ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนเทพลีลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเทพลีลา
TEPLEELA SCHOOL (World Class Standard School)
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นท.ล. (T.L.)
ประเภทมัธยมศึกษา
คำขวัญลูกเทพลีลาบุคลิกดี มีสัมมาคารวะ - สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี
สถาปนา17 พฤษภาคม พ.ศ. 2505
ผู้ก่อตั้งพระครูสุวรรสุทธิการ(พระปลัดทองสุข สีลวณโณ)
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1000100602
ผู้อำนวยการดร.รังสรรค์ นกสกุล
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น - มัธยมศึกษาตอนปลาย
เพศสหศึกษา
การลงทะเบียน2,121 คน
สี    สีชมพูและสีดำ
เพลงมาร์เทพลีลา/เพลงใบไผ่
สังกัดสพฐ.
ศิษย์เก่าสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเทพลีลา
เว็บไซต์www.tepleela.ac.th

โรงเรียนเทพลีลา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในกรุงเทพมหานคร ประเภทสหศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ขนาดเนื้อที่ 6 ไร่ 1 งาน เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ก่อตั้งเมื่อ 17 พฤษภาคม 2505 โดยดำริของ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ตามโครงการขยายโรงเรียนมัธยมศึกษาไปสู่เขตชานเมือง โดยได้รับการสนับสนุนจาก พระครูสุวรรณสุทธิกร พระมหาสงวน ศ.ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ คุณหญิงจวงจันทร์ สิงหเสนี และคุณจับจิตต์ สิงหเสนี โรงเรียนตั้งอยู่บนผืนดินของ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สังกัดสหวิทยาเขต เบญจวิโรฒ

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนเทพลีลาตั้งอยู่ ณ เลขที่ 281 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานครเป็นโรงเรียนมัธยมประเภทสหศึกษาสังกัด กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้นเป็นปีที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดแสดงสินค้านานาชาติและจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่๑ มีการปรับแต่งภูมิทัศน์พระนครเพื่อเป็นสถานที่จัดงานในบริเวณพื้นที่บริเวณนั้นเป็นที่ว่างเปล่าทางประเทศไทยจึงให้ความสำคัญต่อการศึกษาโดยเป็นนโยบายของหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยที่ พระครูสุวรรสุทธิการ(ปลัดทองสุข สีลวณโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพลีลาพระอารามหลวงได้มอบที่ดินของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) จำนวน 6 ไร่ 1 งานให้เป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนตามนโยบายการขยายโรงเรียนมัธยมศึกษาไปสู่ชานเมือง ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่ง หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น โดยท่านท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) ได้สร้างวัดเทพลีลา ไว้เมื่อครั้งได้รับพระบรมราชโองการเป็นแม่ทัพใหญ่ เพื่อปกป้องเขมรจากการแทรกแซงของญวน และได้มาพักทัพ ที่ทุ่งบางกะปิ โดยได้สร้างวัดไว้ใกล้กับจวนแม่ทัพ โดยมีบริเวณ

- โรงเรียนเทพลีลา เป็นคลังแสงเก็บอาวุธ

- โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) เป็นสถานที่เลี้ยงม้า เลี้ยงช้าง

- โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี) เป็นสถานที่ผสมดินปืน

- โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา เป็นสถานที่ทำนา เสบียงเลี้ยงกองทัพ

