เอบรอฮีม แรอีซี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอบรอฮีม แรอีซี
ابراهیم رئیسی
ประธานาธิบดีอิหร่าน
ดำรงตำแหน่ง
3 สิงหาคม 2021 – 19 พฤษภาคม 2024
ผู้นำสูงสุดแอลี ฆอเมเนอี
ก่อนหน้าแฮแซน โรว์ฮอนี
ถัดไปมุฮัมหมัด มุคบิร (รักษาการ)
ประธานศาลสูงสุดอิหร่าน
ดำรงตำแหน่ง
7 มีนาคม 2019 – 1 กรกฎาคม 2021
ก่อนหน้าSadeq Larijani
ถัดไปGholam-Hossein Mohseni-Eje'i
อัยการสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
23 สิงหาคม 2014 – 1 เมษายน 2016
แต่งตั้งโดยซอเดก ลอรีจอนี
ก่อนหน้าโกลอม-โฮสเซน โมฮ์เซนี-เอเฌอี
ถัดไปโมแฮมแมด แจอ์แฟร์ โมนแทเซรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
Sayyid Ebrahim Raisol-Sadati

14 ธันวาคม ค.ศ. 1960(1960-12-14)
แมชแฮด รัฐจักรพรรดิอิหร่าน
เสียชีวิต19 พฤษภาคม ค.ศ. 2024(2024-05-19) (63 ปี)
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์Government website
Personal website (Persian)

เอบรอฮีม แรอีโซลซอดอที (เปอร์เซีย: ابراهیم رئیس‌الساداتی; 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 – 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2024)[3] โดยทั่วไปรู้จักกันในชื่อ เอบรอฮีม แรอีซี (ابراهیم رئیسی, [ebɾɒːˈhiːm-e ræʔiːˈsiː] ( ฟังเสียง)) เป็นนักการเมืองชาวอิหร่านที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอิหร่านคนที่ 8 ตั้งแต่ ค.ศ. 2021 จนกระทั่งเสียชีวิตใน ค.ศ. 2024 เขาเคยดำรงตำแหน่งสำคัญอย่างประธานสำนักงานสอบสวนกลาง อัยการสูงสุด และประธานศาลสูงสุดเป็นอาทิ เขายังเคยเป็นอาจารย์ใหญ่และนักกฎหมายอิสลามก่อนที่จะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีหลังการเลือกตั้งใน ค.ศ. 2021

19 พฤษภาคม 2024 ประธานาธิบดีแรอีซี พร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่หลายคน ประสบอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกบริเวณใกล้แวร์แซฆอน ภายหลังสื่อของรัฐยืนยันว่าทุกคนเสียชีวิต[4][5]

ประวัติ[แก้]

แรอีซีเกิดที่เมืองแมชแฮด เมืองใหญ่อันดับสองของอิหร่าน บิดาของเขาซึ่งเป็นผู้นำศาสนาเสียชีวิตขณะที่เขามีอายุห้าขวบ แรอีซีเข้าศึกษาโรงเรียนศาสนาที่เมืองโกมเมื่อมีอายุสิบห้าปี[6] ต่อมาแรอีซีเข้าร่วมในการปฏิวัติอิสลามเพื่อโค่นล้มระบอบกษัตริย์และสถาปนาระบอบสาธารณรัฐ แรอีซีจบการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาเอกสาขากฎหมายเอกชนจากมหาวิทยาลัยโมแทแฮรีในกรุงเตหะราน[7] ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยขนาดเล็กมาก

แรอีซีเริ่มทำงานในฐานะอัยการตั้งแต่ปี 1981 และได้ย้ายเข้ามาในตำแหน่งรองอัยการกรุงเตหะรานในปี 1985[8] ขณะมีอายุยี่สิบห้าปี จากนั้น แรอีซีเริ่มได้รับความสนใจจากอายะตุลลอฮ์รูฮุลลอฮ์ โคมัยนีในปี 1988 ซึ่งในปีดังกล่าว แรอีซีได้รับแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในคณะผู้พิพากษาจำนวนสี่คนที่ทำการตัดสินคดีของนักโทษการเมืองที่เป็นสมาชิกมุญาฮิดีนประชาชนอิหร่าน คาดการณ์ว่ามีนักโทษการเมืองหลายพันคนที่ถูกพิพากษาประหารชีวิตและถูกฝังในหลุมศพโดยไม่ระบุชื่อ จนทำให้เขาได้รับฉายา "จอมเชือดแห่งเตหะราน"[9] แรอีซีพยายามปฏิเสธว่าตัวเขาไม่ได้มีบทบาทในการสั่งประหาร แต่ก็ระบุว่าการประหารดังกล่าวเป็นสิ่งชอบธรรมแล้วตามหลัก "ฟัตวา" ของอายะตุลลอฮ์โคมัยนี มีหลักฐานบ่งชี้ว่าการประหารหมู่ที่เกิดขึ้น ทำให้แรอีซีหลุดจากการถูกวางตัวให้เป็นผู้สืบทอดอำนาจของอายะตุลลอฮ์โคมัยนี

