สำนักข่าวไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สำนักข่าวไทย (อังกฤษ: Thai News Agency ชื่อย่อ : สขท.; TNA) เป็นหน่วยงานประกอบกิจการข่าวสารของอสมท จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2520 ถือเป็นสำนักข่าวแห่งแรกของประเทศไทย

สำนักข่าวไทยมีหน้าที่รับผิดชอบหลักในการผลิต รวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ และรายงานข่าวเพื่อนำเสนอออกอากาศ ทั้งทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่น ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต สื่อทางคอมพิวเตอร์ออนไลน์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตลอดจนนำข้อมูลข่าวสารเพื่อใช้แลกเปลี่ยน กับกลุ่มความร่วมมือในต่างประเทศ และเป็นหนึ่งเพื่อใช้แลกเปลี่ยน กับกลุ่มความร่วมมือในต่างประเทศ และเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน และนำเสนอข่าวในประเทศไทย ไปสู่นานาประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ ยังเปิดศูนย์ข่าวในส่วนภูมิภาคอีก 4 แห่งคือ ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ ศูนย์ข่าวขอนแก่น ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ และศูนย์ข่าวระยอง

ประวัติ[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2492 สรรพสิริ วิรยศิริ ผู้สื่อข่าวต่างประเทศของกรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) เขียนบทความเพื่อแนะนำให้ผู้อ่านรู้จักกับ "วิทยุภาพ" อันเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารชนิดใหม่ของโลก ต่อมากรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) ส่งข้าราชการกลุ่มหนึ่งไปศึกษางานที่สหราชอาณาจักรในราวปี พ.ศ. 2493 เมื่อเล็งเห็นประโยชน์มหาศาลต่อประเทศชาติ ทางกรมจึงนำเสนอ "โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ" ต่อจอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น แต่ในสภาผู้แทนราษฎร ส.ส. ส่วนมากกลับไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง เนื่องจากเห็นว่าสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน จึงยุติโครงการดังกล่าวลงชั่วคราว[1]

หลังจากนั้น ประสิทธิ์ ทวีสิน ประธานกรรมการบริษัท วิเชียรวิทยุและโทรภาพ จำกัด นำเครื่องส่งวิทยุโทรภาพ 1 เครื่อง พร้อมเครื่องรับจำนวน 4 เครื่อง ซึ่งมีน้ำหนักรวมกว่า 2,000 กิโลกรัม มาทำการทดลองแพร่ภาพการแสดงดนตรีของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ ไปยังทำเนียบรัฐบาล และบริเวณกรมประชาสัมพันธ์ ให้คณะรัฐมนตรีได้รับชม นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และยังเปิดฉายให้ประชาชนทั่วไปทดลองรับชมที่ศาลาเฉลิมกรุงด้วย เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2495

สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม[แก้]

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2495 รัฐมนตรีและข้าราชการกลุ่มหนึ่งของกรมประชาสัมพันธ์ รวมจำนวน 7 คน ดำเนินการระดมทุนด้วยการเสนอขายหุ้นต่อกรมประชาสัมพันธ์ 11 ล้านบาท และผู้ถือหุ้นใหญ่ร่วมกับภาครัฐอีก 8 แห่ง จำนวน 9 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 20 ล้านบาท จดทะเบียนจัดตั้ง "บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด" (อังกฤษ: Thai Television Co., Ltd. ชื่อย่อ: ท.ท.ท.) ขึ้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนของปีดังกล่าว เพื่อเป็นผู้บุกเบิกการดำเนินกิจการการส่งสัญญาณโทรทัศน์ในประเทศไทย[2]

ทั้งนี้ ในระยะก่อนจะดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์ บจก.ไทยโทรทัศน์ ได้จัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. ขึ้นเพื่อระดมทุนทรัพย์สำหรับบริหารงานและฝึกฝนบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ พร้อมทั้งเตรียมงานส่วนอื่นไปด้วย โดยกระจายเสียงจากที่ทำการบริเวณแยกคอกวัว (ปัจจุบันเป็นอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา) จากนั้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2497 พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการ บจก.ไทยโทรทัศน์ (อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น) เป็นประธานวางศิลาฤกษ์อาคารที่ทำการ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ภายในวังบางขุนพรหม ที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน (จึงเป็นที่มาของชื่อ ที่ผู้ชมทั่วไปเรียกว่า "ช่อง 4 บางขุนพรหม") โดยในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ก็เริ่มทดลองแพร่ภาพโทรทัศน์จากห้องส่งของสถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. ไปพลางก่อน จนกระทั่งก่อสร้างอาคารที่ทำการและติดตั้งเครื่องส่งเสร็จสมบูรณ์

จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นเป็นประธานพิธีเปิด สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 (อังกฤษ: Thai Television Channel 4 ชื่อย่อ: ไทย ที.วี. ชื่อเรียกตามอนุสัญญาสากลว่าด้วยวิทยุโทรทัศน์: HS1-TV) ขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทยและทวีปเอเชียแผ่นดินใหญ่ (Asia Continental) และเป็นแห่งที่สามของทวีปเอเชียทั้งหมด ถัดจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งตรงกับวันชาติไทยในสมัยนั้น โดยใช้เครื่องส่งโทรทัศน์ขนาด 10 กิโลวัตต์ แพร่ภาพขาวดำระบบ 525 เส้น 30 อัตราภาพ เช่นเดียวกับที่ใช้ในสหรัฐ[2] ต่อมาในเวลา 19:00 น. วันเดียวกัน จึงเริ่มทดลองออกอากาศอย่างเป็นทางการ เริ่มด้วย อารีย์ นักดนตรี ผู้ประกาศของช่อง 4 บางขุนพรหม รำประกอบเพลงต้นบรเทศ (ในยุคหลังเรียกว่า "ต้นวรเชษฐ์" (รายการ คุณพระช่วย ออกอากาศเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี) ซึ่งใช้เปิดการออกอากาศทั้งสถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุของ บจก.ไทยโทรทัศน์ ออกอากาศสดจากห้องส่งโทรทัศน์ จากนั้น เย็นจิตต์ สัมมาพันธ์ ผู้ประกาศแจ้งรายการประจำวัน

สำหรับคณะผู้ปฏิบัติงานยุคแรก ของช่อง 4 บางขุนพรหม ได้แก่ จำนง รังสิกุล เป็นผู้อำนวยการคนแรกของสถานี และหัวหน้าฝ่ายผลิตรายการ, อัมพร พจนพิสุทธิ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายกำกับภาพ, สมชาย มาลาเจริญ เป็นหัวหน้าฝ่ายช่างกล้อง, ธนะ นาคพันธุ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายควบคุมการออกอากาศ, เกรียงไกร ชีวะปรีชา เป็นหัวหน้าฝ่ายเครื่องส่ง, ธำรง วรสูตร ร่วมกับ ฟู ชมชื่น เป็นหัวหน้าฝ่ายเครื่องส่งและเสาอากาศ, จ้าน ตัณฑโกศัย เป็นหัวหน้าฝ่ายกำกับเสียง, รักษ์ศักดิ์ วัฒนพานิช เป็นหัวหน้าฝ่ายบริการเครื่องรับโทรทัศน์, สรรพสิริ วิรยศิริ เป็นหัวหน้าฝ่ายข่าว กับหัวหน้าฝ่ายช่างภาพและแสง

ส่วนผู้ประกาศยุคแรก ได้แก่ เย็นจิตต์ สัมมาพันธ์ (ปัจจุบันคือ เย็นจิตต์ รพีพัฒน์ ณ อยุธยา), อารีย์ นักดนตรี (ปัจจุบันคือ อารีย์ จันทร์เกษม), ดาเรศร์ ศาตะจันทร์, นวลละออ ทองเนื้อดี (ปัจจุบันคือ นวลละออ เศวตโสภณ), ชะนะ สาตราภัย และประไพพัฒน์ นิรัตพันธ์, สรรพสิริ วิรยศิริ, อาคม มกรานนท์, สมชาย มาลาเจริญ และบรรจบ จันทิมางกูร เป็นต้น

ในระยะแรกออกอากาศทุกวันอังคาร, วันพฤหัสบดี, วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ระหว่างเวลา 18:30 - 23:00 น. ต่อมาเพิ่มวันและเวลาออกอากาศมากขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ รัฐบาลในสมัยนั้น มักใช้ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ถ่ายทอดการปราศรัยของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี, เผยแพร่ผลงานของรัฐบาล, ถ่ายทอดการประชุมรัฐสภา ตลอดจนถ่ายทอดสดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ในปี พ.ศ. 2500 แต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น จึงสั่งการให้กองทัพบก จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นอีกแห่งหนึ่งคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ภาพขาวดำ; ปัจจุบันคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5) ในระหว่างปี พ.ศ. 2500 – 2501

ราวต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2517 ได้เปลี่ยนระบบการออกอากาศทาง ช่อง 4 บางขุนพรหม จากภาพขาวดำเป็นภาพสีในระบบ 625 เส้น 25 อัตราภาพอย่างสมบูรณ์ โดยได้ย้ายห้องส่งโทรทัศน์ไปที่ถนนพระสุเมรุ แขวงบางลำพู และราวปี พ.ศ. 2519 ได้หยุดทำการออกอากาศพร้อมกับการเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 บางลำพู ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2513 ที่ผ่านมา

สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม มีอัตลักษณ์เป็นภาพ "วิชชุประภาเทวี" หมายถึง เทวดาผู้หญิง ที่เป็นเทพเจ้าหรือแห่งสายฟ้า ประดับด้วยลายเมฆ และสายฟ้าอยู่ภายในรูปวงกลม ที่ออกแบบโดย กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (ในขณะนั้น)

สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9[แก้]

สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 บางลำพู[แก้]

บจก.ไทยโทรทัศน์ เริ่มออกอากาศเป็นภาพสี 625 เส้นในย่านความถี่ VHF ทางช่องสัญญาณที่ 9 ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2513 โดยแพร่ภาพออกอากาศคู่ขนานกับช่องสัญญาณที่ 4 ในระบบภาพขาวดำเป็นเวลาประมาณ 4 ปี[3] กระทั่งราวต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2517 จึงยุติการออกอากาศในระบบภาพขาวดำ 525 เส้น ทางช่องสัญญาณที่ 4 คงไว้เพียงระบบภาพสีทางช่องสัญญาณที่ 9 อย่างสมบูรณ์ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9" (อังกฤษ: Thai Color Television Channel 9) พร้อมทั้งย้ายห้องส่งโทรทัศน์รวมถึงที่ทำการทั้งหมด ไปยังอาคารพาณิชย์ขนาด 5 คูหา ย่านถนนพระสุเมรุ แขวงบางลำพู (ดังที่ผู้ชมทั่วไป มักเรียกว่า "ช่อง 9 บางลำพู" ในสมัยนั้น) เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย เสนอซื้อที่ดิน, อาคารที่ทำการ บจก.ไทยโทรทัศน์ และสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด ซึ่งอยู่ภายในบริเวณวังบางขุนพรหม ด้วยมูลค่า 39 ล้านบาท เพื่อแลกกับบ้านมนังคศิลา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502

สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.[แก้]

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 คณะรัฐมนตรี นำโดยธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี ได้มีมติให้ยุบเลิกกิจการ บจก.ไทยโทรทัศน์ จากการปรับปรุงองค์กรเนื่องจากการรายงานข่าวในเหตุการณ์ 6 ตุลา ส่งผลให้การดำเนินงานของไทยทีวีสีช่อง 9 สิ้นสุดลงด้วย แต่มิได้ยุติการออกอากาศแต่อย่างใด[4] ต่อมาวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง "องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย" หรือ อ.ส.ม.ท. (อังกฤษ: The Mass Communication Organization of Thailand ชื่อย่อ: อ.ส.ม.ท.; M.C.O.T.) ให้เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินกิจการสื่อสารมวลชนของรัฐให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นที่เชื่อถือของสาธารณชน โดยรัฐบาลมอบทุนประเดิม 10 ล้านบาท และให้รับโอนกิจการสื่อสารมวลชนของ บจก.ไทยโทรทัศน์ คือ สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. และสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 เพื่อดำเนินกิจการต่อไป[5] ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนา อ.ส.ม.ท.[2] ส่งผลให้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท." โดยอัตโนมัติ

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารที่ทำการของ อ.ส.ม.ท. บนเนื้อที่ 14 ไร่ ที่มีห้องส่งโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยขณะนั้น เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2524 เวลา 09:25 น.[6] ต่อมาระหว่างปี พ.ศ. 2528 – 2532 สมเกียรติ อ่อนวิมล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพิธีกรรายการ ความรู้คือประทีป ในขณะนั้น ตอบรับคำเชิญของผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. ในขณะนั้น ให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการนำเสนอข่าว 9 อ.ส.ม.ท. ร่วมกับ บริษัท แปซิฟิค อินเตอร์คอมมิวนิเคชัน จำกัด ส่งผลให้เกิดผู้ประกาศข่าวคู่ซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดของยุคนั้นคือ ดร.สมเกียรติ และกรรณิกา ธรรมเกษร (ซึ่งทำหน้าที่ ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ส่วนวันเสาร์และวันอาทิตย์ ดร.สมเกียรติ ประกาศคู่กับ อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง)

วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 อ.ส.ม.ท. ร่วมลงนามในสัญญากับสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เพื่อขยายเครือข่ายกิจการโทรทัศน์ของทั้งไทยทีวีสีช่อง 3 และไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ไปสู่ส่วนภูมิภาค และหน่วยงานภาครัฐ จัดสรรคลื่นความถี่ส่งด้วยระบบวีเอชเอฟ พร้อมอุปกรณ์การออกอากาศ เพื่อจัดตั้งสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ในการกำกับของ อ.ส.ม.ท. แต่ละแห่ง (ระยะหลังจึงขยายไปสู่ระบบ UHF) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2531 - กรกฎาคม พ.ศ. 2534 เป็นระยะเวลา 3 ปี จึงทำให้สถานีโทรทัศน์ในการกำกับของ อ.ส.ม.ท. ทั้ง 2 แห่ง สามารถออกอากาศไปได้ทั่วประเทศ

ปี พ.ศ. 2535 แสงชัย สุนทรวัฒน์ เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. ในช่วงที่ถูกเรียกว่า "แดนสนธยา" เนื่องจากมีกลุ่มอิทธิพลมืดฝังตัวอยู่ในองค์กร แต่แสงชัยก็สามารถขจัดอิทธิพลมืดเหล่านั้นสำเร็จ รวมถึงสามารถพัฒนา อ.ส.ม.ท. ขึ้นมาเป็นอย่างดี แต่แล้วแสงชัยก็ถูกลอบสังหารด้วยอาวุธปืนจนเสียชีวิต ระหว่างนั่งรถยนต์เดินทางกลับบ้านพักในเมืองทองธานี เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2539 จากผลการสอบสวนของตำรวจ ระบุว่า อุบล บุญญชโลธร อดีตผู้รับสัมปทานจัดรายการทางสถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท. ส่วนภูมิภาค จ้างวานให้บุตรเขย คือ ทวี พุทธจันทร์ ส่งมือปืนไปลอบสังหารแสงชัย ต่อมาอุบลถูกลอบสังหารจนเสียชีวิตบนรถยนต์ก่อนกลับถึงบ้านพักเช่นเดียวกับแสงชัย เมื่อปี พ.ศ. 2541

สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2545 มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. ขณะนั้น มีดำริให้ปรับปรุงการบริหารงานของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ให้มีความทันสมัย รวดเร็ว และฉับไว ในด้านการนำเสนอ รายงานข่าวสาร สาระความรู้ และความบันเทิง เพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคโลกาภิวัตน์ และเพื่อขจัดความเป็น "แดนสนธยา" ภายในองค์กรอีกด้วย

