ข้ามไปเนื้อหา

เด่นเก้าแสน เก้าวิชิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เด่นเก้าแสน เก้าวิชิต
ชื่อจริงสุเทพ หวังมุก
ฉายาแชมป์โลกปลดแอก
รุ่นฟลายเวท
ซูเปอร์ฟลายเวท
ส่วนสูง1.61 เมตร (5 ฟุต 3 นิ้ว)*
เกิด23 สิงหาคม พ.ศ. 2519 (47 ปี)
จังหวัดสงขลา
ชกทั้งหมด70
ชนะ63
ชนะน็อก26
แพ้6 (แพ้น็อก 5)
เสมอ1
ผู้จัดการชูโชค ชูแก้วรุ่งโรจน์
นริศ สิงหวังชา
นิวัฒน์ เหล่าสุวรรณวัฒน์
ค่ายมวยเก้าวิชิต
สิงห์วังชา
แกแล็คซี่โปรโมชั่น
เทรนเนอร์สุเทพ ณ นคร
เขาทราย แกแล็คซี่
ดุรงค์ อพอลโล่
อนันต์ ตัวลือ

สุเทพ หวังมุก เป็นที่รู้จักในชื่อ เด่นเก้าแสน เก้าวิชิต (เกิด 23 สิงหาคม พ.ศ. 2519) ชื่อเล่น มะ เป็นอดีตแชมป์โลกในรุ่นฟลายเวท ของสมาคมมวยโลก (WBA) นับเป็นนักมวยชาวไทยคนแรกที่มีโอกาสชิงแชมป์โลกถึง 3 ครั้งและประสบความสำเร็จ ซึ่งก่อนหน้านั้นมีนักมวยไทย 2 คนที่ได้ชิงแชมป์โลกถึง 3 ครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ คือ จำเริญ ทรงกิตรัตน์ และ ถนอมศักดิ์ ศิษย์โบ๊เบ๊

ชีวิตช่วงต้นและการชกมวย[แก้]

เด่นเก้าแสนเกิดเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2519 ที่จังหวัดสงขลา แต่มาเติบโตและใช้ชีวิตอยู่ที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นชาวไทยมุสลิมนิกายสุหนี่ เขามีอีกชื่อว่า "แวฮามะ"

เริ่มชกมวยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 โดยขึ้นชกครั้งแรกเมื่อ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ก็เป็นฝ่ายชนะคะแนน เมลวิน มากราโม ได้ครองแชมป์ PABA ในรุ่นฟลายเวท และป้องกันไว้ได้ต่อเนื่องถึง 17 ครั้ง จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2545 จึงได้มีโอกาสชิงแชมป์โลกครั้งแรกกับอีริค โมเรล นักมวยชาวเปอร์โตริโก ที่สหรัฐอเมริกา ก็เป็นฝ่ายแพ้น็อกไปอย่างสู้ไม่ได้ เด่นเก้าแสนกลับมาคองแชมป์ PABA รุ่นนฟลายเวทอีกสมัย ใน พ.ศ. 2546 และป้องกันไว้ได้ถึง 15 ครั้ง จากนั้นในกลางปี พ.ศ. 2550 ก็ได้มีโอกาสชิงแชมป์โลกอีกครั้งหนึ่งกับทาเคฟูมิ ซากาตะ ที่ประเทศญี่ปุ่น ผลการชกออกมาเสมอกัน ทั้งที่เด่นเก้าแสนน่าจะเป็นฝ่ายชนะมากกว่า เมื่อชิงแชมป์โลกไม่สำเร็จ เด่นเก้าแสนขึ้นชิงแชมป์ ABCO หรือ WBC เอเชียรุ่นฟลายเวท และแชมป์ PABA เฉพาะกาลรุ่นฟลายเวท ซึ่งเด่นเก้าแสนชิงแชมป์มาได้ทั้ง 2 เส้น ต่อมา เด่นเก้าแสนได้ชิงแชมป์โลกอีกครั้ง ปรากฏว่าเป็นฝ้ายชนะน็อกทาเคฟูมิ ซากาตะ คู่ปรับเก่าเมื่อวันสิ้นปีของปี พ.ศ. 2551 ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้แชมป์มาครอง