หลังการอสัญกรรมของอายะตุลลอฮ์โคมัยนี ตำแหน่งผู้นำสูงสุดคนใหม่ตกเป็นของแอลี ฆอเมเนอี แรอีซีดำรงตำแหน่งอัยการกรุงเตหะรานระหว่างปี 1989–1994, ประธานสำนักงานสอบสวนกลางระหว่างปี 1994–2004, รองประธานศาลสูงสุดระหว่างปี 2004–2014, อัยการสูงสุดระหว่างปี 2014–2016 จากนั้นเขาลงสมัครท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2017 แต่พ่ายแพ้ให้แก่แฮแซน โรว์ฮอนี ต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งประธานศาลสูงสุดระหว่างปี 2019–2021 จากนั้นเขาลงสมัครท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งในปี 2021 และได้รับชัยชนะด้วยคะแนนเสียง 62% ของผู้มาใช้สิทธิ์[10]

นักเคลื่อนไหวในตลาดทุนประท้วงประธานาธิบดีอิหร่าน[แก้]

หลังจาก 6 เดือนนับจากการเข้ารับตำแหน่งของ Ebrahim Raisi สถานการณ์ของตลาดทุนยังคงน่าผิดหวัง ดัชนีรวมของตลาดหลักทรัพย์เตหะรานลดลงมากกว่า 30,000 หน่วยในระหว่างการซื้อขายวันนี้ และแตะระดับ 1 ล้าน 275,000 หน่วย ในสถานการณ์นี้ เมื่อหุ้นในตลาดส่วนใหญ่ติดลบ ผู้ถือหุ้นได้ติดเทรนด์แฮชแท็ก "First_Priority_Stock Exchange" ในพื้นที่เสมือน แฮชแท็กนี้สร้างขึ้นเพื่อประท้วงพฤติกรรมนิ่งเฉยของประธานาธิบดีและทีมเศรษฐกิจของเขาเกี่ยวกับสถานะของเมืองหลวง และอ้างถึงคำสัญญาของ Ebrahim Raisi ก่อนการเลือกตั้งว่าตลาดหุ้นจะมีความสำคัญอันดับแรกของรัฐบาลของเขา [1]

อ้างอิง[แก้]

  1. "رئیسی چند کلاس سواد دارد؟". اقتصادنیوز. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2021. สืบค้นเมื่อ 25 June 2021.
  2. "حجت الاسلام کیست و چه کسی آیت‌الله می‌شود؟". BBC News فارسی. 17 May 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2017. สืบค้นเมื่อ 22 June 2021.
  3. "Iran's president, foreign minister and others found dead at helicopter crash site, state media says". AP News (ภาษาอังกฤษ). 2024-05-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 May 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-05-20.
  4. Taylor, Jerome (20 May 2024). "Drone footage shows wreckage of crashed helicopter". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 May 2024. สืบค้นเมื่อ 20 May 2024.
  5. "Iran's president, foreign minister martyred in copter crash". Mehr News Agency. 20 May 2024.
  6. Who is "Ayatollah Ra'isi"? tasnimnews.com Retrieved 13 July 2021
  7. Picture of Mr. Ra'isi's doctoral degree in jurisprudence and law[ลิงก์เสีย] iribnews.ir, retrieved 14 July 2021
  8. "ابراهیم رئیسی کیست؟". 3 March 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2021. สืบค้นเมื่อ 6 April 2017.
  9. บีบีซี. อิหร่าน : บราฮิม ไรซี ประธานาธิบดีคนใหม่ผู้มีแนวคิดอนุรักษนิยมสุดโต่ง กับฉายา "จอมเชือดแห่งเตหะราน" 6 สิงหาคม 2021
  10. Yee, Vivian (19 June 2021). "Iranian Hard-Liner Ebrahim Raisi Wins Presidential Vote". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2021. สืบค้นเมื่อ 19 June 2021.