ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนศึกษานารี

พิกัด: 13°44′06″N 100°29′43″E / 13.734935°N 100.495340°E / 13.734935; 100.495340
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนศึกษานารี
Suksanari School
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นศ.น.(S.N.R)
ประเภทรัฐบาล
คำขวัญบาลี: ธมฺโม วิชฺชา จ ปญฺญา จ นิจฺจภิยฺโย ปวทุฒเต
(คุณธรรม ความรู้ และปัญญา ยังบุคคลให้เจริญรุ่งเรืองถาวร)
สถาปนา25 มิถุนายน พ.ศ. 2453
หน่วยงานกำกับสพฐ.
ผู้อำนวยการลัดดา เจียมจูไร
สี
เพลงมาร์ชศึกษานารี
ดอกไม้ดอกตะแบก
เว็บไซต์www.snr.ac.th
ศึกษานารีตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ศึกษานารี
ศึกษานารี
ศึกษานารี (กรุงเทพมหานคร)

โรงเรียนศึกษานารี (อังกฤษ: Suksanari School; อักษรย่อ: ศ.น., S.N.R) เป็นโรงเรียนสตรีล้วนในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่ ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี มีการเรียนการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6

ประวัติโรงเรียนศึกษานารี[แก้]

โรงเรียนศึกษานารีเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย สังกัดกระทรวงศึกษาธิการเริ่มก่อตั้งขึ้นในวัดอนงคาราม โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทฺธสโร) เจ้าอาวาสวัดอนงคาราม รูปที่ 6 กล่าวคือ เมื่อครั้งท่านเป็นพระอันดับ เรียกกันว่า พระอาจารย์นวม ท่านได้เริ่มจัดระบบการสอนลูกศิษย์ของท่านเป็นการส่วนตัวขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2432 ต่อมามีผู้เห็นประโยชน์แห่งการศึกษา จึงมีการนำบุตรหลานที่เป็นชายมาฝากเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี

จนถึง พ.ศ. 2440 กรมศึกษาธิการได้อุปการะครูที่ท่านจ้างมาสอนให้เป็นข้าราชการรับพระราชทานเงินเดือน และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระราชทานสมณศักดิ์เลื่อนท่านขึ้นป็นพระครูอุดมพิทยากร เมื่อ ปีพ.ศ. 2441

พ.ศ. 2444 กรมศึกษาธิการได้อนุมัติเงินจำนวน 4,030 บาท ให้ท่านสร้างโรงเรียนขึ้นหลังหนึ่งเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง ทำให้มีสถานที่เล่าเรียนเพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งมีผู้สร้างถวายไว้แล้ว 2 หลัง พระครูอุดมพิทยากรได้ดำริเห็นว่า ได้ช่วยการศึกษาฝ่ายกุลบุตรสมความมุ่งหมาย ยังแต่ฝ่ายกุลสตรีเท่านั้นที่ยังมิได้ให้ความช่วยเหลือ จึงได้เปิดสอนนักเรียนสตรีขึ้น โดยจ้างนายธูปมาเป็นครูสอน จึงนับได้ว่านักเรียนรุ่นนี้เป็นนักเรียนรุ่นแรกของโรงเรียนศึกษานารี

ต่อมาเมื่อมีนักเรียนสตรีมากขึ้น พระครูอุดมพิทยากรเห็นว่าสถานที่เล่าเรียนอยู่ใกล้กับกุฏิสงฆ์มากเกินไปเป็นการไม่เหมาะสม จึงได้ดำเนินการติดต่อขอที่ดินคุณหญิงพัน อันเป็นมรดกสืบเนื่องมาจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เปิดเป็นสถานที่เล่าเรียนสตรีฝ่ายสตรี (ปัจจุบัน คือ บริเวณสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา) เมื่อได้ย้ายนักเรียนมาอยู่ ณ ที่นั้นใช้นามโรงเรียนว่า โรงเรียนสตรีอุดมวิทยายน ต่อมากระทรวงธรรมการเห็นว่าชื่อของโรงเรียนมีคำว่า อุดม ไปพ้องกับโรงเรียนชั้นอุดมศึกษา จึงเรียนหารือกับพระครูอุดมพิทยากรขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนศึกษานารี ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2453

วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2473 กระทรวงศึกษาธิการได้พิจารณาเห็นว่า โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยาซึ่งเปิดสอนอยู่ที่โรงเรียนศึกษานารีปัจจุบันนี้ เป็นโรงเรียนชาย มีนักเรียนจำนวนมากแต่สถานที่คับแคบกว่าโรงเรียนศึกษานารี ซึ่งตั้งอยู่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จึงดำเนินการให้แลกที่กัน เพราะเป็นที่ดินมรดกสืบเนื่องมาจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์เช่นเดียวกัน

ดังนั้นโรงเรียนศึกษานารีจึงย้ายมาอยู่ ณ สถานที่ปัจจุบันตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2473 ส่วนที่ตั้งโรงเรียนศึกษานารี เดิมเป็นที่ตั้งของโรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คำว่าแต่เดิมนั้นหมายเพียงแต่ปี พ.ศ. 2475 เท่านั้น กาลเวลาที่ยาวนานนั้นที่ดินตรงนี้เป็นส่วนหนึ่งของที่ตั้งบ้านเรือนของตระกูลบุนนาค ซึ่งเป็นตระกูลขุนนางใหญ่มาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์