ท่านได้ขุดคลองเจ้าคุณสิงห์ เพื่อนำน้ำขึ้นไปทำนา และสะดวกในการขนส่งเสบียงในกองทัพ

วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 โรงเรียนเทพลีลาเปิดสอนครั้งแรกโดยอาศัยศาลาการเปรียญของวัด เป็นสถานที่เรียนกระทั่งอาคารเรียนหลังแรกเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 4 ตุลาคม 2505 มีนักเรียนกลุ่มแรกจำนวน 2 คน ครู 4 คน โดยมี นายทิม ผลภาค เป็นครูใหญ่คนแรก โรงเรียนเทพลีลาได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยความสามารถของผู้บริหารที่ประสานความร่วมมือกับชุมชนและสถาบันเอกชนต่างๆ อย่างดีเยี่ยม ทั้งนี้สมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนเทพลีลา ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปีการศึกษา 2514 มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโรงเรียนอย่างยิ่ง ในปีการศึกษา 2542 การก่อสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 7ชั้น ได้แล้วเสร็จทำให้โรงเรียนเทพลีลามีสภาพทั่วไปที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอนและมีความพร้อมในการให้บริการ ด้านการศึกษาแก่ชุมชนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ปัจจุบัน โรงเรียนเทพลีลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนช่วงชั้นที่ 3 - 4 (หรือช่วงชั้นที่ 3 ตามหลักสูตรใหม่)โรงเรียนเทพลีลาเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับย่านรามคำแหง ทั้งด้านสภาพภูมิทัศน์องค์ประกอบต่างๆทุกอาณาบริเวณล้วนเอื้ออำนวย ด้านการเรียนการสอน ด้านการเดินทางหรือแม้แต่สิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครันและในปี พ.ศ. 2554 ประวัติโรงเรียนในแต่ละช่วง วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ โรงเรียนเทพลีลาได้เปิดทำการเป็นวันแรก โดยอาศัยศาลาการเปรียญของวัดเทพลีลา เป็นสถานที่เรียน โดยมีนักเรียนรุ่นแรกจำนวน ๒ คน ครู ๔ คน โดยมีนายทิม ผลภาคเป็นครูใหญ่คนแรก พ.ศ. ๒๕๐๖- พ.ศ ๒๕๐๘ จัดสร้างประตูไม้หน้าโรงเรียนชั่วคราว และเป็นปีที่ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพในการจัดแสดงสินค้านานาชาติและจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ ๑ ซึ่งจัดบริเวณฝั่งตรงข้ามของโรงเรียน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยรามคำแหงในปัจจุบัน พร้อมได้รับงบประ- มาณในการทาสีโรงเรียน เดินสายไฟและประดับโคมไฟอาคาเรียนหลังแรก พร้อมทั้งถมที่ดินบริเวณ โดยรอบโรงเรียน พ.ศ. ๒๕๑๐ - พ.ศ. ๒๕๑๘ จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาโรงเรียนชุดแรกนำโดย ๑๐ ท่านนำโดย นายสำราญ สารสุวรรณ , นายหุน หรั่งศรี , ผู้ใหญ่เขียน สันประเสริฐ , ผู้ใหญ่หวัง วงษ์สัน ฮัจญีเต๊ะ ขำวิไล , น.ส.อังคณา นันทวิทยา , นายหมัด ทองสุข , นายอิน มูป และนาย สง่า ทีวรัตน ์ และโรงเรียนได้รับงบประมาณ ๑๗๒,๐๐๐ บาท สร้างหอประชุมและโรงอาหารพร้อมโต๊ะอาหาร ๒๒ ชุด ปลายปีงบประมาณและต่อเติม อาคารเรียน ๓ ชั้น เพิ่มอีกเป็นจำนวน ๒๑ ห้องเรียน พร้อมคุรุภัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ - พ.ศ. ๒๕๒๗ สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเทพลีลาได้เทพื้นถนน และเท คอนกรีต และเทคอนกรีตสร้างสนามบาสเก็ตบอล สนามวอลเล่ย์บอล และจัดซื้อรถยนต์ปิ๊กอัพไว้ใช้ใน โรงเรียน ๑ คัน แล้วได้จัดสรรเงิน สมาคมสร้างรั้ว คอนกรีต แทน สังกะสี พ.ศ. ๒๕๒๘ - พ.ศ. ๒๕๓๔ พระราชปัญญาโกศล รองเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์ ได้มอบ พระพุทธรูปยืน ปางเทพลีลา สูง ๔๘ นิ้ว มาเป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียน และปีต่อมา ทุบตึกเรียน ๔ ชั้นพ.ศ. ๒๕๓๕ - พ.ศ. ๒๕๔๒ สร้างอาคาร ๗ ชั้น และ อาคาร ๗ ชั้น ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามอาคารหลังนี้ว่า "อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา" และได้ทำการเปิดอาคารนี้ เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๒ นับเป็นเกียรติประวัติ อย่างสูงของชาวเทพลีลา พ.ศ. ๒๕๔๒ - ปัจจุบัน สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเทพลีลา โดยการนำของ นายสมหวัง บุญสมบัติ นายกสมาคมฯ และนายสำเนา แสงมณี ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพลีลา ขณะนั้นริเริ่มดำเนินการเปิดตลาดนัดขายของเพื่อสนอง นโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหา เศรษฐกิจ และช่วยเหลือประชาชนให้มีรายได้และซื้อของถูกช่วงปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งกิจการดังกล่าวนี้ ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่ง ท่านผู้อำนวยการ ดร.ธงชาติ วงษ์สวรรค์ ได้มีการปรับปรุงและพัฒนา สิ่งแวดล้อม เพื่อปรับภูมิทัศน์ให้เหมาะกับการเรียนการสอน และปรับปรุงห้องต่างๆทำห้องเรียน ให้เหมาะกับสภาพการเรียนการสอนจนมาถึงปัจจุบัน