ในการชกในครั้งนั้นเด่นเก้าแสนมีผู้จัดการพร้อมกันถึง 2 คนคือ นายนริส สิงห์วังชา ที่รับตัวของเด่นเก้าแสนมาดูแลหลังจากการเสียชีวิตของ "ใหม่ เมืองคอน" นายชูโชค ชูแก้วรุ่งโรจน์ อดีตผู้จัดการ และ "แชแม้" นายนิวัฒน์ เหล่าสุวรรณวัฒน์ ตัวแทนของ WBA ในเมืองไทย หลังการชก เด่นเก้าแสนได้ขอเงินจากนายนริสเพื่อไปสร้างบ้านใหม่ แต่นายนริสไม่ให้ อีกทั้งนายนริสยังได้เซ็นสัญญาล่วงหน้าไว้กับทางไดกิ คาเมดะ นักมวยชาวญี่ปุ่น ไว้ในช่วงก่อนที่เด่นเก้าแสนไปชิงแชมป์โลก ว่าหากเด่นเก้าแสนได้แชมป์โลกแล้วจะมาป้องกันตำแหน่งกับคาเมดะเป็นรายแรก ทางเด่นเก้าแสนจึงต้องการเปลี่ยนผู้จัดการโดยอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งต่อมาเรื่องได้บานปลาย จนต้องนำเรื่องขึ้นสู่สมาคมมวยอาชีพแห่งประเทศไทยเป็นผู้ตัดสิน และผลการตัดสินก็ออกมาว่า เด่นเก้าแสนเป็นอิสระ สามารถเลือกผู้จัดการคนใหมได้เอง ซึ่งเด่นเก้าแสนก็ได้เลือกนายวิวัฒน์เป็นผู้จัดการคนใหม่แทน ซึ่งทำให้ในปลายปี พ.ศ. 2552 สื่อมวลชนได้ให้ฉายาเด่นเก้าแสนว่า "แชมป์โลกปลดแอก"[1]

เสียแชมป์โลก[แก้]

เด่นเก้าแสนป้องกันตำแหน่งไว้ได้ 2 ครั้ง ก่อนจะเสียแชมป์โลกเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ในการชกทื่โกเบ กับ ไดกิ คาเมดะ คู่ปรับเก่าที่เด่นเก้าแสนเคยเอาชนะคะแนนมาแล้วเมื่อวันทื่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ในการชกป้องกันตำแหน่งครั้งที่ 2 ที่โอซากา ในคราวนี้คาเมดะได้เปลี่ยนสไตล์การชก โดยการเข้าสวมกอดและทิ้งตัวล้มลงบนเวทีเมื่อเวลาเด่นเก้าแสนคลุกวงใน ทำให้เด่นเก้าแสนไม่อาจชกได้ในสไตล์ที่ถนัด และถูกกรรมการตัดคะแนนไปถึง 2 ครั้งด้วยกัน จึงแพ้คะแนนไปในที่สุดอย่างเป็นเอกฉันท์ เสียแชมป์โลกไปในการป้องกันตำแหน่งครั้งที่ 3 นี้เอง[2]

แชมป์ซูเปอร์ฟลายเวท[แก้]

เมื่อเสียตำแหน่งแชมป์ไปแล้ว เด่นเก้าแสนได้กลับมาครองแชมป์ PABA เฉพาะกาลรุนฟลายเวทอีกครั้ง และได้ไปชิงแชมป์โลกเฉพาะกาลรุ่นฟลายเวท WBA เมื่อ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ที่สหรัฐ แต่ไปแพ้น็อค หลุยส์ คอนเซบซิโอนในยกแรก ไม่ได้แชมป์ หลังจากนั้น เด่นเก้าแสนจึงเลื่อนรุ่นขึ้นไปชกในรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท

เด่นเก้าแสนคว้าแชมป์ PABA รุ่นซูเปอร์ฟลายเวทมาครองได้ใน พ.ศ. 2554 และได้ครองแชมป์โลกเฉพาะกาลรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท WBA มาได้ ด้วยการเอาชนะคะแนน โนบุโอะ นาชิโร่ นักมวยชาวญี่ปุ่นเมื่อ 3 กันยายน พ.ศ. 2556 ด้วยวัยที่มากถึง 37 ปี และต่อมาก็ได้รับสถาปนาให้เป็นแชมป์โลกตัวจริง แต่ต่อมาทาง WBA ได้กำหนดให้เด่นเก้าแสนขึ้นชกชิงแชมป์โลกตัวจริงอีกครั้งในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557 กับ โคเฮอิ โคโนะ นักมวยชาวญี่ปุ่น ผู้ได้แชมป์โลกมาจากการเอาชนะทีเคโอ เทพฤทธิ์ ก่อเกียรติยิม นักมวยชาวไทย ซึ่งโคโนะได้ชกแพ้คะแนน ลิโบริโอ โซลิส แชมป์โลกตัวจริงชาวเวเนซุเอลา ที่ขึ้นชกล้มแชมป์กับแชมป์รุ่นเดียวกันของสหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) คือ ไดกิ คาเมดะ ปรากฏว่าแม้โซลิสเป็นฝ่ายชนะ แต่ก็ต้องเสียแชมป์โลกเพราะทำน้ำหนักไม่ผ่าน ในส่วนการชกกับโคโนะก่อนหน้านั้น ฝ่ายโคโนะได้ทำหนังสือประท้วงไปยัง WBA ว่าผลการตัดสินไม่เป็นธรรม WBA จึงกำหนดให้เด่นเก้าแสนที่ได้รับสถาปนาไปแล้ว ต้องมาชกชิงแชมป์โลกตัวจริงกับ โคเฮอิ โคโนะ อีกครั้ง[3] ซึ่งผลการชกออกมาปรากฏว่า เด่นเก้าแสนเป็นฝ่ายแพ้น็อกไปในเวลา 40 วินาทีของยกที่ 8 ซึ่งก่อนนั้น เด่นเก้าแสนก็พลาดโดนนับ 8 ในยกที่ 4 ทำให้หมดโอกาสได้เป็นแชมป์โลกตัวจริง

หลังการชกเด่นเก้าแสนเปิดเผยว่าต้องการแขวนนวมตามที่ตั้งใจ เนื่องจากอายุมากถึง 37 ปีย่าง 38 ปีแล้ว โดยหันไปเป็นผู้ฝึกสอนให้แก่นักมวยรุ่นน้องในสังกัดแกแล็คซี่ต่อไป และจะนำเงินส่วนตัวที่เก็บได้จากการชกมวยทั้งหมดเปิดร้านขายเสื้อผ้ากีฬา โดยให้ลูกชายคนโตเป็นผู้ดูแล[4] แต่หลังจากนั้นเพียง 3 เดือน เด่นเก้าแสนก็กลับมาชกเคลื่อนไหวอีก โดยเอาชนะคะแนนนักมวยชาวอินโดนีเซียไปได้[5] จากนั้น เด่นเก้าแสนเดินทางไปชกที่ญี่ปุ่นและออสเตรเลียอีก 3 ครั้ง แพ้รวด โดยหนึ่งในนั้นเป็นการขึ้นชิงแชมป์ PABA รุ่นซูเปอร์แบนตัมเวทด้วย ก่อนจะแขวนนวมใน พ.ศ. 2559

ชีวิตครอบครัว เด่นเก้าแสนมีลูกทั้งหมด 6 คนจากภรรยาทั้งหมด 4 คน[6]

รูปภาพ[แก้]

เกียรติประวัติ[แก้]