และเมื่อมาถึงสมัยรัชการที่ 5 ขุนนางตระกูลบุนนาคมีอิทธิพลทางการเมืองมาก คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ท่านปู่ของเจ้าคุณพระประยุรวงศ์นั่นเอง ตระกูลบุนนาคตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งธนนี้ทั้งหมด ตั้งแต่คลองใต้บ้านฝรั่งกุฎีจีน คลองขนอนเข้าไปวัดพิชัยญาติ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) ท่านก็สร้างบ้านอยู่ในบริเวณของตระกูลบุนนาคตรงนี้ แล้วสร้างบ้านให้ลูกชายท่าน คือ บิดาของเจ้าคุณพระประยุรวงศ์อีกหลังหนึ่งต่อขึ้นมาด้านเหนือ แต่เรียกรวมที่ดินบริเวณนี้ว่า บ้านสมเด็จฯ อันเป็นที่มาของชื่อโรงเรียนบ้านสมเด็จฯ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ท่านเข้ามาพักอาศัยอยู่ในบ้านนี้ตั้งแต่อายุได้ 2 ปี เป็นจุดเริ่มของความเกี่ยวพันระหว่างเจ้าคุณพระประยุรวงศ์กับโรงเรียนศึกษานารี ซึ่งได้มาแทนที่โรงเรียนบ้านสมเด็จฯ จนเกิดอาคารเรียนขึ้นมาหลังหนึ่งชื่อว่า “เรือนเจ้าคุณพระประยุรวงศ์บูรณะ“ หรือเรียกสั้นๆว่า “เรือนเจ้าคุณ” ซึ่งนับเป็นอาคารหลังหนึ่งของโรงเรียนศึกษานารีนั่นเอง เป็นโรงเรียนคู่ขนานกับโรงเรียนศึกษานารีวิทยา

โรงเรียนสามสมเด็จ[แก้]

โรงเรียนศึกษานารี ได้ชื่อว่าเป็นโรงเรียนสามสมเด็จ คือ

ศาลาพุทธสรานุสรณ์[แก้]

เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำโรงเรียน และประดิษฐานรูปเหมือนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทธสรมหาเถระ) เจ้าอาวาสวัดอนงคารามรูปที่ 6 ผู้ก่อตั้งโรงเรียนศึกษานารี เป็นสถานที่ศักสิทธิ์ เป็นที่เคารพบูชาของครู ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนศึกษานารี สร้างขึ้นในโอกาสครบรอบ 84 ปี แห่งการก่อตั้งโรงเรียนศึกษานารี เมื่อปี พ.ศ. 2530

มาตรฐานคุณภาพของโรงเรียน[แก้]

  • โรงเรียนสพฐ.
  • วงดนตรีลูกทุ่งเยาวชนชนะเลิศรายการชิงช้าสวรรค์ระดับประเทศไทย บริษัท เวิร์คพ้อยท์เอ็นเตอร์เท็นเม้นต์ จำกัด (มหาชน) และรายการยามาฮ่าลูกทุ่งคอนเทสต์ บริษัทสยามดนตรียามาฮ่า จำกัด

เกียรติประวัติครู[แก้]

  • บุคลาการต้นแบบปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้รางวัลครูเกียรติยศ พ.ศ. 2545 จากกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
  • ครูต้นแบบปี 2545, 2546 สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
  • ครูแกนนำปฏิรูปการเรียนรู้ ประจำปี 2544 - 2546 จากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
  • ครูแม่แบบวิชาภาษาไทย ปี 2536, 2539 จากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
  • ครูที่ปรึกษาดีเด่นในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของกรมสามัญศึกษา ปี 2544 กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
  • ครูดีที่หนูรัก ปีการศึกษา 2544 จากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
  • ครูผู้มีความรู้ความสามารถ และครูชำนาญการพิเศษ (ครู ค.ศ. 3) จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
  • ครูดีในดวงใจ ปีการศึกษา 2546, 2547 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3
  • ได้รับโล่เกียรติยศและประกาศเกียรติคุณ “Professional of Teacher Awards 2004” ครูดีสร้างผลงานแทนคุณแผ่นดินเพื่อชาติไทย จัดโดย Teacher of Model Magazine
  • ครูผู้มีผลงานวิจัยดีเด่นจากสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
  • ครูผู้ชนะเลิศประกวดสื่อการสอน ของศูนย์พัฒนาวิชาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ระดับ สพท. กทม. เขต 3
  • ครูผู้ควบคุมวงชนะเลิศประกวดวงดนตรีลูกทุ่งรายการชิงช้าสวรรค์ บริษัทเวิร์คพ้อยท์ จำกัด (มหาชน) แชมป์ประจำฤดูหนาว 2549 รองแชมป์ออฟเดอะแชมป์ประจำปี 2549 อันดับ 1 รองแชมป์ประจำฤดูฝน 2550 รายการยามาฮ่าลูกทุ่งคอนเทสต์ชนะเลิศประจำปี 2547 ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

ด้านพระบรมวงศานุวงศ์
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ด้านวงการบันเทิง รุ่น อาชีพ
ฑิฆัมพร ฤทธิ์ธาอภินันท์ (เชียร์) นักแสดง, นักร้อง, พิธีกร, ผู้จัดละคร, ดีเจ, ยูทูบเบอร์, นักธุรกิจ, ผู้ประกาศข่าว
ณัฐฐชาช์ บุญประชม (โยเกิร์ต) นางแบบ, นักแสดง
เฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชค (แพรว) 109 นักแสดง
บัวชมพู ฟอร์ด (บัว) นักร้อง, นักแสดง, พิธีกร
ธัญสินี พรมสุทธิ์ (ส้ม) นักแสดง, พิธีกร
อธิชนัน ศรีเสวก (ไอซ์) นักแสดง, นางแบบ, พิธีกร
นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล (พี่อ้อย) ดีเจ, พิธีกร
ธิติยา จิระพรศิลป์ (ใบปอ) 121 นักแสดง

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°44′06″N 100°29′43″E / 13.734935°N 100.495340°E / 13.734935; 100.495340