ราชวงศ์นันทะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรวรรดินันทะ

ป. 345[a]ป. 322 ปีก่อน ค.ศ.[1]
ขอบเขตที่เป็นไปได้ของจักรวรรดินันทะในรัชสมัยพระเจ้าธนานันทะ (ป. 325 ปีก่อน ค.ศ.) ผู้ปกครององค์สุดท้าย[2]
ขอบเขตที่เป็นไปได้ของจักรวรรดินันทะในรัชสมัยพระเจ้าธนานันทะ (ป. 325 ปีก่อน ค.ศ.) ผู้ปกครององค์สุดท้าย[2]
เมืองหลวงปาฏลีบุตร
ศาสนา
ฮินดู[3]
พุทธ[3]
เชน[3]
การปกครองราชาธิปไตย
จักรพรรดิ 
• ป. 345 –  340 ปีก่อน ค.ศ.
พระเจ้ามหาปัทม (องค์แรก)
• ป. 329 –  322 ปีก่อน ค.ศ.
พระเจ้าธนา (องค์สุดท้าย)
ยุคประวัติศาสตร์อินเดียยุคเหล็ก
• ก่อตั้ง
ป. 345[a]
• สิ้นสุด
ป. 322 ปีก่อน ค.ศ.[1]
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ศิศุนาค
มหาชนบท
ราชวงศ์เมารยะ
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบังกลาเทศ
อินเดีย
เนปาล

ราชวงศ์นันทะ หรือ จักรวรรดินันทะ (อังกฤษ: Nanda Dynasty) เป็นราชวงศ์ที่ 5 ที่ปกครองแคว้นมคธในอนุทวีปอินเดียตอนเหนือเมื่อศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช และอาจปกครองในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตศักราชด้วย ราชวงศ์นันทะโค่นล้มราชวงศ์ศิศุนาคและขยายจักรวรรดิในพื้นที่อินเดียเหนือ ข้อมูลสมัยโบราณระบุพระนามกษัตริย์และระยะเวลาครองราชย์ไม่เหมือนกัน ข้อมูลศาสนาพุทธที่บันทึกใน มหาวงศ์ ระบุว่าราชวงศ์นี้ปกครองในช่วง ป. 345–322 ปีก่อน ค.ศ. แม้ว่าบางทฤษฎีจัดปีเริ่มต้นปกครองที่ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช

ราชวงศ์นันทะตั้งรากฐานผ่านความสำเร็จของราชวงศ์หรยังกะกับศิศุนาค และจัดตั้งการบริหารแบบรวมศูนย์มากขึ้น แหล่งข้อมูลสมัยโบราณยกความชอบให้ราชวงศ์นี้ว่าสร้างความมั่งคั่งมหาศาล ซึ่งอาจเป็นผลจากการนำสกุลเงินและระบบภาษีใหม่มาใช้ ตำราสมัยโบราณยังระบุด้วยว่าราชวงศ์นันทะไม่เป็นที่นิยมในบรรดาราษฎร เนื่องจากมีต้นกำเนิดจากชนชั้นต่ำ เก็บภาษีมากเกินไป และประพฤติมิชอบอย่างทั่วไป กษัตริย์นันทะองค์สุดท้ายถูกโค่นล้มโดยจันทรคุปต์ เมารยะ ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิเมารยะ

ต้นกำเนิด[แก้]

ทั้งธรรมเนียมอินเดียและกรีก-โรมันบรรยายผู้ก่อตั้งราชวงศ์ว่ามีต้นกำเนิดจากชนชั้นต่ำ[4] Diodorus (ศตวรรษที่ 1 ก่อน ค.ศ.) นักประวัติศาสตร์กรีก ระบุว่า พระเจ้าโปรสตรัสแก่อะเล็กซานเดอร์ว่า คาดกันว่ากษัตริย์นันทะร่วมสมัยเป็นบุตรช่างตัดผม[5] Curtius (คริสต์ศตวรรษที่ 1) นักประวัติศาสตร์โรมัน ระบุเพิ่มเติมว่า ตามรายงานจากพระเจ้าโปรส ช่างตัดผมผู้นี้กลายเป็นอดีตคู่รักของราชินีด้วยรูปลักษณ์ที่น่าดึงดูด ทรยศด้วยการลอบสังหารกษัตริย์ในขณะนั้น แล้วแย่งชิงอำนาจสูงสุดด้วยการแสร้งทำเป็นผู้พิทักษ์เจ้าชายในขณะนั้น จากนั้นค่อยสังหารบรรดาเจ้าชาย[5][6]

ธรรมเนียมเชนที่บันทึกใน Avashyaka Sutra และ Parishishta-parvan ยืนยันรายงานกรีก-โรมัน โดยระบุว่า กษัตริย์นันทะองค์แรกเป็นบุตรช่างตัดผม[7][1][8] Parishishta-parvan ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 รายงานว่า มารดาของกษัตริย์นันทะองค์แรกเป็นโสเภณี อย่างไรก็ตาม ตำรานั้นยังระบุอีกว่าพระราชธิดาของกษัตริย์นันทะองค์สุดท้ายอภิเษกสมรสกับจันทรคุปต์ เนื่องจากเป็นธรรมเนียมที่ลูกสาวกษัตริย์ต้องเลือกสามี จึงเป็นนัยว่ากษัตริย์นันทะอ้างว่าตนเป็นวรรณะกษัตริย์ ซึ่งเป็นชนชั้นนักรบ[7]

ปุราณะระบุพระนามผู้ก่อตั้งราชวงศ์เป็นมหาปัทม และอ้างว่าพระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้ามหานันทินแห่งศิศุนาค กระนั้น แม้แต่ข้อความนี้ยังบอกนัยถึงการถือกำเนิดจากชนชั้นต่ำ เมื่อมีการระบุว่า พระราชมารดาของมหาปัทมมาจากวรรณะศูทร วรรณะที่ต่ำที่สุด[8][9]

เนื่องจากข้ออ้างบรรพบุรุษช่างตัดผมของผู้ก่อตั้งราชวงศ์ได้รับการรับรองจาก 2 ธรรมเนียมที่ต่างกัน คือ—กรีก-โรมันและเชน (ตำราคริสต์ศตวรรษที่ 12) ดูเหมือนว่าน่าเชื่อถือว่าข้ออ้างศิศุนาคของปุราณะ[10]

ระยะเวลา[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ช่วงวันที่หลากหลายจากศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราชหรือ กลางศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Irfan Habib & Vivekanand Jha 2004, p. 13.
  2. Schwartzberg, Joseph E. (1978). A Historical atlas of South Asia. Chicago: University of Chicago Press. p. 145, map XIV.1 (a). ISBN 0226742210.
  3. 3.0 3.1 3.2 M. B. Chande (1998). Kautilyan Arthasastra. Atlantic Publishers. p. 313. ISBN 9788171567331. During the period of the Nanda Dynasty, the Hindu, Buddha and Jain religions had under their sway the population of the Empire
  4. Irfan Habib & Vivekanand Jha 2004, p. 12.
  5. 5.0 5.1 R. K. Mookerji 1966, p. 5.
  6. H. C. Raychaudhuri 1988, p. 14.
  7. 7.0 7.1 R. K. Mookerji 1966, p. 14.
  8. 8.0 8.1 Dilip Kumar Ganguly 1984, p. 20.
  9. Upinder Singh 2016, p. 273.
  10. Dilip Kumar Ganguly 1984, p. 23.

บรรณานุกรม[แก้]