ข้ามไปเนื้อหา

ตะโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตะโก
Ebony
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Ericales
วงศ์: Ebenaceae
สกุล: Diospyros
สปีชีส์: D.  ebenum
ชื่อทวินาม
Diospyros ebenum
Koenig ex Retz.

ตะโก เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางประเภทใบเดี่ยวที่อยู่ในวงศ์ Ebenaceae โดยมีชื่อสามัญว่า ebony ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์นั้นก็คือ Diospyios rhodcalyx ต้นตะโกนั้นเป็นต้นไม้ที่มักจะนิยมนำไปทำเป็นไม้ดัดกันมากเนื่องจากมีกิ่งก้านที่อ่อนพอต่อการนำไปทำไม้ดัด

ต้นตะโกนั้นนอกจากจะนิยมทำเป็นไม้ดัดกันแล้ว มันยังเป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าทางสมุนไพรและผลที่สุกของมันก็ยังสามารถกินได้อีกด้วย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 15 เมตร เปลือกแตกเป็นร่อง มีสะเก็ดหนา สีดำ เนื้อไม้สีขาว ใบ เดี่ยว รูปไข่กลับ รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนหรือป้อม กว้าง 2-7 ซม. ยาว 3-12 ซม. ปลายใบทู่หรือโค้งมน โคนใบสอบแคบหรือมน ดอก ออกเป็นช่อ ดอกแยกเพศต่างต้น ดอกเพศผู้ เป็นช่อเล็กๆ มีประมาณ 3 ดอก ออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย มีขนปกคลุม กลีบดอก เชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 4 กลีบ เกสรเพศผู้ 14-16 อัน ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวๆ ออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ มีขนนุ่ม เกสรเพศเมีย รังไข่ป้อม มีขนปกคลุม ภายในแบ่งเป็น 4 ช่อง ผล แบบผลสด มีเนื้อ หลายเมล็ด ทรงกลม ขนาด 1.5-2.5 ซม. ผลอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง กลีบเลี้ยงติดคงทน กางหรือแนบลู่ไปตามผิวผล เมล็ด มี 3-5 เมล็ด รูปไข่แบน สีน้ำตาลเข้ม มีเนื้อฉ่ำน้ำหุ้มอยู่

ตะโกจะออกดอกและติดผลเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน การกระจายพันธุ์ พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะ และทุ่งนาทั่วไป ที่ระดับความสูง 40-300 เมตร ต่างประเทศกระจายจากพม่า จนถึงภูมิภาคอินโดจีน[1]

ในวัฒนธรรม[แก้]

"ดำเป็นตอตะโก" เป็นการเปรียบสีดำกับลำต้นของต้นตะโก ซึ่งเป็นไม้ดัดที่สมัยก่อนผู้คนนิยมเล่น นำมาใช้โดยเฉพาะความหมายของการถูกเผาไหม้จนดำสนิท ไม่หลงเหลือส่วนที่ไม่ถูกเผาเลย[2]

  1. "ตะโก".
  2. ดำเป็นตอตะโก. ความหมายสำนวนไทย. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2564.