบัญชาของกองอำนวยการกองทัพน้อยทหารยานเกราะ ได้มีการขยายหน่วยจาก 1 เป็น 2 หน่วย แต่ละหน่วยมีกองพันรบยานเกราะ 4 กองพัน ประกอบไปด้วย รถรบทหารราบ และรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ กองพันรถถัง 3 กองพัน ประกอบไปด้ววย รถถังหลัก และกองพันรถถัง 3 กองพัน ประกอบไปด้วย รถถังเบา[19] ในกลางปี พ.ศ. 2546 กองทัพพม่าได้ซื้อรถถังหลักที-72 จำนวน 139 คันจากยูเครน และลงนามในสัญญาสร้างและก่อสร้างโรงงานในพม่าเพื่อผลิตและประกอบรถลำเลียงพลหุ้มเกราะบีทีอาร์ 1,000 คัน ในปี พ.ศ. 2547[32] ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลอินเดียได้โอนรถถังหลัก ที-55 ไม่ระบุจำนวนที่กำลังถูกปลดประจำการไปยังกองทัพพม่า พร้อมด้วยปืนใหญ่สนามเบา 105 มม. รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ และเฮลิคอปเตอร์รบเบา HAL เพื่อแลกกับการสนับสนุนและความร่วมมือของกองทัพพม่าในการกวาดล้างกลุ่มติดอาวุธอินเดียที่ปฏิบัติการจากฐานในพม่า[33]

หน่วยบัญชาการยุทธการทหารยานเกราะ (AROC)[แก้]

หน่วยบัญชาการยุทธการทหารยานเกราะ (Armoured Operations Command: AROC) เทียบเท่ากับกองพลยานเกราะอิสระในประเทศตะวันตก ปัจจุบันมีหน่วยบัญชาการยุทธการทหารยานเกราะ 5 หน่วย สังกัดกองอำนวยการกองทัพน้อยทหารยานเกราะ ตามทำเนียบกำลังรบของกองทัพพม่า กองทัพพม่าวางแผนที่จะจัดตั้งหน่วยบัญชาการยุทธการทหารยานเกราะ (AROC) ในแต่ละหน่วยใน 7 กองบัญชาการภูมิภาคทหาร ตามรูปแบบของกองพลทหารยานเกราะในกองทัพบกพม่า ประกอบด้วย กองบัญชาการ หน่วยบัญชาการยุทธการทางยุทธวิธียานเกราะ 3 หน่วย – แต่ละหน่วยมีกองพันทหารราบยานเกราะ 1 กองพัน ประกอบไปด้วย บีเอ็มพี-1 จำนวน 44 คัน หรือรถรบทหารราบ เอ็มเอวี-1, กองพันรถถัง 2 กองพัน ประกอบด้วย รถถังหลัก 44 คัน ในแต่ละกองพัน, กองพันลาดตระเวนยานเกราะ 1 กองพัน ประกอบด้วย รถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก ไทป์-63A จำนวน 32 คัน, กองพันทหารปืนใหญ่สนาม 1 กองพัน และกองพันสนับสนุน 1 กองพัน กองพันสนับสนุนประกอบด้วยกองร้อยทหารช่าง กองร้อยส่งกำลังบำรุง 2 กองร้อย และกองร้อยทหารสื่อสาร 1 กองร้อย

กองทัพบกพม่าได้ซื้อรถหุ้มเกราะ EE-9 Cascavel ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ประมาณ 150 คันจากบริษัทอิสราเอลในปี พ.ศ. 2548[34] ซึ่งจัดอยู่ในประจำการกองทัพบกว่าเป็นรถถังเบา ปัจจุบัน Cascavel ประจำการอยู่ในรัฐฉานตะวันออกและบริเวณภาคสามเหลี่ยมใกล้กับชายแดนไทย

