กบฏสามครั้งในฉิวฉุน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กบฏสามครั้งในฉิวฉุน
ส่วนหนึ่งของ สงครามในยุคสามก๊ก
วันที่กบฏครั้งแรก: 7–15 มิถุนายน ค.ศ. 251
กบฏครั้งที่สอง: 5 กุมภาพันธ์ – 11 มีนาคม ค.ศ. 255
กบฏครั้งที่สาม: มิถุนายน ค.ศ. 257 – มีนาคมหรือเมษายน ค.ศ. 258
สถานที่
ฉิวฉุน (ปัจจุบันคืออำเภอโช่ว มณฑลอานฮุย ประเทศจีน)
ผล กบฏถูกปราบปราม การควบคุมพระราชอำนาจเหนือวุยก๊กของตระกูลสุมาเข้มแข็งมากขึ้น
คู่สงคราม
กบฏครั้งแรก:
หวาง หลิง
กบฏครั้งที่สอง:
บู๊ขิวเขียม
บุนขิม
กบฏครั้งที่สาม:
จูกัดเอี๋ยน
ง่อก๊ก
วุยก๊ก
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กบฏครั้งแรก:
หวาง หลิง Surrendered
กบฏครั้งที่สอง:
บู๊ขิวเขียม 
บุนขิม
กบฏครั้งที่สาม:
จูกัดเอี๋ยน 
ซุนหลิม
กบฏครั้งแรก:
สุมาอี้
กบฏครั้งที่สอง:
สุมาสู
เตงงาย
จูกัดเอี๋ยน
กบฏครั้งที่สาม:
สุมาเจียว
จงโฮย
เฮาหุน
อองกี๋
กบฏสามครั้งในฉิวฉุน
อักษรจีนตัวเต็ม壽春三叛
อักษรจีนตัวย่อ寿春三叛
กบฏสามครั้งในห้วยหนำ
อักษรจีนตัวเต็ม淮南三叛
อักษรจีนตัวย่อ淮南三叛

กบฏสามครั้งในฉิวฉุน (จีน: 壽春三叛) หรือ กบฏสามครั้งในห้วยหนำ (จีน: 淮南三叛) เป็นชุดการก่อการกำเริบที่เกิดขึ้นในรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน กบฏเกิดขึ้นในช่วงปลายของสมัยวุยก๊กเมื่อตระกูลสุมานำโดยสุมาอี้แย่งชิงอำนาจรัฐ ผู้ว่าราชการทางการทหารของอำเภอฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; ปัจจุบันคืออำเภอโช่ว มณฑลอานฮุย) ลุกขึ้นก่อการกำเริบสามครั้งในนามของการก่อกบฏเพื่อโค่นล้มตระกูลสุมา ผู้นำของกบฏในแต่ละครั้ง ได้แก่ หวาง หลิง (ครั้งที่ 1), บู๊ขิวเขียมและบุนขิม (ครั้งที่ 2) และจูกัดเอี๋ยน (ครั้งที่ 3) การก่อการกำเริบทุกครั้งถูกปราบปรามลงในท้ายที่สุด

ภูมิหลัง[แก้]

ในปี ค.ศ. 249 ในอุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง สุมาอี้ยึดอำนาจจากโจซองในการก่อรัฐประหาร และสั่งให้ตระกูลของโจซองทั้งหมดถูกประหารชีวิต ตั้งแต่นั้นมาราชสำนักวุยก๊กก็ถูกอยู่ภายใต้การควบคุมของตระกูลสุมา หลังการเสียชีวิตของสุมาอี้ อำนาจได้สืบทอดต่อมาโดยสุมาสูบุตรชายคนโต และต่อมาได้ส่งต่อไปยังสุมาเจียวบุตรชายคนรองของสุมาอี้ภายหลังสุมาสูเสียชีวิต

กบฏ[แก้]

กบฏหวาง หลิง[แก้]

หลังอุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง สุมาอี้เลื่อนยศให้หวาง หลิง (王淩) ขุนพลผู้ดูแลอำเภอฉิวฉุนขึ้นเป็นเสนาบดีกลาโหม (太尉 ไท่เวย์) หวาง หลิงและลิ่งหู ยฺหวี (令狐愚) หลานชายเห็นว่าจักรพรรดิโจฮองยังทรงพระเยาว์เกินไปที่จะปกครอง และเห็นว่าสุมาอี้เป็นผู้กุมอำนาจรัฐอย่างแท้จริง ทั้งสองจึงวางแผนจะปลดโจฮองและตั้งเฉา เปี่ยว (曹彪) อ๋องแห่งฌ้อ (楚王 ฉู่หวาง) ขึ้นเป็นจักรพรรดิแทน ลิ่งหู ยฺหวีส่งผู้ใต้บังคับบัญชาชื่อจาง ชื่อ (張式) ไปติดต่อกับเฉา เปี่ยว

ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 251 หวาง หลิงถือโอกาสส่งคำร้องถึงราชสำนักวุยก๊ก ขออนุญาตเข้าโจมตีทัพง่อก๊กในถูฉุ่ย (塗水) การทัพรบกับง่อก๊กนั้นแท้จริงเป็นหน้ากากบังหน้าที่ใช้ปกปิดเจตนาของหวาง หลิงที่จะก่อกบฏ หวาง หลิงไม่ได้รับการตอบกลับใด ๆ จึงส่งหยาง หง (楊弘) ไปแจ้งหฺวาง หฺวา (黃華) ข้าหลวงมณฑลกุนจิ๋วเรื่องแผนการก่อกบฏ ด้วยหวังว่าหฺวาง หฺวาจะสนับสนุนตน อย่างไรก็ตาม หยาง หงและหฺวาง หฺวารายงานสุมาอี้เรื่องที่หวาง หลิงคิดการก่อกบฏ ข่าวเรื่องการก่อกบฏไปถึงจักรพรรดิโจฮองในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 251[1] สุมาอี้จึงยกทัพออกปราบปรามกบฏด้วยตนเอง หวาง หลิงตระหนักดีว่าตนสู้ไม่ได้จึงตกลงยอมจำนนหลังสุมาอี้ให้คำมั่นว่าจะให้อภัยโทษหวาง หลิงในข้อหากบฏ หวาง หลิงรู้ดีว่าไม่ว่าอย่างไรตนก็คงถูกตัดสินโทษตาย จึงฆ่าตัวตายเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 251[1] ระหว่างถูกคุมตัวไปยังนครหลวงลกเอี๋ยง ตระกูลของหวาง หลิงก็ถูกกวาดล้างเช่นกัน ส่วนเฉา เปี่ยวก็ได้รับคำสั่งให้ปลิดชีวิตตนเอง

กบฏบู๊ขิวเขียมและบุนขิม[แก้]

กบฏจูกัดเอี๋ยน[แก้]

ผลสืบเนื่อง[แก้]

บุคคลในยุทธการ[แก้]

กบฏหวาง หลิง[แก้]

กบฏบู๊ขิวเขียมและบุนขิม[แก้]

กบฏจูกัดเอี๋ยน[แก้]

ในวัฒนธรรมประชานิยม[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.

บรรณานุกรม[แก้]