ในวันที่ 6 พฤศจิกายน จึงมีพิธีเปิดตัว "สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์" โดยมีทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานในพิธี พร้อมทั้งเริ่มออกอากาศตามรูปแบบใหม่ ตั้งแต่เวลา 18:30 น. เป็นต้นไป โดยมีทั้งการเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ พร้อมทั้งปรับปรุงรูปแบบการเสนอรายการตลอด 24 ชั่วโมง เพิ่มเวลานำเสนอข่าว โดยเฉพาะข่าวต้นชั่วโมง และแถบตัววิ่งข่าว (News Bar) เพิ่มช่วงแมกกาซีนออนทีวีในข่าวภาคค่ำ ซึ่งนำเสนอข่าวสารและสาระความรู้ ในประเด็นและการนำเสนอแบบสบาย ๆ โดยใช้วิธีการนำเสนอแบบนิตยสาร ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเป็นรายการข่าวบันเทิงในชื่อ ไนน์เอ็นเตอร์เทน ในเวลาต่อมา รวมถึงเพิ่มบทบาทความสัมพันธ์กับเครือข่ายสำนักข่าวชั้นนำทั่วโลก เช่น CNN และ CNBC และ AP News และ Reuters และ VOA ของสหรัฐ, BBC News ของสหราชอาณาจักร, NHK ของประเทศญี่ปุ่น และ CCTV ของประเทศจีน เป็นต้น

โมเดิร์นไนน์ทีวีดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์ ตลอดจนการแพร่ภาพ และควบคุมการออกอากาศ จากสถานีส่วนกลางในกรุงเทพมหานคร ไปยังสถานีเครือข่ายแอนะล็อกส่วนภูมิภาค 32 สถานี สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 79.5% ของประเทศ มีประชากรในขอบเขตการออกอากาศไม่น้อยกว่า 96.5% ของประเทศ โดยมีรายการประเภทข่าวสาร สาระความรู้ ความบันเทิง กีฬา และรายการเพื่อสาธารณประโยชน์ รวมทั้งการถ่ายทอดสดต่างๆ โดยเฉพาะรายการประเภทข่าวสาร และสาระความรู้ ในด้านต่างๆ มานำเสนอในช่วงไพรม์ไทม์ที่มีผู้ชมมากที่สุด เพื่อให้ผู้ชม ได้รับข่าวสารและความรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน โดยมุ่งหวังจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ชมชาวไทย

มีเหตุการณ์สำคัญ ระหว่างรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งเกี่ยวข้องกับโมเดิร์นไนน์ทีวี คือ เมื่อเวลา 22:15 น. พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ ทั้งนี้ ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่จากสหรัฐมาออกอากาศสดทางโมเดิร์นไนน์ทีวี แต่อ่านแถลงการณ์ได้เพียง 3 ฉบับ ก็มีกำลังพลทหารพร้อมอาวุธกลุ่มหนึ่งบุกเข้าไปถึงห้องควบคุมการออกอากาศ แล้วออกคำสั่งให้หยุดการประกาศทันที จึงทำให้เจ้าหน้าที่สถานีฯ ต้องปฏิบัติตามในที่สุด

จากนั้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานในงานครบรอบ 60 ปี การสถาปนา อสมท พร้อมทั้งเริ่มออกอากาศรายการข่าวโทรทัศน์รูปแบบใหม่ของสำนักข่าวไทย ตามดำริของ จักรพันธุ์ ยมจินดา รองประธานกรรมการ และรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (บมจ.อสมท) ประกอบด้วย การนำเทคโนโลยีวิดีโอวอลล์ ขนาดความยาว 20 เมตร ความกว้าง 3 เมตร มาใช้กับการรายงานข่าวในห้องส่ง ร่วมกับการนำเฮลิคอปเตอร์ มาใช้ประกอบรายงานข่าวนอกสถานที่ เป็นครั้งแรกของสำนักข่าวไทย โดยใช้ชื่อว่า "เบิร์ดอายส์นิวส์" (Bird Eye's News) รวมทั้งจัดสำรวจความเห็นผู้ชมในชื่อ "เอ็มคอตโพลล์" (MCOT Poll) นอกจากนี้จะออกแบบตราสัญลักษณ์ของสำนักข่าวไทยขึ้นใหม่ ให้มีความทันสมัยมากขึ้น “อสมท” ตั้งเป้ารายได้ ปี 55 เติบโตร้อยละ 15 เตรียมเปิดตัวข่าวโฉมใหม่ของสำนักข่าวไทย

สื่อที่ให้บริการ[แก้]

สำนักข่าวไทยให้บริการข่าวสาร ผ่านสื่อชนิดต่าง ๆ คือ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต

วิทยุกระจายเสียง[แก้]

สำนักข่าวไทยดำเนินการผลิตรายการสดประเภทรายงานข่าว เพื่อส่งกระจายเสียงทางสถานีวิทยุ อสมท เครือข่ายทั่วประเทศ ทุกต้นชั่วโมงตามที่กำหนด, บริหารและผลิตรายการหลัก เพื่อส่งกระจายเสียงทางคลื่นความถี่ เอฟเอ็ม 100.5 เมกะเฮิร์ตซ์ MCOT News FM 100.5 รวมไปถึงจัดหา และผลิตรายการข่าวภาคภาษาอังกฤษ เพื่อส่งกระจายเสียงทางคลื่นความถี่ เอฟเอ็ม 107.0 เมกะเฮิร์ตซ์