ก่อนหน้า เด่นเก้าแสน เก้าวิชิต ถัดไป ชนะ 23 ครั้ง (ชนะน็อค 10 ครั้ง, ชนะคะแนน 13 ครั้ง), แพ้ 13 ครั้ง (แพ้น็อค 2 ครั้ง, แพ้คะแนน 10 ครั้ง), เสมอ 1 ครั้ง[7]
ครั้งที่ ผลการชก สถิติ ผู้ท้าชิง ประเภท ยก., เวลา วันที่ สถานที่ หมายเหตุ
แชมป์ PABA รุ่นฟลายเวท สมัยที่ 1 (2539-2550)
ชิง ชนะ 20-11-2 ฟิลิปปินส์ เมลวิน มากราโม
ชนะคะแนน
12
1996-11-28
ขึ้นชกมวยสากลครั้งแรก
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1 ชนะ 20-12-2 ฟิลิปปินส์ เมลวิน มากราโม
ชนะคะแนน
12
1997-02-20
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2 ชนะ 6-2-0 ออสเตรเลีย ทอดด์ มาเคลิน
ชนะคะแนน
12
1997-08-29
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3 ชนะ 6-5-0 อินโดนีเซีย ยานีน เบลเอนโด
ชนะคะแนน
12
1997-12-12
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4 ชนะ เนปาล ดิเนส ชาฮา
ชนะน็อค
1 (12),
1998-05-29
ไทย สนามกีฬาเทศบาล โรงเรียนบ้านนาเหนือ ตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5 ชนะ 5-1-0 มองโกเลีย ยูรา ดิมาร์
ชนะคะแนน
12
1999-01-07
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 6 ชนะ 1-0-0 อินโดนีเซีย ดิกกี้ ฟรานซิสคัส
ชนะคะแนน
12
1999-04-02
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 7 ชนะ 1-2-0 อินโดนีเซีย จารอท พูม่า ริยันโต้
ชนะน็อค
3 (12), 1:09
1999-07-02
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 8 ชนะ 1-2-0 เกาหลีใต้ คิม จุงบ๊อก
ชนะคะแนน
12
1999-10-01
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 9 ชนะ 4-2-0 เคนยา อัสซา นัสซี
ชนะน็อค
4 (12), :
1999-12-18
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 10 ชนะ 5-14-2 ออสเตรเลีย จอห์นนี่ บิงเก้
ชนะน็อค
3 (10), :
2000-02-26
ไทย เกาะสมุย, จ.สุราษฎร์ธานี
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 11 ชนะ 3-9-1 เม็กซิโก ฮาเวียร์ ทอร์เรส
ชนะคะแนน
12
Uttaradit
2000-04-21
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 12 ชนะ 18-9-0 เกาหลีใต้ ยัง ซังอิก
ชนะน็อค
7 (12), 3:07
2000-06-16
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 13 ชนะ 0-4-0 อินโดนีเซีย โจฮันเนส ริวาริสซา
ชนะน็อค
3 (12)
2000-09-08
ไทย จ.สุราษฎร์ธานี
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 14 ชนะ 9-1-1 ฟิลิปปินส์ เชอร์วิน อัลเฟอร์เรซ
ชนะคะแนน
12
2001-02-16
ไทย เขตดอนเมือง
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 15 ชนะ 0-3-0 อินโดนีเซีย ฟาราโซนา ฟิเดล
ชนะคะแนน
12
2001-05-25
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 16 เสมอ อินโดนีเซีย เออร์วินซยาห์ เอเน็ค
เสมอ
12
2001-09-20
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 17 เสมอ อินโดนีเซีย คาดาวี ฟิเดล
เสมอ
12
2001-11-28
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 18 ชนะ 0-1-0 อินโดนีเซีย อามาดานี่ โทมาโกล่า
ชนะน็อค
1 (12), :
2002-02-27
ไทย จ.ปทุมธานี
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 19 Win 12-2-1 ฟิลิปปินส์ ซูการ์โน เบนจาโอ
UD
10
2002-04-16
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 20 ชนะ 22-12-3 ฟิลิปปินส์โรเจอร์ มัลเดเซียร์
ชนะน็อค
3 (12)
2003-11-25
ไทย จ.ปทุมธานี
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 21 ชนะ 31-15-13 ฟิลิปปินส์ เซลโซ่ แดงก๊อด
ชนะคะแนน
12
2004-02-25
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 22 ชนะ 18-8-7 ฟิลิปปินส์ แฟรงคลิน มาคาลิโบ
ชนะน็อค
2 (12), :
2004-07-29
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 23 ชนะ 9-5-5 ฟิลิปปินส์ เอ็ดมุนด์ โนนอง เดวิลลีเรส
ชนะคะแนน
12
2004-11-25
ไทย อ.บางบัวทอง, จ.นนทบุรี
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 24, 17 ก.พ. 2548 ชนะ 33-20-12 ฟิลิปปินส์ แรนดี้ แมนกูบัท
7 (12)
2005-02-17
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 25 ชนะ 14-10-1 ฟิลิปปินส์ อลัน รานาด้า
ชนะคะแนน
12
2005-05-17
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 26 ชนะ 15-14-2 ฟิลิปปินส์ จูน พาร์เดอร์
ชนะน็อค
1
2005-07-01
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 27 ชนะ 17-11-3 ฟิลิปปินส์ จูน อีราแฮม
ชนะคะแนน
12
2005-10-07
ไทย จ.นครพนม
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 28 ชนะ 44-54-4 ญี่ปุ่น เจอรี่ ปาฮายาไฮ
ชนะคะแนน
12
2006-01-17
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 29, ชนะ 4-2-1 ฟิลิปปินส์ อูเกนี่ กอนซาเลซ
ชนะน็อค
7 (12)
2006-05-02
ไทย มหาชัยวิลล่า, จังหวัดสมุทรสาคร