หน่วยบัญชาการยุทธการทหารยานเกราะ (ArOC) กองบัญชาการ หมายเหตุ
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารยานเกราะที่ 71 ปยอ-บแว (ပျော်ဘွယ်)
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารยานเกราะที่ 72 โอนทอว์ (အုန်းတော)
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารยานเกราะที่ 73 มาลุน (မလွန်)
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารยานเกราะที่ 74 อินเทง (အင်းတိုင်)
หน่วยบัญชาการยุทธการทหารยานเกราะที่ 75 ทาการา (သာဂရ)

สำนักงานผู้บัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ (ปืนใหญ่ป้องกันภัยทางอากาศพม่า)[แก้]

สำนักงานผู้บัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ (Office of the chief of Air Defence, လေကြောင်းရန်ကာကွယ်ရေးတပ်ဖွဲ့အရာရှိချုပ်ရုံး) เป็นหนึ่งในเหล่าหลักของกองทัพพม่า ก่อตั้งขึ้นเป็นกองบัญชาการป้องกันทางอากาศ (Air Defence Command) ในปี พ.ศ. 2540 แต่ไม่ได้ปฏิบัติการอย่างเต็มรูปแบบจนกระทั่งปลายปี พ.ศ. 2542 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักป้องกันทางอากาศในต้นปี พ.ศ. 2543 กระทั่งในช่วงต้นปี พ.ศ. 2543 กองทัพพม่าได้จัดตั้งระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบบูรณาการแห่งพม่า (Myanmar Integrated Air Defence System: MIADS, မြန်မာ့အလွှာစုံပေါင်းစပ်လေကြောင်းရန်ကာကွယ်ရေးစနစ်) ด้วยความช่วยเหลือจากรัสเซียและจีน เป็นสำนักบริการร่วมที่มีหน่วยจากกองทัพทั้งสามเหล่า ยุทโธปกรณ์ป้องกันภัยทางอากาศทั้งหมด ยกเว้นกองพันปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานของกองทัพบก จะรวมอยู่ในระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบบูรณาการแห่งพม่า (MIADS)[35]

กรมการทหารสื่อสาร (เหล่าทหารสื่อสารพม่า)[แก้]

ไม่นานหลังได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2491 เหล่าทหารสื่อสารพม่าได้ก่อตั้งขึ้นโดยมีหน่วยจากหน่วยสื่อสารพม่า หรือที่รู้จักในชื่อเหล่า "เอ็กซ์" ประกอบด้วยกองบัญชาการสื่อสารพม่า กองร้อยการฝึกสัญญาณพม่า (Burma Signal Training Squadron: BSTS) และกองร้อยสัญญาณพม่า (Burma Signals Squadron: BSS) กองบัญชาการสัญญาณพม่าตั้งอยู่ภายในสำนักงานสงคราม กองร้อยการฝึกสัญญาณพม่าซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในเมืองปยีนอู้ลวีน ก่อตั้งขึ้นโดยมีกองฝึกอบรมปฏิบัติการการเข้ารหัส, กองฝึกอบรมการสื่อสารเร่งด่วน, กองฝึกอบรมการสื่อสารด้วยสาย, กองกำลังฝึกอบรมช่างวิทยุ และกองกำลังฝึกอบรมสัญญาณกรมทหาร กองร้อยสัญญาณพม่ามีฐานอยู่ในมีนกะลาโดน ประกอบด้วย 9 แผนก ได้แก่

  • หน่วยสารบรรณ
  • หน่วยซ่อมบำรุง
  • หน่วยปฏิบัติการ
  • หน่วยการเข้ารหัส
  • หน่วยสื่อสารด้วยสายและการสื่อสารเร่งด่วน
  • หน่วยทหารสัญญาณ NBSD
  • หน่วยทหารสัญญาณ SBSD
  • หน่วยสัญญาณกองพลน้อยเคลื่อนที่ และ
  • หน่วยทหารสัญญาณยะไข่