วิทยุโทรทัศน์[แก้]

สำนักข่าวไทยดำเนินการผลิตรายการสดประเภทรายงานข่าว เพื่อแพร่ภาพทางช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี และแถบอักษรข่าววิ่ง นอกจากนี้ สขท.ยังผลิตรายการประเภทรายงานข่าวเศรษฐกิจ รายงานข่าวบันเทิง การวิเคราะห์ข่าวในและต่างประเทศ เพื่อออกอากาศทางเอ็มคอตเอชดี และ นอกเหนือจากนี้ยังผลิตรายการร่วมกับ เอ็มคอตแฟมิลี่ (ช่อง 14) ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์พี่น้องกับ บมจ.อสมท เช่น Econ Live (อีค่อนไลฟ์)

อินเทอร์เน็ต[แก้]

สำนักข่าวไทยให้บริการข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทางเว็บเพจในเว็บไซต์ของ บมจ.อสมท ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตลอดจนวิดีทัศน์และสื่อบันทึกเสียง ของการรายงานข่าวต่าง ๆ ที่แพร่ภาพทางช่อง 9 MCOT HD และ MCOT News FM 100.5 มาแล้ว ทาง ตลอดจนไปถึง Facebook LINE Twitter

การผลิตข่าว[แก้]

อสมท มีนโยบายให้สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวในประเทศและข่าวต่างประเทศ ในสัดส่วนทัดเทียมกัน โดยที่ข่าวในประเทศ สำนักข่าวไทยจัดหาโดยใช้วิธีการหลักคือรายงานข่าวที่สำนักข่าวไทย เป็นผู้ผลิตหรือจัดหาเอง กับรายงานข่าวที่จัดหา รายงาน หรือเขียนขึ้นโดยผู้สื่อข่าวอิสระ โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 80:20 ในขณะที่การจัดหาข่าวต่างประเทศ โดยทั่วไปมีที่มาจากสำนักข่าวต่างประเทศเป็นหลัก แต่ในกรณีเหตุการณ์สำคัญ ๆ ซึ่งประชาชนให้ความสนใจเป็นพิเศษ สำนักข่าวไทยจะจัดส่งผู้สื่อข่าวในสังกัดให้เดินทางไปจัดทำข่าวนั้นด้วยตนเอง[ต้องการอ้างอิง]

ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าว[แก้]

ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวในปัจจุบันที่มีชื่อเสียง[แก้]

ผู้สื่อข่าว[แก้]

  1. จามร กิจเสาวภาคย์
  2. รัตติยา เรืองขจร
  3. ทินกร วีระพลศิลป์ (ภาคอีสาน)
  4. ประภาพรรณ ล้อมศรี (ภาคเหนือ)
  5. อำนวยวิทย์ เสมอวงศ์ (ภาคใต้)
  6. กรกมล อักษรเดช
  7. เพลินพิศ ชูเสน (ภาคใต้)
  8. พีรพล อนุตรโสตถิ์ (ไอที)
  9. สมศักดิ์ อยู่ประพัฒน์
  10. ขนิษฐา อมรเมศวรินทร์
  11. สิทธิกร จันทสาร (ภาคอีสาน)
  12. อรวรรณ เผือกไธสง
  13. ศุภชาติ ศุภเมธี
  14. มนตรี ตระกูลสมบัติ (ภาคเหนือ)
  15. ปรีชา มีชำนาญ (เศรษฐกิจ)
  16. ภัทรดนัย เทศสุวรรณ
  17. เยาวลักษณ์ โบราณมูล
  18. ทัศนีย์ ดำมุณี
  19. สุวิทย์ มิ่งคล​ (การเมือง)
  20. พิษณุ แป้นวงศ์ (การเมือง)
  21. บุษยา อุ้ยเจริญ (การเมือง)
  22. ธนัส ศิรางกูร (ต่างประเทศ)
  23. สกุลฉัตร ฉัตรกุล ณ อยุธยา (ต่างประเทศ)
  24. วศิน บุณยาคม (บันเทิง)
  25. พิชชาพัทธ อาจพงษา (บันเทิง)
  26. นันทกา วรวณิชชานันท์ (บันเทิง)
  27. รัชนิพงศ์ วรศะริน (กีฬา)
  28. สมยศ แดงยวน (กีฬา)
  29. พชร ล้อมลื่น (กีฬา)
  30. สาเรศ ลิ่มกังวาฬมงคล (กีฬา)

รายการข่าว ของ สำนักข่าวไทย และ THAI NEWS AGENCY[แก้]

