ข้ามไปเนื้อหา

พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพรหมโมลี

(สุชาติ ธมฺมรตโน)
คำนำหน้าชื่อพระเดชพระคุณ
ชื่ออื่นท่านเจ้าคุณสุชาติ
ส่วนบุคคล
เกิด23 ตุลาคม พ.ศ. 2497 (69 ปี)
นิกายเถรวาท
มหานิกาย
การศึกษา- นักธรรมชั้นเอก
- เปรียญธรรม 9 ประโยค
- พุทธศาสตรบัณฑิต
- ศึกษาศาสตรบัณฑิต
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
แขวงปากคลองภาษีเจริญ
เขตภาษีเจริญ
กรุงเทพมหานคร 
บรรพชา5 เมษายน พ.ศ. 2508
อุปสมบท4 กรกฎาคม พ.ศ.2519
พรรษา48
ตำแหน่ง- กรรมการมหาเถรสมาคม
- ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ
- เจ้าคณะภาค 5
- เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระอารามหลวง
- แม่กองบาลีสนามหลวง
- เลขานุการแม่กองงานพระธรรมทูต
- รองประธานคณะพระธรรมจาริก
- หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 3
- อดีตประธานคณะเลขานุการผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
- อดีตเลขานุการประธานสมัชชามหาคณิสสร

พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม, ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ, เจ้าคณะภาค 5, เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระอารามหลวง, แม่กองบาลีสนามหลวง, เลขานุการแม่กองงานพระธรรมทูต, รองประธานคณะพระธรรมจาริก, หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 3, อดีตประธานคณะเลขานุการผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช, อดีตเลขานุการประธานสมัชชามหาคณิสสร

ประวัติ[แก้]

ชาติภูมิ[แก้]

ชื่อ สุชาติ นามสกุล สอดสี ชาตะ วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2497 (วันเสาร์ แรม 11 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเมีย) ตรงกับวันปิยมหาราช ณ บ้านบางงาม ตำบลบางงาม (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลวังหว้า) อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 5 คน ของนายชื่น นางตอง นามสกุล สอดสี ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกร[1]

บรรพชา[แก้]

บรรพชาเป็นสามเณร วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2508 (วันจันทร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเส็ง) ณ วัดเกาะ ตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี พระครูวรนาถรังษี (ปุย ปุญฺญสิริ) เจ้าอาวาสวัดเกาะ เป็นพระอุปัชฌาย์[2]

ขณะเป็นสามเณร มีโอกาสถวายการปรนนิบัติสมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณฺณสิริ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก) ซึ่งเดินทางมาเยี่ยมเยียนพระครูวรนาถรังษี(ปุย ปุญฺญสิริ) ที่วัดเกาะ

ศึกษาพระปริยัติธรรมยังสำนักเรียนวัดเกาะ วัดดอนเจดีย์ วัดสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร จวบจนสอบไล่ได้เปรียญธรรม 9 ประโยค เมื่อ พ.ศ. 2519[3]

เป็นสามเณรเปรียญธรรม 9 ประโยค รูปที่ 10 ของกรุงรัตนโกสินทร์[4] และรูปที่ 1 ของสำนักเรียนวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ[5]

อุปสมบท[แก้]

เป็นนาคหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9)

อุปสมบท วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 (วันอาทิตย์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง) ณ พัทธสีมาพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยมี

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยา เป็นพระอุปัชฌาย์

พระธรรมปิฎก (นิยม ฐานิสฺสโร) วัดชนะสงคราม (ภายหลังได้รับสถาปนาสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระมหาธีราจารย์) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พระธรรมธีรราชมหามุนี (ช่วง วรปุญฺโญ) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ (ภายหลังได้รับสถาปนาสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า "ธมฺมรตโน" (อ่านว่า ทำ-มะ-ระ-ตะ-โน) แปลว่า "ผู้มีธรรมเป็นรัตนะ"

วิทยฐานะ[แก้]

ตำแหน่ง[แก้]

งานปกครอง[แก้]

งานการศึกษา[แก้]

งานเผยแผ่[แก้]

งานพิเศษ[แก้]

  • พ.ศ. 2548 เป็นคณะกรรมการศูนย์ควบคุมการไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุสามเณร (ศ.ต.ภ.)
  • พ.ศ. 2557 - 2560 เป็นประธานคณะเลขานุการผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
  • พ.ศ. 2557 - 2564 เป็นเลขานุการประธานสมัชชามหาคณิสสร

สมณศักดิ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. พระธรรมโกศาจารย์(ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). อานุภาพพระปริตร อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ นายชื่น สอดสี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
  2. พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ภมรพล). (2560). เจ้าคุณสุพรรณ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: หจก.สามลดา.
  3. พีระศักดิ์ สุนทรวิภาต. (2563). ที่ระลึก 125 ปีชาตกาล 40 ปีมรณภาพ พระครูวรนาถรังษี (ปุย ปุญฺญสิริ). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กุศลบุญการพิมพ์.
  4. กรมยุทธศึกษาทหารเรือ, ผู้ที่สอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้ในขณะยังเป็นสามเณร
  5. พระปลัดสกล ปญฺญาพโล. (2523). ประวัติพระครูวรนาถรังษี (ปุย ปุญฺญสิริ). กรุงเทพฯ: อาทรการพิมพ์.
  6. เพจ พัดยศ สมณศักดิ์พระสงฆ์ไทย, เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ, 2 ตุลาคม 2564
  7. มหาเถรสมาคม, มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 22/2564 มติที่ 728/2564 เรื่อง รายงานการแต่งตั้ง พระพรหมโมลี วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร ให้เป็นผู้รักษาการแทน เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ, 27 ธันวาคม 2564
  8. เพจ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, พิธีรับพระบัญชา แต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ พระอารามหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร, 9 ธันวาคม 2565
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม [จำนวน ๒๐ รูป ๑. สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) ฯลฯ], เล่ม 140, ตอนพิเศษ 293 ง, 22 พฤศจิกายน 2566, หน้า 1
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ 2530, เล่ม 104, ตอนที่ 253 ฉบับพิเศษ, 5 ธันวาคม 2530, หน้า 12
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 109, ตอนที่ 101 ฉบับพิเศษ, 12 สิงหาคม 2535, หน้า 8
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 116, ตอนที่ 23 ข, 27 ธันวาคม 2542, หน้า 2
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 121, ตอนที่ 17 ข, 15 กันยายน 2547, หน้า 3
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 129, ตอนที่ 8 ข, 5 มีนาคม 2555, หน้า 3-5

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) ถัดไป
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
(พ.ศ. 2565 — ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในตำแหน่ง
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) แม่กองบาลีสนามหลวง
(พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในตำแหน่ง
พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ)
รักษาการเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ
(พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในตำแหน่ง|}