ข้ามไปเนื้อหา

มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์
เป็นที่รู้จักกันในชื่อมาสเตอร์เชฟ จูเนียร์
อังกฤษMasterChef Junior Thailand
ประเภทเรียลลิตีโชว์แข่งขันการทำอาหาร
สร้างโดยแฟรงก์ รอดดัม
เค้าโครงจากMasterChef Junior UK
เสนอโดยปิยธิดา มิตรธีรโรจน์
กรรมการหม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์
หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย
ประเทศแหล่งกำเนิดประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
จำนวนฤดูกาล3
จำนวนตอน30
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตกิติกร เพ็ญ​โรจน์
สถานที่ถ่ายทำเดอะ สตูดิโอ พาร์ค อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
กล้องกล้อง 8 ตัว
ความยาวตอน90 นาที (ฤดูกาลที่ 1-2)
110 นาที (ฤดูกาลที่ 3-ปัจจุบัน)
บริษัทผู้ผลิตเฮลิโคเนีย เฮช กรุ๊ป
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7HD
ออกอากาศ19 สิงหาคม 2561 (2561-08-19)
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์

มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ เป็นรายการเรียลลิตีโชว์แข่งขันทำอาหารสำหรับเด็กอายุ 8–13 ปี โดยบริษัท เฮลิโคเนีย เฮช กรุ๊ป จำกัด ซื้อลิขสิทธิ์จากกลุ่มเอนเดโมลชายน์ (ปัจจุบันกลุ่มแบนิเจย์) มาผลิตในรูปแบบของประเทศไทย เป็นภาคแยกของมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ เริ่มออกอากาศครั้งแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 ทางช่อง 7HD[1][2][3] ดำเนินรายการโดยปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (คุณป๊อก) และมีคณะกรรมการในการตัดสินคือ หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (หม่อมอิงค์), หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (เชฟป้อม) และ พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน)

พิธีกรและกรรมการ[แก้]

กรรมการ ฤดูกาล
1 2 3
หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (หม่อมอิงค์)
หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (หม่อมป้อม)
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน)
พิธีกร ฤดูกาล
1 2 3
ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (คุณป๊อก)

รูปแบบรายการ[แก้]

รอบคัดเลือกรอบแรก[แก้]

ในรอบนี้จะเป็นการทดสอบทักษะพื้นฐานในการทำอาหาร โดยจะมีการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันจำนวนหนึ่งเพื่อเข้าสู่การแข่งขันในรอบต่อไป และในรอบต่อไปจะให้ผู้เข้าแข่งขันทำอาหาร 1 จาน โดยที่ทางรายการจะกำหนดวัตถุดิบหลักและระยะเวลาในการทำอาหารให้ผู้เข้าแข่งขัน และผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบอื่นเพื่อใช้ประกอบอาหารได้ภายในเวลา 3 นาที หลังจากนั้นกรรมการจะตัดสินและประกาศผู้เข้าแข่งขันที่จะได้ผ่านเข้าสู่การแข่งขันรอบต่อไปที่มาสเตอร์เชฟคิทเชน (ใช้เฉพาะฤดูกาลที่ 1)

รอบกล่องปริศนา[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากวัตถุดิบในกล่องปริศนา และวัตถุดิบพื้นฐานที่จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น โดยคณะกรรมการจะทำการคัดเลือกอาหารจำนวน 3 จานที่ดีที่สุดและเลือกจานที่ดีที่สุดจาก 3 จานดังกล่าวเพียง 1 จานเท่านั้น โดยผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้ชนะในรอบนี้จะได้รับสิทธิพิเศษแตกต่างกันออกไปในแต่ละรอบ

รอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากโจทย์และวัตถุดิบหลักที่กำหนดให้และต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้ภายในเวลา 3 นาทีจาก ซุปเปอร์มาเก็ตของมาสเตอร์เชฟ ผู้เข้าแข่งขัน 2 คนที่ทำอาหารได้ดีที่สุดจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบทีมชาเลนจ์ ต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะต้องออกจากการแข่งขัน

รอบทดสอบทักษะทางด้านอาหาร[แก้]

ผุ้เข้าแข่งขันจะต้องทำการทดสอบทางด้านอาหาร ที่เป็นพื้นฐานของการเป็นเชฟที่แตกต่างกันออกไป ทีมใดที่มีทักษะทางด้านอาหารที่ดีกว่า คนๆนั้นจะได้รับสิทธิพิเศษแตกต่างกันออกไปในแต่ละรอบทันที