รายการข่าว ผู้ประกาศข่าว
9 ข่าวเช้า
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 06:00 – 07:50 น.
(ผลิตร่วมกับ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์)
กมลเนตร นวลจันทร์
วาเนสสา สมัคศรุติ
เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 08:00 – 09:30 น.
(ผลิตร่วมกับ )
ดนัย เอกมหาสวัสดิ์
อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์
Investment Minutes นาทีลงทุน
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 09:30 – 10:00 น.
(ผลิตร่วมกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
สุทิวัส หงส์พูนพิพัฒน์
สุตา สุธีพิเชฐภัณฑ์
Money Daily
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 10:10 – 10:35 น.
(ผลิตร่วมกับ มีเดีย แอสโซซิเอตเต็ด)
เฉลิมพร ตันติกาญจนากุล
ณทิพรดา เอื้อพิบูลย์วัฒนา
360° New Show
วันจันทร์ – วันพฤหัสบดี
เวลา 10:35 – 11:05 น.
(ผลิตร่วมกับ )
ธนินวัฒน์ พัฒน์วีรคุณ (360 องศา ซุปตาร์รักษ์โลก)
วีรินทร์ทิรา นาทองบ่อจรัส
บรมวุฒิ หิรัญยัษฐิติ
อรรณพ ทองบริสุทธิ์
ณัฐวัฒน์ เปล่งศิริวัธน์
พัชริญภรณ์ นาทองบ่อจรัส (รักสุขภาพ 360 องศา)
คำรณ หว่างหวังศรี (สีสันเมืองไทย)
ก้องซด พชร์มู
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 11:10 – 11:35 น.
(ผลิตร่วมกับ )
ปิยะ เศวตพิกุล
พชร์ อานนท์
ไนน์เอ็นเตอร์เทน
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 11:35 – 12:05 น.
(ผลิตร่วมกับ ไนน์เอ็นเตอร์เทน)
นันทกา วรวณิชชานนท์
พัทรวี บุญประเสริฐ
รัฐนันท์ จรรยาจิรวงศ์
พิมพ์ลดา ไชยปรีชาวิทย์
พัทธ์ธีรา ศรุติพงศ์โภศิน
พรพจี ศิริสิทธิ์
9 ข่าวเที่ยง
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 12:05 – 13:00 น.
(ผลิตร่วมกับ สำนักข่าวไทย)
ธีรวัฒน์ พึ่งทอง (วันจันทร์ – วันพุธ)
กุลธิดา พงษ์แจ่ม
นภัส ธีรดิษฐากุล (วันพฤหัสบดี – วันศุกร์)
จิรายุ จับบาง (ข่าวกีฬา, วันจันทร์ – วันอังคาร)
รัชนิพงศ์ วรศะริน (ข่าวกีฬา, วันพุธ – วันศุกร์)
บ่ายนี้มีคำตอบ
วันศุกร์
เวลา 13:05 – 13:50 น.
ธีรวัฒน์ พึ่งทอง
ชุติมา พึ่งความสุข
แซ่บทูเดย์
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 14:05 – 15:00 น.
(ผลิตร่วมกับ )
เบญจพล เชยอรุณ
ธัณย์สิตา สุวัชราธนากิตติ์
เขมสรณ์ หนูขาว
คุยโขมงบ่าย 3 โมง
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 15:05 – 16:00 น.
(ผลิตร่วมกับ )
สุวิช สุทธิประภา
นีรชา หลิมสมบูรณ์
ตกมันส์บันเทิง
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 16:00 – 16:45 น.
(ผลิตร่วมกับ ไนน์เอ็นเตอร์เทน)
วศิน บุณยาคม
ปนัดดา วงศ์ผู้ดี
ธนัชพันธ์ บูรณาชีวาวิไล
ชลาทิศ ตันติวุฒิ
ภัณฑิลา ฟูกลิ่น
ธัณย์สิตา สุวัชราธนากิตติ์
รัศมีแข ฟ้าเกื้อล้น
เรื่องพลบค่ำ
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 16:45 – 18:00 น.
(ผลิตร่วมกับ สำนักข่าวไทย)
กำภู ภูริภูวดล
รัชนีย์ สุทธิธรรม
9 ข่าวค่ำ
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 19:00 – 20:30 น.
วันเสาร์ – วันอาทิตย์
เวลา 19:00 – 20:40 น.
(ผลิตร่วมกับ สำนักข่าวไทย)
สุทิวัส หงส์พูนพิพัฒน์ (วันจันทร์ – วันศุกร์)
วรรณศิริ ศิริวรรณ (วันจันทร์ – วันศุกร์)
กุลธิดา พงษ์แจ่ม (วันเสาร์ – วันอาทิตย์, ข่าวพยากรณ์อากาศ)
สุตา สุธีพิเชฐภัณฑ์ (วันเสาร์ – วันอาทิตย์)
ขนิษฐา อมรเมศวรินทร์ (ข่าวพยากรณ์อากาศ)
พีรพล อนุตรโสตถิ์ (ชัวร์ก่อนแชร์)
ข่าวในพระราชสำนัก
วันจันทร์ – วันอาทิตย์
เวลา 20:00 – 20:15 น.
ดารากาญจน์ ทองลิ่ม
ธีรวัฒน์ พึ่งทอง
ชุติมา พึ่งความสุข
ไนน์เอ็นเตอร์เทน ไนท์ไลฟ์
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 20:30 – 20:50 น.
(ผลิตร่วมกับ ไนน์เอ็นเตอร์เทน)
นันทกา วรวณิชชานนท์
พัทรวี บุญประเสริฐ
ฟังหูไว้หู
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 20:50 – 21:30 น.
(ผลิตร่วมกับ )
วีระ ธีรภัทร
ชุติมา พึ่งความสุข
คับข่าว 9
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 21:30 – 22:25 น.
(ผลิตร่วมกับ สำนักข่าวไทย)
จามร กิจเสาวภาคย์
อรวรรณ เผือกไธสง (วันจันทร์ – วันพุธ)
พจนารถ ธนะธนากุล (วันพฤหัสบดี – วันศุกร์)
ล้วงลึก หลอกลวง
วันอังคาร
เวลา 22:30 – 23:00 น.
(ผลิตร่วมกับ สำนักข่าวไทย)
สมศักดิ์ อยู่ประพัฒน์
9th Stadium
วันพุธ
เวลา 22:30 – 23:00 น.
(ผลิตร่วมกับ สำนักข่าวไทย)
รัชนิพงศ์ วรศะริน
สมยศ แดงยวน
ภัทรดนัย เทศสุวรรณ
คู่ข่าวออนทัวร์
วันพฤหัสบดี
เวลา 22:30 – 23:00 น.
(ผลิตร่วมกับ สำนักข่าวไทย)
กำภู ภูริภูวดล
รัชนีย์ สุทธิธรรม
World Pulse โลกเล่าเรื่อง
วันศุกร์
เวลา 22:30 – 23:00 น.
(ผลิตร่วมกับ สำนักข่าวไทย)
รัตติยา เรืองขจร
คู่ข่าว เสาร์–อาทิตย์
วันเสาร์ – วันอาทิตย์
เวลา 12:00 – 13:00 น.
(ผลิตร่วมกับ สำนักข่าวไทย)
ภัทรดนัย เทศสุวรรณ
วาเนสสา สมัคศรุติ
พระราม 9 เล่าเรื่อง
วันเสาร์ – วันอาทิตย์
เวลา 15:05 – 16:00 น.
(ผลิตร่วมกับ )
คณัชชัย สุนทรเสรีกุล
แคนดี้ รากแก่น
เรื่องง่ายใกล้ตัว
วันเสาร์
เวลา 20:40 – 21:00 น.
(ผลิตร่วมกับ สำนักข่าวไทย)
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทย
ข่าวต้นชั่วโมง
วันจันทร์ – วันอาทิตย์
เวลา 10:00 – 10:05 น.
เวลา 11:00 – 11:05 น.
เวลา 14:00 – 14:05 น.
เวลา 15:00 – 15:05 น.
(ผลิตร่วมกับ สำนักข่าวไทย)
นภัส ธีรดิษฐากุล (วันอังคาร – วันพฤหัสบดี)
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทย (วันศุกร์ – วันจันทร์)

ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวในอดีต[แก้]

  • ประชา เทพาหุดี (ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565)
  • อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • นฤมล รัตนภิบาล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • พฤกษ์ อุปถัมภานนท์ (ชื่อเดิม : ทวีสันต์ มลาสานต์) (ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554)
  • สุนทร สุจริตฉันท์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • นิรมล เมธีสุวกุล (ปัจจุบันเป็นพิธีกรรายการ ทุ่งแสงตะวัน ทางช่อง 3 เอชดี)
  • วิทวัจน์ สุนทรวิเนตร์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรรายการ ตีสิบเดย์ ทางช่อง 3 เอชดี)
  • กรรณิกา ธรรมเกษร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ฤดีมาส ปางพุฒิพงศ์ (ปัจจุบันจัดรายการที่สถานีวิทยุ FM 96.5 คลื่นความคิด)
  • สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • สกาวรัตน์ สยามวาลา (นามสกุลเดิม : ถาวรศิริ) (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ศัตฉัน วิสัยจร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ศรีอาภา เรือนนาค (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเกียรติ อ่อนวิมล (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชน และพิธีกรอิสระ)
  • สาธิต ยุวนันทการุณ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ศศิธร ลิ้มศรีมณี (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • อารตี คุโรปการนันท์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • พรพิลาส ทวีตา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ธนพร ทวีพาณิชย์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ธราวุธ นพจินดา (ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555)
  • พีระพัฒน์ วัฒนาภิรมย์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • วัชระ สันตกมลพงศ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • อักษร สร้อยเพชร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • พัชรวิภา ศิรินทร์วงศ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • เทพพิทักษ์ จันทร์สุเทพ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • สมรรัตน์ จันทร์สุเทพ (นามสกุลเดิม : ปาณะถึก) (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • อารีรัตน์ สุขรุ่งเรือง (ปัจจุบันอยู่อมรินทร์ทีวี)
  • ชิดาวรรณ กุละปาลานนท์ (นามสกุลเดิม : กองสาร์) (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • วชิราภรณ์ กิตติก้อง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • สมชาย แก้วเกิด (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ธนิตา ศิลปะ (นามสกุลเดิม : เจริญรัตน์) (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • อวัสดา ปกมนตรี (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • เขมิอร วงศ์ดีลาภ (ชื่อเดิม : ธัชวรรณ) (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • อาคม มกรานนท์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • มหรรณพ นวลสุวรรณ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ศุภวรรณ บุตรจันทร์ (นามสกุลเดิม : แก้วหิรัญ) (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • สุธาสินี อนรรฆมาศ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • เทพชัย หย่อง (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
  • ณัฏฐา โกมลวาทิน (ปัจจุบันอยู่ The Standard)
  • พิสิทธิ์ กีรติการกุล (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • พัชระ สารพิมพา (ปัจจุบันอยู่อมรินทร์ทีวี และจัดรายการที่สถานีวิทยุ FM 96.0 ZaabNews)
  • สุภาพ คลี่ขจาย (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
  • วีระศักดิ์ ขอบเขต (ปัจจุบันอยู่เอ็นบีที 2 เอชดี และจัดรายการที่สถานีวิทยุ FM 96.5 คลื่นความคิด)
  • ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ทิชา สุทธิธรรม (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • มนฤทัย​ เตยะราชกุล​ (ปัจจุบัน​ยุติการทำหน้าที่แล้ว)​
  • วิโรจน์ ประกอบพิบูล (ปัจจุบัน​ยุติการทำหน้าที่แล้ว)​
  • จารุจิต นวพันธุ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • วราภรณ์ เจริญพานิช (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • แพทย์หญิงพรรณประภา ยงค์ตระกูล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ไชยวัฒน์ อนุตระกูลชัย (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • สรยุทธ สุทัศนะจินดา (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 เอชดี)
  • จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ (ปัจจุบันอยู่ The Matter และสื่อมวลชนอิสระ)