หัวหน้าเจ้าหน้าที่สัญญาณ (Chief of Signal Staff Officer: CSO) ในขณะนั้นคือ พันโท ซอ ออง ดิน ภายหลังเปลี่ยนชื่อกองร้อยการฝึกสัญญาณพม่า (BSTS) และกองร้อยสัญญาณพม่า (BSS) เป็นกองพันทหารสื่อสารที่ 1 และกองพันฝึกอบรมทหารสื่อสารที่ 1 ในปี พ.ศ. 2495 กรมทหารสื่อสารกองพลทหารราบได้ถูกก่อตั้งขึ้น และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองพันทหารสื่อสารที่ 2 กองบัญชาการทหารสื่อสารพม่าได้รับการจัดรูปแบบใหม่และกลายเป็น กรมการทหารสื่อสาร และผู้บัญชาการได้รับการยกระดับการบัญชาการเป็นพันเอก ในปี พ.ศ. 2499 กองพันรักษาความปลอดภัยทหารสื่อสาร 1 ได้รับการจัดตั้งขึ้น ตามมาด้วยกองพันทหารสื่อสารที่ 3 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2501 และกองพันทหารสื่อสารที่ 4 ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2502

พ.ศ. 2504 ได้มีการจัดกองพันทหารสื่อสารใหม่ให้อยู่ในกองบัญชาการภูมิภาคทหาร (RMC) เป็น กองพันทหารสื่อสารที่ 11 สังกัดกองทัพน้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, กองพันทหารสื่อสารที่ 121 สังกัดกองทัพน้อยภาคตะวันออก, กองพันทหารสื่อสารที่ 313 สังกัดกองทัพน้อยภาคกลาง, กองพันทหารสื่อสารที่ 414 สังกัดกองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงใต้ และกองพันทหารสื่อสารที่ 515 สังกัดกองทัพน้อยภาคตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่กองพันฝึกอบรมทหารสื่อสารที่ 1 เปลี่ยนชื่อเป็น โรงฝึกทหารสื่อสารพม่า (บาโฮ-เซตเวเย-ตาด)

ภายในปี พ.ศ. 2531 กรมการทหารสื่อสารประกอบไปด้วยโรงฝึกทหารสื่อสาร 1 แห่ง กองพันทหารสื่อสาร 8 กองพัน กองพันรักษาความปลอดภัยทหารสื่อสาร 1 กองพัน คลังทหารสื่อสาร 1 แห่ง และโรงปฏิบัติการทหารสื่อสาร 2 แห่ง เหล่าทหารสื่อสารภายใต้กรมการทหารสื่อสารได้มีการปรับขยายขนาดหน่วยอีกในช่วงปี พ.ศ. 2533 โดยขยายและการปรับโครงสร้างเข้าไปไปในกองทัพพม่า ภายในปี พ.ศ. 2543 กองพันทหารสื่อสารนั้นมีประจำอยู่ในแต่ละกองบัญชาการภูมิภาคทหาร (RMC) และกองร้อยทหารสื่อสารจะประจำอยู่ในกองพลทหารราบเบา (LID) และหน่วยบัญชาการยุทธการทหาร (MOC)

ในปี พ.ศ. 2543 ระบบบัญชาการ การควบคุม และการสื่อสารของกองทัพบกพม่าได้รับการยกระดับครั้งใหญ่ โดยการจัดตั้งเครือข่ายการสื่อสารใยแก้วนำแสงของกองทัพ ซึ่งจัดการโดยกรมการทหารสื่อสารทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 กองบัญชาการภูมิภาคทหารของกองทัพบกพม่าทั้งหมดใช้ระบบโทรคมนาคมของตนเอง นอกจากนี้ ยังมีการเชื่อมต่อการสื่อสารผ่านดาวเทียมไปยังกองพันทหารราบส่วนหน้า อย่างไรก็ตาม ระบบการสื่อสารภายในสนามรบยังคงย่ำแย่ หน่วยทหารราบยังคงใช้วิทยุสื่อสารแบบ TRA 906 และ PRM 4051 ซึ่งได้มาจากสหราชอาณาจักรในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 กองทัพบกพม่ายังใช้ชุดวิทยุแบบ TRA 906 Thura และ XD-D6M ของจีนที่ผลิตในท้องถิ่น ชุดแฮนด์เซ็ตแบบกระโดดความถี่ที่ได้รับการติดตั้งไว้กับหน่วยในแนวหน้าทั้งหมด[36]