รอบการแข่งขันแบบทีม[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหัวหน้าทีมจะมีสิทธิเลือกผู้เข้าแข่งขันคนอื่นเข้าสู่ทีม โดยผู้ชนะอันดับ 1 จากรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ จะได้สิทธิในการเลือกสมาชิกทีมก่อน และมีสิทธิที่จะเลือกผู้เข้าแข่งขันคนสุดท้ายที่ยังไม่ได้ถูกเลือกเข้าสู่ทีมให้กับอีกทีมหนึ่ง หรือเลือกที่จะเก็บไว้ในทีมตัวเองก็ได้ ในรอบนี้ทั้ง 2 ทีมจะต้องทำอาหารให้กับผู้ลงคะแนนที่ทางรายการเชิญมา โดยผลแพ้หรือชนะนั้นจะมาจากการที่ผู้ลงคะแนนเลือกที่จะให้คะแนนทีมใดทีมหนึ่งเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ลงคะแนนทั้งหมด โดยทีมที่ชนะจะได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไปทันที ส่วนทีมที่แพ้นั้นจะต้องแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำ อีกครั้งเพื่อหาผู้เข้าแข่งขันที่ต้องออกจากการแข่งขันต่อไป

รอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำ[แก้]

ทีมที่แพ้ในรอบทีมชาเลนจ์ จะต้องมาแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำอีกครั้ง เพื่อคัดหาผู้ที่ต้องออกจากแข่งขันอย่างน้อย 1 คน ในบางรอบหัวหน้าของทีมที่แพ้ หรือหัวหน้าทีมของทีมที่ชนะในการแข่งขันในรอบทีมชาเลนจ์ สามารถเลือกผู้เข้าแข่งขันหรือตัวเองเพื่อผ่านเข้าสู่รอบต่อไป โดยไม่ต้องแข่งขันในรอบรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำ

ฤดูกาล[แก้]

ฤดูกาล ออกอากาศครั้งแรก ออกอากาศรอบชิงชนะเลิศ ผู้ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขัน (เรียงตามลำดับคนออก) จำนวนผู้แข่งขัน จำนวนตอน
1 19 สิงหาคม 2561 9 ธันวาคม 2561 ชนัญชิดา พงษ์เพ็ชร สิริศักดิ์ มาทอง
ภาวริสร์ พานิชประไพ
นาโน & ราฟาแอล, เอ็นดู & แพรว, ซีนาย & เมล, แทน & เคซี, กัปตัน & สตังค์, อลิช & ริต้า, ชาช่า & ภูมิ, บูม & น้ำใส, อชิ & พอใจ, กอหญ้า & พีช, อัยริน, จัสมิน & เชน 26 16
2 22 กันยายน 2562 22 ธันวาคม 2562 พริมา สิงหะผลิน คีตกานท์ พงษ์ศักดิ์
วีรวิน เลิศบรรณพงษ์
เฟิร์น สุประวีณ์ & สตางค์ ธาดา, ภูมิใจ ศศิชา & เอพริล ภูวริศา, โกะ ณัชชา & ริสา มาริสา, แพท ชณิชา & เฟิร์ส ภควัฒน์, ฟิจิ กฤตภาส & มะกร ภุม ผนินทร, อิ่ม จิดาภา & โมสต์ ภูรี, จินจิน อินทร์ริตา & เคนเน็ธ เคนเน็ธ, พรีม ประวีร์รัชย์ & จัสติน ณัฐสกนธ์, รันย่า พิลันยา & ฟุ้ย พศิน, เฌอแตม ญาณิณีศ์, ตั้น ภาคิน & ปาร์แมน ปุญญพัฒน์, ชูบี้ จิรัชญา & เนลล์ กรรัมภา, เฟย์ รรกร & พอดี พอดี 28 14
3 2 มิถุนายน 2567 รอประกาศ รอประกาศ รอประกาศ พร้อม นภัทร & เพลงเพราะ นัทธ์ชวัล, ปาณพุฒิ ปาณพุฒิ & ผิงอัน เฌอนิตา 25 รอประกาศ

รางวัล[แก้]

ปี พ.ศ. ผู้มอบรางวัล สาขารางวัล ผลการตัดสิน
2562 ดาราเดลี่ อวอร์ดส์ ครั้งที่ 8 รายการโทรทัศน์ที่สุดแห่งปี เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 10 รายการเด็กยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
เอเชียน อคาเดมี ครีเอทีฟ อวอร์ด รายการฟอร์แมตยอดเยี่ยม ชนะ
2563 เอเชียน เทเลวิชั่น อวอร์ด ครั้งที่ 24 รายการฟอร์แมตยอดเยี่ยม ชนะ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. khaosod. "ทุ่ม 70 ล้านทำ "มาสเตอร์เชฟ จูเนียร์" หนุ่ม ชูฝีมือเด็ก-สอดแทรกศิลปะอาหารไทย". สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. thairath. ""มาสเตอร์เชฟ จูเนียร์" "หนุ่ม" ยันงบไม่เด็ก 70 ล้าน". สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. onbnews. "ต่อยอดความสำเร็จ !! เปิดรับสมัคร "มาสเตอร์เชฟ จูเนียร์" อายุระหว่าง 8-13 ปี แข่งขันทำอาหาร ชิงเงิน 5 แสนบาท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-07. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]