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 30 ชนะ 17-11-1 ฟิลิปปินส์ นีโน ซูอีโล
ชนะคะแนน
12
2006-08-31
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 31 ชนะ 9-3-2 สหรัฐ ไบรอัน วิเซรา
ชนะคะแนน
12
2006-11-22
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 32 ชนะ 20-18-2 ฟิลิปปินส์ อัลเฟรด นาเกา
ชนะคะแนน
12
2007-02-09
ไทย ท่าน้ำนนทบุรี, จ.นนทบุรี
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 33 ชนะ 9-12-2 อินโดนีเซีย อัลวี่ อันซับซี่
ชนะน็อค
2 (12), :
2007-05-02
ไทย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 34 ชนะ 14-3-0 ฟิลิปปินส์ ริชาร์ด โอลิเซ่ (ฟิลิปปินส์)
ชนะคะแนน
12
2007-07-03
ไทย ท่าน้ำนนทบุรี อ.เมือง จ.นนทบุรี
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 35 ชนะ 14-3-0 ฟิลิปปินส์ ริซซี่ มีปรานัม
ชนะคะแนน
12
2007-09-14
สละแชมป์
แชมป์ ABCO รุ่นฟลายเวท
ชิง ชนะ 19-16-2 ฟิลิปปินส์ เรย์ โอราริส
ชนะน็อคยก
3 (12)
2008-03-21
ไทย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
สละแชมป์
แชมป์ PABA รุ่นฟลายเวท สมัยที่ 2 (2551)
ชิง ชนะ 11-9-0 ฟิลิปปินส์ เดนนิส จูนติลลาโน
ชนะน็อคยก
2 (12)
2008-10-17
สละแชมป์
แชมป์โลก WBA รุ่นฟลายเวท (2551-2553)
ชิง ชนะ 33-4-2 ญี่ปุ่น ทาเกฟูมิ ซากาตะ
ชนะทีเคโอ
2 (12)
2008-12-31
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1 ชนะ 17-7-1 ญี่ปุ่น ฮิโรยูกิ ฮิซากาตะ
ชนะคะแนน
12
2009-05-26
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2 ชนะ 15-1-0 ญี่ปุ่น ไดกิ คาเมดะ
ชนะคะแนน
12
2009-10-06
เสียแชมป์โลก แพ้ 15-2-0 ญี่ปุ่น ไดกิ คาเมดะ
แพ้คะแนน
12
2010-02-07
แชมป์ PABA รุ่นซูเปอร์ฟลายเวท
ชิง ชนะ 12-11-2 ฟิลิปปินส์ เรย์ มิเกรโน
ชนะคะแนน
12
2010-04-19
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1 ชนะ 12-11-2 ฟิลิปปินส์ เอนิส เซอันฟิน
ชนะคะแนน
12
2010-06-15
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2 ชนะ 4-10-1 อินโดนีเซีย ยูดิ อารีนา
ชนะทีเคโอ
9 (12)
2011-01-24
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3 ชนะ 12-11-2 อินโดนีเซีย แพนช่า ซิลาบัน
ชนะน็อก
2 (12)
2011-03-22
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4 ชนะ 12-13-2 อินโดนีเซีย เฮนรี่ บารองเซ
ชนะคะแนน
12
2011-06-21
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5 ชนะ 10-17-4 ฟิลิปปินส์ เอดิสัน เบอร์เวลา
ชนะคะแนน
12
2011-10-17
ไทย มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เขตทวีวัฒนา
ศึกยอดมวยโลกมูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์-กระทิงแดง ช่วยภัยน้ำท่วม
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 6 ชนะ 6-5-1 ฟิลิปปินส์ รอนนี่ เร็ก ดูลท์
ชนะคะแนน
12
2012-01-24
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 7 ชนะ 14-14-0 อินโดนีเซีย รีโน่ ยูกรู
ชนะน็อก
3 (12)
2012-04-02
ไทย จ.อุตรดิตถ์
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 8 ชนะ 24-22-3 ฟิลิปปินส์ โรเดล ควอลาตัน
ชนะคะแนน
12
2012-07-24
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 9 ชนะ 20-23-4 ฟิลิปปินส์ โรเดล จีทาเรส
ชนะน็อก
3 (12)
2012-11-13
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 10 ชนะ 4-1-0 อินโดนีเซีย กาลี ซูซานโต
ชนะคะแนน
12
2013-01-04
ไทย มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เขตทวีวัฒนา
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 11 ชนะ 9-2-0 ญี่ปุ่น เออิจิ ซึซึมิ
ชนะน็อก
12
2013-03-19
ไทย มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เขตทวีวัฒนา
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 12 ชนะ 10-10-0 อินโดนีเซีย อิเชล โทบิดะ
ชนะน็อก
12
2013-03-19
ไทย วัดสวนป่าพระแสง อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี
แชมป์โลกรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท WBA (2556)
ชิงแชมป์โลกรุ่นชูเปอร์ฟลายเวท WBA เฉพาะกาล ชนะ 19-5-1 ญี่ปุ่น โนบูโอะ นาชิโระ
ชนะคะแนน (ไม่เป็นเอกฉันท์)
12
2013-09-03
ชิงแชมป์โลกรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท WBA แพ้ 29-8-0 ญี่ปุ่น โคเฮ โคโนะ
แพ้น็อก ยก 8
8 (12)
2014-03-26
ชิงแชมป์โลกแต่ไม่สำเร็จ
ชิงแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBA ครั้งที่ 1 แพ้ 31-0-0 ปวยร์โตรีโก เอริก โมเรล
แพ้ทีเคโอ
11 (12)
2002-10-13
ชิงแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBA ครั้งที่ 2 เสมอ 31-4-1 ญี่ปุ่น ทาเกฟูมิ ซากาตะ
เสมอ
12
2007-11-04
ชิงแชมป์โลก รุ่นฟลายเวท WBA เฉพาะกาล แพ้ 21-1-0 ปานามา ลุยส์ กอนเซปซิโอน
แพ้ทีเคโอ
1 (12)
2010-10-02