ระหว่างปี พ.ศ. 2543 ถึง พ.ศ. 2548 กองทัพบกพม่าซื้อชุดวิทยุ Brett 2050 Advanced Tech จำนวน 50 เครื่องจากออสเตรเลียผ่านบุคคลที่สามจากสิงคโปร์ วิทยุเหล่านั้นจะถูกแจกจ่ายให้กับหน่วยบัญชาการยุทธการภูมิภาค (ROC) ในภาคกลางและตอนบนเพื่อใช้ในการปฏิบัติการต่อต้านการก่อความไม่สงบ[19]

กรมการแพทย์[แก้]

ในช่วงที่ได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2491 เหล่าทหารแพทย์มีโรงพยาบาลทหารประจำฐานสองแห่ง แต่ละแห่งมีเตียง 300 เตียงในมีนกะลาโดนและปยีนอู้ลวีน ซึ่งเป็นคลังการแพทย์ในย่างกุ้ง หน่วยทันตกรรม 1 แห่ง และสถานีรับรองของค่าย 6 แห่ง ตั้งอยู่ในมยิจีนา, ซิตตเว, ตองอู, ปยี่นมะน่า, พะโค และเมะทีลา ระหว่างปี พ.ศ. 2501 ถึง พ.ศ. 2505 เหล่าทหารแพทย์ได้รับการปรับโครงสร้างใหม่ และสถานีรับรองของค่ายทั้งหมดได้รับการจัดระเบียบใหม่เป็นกองพันทหารเสนารักษ์

ในปี พ.ศ. 2532 กรมการแพทย์ได้ขยายขีดความสามารถไปพร้อมกับทหารราบอย่างมีนัยสำคัญ ในปี พ.ศ. 2550 มีโรงพยาบาลกองทัพ (Defence Services General Hospital) ขนาด 1,000 เตียงจำนวน 2 แห่ง (มีนกะลาโดนและเนปยีดอ), โรงพยาบาลขนาด 700 เตียงจำนวน 2 แห่ง ในเมืองปยีนอู้ลวีนและอองบัน, โรงพยาบาลทหารขนาด 500 เตียงจำนวน 2 แห่ง ในเมืองเมะทีลาและย่างกุ้ง, โรงพยาบาลกองทัพด้านกระดูกและข้อขนาด 500 เตียง 1 แห่ง ในมีนกะลาโดน, โรงพยาบาลกองทัพด้านสูตินรีเวชและเด็ก ขนาด 300 เตียงจำนวน 2 แห่ง (มีนกะลาโดนและเนปยีดอ), โรงพยาบาลทหารขนาด 300 เตียงจำนวน 3 แห่ง (มยิจีนา, แอน และเชียงตุง), โรงพยาบาลทหารขนาด 100 เตียงจำนวน 18 แห่ง (เมืองเพชร, บาน, อินไดง์, บาทู , มะริด, แปร, ลอยกอ, น้ำซำ, ล่าเสี้ยว, กะเล, มองสาด, ทวาย, เกาะสอง, เล่าไก่, ตานดอง, มะกเว, ซิตตเว และหอมมาลิน) กองพันทหารเสนารักษ์สนามจำนวน 14 กองพัน ซึ่งสังกัดกองบัญชาการภูมิภาคทหารต่าง ๆ ทั่วประเทศ กองพันทหารเสนารักษ์สนามแต่ละกองพันประกอบด้วยกองร้อยทหารเสนารักษ์สนาม 3 กองร้อย โดยมีหน่วยทหารเสนารักษ์สนาม 3 หน่วย และทีมผู้เชี่ยวชาญแต่ละหน่วย หน่วยควบคุมโรคและสุขภาพ (HDCU) มีหน้าที่ป้องกัน ควบคุม และขจัดโรค