รายนามผู้บริหาร[แก้]

ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนเทพลีลา
รายชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง
1. นายทิม ผลภาค พ.ศ. 2505-พ.ศ. 2506
2. นายสงวน คลังชำนาญ พ.ศ. 2507-พ.ศ. 2516
3. นางสำอาง ภมรพล พ.ศ. 2517-พ.ศ. 2521
4. นางสาวภาณี การุณยะวณิช พ.ศ. 2521-พ.ศ. 2522
5. นางจันทนา รัตนธัญญา พ.ศ. 2522-พ.ศ. 2526
6. นางอำนวยพร กาญจนวงศ์ พ.ศ. 2526-พ.ศ. 2530
7. นางสมหมาย วัฒนะคีรี พ.ศ. 2530-พ.ศ. 2532
8. นายลือชา สร้อยพาน พ.ศ. 2532-พ.ศ. 2537
9. นายสำเนา แสงมณี พ.ศ. 2537-พ.ศ. 2542
10. นายวิรัตน์ ศิริบูรณ์ พ.ศ. 2542-พ.ศ. 2544
11. ดร.ธงชาติ วงษ์สวรรค์ พ.ศ. 2544-พ.ศ. 2550
12. นายภักดี คงดำ พ.ศ. 2550-พ.ศ. 2554
13. ดร.อุดม พรมพันธุ์ใจ พ.ศ. 2554-พ.ศ. 2555
14. นายนคร เดชพันธุ์ พ.ศ. 2555-พ.ศ. 2556
15. นายชาญชัย โรจนะ พ.ศ. 2556-พ.ศ. 2561
16. ดร.รังสรรค์ นกสกุล พ.ศ. 2561-ปัจจุบัน

แผนการเรียนของโรงเรียนเทพลีลา[แก้]

มัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]

  • ห้องเรียนทั่วไป (8 ห้อง)
  • ห้องเรียนโครงการพิเศษ Mini English Program (1 ห้อง)
  • ห้องเรียนพิเศษ คณิตศาสตร์ – คอมพิวเตอร์ – อาชีพ MCC Program (1 ห้อง)

มัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]

  • มีห้องเรียนทั้งหมด 7 ห้องเรียนประกอบไปด้วยแผนวิชา
  • ห้องเรียน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์(Science-mathematics)
  • ห้องเรียนพิเศษ คณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ(Mathematics- English Special)
  • ห้องเรียนศิลป์ภาษาจีน(English-Chinese)
  • ห้องเรียนศิลป์ภาษาญี่ปุ่น(English-Japanese)
  • ห้องเรียนสังคม-ธุรกิจ(Social-Business)
  • ห้องเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์(Science-Computer)
  • หมายเหตุ-ศิลป์ภาษาฝรั่งเศส(Arts-Français) ยกเลิกการสอน***

คณะสีของโรงเรียนในมหกรรมกีฬา ดนตรี ศิลปะและวัฒนธรรม "กิ่งไผ่เกมส์"[แก้]

  • ม่วง-อินทนิล
  • เขียว-ราชาวดี
  • ฟ้า-พยับหมอก
  • แสด-ปาริชาติ
  • แดง-มโนรมย์

เกียรติประวัติ[แก้]

  • โรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น กรมสามัญศึกษา 2530
  • ชนะการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สสวท รางวัลที่ 2 ภาคกลาง พ.ศ. 2534
  • 1 ใน 12 โรงเรียนช้างเผือกเมืองไทยด้านดนตรีไทยผสมสากล รายการคุณพระช่วย
  • รางวัล International Emmy Award 2007 ในการประกาศรางวัลพิเศษที่รางวัลเอ็มมี่อะวอร์ด ร่วมกับ องค์การยูนิเซฟ คัดเลือกจากการผลิตสื่อรณรงค์เรื่องต่อต้านโรคเอดส์จากกว่า ๒๐๐ ประเทศ ทั่วโลก โดยศูนย์ข่าวเยาวชนไทย เป็นผู้ชนะเลิศอันดับ ๑ ของทวีปเอเชีย และเดินทางไปชิงรางวัลกับผู้ชนะเลิศจากทวีปอื่นๆอีก ๕ ทวีป ณ กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ผลปรากฏว่า ผลงานสื่อของศูนย์ข่าวเยาวชนไทยได้รับรางวัลชนะเลิศที่ ๑ ของโลกอีกด้วย
  • โรงเรียนรับรางวัล ระฆังทอง จากสมัชชานักจัดรายการข่าววิทยุโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (สว.นท.) พ.ศ. 2552
  • ศูนย์ข่าวเยาวชนไทยและ"ศูนย์ข่าวเยาวชนไทยโรงเรียนเทพลีลา"ได้รับรางวัล"รางวัล EMMY AWARD"ผลิตสกู๊ปข่าวรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ของโลก[1]
  • ศูนย์ข่าวเยาวชนไทยและ"ศูนย์ข่าวเยาวชนไทยโรงเรียนเทพลีลา"ได้รับรางวัล"รางวัล EMMY AWARD"ผลิตสกู๊ปข่าวรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 แห่งเอเชีย[1]
  • โรงเรียนมีความดีเด่นด้านภาษาญี่ปุ่นจึงเป็น โรงเรียนศูนย์พัฒนาเครือข่ายการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น ศูนย์ภาษาญี่ปุ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2[2]
  • โรงเรียนยอดนิยมอย่างสูงของประเทศ (1 in 326 โรงเรียน)[3]
  • โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงสุดติดอันดับกรุงเทพมหานคร และประเทศไทย
  • รางวัลชนะเลิศวงโยธวาทิต ประเภทนั่งบรรเลง กรมพลศึกษา - รับถ้วยพระราชทาน
  • รางวัลชนะเลิศเชียร์หลีดเดอร์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
  • Multimedia E-Sport League 2017 รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง กองเชียร์และเชียร์ลีดเดอร์ To Be Namber One พ.ศ. 2561
  • รางวัลเหรียญทองงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 69 ปีการศึกษา 2562 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
  • รางวัลชนะเลิศวิจิตรตระการพานพุ่ม และกระเช้าดอกรวงผึ้งสร้างสรรค์ พ.ศ. 2562 รับถ้วยจาก ม.ล.สราลี กิติยากร
  • รางวัลผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ(Best Practice) สหวิทยาเขตวังทองหลาง พ.ศ. 2562 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเหรียญทองกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเหรียญทองคณิตศาสตร์
  • รางวัลเหรียญเงินวงโยธวาทิต ประเภทแถวมาร์ชชิ่ง กรมพลศึกษา พ.ศ. 2562
  • ชนะเลิศอันดับสาม School of Rap พ.ศ. 2563
  • รางวัลชนะเลิศการผลิตสื่อวีดีทัศน์เยาวชนไทย ห่างไกลยาเสพติด กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2565
  • รางวัลชนะเลิศ Event UTCC cover Dance Contest 2022
  • รางวัลชนะเลิศเหรียญทอง การประกวดวงดนตรีสตริง ในงานศิลปหัตถกรรม​นักเรียน ครั้งที่ 70 ประจำ​ปีการศึกษา 2565
  • รางวัลชนะเลิศเหรียญทอง การประกวดเดี่ยวขิม 7 หย่อง ในงานศิลปหัตถกรรม​นักเรียน ภาคกลางและภาคตะวันออก ครั้งที่ 70 ประจำ​ปีการศึกษา 2565
  • รางวัลชนะเลิศเหรียญทอง การประกวดวาดภาพระบายสี ในงานศิลปหัตถกรรม​นักเรียน ภาคกลางและภาคตะวันออก ครั้งที่ 70 ประจำ​ปีการศึกษา 2565
  • รางวัลเหรียญทอง การประกวดขับร้องเพลงลูกทุ่ง ในงานศิลปหัตถกรรม​นักเรียน ภาคกลางและภาคตะวันออก ครั้งที่ 70 ประจำ​ปีการศึกษา 2565
  • รางวัลเหรียญทอง การประกวดวงอังกะลุง ในงานศิลปหัตถกรรม​นักเรียน ภาคกลางและภาคตะวันออก ครั้งที่ 70 ประจำ​ปีการศึกษา 2565
  • รางวัลเหรียญทอง การประกวดการแปรรูปอาหาร ในงานศิลปหัตถกรรม​นักเรียน ภาคกลางและภาคตะวันออก ครั้งที่ 70 ประจำ​ปีการศึกษา 2565
  • รางวัลเหรียญทอง การประกวดการเล่านิทาน ในงานศิลปหัตถกรรม​นักเรียน ภาคกลางและภาคตะวันออก ครั้งที่ 70 ประจำ​ปีการศึกษา 2565
  • รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ ในงานศิลปหัตถกรรม​นักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 71 ปี พ.ศ. 2567