ชื่ออื่น[แก้]

  • เด่นเก้าแสน กระทิงแดงยิม
  • เด่นเก้าแสน ส.ท่าอิฐ (ชื่อเฉพาะตอนที่ชกป้องกันแชมป์ฟลายเวท PABA กับ ทอดด์ มาเคลิน ที่จังหวัดนนทบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2540)
  • เด่นเก้าแสน สิงห์วังชา

อ้างอิง[แก้]

  1. ฉายาคนกีฬาปี 2552
  2. “แวฮามะ”พ่ายแต้ม“ไดกิ”
  3. ""แชแม้" ยัน "แวฮามะ" ไม่เป็นรอง "โคเฮอิ โคโนะ"". เดลินิวส์. 30 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-02. สืบค้นเมื่อ 3 January 2013.
  4. หน้า 21 ต่อ 23 กีฬา, เด่นเก้าแสน พ่ายน็อกยุ่น อดได้แชมป์. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,541: วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557 แรม 12 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเมีย
  5. "′เจ้าขาว′ หมัดคมกรีดหน้า ′คานัท′ แตกยกแรก ก่อนไล่ถลุงจนหลับยก 3". ผู้จัดการออนไลน์. 4 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 6 July 2014.
  6. ""แวฮามะ" หลังอำลา ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง". ผู้จัดการออนไลน์. 4 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-09. สืบค้นเมื่อ 4 April 2014.
  7. สถิติชก Hiroyuki Kudaka

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]