หน่วย กองบัญชาการ กองบัญชาการภูมิภาคทหาร
ศูนย์เหล่าทหารแพทย์ มอบี กองทัพน้อยย่างกุ้ง
กองพันทหารเสนารักษ์สนามที่ 1 มัณฑะเลย์ กองบัญชาการภาคกลาง
กองพันทหารเสนารักษ์สนามที่ 2 ตองจี กองทัพน้อยภาคตะวันออก
กองพันทหารเสนารักษ์สนามที่ 3 ตองอู กองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงใต้
กองพันทหารเสนารักษ์สนามที่ 4 พะสิม กองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงใต้
กองพันทหารเสนารักษ์สนามที่ 5 มอละมไยน์ กองทัพน้อยภาคตะวันออกเฉียงใต้
กองพันทหารเสนารักษ์สนามที่ 6 มอบี กองทัพน้อยย่างกุ้ง
กองพันทหารเสนารักษ์สนามที่ 7 โมนยวา กองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
กองพันทหารเสนารักษ์สนามที่ 8 ซิตตเว กองทัพน้อยภาคตะวันตกเฉียงใต้
กองพันทหารเสนารักษ์สนามที่ 9 โม่ญี่น กองทัพน้อยภาคเหนือ
กองพันทหารเสนารักษ์สนามที่ 10 ล่าเสี้ยว กองทัพน้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กองพันทหารเสนารักษ์สนามที่ 11 บะมอ กองทัพน้อยภาคเหนือ
กองพันทหารเสนารักษ์สนามที่ 12 เชียงตุง กองทัพน้อยภาคตะวันออก
กองพันทหารเสนารักษ์สนามที่ 13 มะริด กองทัพน้อยชายฝั่ง
กองพันทหารเสนารักษ์สนามที่ 14 ไตจี กองทัพน้อยย่างกุ้ง
หน่วยควบคุมโรคและสุขภาพ มีนกะลาโดน กองทัพน้อยย่างกุ้ง

การฝึก[แก้]

สถาบันและวิทยาลัยป้องกันประเทศ[แก้]

สถาบันการศึกษา ที่ตั้ง
วิทยาลัยป้องกันประเทศ (National Defence College: NDC) เนปยีดอ (နေပြည်တော်)
วิทยาลัยเสนาธิการทหารและกองบัญชาการกลาโหม (Defence Services Command and General Staff College: DSCGSC) กาลอ (ကလော)
สถาบันป้องกันประเทศกลาโหม[37] (Defence Services Academy – DSA) ปยีนอู้ลวีน (ပြင်ဦးလွင်)
สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม[37] (Defence Services Technological Academy – DSTA) ปยีนอู้ลวีน (ပြင်ဦးလွင်)
สถาบันการแพทย์กลาโหม[37] (Defence Services Medical Academy – DSMA) ย่างกุ้ง (ရန်ကုန်)
สถาบันการพยาบาลและแพทย์ศาสตร์ทหาร (Military Institute of Nursing and Paramedical Science: MINP) ย่างกุ้ง (ရန်ကုန်)
สถาบันคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการทหาร (Military Computer And Technological Institute – MCTI) (อดีตวิทยาลัยเทคโนโลยีการทหาร MTC, ปยีนอู้ลวีน) โหโป๊ง (ဟိုပုံး)

โรงเรียนฝึกทหาร[แก้]