ศิษย์เก่าและบุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

ศิษย์เก่าที่เป็นสมาชิกราชสกุล[แก้]

  • ม.ร.ว.ศักดิ์สิงห์ กมลาศน์
  • ม.ล.สรวุฒิ สุขสวัสดิ์
  • ม.ล.พีระพงศ์ สุขสวัสดิ์
  • ม.ล.นาฏนิศา ชมพูนุท
  • ม.ล.ศิริมาษ นวรัตน

ศิษย์เก่าที่เป็นดารานักแสดงวงการบันเทิง[แก้]

ศิษย์เก่าที่เป็นนักการเมือง[แก้]

ศิษย์เก่าที่เป็นนักกีฬาทีมชาติไทย[แก้]

ศิษย์เก่าด้านวิชาการ[แก้]

การเดินทาง[แก้]

โรงเรียนเทพลีลา มีประตูทางเข้าออก 2 เส้นทาง[4] สามารถเดินทางมาโดยรถโดยสารสาธารณะดังนี้

  1. ประตูถนนรามคำแหง (ประตูหลัก) รถโดยสารประจำทางที่ผ่านหน้าโรงเรียน ได้แก่ สาย 22, 36ก, 60, 69, 69E, 71, 92, 93, 95, 113, 115, 122, 137, 168, 501, 545, 3-21 (207), 3-32
  2. ประตูซอยรามคำแหง 39 (ประตูด้านหลังอาคารกิจกรรมและ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบเฉลิมพระชนมพรรษา) รถสองแถว "วัดเทพลีลา ตลาดห้วยขวาง" และรถประจำทางที่ผ่านคือสาย 36ก, 122, 126
  3. รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีพระโขนง แล้วต่อรถโดยสารประจำทางสาย 71, 501 มาลงที่ หน้าประตูโรงเรียน
  4. รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง สถานีแยกลำสาลี แล้วต่อรถโดยสารประจำทางสาย 71, 115 หรือสายอื่นๆ มาลงที่หน้าประตูโรงเรียน
  5. รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม สถานีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ทางออกที่ 4 ซึ่งเป็นสถานีที่ 2 บนถนนรามคำแหง จะอยู่บริเวณตรงข้ามโรงเรียนเทพลีลา สามารถเดินมายังโรงเรียนได้อย่างสะดวก
  6. รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ SRTET สถานีรามคำแหง แล้วต่อรถโดยสารประจำทางสาย 71, 115 หรือสายอื่นๆ มาลงที่ หน้าประตูโรงเรียน หรือต่อเรือโดยสารคลองแสนแสบ จาก ท่าเรือรามหนึ่ง มาลง ณ ท่าวัดเทพลีลา
  7. เรือโดยสารคลองแสนแสบ ท่าวัดเทพลีลา
  8. รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลสถานีเพชรบุรี แล้วต่อเรือโดยสารสาธารณะคลองแสนแสบ มาลง ณ ท่าวัดเทพลีลา หรือ สามารถลงสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเดินมายัง รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม

อาคารสถานที่[แก้]

อาคาร[แก้]

ในปัจจุบัน โรงเรียนเทพลีลา ได้มีการพัฒนาไปมาก จึงมีอาคารภายในโรงเรียนทั้งสิ้น 6 อาคารเรียน 1 อาคารโรงฝึกงาน และ1 ที่พักข้าราชการ

1.อาคาร เฉลิมพระเกียรติ๖รอบพระชนมพรรษา หรือ อาคารเทพเมธา อาคาร 4 ชั้น ในอดีต มีจำนวนทั้งสิ้น 8 ชั้น ใช้เป็น ห้องเรียนที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่างๆ จำนวน 5 ชั้น รวม ห้องพักคณาจารย์กลุ่มสาระ ห้องเรียนMEP-EP ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องประชุมโรงอาหาร และโรงอาหารของโรงเรียน นอกจากนี้ บริเวณชั้น8ของอาคารยังใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ "สวนผักลอยฟ้า" และโรงยิมของโรงเรียนเทพลีลาอีกด้วย

อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ เฉลิมพระชนมพรรษา

2.อาคาร เทพธรรมมา มีจำนวนทั้งสิ้น 5 ชั้น ใช้เป็นห้องเรียนที่จัดการเรียนการสอนต่างๆ จำนวน 13 ห้อง และ เป็นห้องพักคณาจารย์กลุ่มสาระ ศูนย์การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

3.อาคาร เทพพิทยา มีจำนวนทั้งสิ้น 3 ชั้น เป็นอาคารที่ตั้งของหน่วยงานต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่น สำนักงานผู้อำนวยการ , สำนักงานกลุ่มบริหารวิชาการ , ห้องสมุด , ห้องทำงานศูนย์ข่าวเยาวชนไทย โรงเรียนเทพลีลา , ห้องประชุมพิพัฒน์ปริยัติสุนทร , ห้อง Multimedia , ห้องสำนักงานกลุ่มบริหารงานทั่วไป , สำนักงานกลุ่มบริหารงบประมาณ , ห้องวัดผลและประเมินผล และ ห้องประชุมเกียรติยศ , ห้องสมุดอิเล็คทรอนิกส์ (สื่อทัศน์รัฐประสิทธิ์)

4.อาคาร เทพพัฒนา มีจำนวนทั้งสิ้น 4 ชั้น เป็นอาคารที่ใช้เป็นห้องปฏิบัติการตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่น ห้องดนตรีไทย , ห้องดนตรีสากล , ห้องศิลปะ , ห้องนาฏศิลป์ , ห้องศูนย์สุขศึกษาและพลศึกษา , ห้องศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น (Friends Corner) , ห้องประกอบอาหาร , ห้องศูนย์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 2

5.อาคาร กาญจนาภิเษก มีจำนวนทั้งสิ้น 2 ชั้น เป็นอาคารที่ตั้งของหน่วยงานศูนย์กลางของโรงเรียน เช่น ห้องประชาสัมพันธ์ , ห้องกลุ่มบริหารงานบุคคล และยังเป็นที่ประดิษฐานของ พระพุทธรูปประจำโรงเรียน คือ พระเทพลีลาเมตตาประชานาถ ตลอดจนประดิษฐานอนุสาวรีย์ เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนีย์)

6.อาคาร กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีจำนวนทั้งสิ้น 2 ชั้น ชั้นบนเป็นอาคารที่ตั้งของงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น งานกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ฯลฯ ชั้นล่างเป็นเรือนงานช่าง ห้องเก็บของ และโซนห้องน้ำใหญ่

7.อาคารโรงฝึกงาน เป็นอาคารชั้นเดียวใช้ในการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ในด้านงานช่าง งานไม้ เป็นต้น

8.อาคาร ที่พักบุคลากร มีจำนวนทั้งสิ้น 5 ชั้น ใช้เป็นที่พักครูและอาจารย์ตลอดจนแม่บ้านนักการภารโรง

ลานกิจกรรมกีฬา และสวนหย่อม[แก้]

ลานกิจกรรมกีฬาและสวนพักผ่อนหย่อนใจ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  1. สนามกีฬาโรงเรียนเทพลีลา เป็นสนามฟุตบอล สนามตะกร้อ สนามบาสเก็ตบอล และกีฬาทุกประเภท
  2. สวนหย่อมโรงเรียนเทพลีลา อยู่ในบริเวณหลังอาคารเทพธรรมมา เป็นสวนพืช และต้นไม้ประจำโรงเรียน และ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่อง "น้ำหมักชีวภาพ" ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  3. ลานใต้อาคารเทพธรรมมา เป็นลานที่ใช้ทำกิจกรรมการเรียนการสอน และเป็นลานสำหรับนั่งพักผ่อน

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 [1][ลิงก์เสีย] ผลงานของนักเรียนสมาชิกศูนย์ข่าวเยาวชนไทยทั่วประเทศร่วมกับ ผลิตสกู๊ปข่าวรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์" ]
  2. [2] เก็บถาวร 2016-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รายชื่อศูนย์พัฒนาคุณภาพวิชาการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2" ]
  3. [3] 362โรงเรียนยอดนิยมใช้สูตรรับน.ร.50/50" ]
  4. คู่มือผู้ปกครองและนักเรียน ปีการศึกษา 2553 หน้า 9

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]