อัจฉรา ทองเทพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัจฉรา ทองเทพ
ชื่อเกิดอัจฉรา ทองเทพ
เกิด23 ธันวาคม พ.ศ. 2515 (51 ปี)
อำเภอร่อนพิบูลย์
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ประเทศไทย
บิดาบุ่น ทองเทพ
มารดาจ่วน ทองเทพ
คู่สมรสชาดา ไทยเศรษฐ์ (หย่า)[1]
อาชีพนักแสดง, นางแบบ, นางงาม
ปีที่แสดงพ.ศ. 2536-ปัจจุบัน
ผลงานเด่นเอื้อย/อ้าย จากปลาบู่ทอง ช่อง 7

อัจฉรา ทองเทพ หรือชื่อใหม่ว่า เมธิกาญจน์ ทองสมิทธิพัฒน์ (เกิด 23 ธันวาคม 2515) มีชื่อเล่นว่า เอ๋ นักแสดงหญิงชาวไทยและเคยได้รับตำแหน่งรองอันดับ 1 มิสทีนไทยแลนด์ ปี 2535

ประวัติ[แก้]

อัจฉรา ทองเทพ มีชื่อเล่นว่า เอ๋ เกิดเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2515 นักแสดงหญิงชาวไทย เป็นนางเอกละครที่มีผลงานละครในแนวจักร ๆ วงศ์ ๆ ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เป็นชาวนครศรีธรรมราช เข้าวงการบันเทิงโดยการประกวดมิสทีนไทยแลนด์ ปี 2535 และได้รับตำแหน่งรองอันดับ 1 มิสทีนไทยแลนด์ ปี 2535 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญรองลงมาจากมิสทีนไทยแลนด์ หลังจากนั้นได้เล่นละครอีกหลายเรื่อง เป็นนางเอกคู่ขวัญคู่กับ ปริญญา ปุ่นสกุล[ต้องการอ้างอิง]

เธอป่วยเป็นโรคเอสแอลอี (SLE) หรือโรคพุ่มพวง จึงออกจากวงการแสดงเพื่อไปรักษาสุขภาพ[ต้องการอ้างอิง] ในช่วงปี 2550 มีข่าวออกมาว่า เอ๋ อัจฉรา ทองเทพ ได้เสียชีวิตแล้ว เพราะโรคเอสแอลอีที่เธอป่วยอยู่[2] ภายหลังเธอได้ออกมาโต้ข่าวของตัวเอง ณ ห้องกำแพงเพชร 2 โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล ลาดพร้าว และบอกว่ายังไม่ได้เสียชีวิตอย่างที่เป็นข่าว[3][4] และเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เธอถูกนำส่งโรงพยาบาล พบว่าเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน[ต้องการอ้างอิง]

ด้านชีวิตส่วนตัว เคยสมรสกับนายชาดา ไทยเศรษฐ์[1] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุทัยธานี สังกัดพรรคภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ที่มัสยิดอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ และมีบุตรสาวด้วยกัน 1 คน ชื่อ อัญญิกา ทองเทพ (ชื่อเล่น อัญ)[5] ปัจจุบันเธอได้หย่ากับนายชาดา ไทยเศรษฐ์และเปลี่ยนชื่อและนามสกุลเป็น เมธิกาญจน์ ทองสมิทธิพัฒน์ ปัจจุบันเธอประกอบธุรกิจส่วนตัวเกี่ยวกับก่อสร้าง และเครื่องสำอาง ล่าสุดเตรียมเปิดค่ายมวยอัจฉรา และกลับมารับงานละครเรื่องอำแดงเหมือนกับนายริด ในปี พ.ศ. 2555[5]

ผลงาน[แก้]

ละครโทรทัศน์[แก้]

พ.ศ. เรื่อง รับบท ออกอากาศ
2537 ปลาบู่ทอง เอื้อย / อ้าย ช่อง 7
ละครสั้น "ปากกาทอง" ตอน "ดับไฟแค้น"
2538 วิมานสลัม
เกราะเพชรเจ็ดสี (รับเชิญ)
ภูตพิศวาส สายพิณ
วัยรุ่นสุดหรรษา ช่อง 3
2539 มาหยารัศมี ชุติมา
ดอกแก้ว แม่ช้อย ช่อง 7
มณีนพเก้า เทพีหยั่งรู้
2540 ซอสามสาย ช่อง 3
2541 เมียแต่ง พิมพ์กมล (จิ๊บ)
จำเลยรัก ใจดี ช่อง 7
2542 รักไร้พรมแดน
แก้วกินรี (รับเชิญ)
มะปรางข้างรั้ว แสงโสม
มือปืน แสง ช่อง 3
ตำรับรัก แหวน
2544 กำนันหญิง แววหวาน ช่อง 7
2552 ไฟรักอสูร คุณหญิงตาบทิพย์ พัชราภรณ์ (แม่บุญธรรมน้ำตาล) ช่อง 3
2553 สามหัวใจ พวงแก้ว
2557 รถไฟ เรือเมล์ ลิเก กองถ่าย เจ๊ชมพู่
2560 หมอเทวดา ติ๋ม ช่อง 3 SD
2562 ขวานฟ้าหน้าดำ พระมเหสีบุษบง ช่อง 7
ขิงก็รา ข่าก็แรง แม่ชีสุดา
มนตร์กาลบันดาลรัก ทรรศิกา

ภาพยนตร์[แก้]

  • 2557 - ขรัวโต อมตะเถระกรุงรัตนโกสินทร์

รางวัล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ดาราหญิงในอ้อมกอดนักการเมือง" (Press release). ASTVผู้จัดการออนไลน์. 7 กันยายน 2549. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. "ช็อก!! อดีตนางงาม “เอ๋-อัจฉรา” เสียชีวิตแล้ว"
  3. "ดาราสาว "เอ๋-อัจฉรา" สยบข่าวลือ "ตาย""
  4. ""เอ๋ อัจฉรา" โต้ข่าวตาย ยันไม่ได้สร้างกระแสเอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2021-10-03.
  5. 5.0 5.1 "ย้อนคิดถึงนางเอกสาวนัยน์ตาคมเอ๋-อัจฉรา" (Press release). สยามดารา. 7 เมษายน 2555. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]