โรงเรียนฝึกทหาร ที่ตั้ง
โรงเรียนฝึกนายทหาร (Officer Training School: OTS) ค่ายบาทู
โรงเรียนฝึกการรบขั้นพื้นฐาน ค่ายบาทู
โรงเรียนกำลังรบทหารบกที่ 1 ค่ายบาทู
โรงเรียนกำลังรบทหารบกที่ 2 ค่ายบุเรงนอง
โรงเรียนฝึกทหารปืนใหญ่ โมนไท
โรงเรียนฝึกทหารยานเกราะ เมืองเมา
โรงเรียนสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ปยีนอู้ลวีน
โรงเรียนทหารช่าง ปยีนอู้ลวีน
โรงเรียนสงครามสารสนเทศ ย่างกุ้ง
โรงเรียนฝึกอบรมทางอากาศ ทางบก และพลร่ม มอบี
โรงเรียนกองกำลังพิเศษ ค่ายเยมอน

เครื่องหมายยศ[แก้]

ยศทหารชั้นสัญญาบัตร[แก้]

เครื่องหมายยศของนายทหารชั้นสัญญาบัตร

กลุ่มชั้นยศ นายพล / นายทหารชั้นนายพล นายทหารสัญญาบัตรอาวุโส นายทหารสัญญาบัตร นักเรียนนายร้อย
 กองทัพบกพม่า
General
ဗိုလ်ချုပ်မှူးကြီး
Builʻkhyupʻmhūʺkrīʺ
พลเอกอาวุโส
ဒုတိယ ဗိုလ်ချုပ်မှူးကြီး
Dutiya builʻkhyupʻmhūʺkrīʺ
รองพลเอกอาวุโส
ဗိုလ်ချုပ်ကြီး
Builʻkhyupʻkrīʺ
พลเอก
ဒုတိယ ဗိုလ်ချုပ်ကြီး
Dutiya builʻkhyupʻkrīʺ
พลโท
ဗိုလ်ချုပ်
Builʻkhyupʻ
พลตรี
ဗိုလ်မှူးချုပ်
Builʻmhūʺkhyupʻ
พลจัตวา
ဗိုလ်မှူးကြီး
Builʻmhūʺkrīʺ
พันเอก
ဒုတိယ ဗိုလ်မှူးကြီး
Dutiya builʻmhūʺkrīʺ
พันโท
ဗိုလ်မှူး
Builʻmhūʺ
พันตรี
ဗိုလ်ကြီး
Builʻkrīʺ
ร้อยเอก
ဗိုလ်
Builʻ
ร้อยโท
ဒုတိယ ဗိုလ်
Dutiyabuilʻ
ร้อยตรี
ဗိုလ်လောင်း
Builʻloṅʻʺ
นักเรียนนายร้อย

ยศทหารชั้นประทวน[แก้]

เครื่องหมายยศของนายทหารชั้นประทวน

กลุ่มชั้นยศ นายทหารประทวนอาวุโส นายทหารประทวน พลสมัคร
และพลทหาร
 กองทัพบกพม่า
ไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเครื่องหมาย
အရာခံဗိုလ်
’araākhaṃ bauilaʻ
นายดาบเอก
ဒုတိယအရာခံဗိုလ်
dautaiya ’araākhaṃ bauilaʻ
นายดาบโท
တပ်ခွဲတပ်ကြပ်ကြီး
tapaʻ khavai tapaʻ karpaʻ karīʺ
จ่ากองร้อย
တပ်ကြပ်ကြီး
tapaʻ karpaʻ karīʺ
สิบเอก
တပ်ကြပ်
tapaʻ karpaʻ
สิบโท
ဒုတိယတပ်ကြပ်
dautaiya tapaʻ karpaʻ
สิบตรี
တပ်သား
tapaʻ saāʺ
พลทหาร
တပ်သားသစ်
tapaʻ saāʺ sacaʻ
ทหารใหม่

ทำเนียบกำลังรบ[แก้]

  • 14 × กองบัญชาการภูมิภาคทหาร (RMC) จัดอยู่ใน 6 กองยุทธการพิเศษ (BSO)
  • 6 × หน่วยบัญชาการยุทธการภูมิภาค (ROC)
  • 20 × หน่วยบัญชาการยุทธการทหาร (MOC) รวมถึง 1 × กองพลทหารราบส่งทางอากาศ
  • 10 × กองพลทหารราบเบา (LID)
  • 5 × หน่วยบัญชาการยุทธการทหารยานเกราะ (AOC) (แต่ละหน่วยประกอบไปด้วยกองพันรถถัง 6 กองพัน และกองพันทหารราบยานเกราะ 4 กองพัน (รถรบทหารราบ / รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ)
  • 10 × หน่วยบัญชาการยุทธการทหารปืนใหญ่ (AOC) (พร้อมด้วยกองพันทหารปืนใหญ่สนาม 113 กองพัน)
  • 9 × หน่วยบัญชาการยุทธการป้องกันภัยทางอากาศ
  • 1 × หน่วยบัญชาการยุทธการขีปนาวุธ
  • 40+ × กองร้อยรักษาความปลอดภัยกิจการทหาร (หน่วยรักษาความปลอดภัยกิจการทหาร เข้ามาแทนที่หน่วยข่าวกรองทางทหารในอดีต หลังจากการยุบกองอำนวยการหน่วยข่าวกรองกลาโหม (Directorate of Defence Service Intelligence: DDSI))
  • 45 × กองพันทหารสื่อสารขั้นสูง
  • 54 × กองพันทหารช่างสนาม
  • 4 × กองพันทหารช่างยานเกราะ
  • 14 × กองพันทหารเสนารักษ์[19]

ยุทโธปกรณ์[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ตราสัญลักษณ์นี้ยังเป็นอาร์มติดไหล่ (SSI) ของสำนักงานผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพบกพม่า

อ้างอิง[แก้]

  1. "Official site of Commander-in-Chief's Office of the Myanmar Armed Forces". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2022. สืบค้นเมื่อ 17 June 2022.
  2. International Institute for Strategic Studies (15 February 2023). The Military Balance 2023. London: Routledge. p. 275. ISBN 9781032508955.
  3. "Border Guard Force Scheme". Myanmar Peace Monitor. 11 January 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2020. สืบค้นเมื่อ 8 August 2020.
  4. Maung Zaw (18 March 2015). "Taint of 1988 still lingers for rebooted student militia". Myanmar Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2021. สืบค้นเมื่อ 8 August 2020.
  5. The Asian Conventional Military Balance 2006 (PDF), Center for Strategic and International Studies, 26 มิถุนายน 2006, p. 4, เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 เมษายน 2011, สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2011
  6. "Myanmar allocates 1/4 of new budget to military". Associated Press. 1 มีนาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2011.
  7. Working Papers – Strategic and Defence Studies Centre, Australian National University
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 8.7 Selth, Andrew (2002) : Burma's Armed Forces: Power Without Glory, Eastbridge. ISBN 1-891936-13-1
  9. Far Eastern Economic Review, 20 May 1981
  10. FEER, 7 July 1983
  11. Bertil Lintner, Land of Jade
  12. Asiaweek 21 February 1992
  13. The Defence of Thailand (Thai Government issue), p.15, April 1995
  14. "Myanmar's losing military strategy". Asia Times. 7 ตุลาคม 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 พฤษภาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2010.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  15. WP 342. Australian National University
  16. "พม่าเปลี่ยนผบ.กองยุทธการพิเศษ คาดรับหน้าที่กล่อมกลุ่มหยุดยิง". prachatai.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "จัดใหม่ "ครม.พม่า" แยก ก.พลังงาน-ไฟฟ้า โยก พล.ท.ตานหล่าย จาก มท.กลับกองทัพ". mgronline.com. 2022-05-04.
  18. "Myanmar-Army Regional Military Commands". Global Security. GlobalSecurity.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2021. สืบค้นเมื่อ 23 September 2021.
  19. 19.00 19.01 19.02 19.03 19.04 19.05 19.06 19.07 19.08 19.09 Myoe, Maung Aung: Building the tatmadaw – Myanmar Armed Forces Since 1948, Institute of SouthEast Asian Studies. ISBN 978-981-230-848-1
  20. "Junta Expands Military". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มีนาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2011.
  21. 21.0 21.1 "မြန်မာစစ်တပ် ဘာကြောင့် အားနည်းသွားသလဲ" (ภาษาพม่า). BBC News မြန်မာ. 2024-01-02. สืบค้นเมื่อ 2024-04-07.
  22. မိုးဦး, ရောင်နီ (2024-02-08). "စကခ (၉) လက်အောက်ခံ ခြေမြန်တပ်ရင်း ၁၀ ရင်းလုံး AA သိမ်းယူ". Myanmar Now. สืบค้นเมื่อ 2024-04-07.
  23. "ရက္ခိုင်တပ်တော်၏ ၃ လတာ တိုက်ပွဲအတွင်း တပ်မမှူးနှင့် ဗျူဟာမှူးအဆင့် ၂ ဦးအား အရှင်ဖမ်းမိပြီး ၂ ဦးအားအသေမိ". Narinjara News (ภาษาพม่า). สืบค้นเมื่อ 2024-04-07.
  24. 24.0 24.1 "လောက်ကိုင်မှာ လက်နက်ချတဲ့ တပ်မှူးတွေ သေဒဏ်တကယ်ပေးခံရသလား" (ภาษาพม่า). BBC News မြန်မာ. 2024-01-24. สืบค้นเมื่อ 2024-04-07.
  25. views, MLAT in သတင်း | သတင်းတို 19 January 2024 • 1110. "ရှမ်းမြောက်မှာ လက်နက်ချ၊ ဖမ်းဆီးခံရတဲ့ ဗိုလ်မှူးချုပ်တွေနေရာကို လူစားထိုးခန့်". myaelattathan.org. สืบค้นเมื่อ 2024-04-07.
  26. "Myanmar's Brotherhood Alliance Seizes Two More Towns in Shan State".
  27. "သိန္နီမြို့၌ သဘာဝဘေးအန္တရာယ်ကြိုတင်ကာကွယ်ရေး ပြင်ဆင်စုဖွဲ့ခြင်းလုပ်ငန်းဆောင်ရွက် | Information and Public Relations Department". moi.gov.mm. สืบค้นเมื่อ 2024-04-07.
  28. 28.0 28.1 "How Myanmar's shock troops led the assault that expelled the Rohingya". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 26 มิถุนายน 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กรกฎาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2018.
  29. "Myanmar Infantry Division Surrenders in Laukkai, Shan State: Reports".
  30. "လောက်ကိုင်မှာ လက်နက်ချတဲ့ တပ်မှူးတွေ သေဒဏ်တကယ်ပေးခံရသလား" (ภาษาพม่า). BBC News မြန်မာ. 2024-01-24. สืบค้นเมื่อ 2024-04-07.
  31. ကိုထက်မြတ်ပြောတဲ့ (၁၀၁) တပ်မမှူးမင်းမင်းထွန်းအကြောင်း. สืบค้นเมื่อ 2024-04-07 – โดยทาง YouTube.
  32. "The Kiev Connection". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2011.
  33. "Defense19". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2014.
  34. "Why Russia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2014. สืบค้นเมื่อ 12 March 2015.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  35. IndraStra Global Editorial Team (30 ตุลาคม 2020). "Myanmar Integrated Air Defense System". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2015.
  36. "Burmanet " Jane's Intelligence Review: Radio active – Desmond Ball and Samuel Blythe". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ธันวาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2014.
  37. 37.0 37.1 37.2 "โรงเรียนนายร้อย…กองทัพเมียนมา". www.matichon.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]