  • ถวัลย์ ไชยรัตน์ (ปัจจุบันจัดรายการที่สถานีวิทยุ FM 96.5 คลื่นความคิด)
  • วันชัย สอนศิริ (ปัจจุบันเป็นสมาชิกวุฒิสภา)
  • จรัสพงษ์ สุรัสวดี (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ศรีพรรณ ชื่นชมบูรณ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • มินดา นิตยวรรธนะ (ชื่อเดิม : ศรินทรา) (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • เจก รัตนตั้งตระกูล (ชื่อเดิม : จำเริญ) (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
  • วีณารัตน์ เลาหภคกุล (ปัจจุบันอยู่ช่องวัน 31 ในนามสำนักข่าววันนิวส์)
  • อรชุน รินทรวิฑูรย์ (ปัจจุบันอยู่ช่องวัน 31และจีเอ็มเอ็ม 25 ในนามสำนักข่าววันนิวส์)
  • ธันย์ชนก จงยศยิ่ง (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
  • ศุภโชค โอภาสะคุณ (ปัจจุบันอยู่อมรินทร์ทีวี)
  • ภัทราพร ตั้นงาม (ปัจจุบันอยู่ไทยพีบีเอส)
  • วารินทร์ สัจเดว (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
  • พ.อ.ทพ.ฤทธิกร การะเวก (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
  • นินนาท สินไชย (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • เมษนี สถาวรินทุ (ปัจจุบันเป็นโปรดิวเซอร์รายการ ๑ ในพระราชดำริ)
  • อณัญญา ตั้งใจตรง (ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2565)
  • ปิยะกมล สันทัดการ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • สุริวิภา กุลตังวัฒนา (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • สัญญา คุณากร (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • รุ่งนภา ชุมชัยเวทย์ (นามสกุลเดิม : กมลนรนาถ) (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • บารมี นวนพรัตน์สกุล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
  • วิลาสินี แวน ฮาเรน (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
  • สุรชา บุญเปี่ยม (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • อริสรา กำธรเจริญ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 เอชดี)
  • ณัฐ เสตะจันทน์ (ปัจจุบันอยู่เอ็นบีที 2 เอชดี)
  • รินทร์ ยงวัฒนา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • กุณฑีรา ปัจฉิมสวัสดิ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ศาสตราจารย์ไชยา ยิ้มวิไล (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
  • บัญชา ชุมชัยเวทย์ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 เอชดี และทำยูทูป Btimes)
  • รองศาสตราจารย์ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (ปัจจุบันเป็นนักวิชาการอิสระ)
  • รองศาสตราจารย์ยุทธพร อิสรชัย (ปัจจุบันเป็นนักวิชาการอิสระ)
  • เอก ฮิมสกุล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • พรชัย คุณจักร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • นิมิต สุขประเสริฐ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • กรรชัย กำเนิดพลอย (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 เอชดีและไทยรัฐทีวี)
  • ชุติภพ เหงากุล (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
  • กนก รัตน์วงศ์สกุล (ปัจจุบันอยู่เจเคเอ็น 18)
  • ธีระ ธัญไพบูลย์ (ปัจจุบันอยู่เจเคเอ็น 18)
  • อัญญารัตน์ น้ำทรัพย์อนันต์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ชลันดา ทองธัญญะ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ชัยนันท์ สันติวาสะ (ชื่อเดิม : ชัยนันต์) (ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร)
  • ศรุตยา ดวงสร้อยทอง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ยุพา เพ็ชรฤทธิ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • จอม เพชรประดับ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • พัชชลัยย์ แก้วทิพรัตน์ (ชื่อเดิม : เกวลิน กังวานธนวัต) (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ธีรยุทธ บุญแผ่ผล (ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555)
  • ณัฏฐ์ บุณยสิริยานนท์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • วิมลวรรณ เศรษฐถาวร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • อำไพรัตน์ เตชะภูวภัทร (ปัจจุบันผู้บริหาร ของ Amado Shopping)
  • ไอลดา พิศสุวรรณ (ปัจจุบันอยู่สำนักข่าวเวิร์คพอยท์ทูเดย์)
  • พัฒน์นรี อุทัย เนิร์ส (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • บวรพงษ์ วัฒนาธนากุล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • รุ่งโรจน์ สมบุญเก่า (ปัจจุบันอยู่ไทยพีบีเอส)
  • อรสินี อมรโมฬี (ปัจจุบันอยู่ไทยพีบีเอส)
  • ธนภัทร ฐิติพลาธิป (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • มนุชา เจอมูล (ปัจจุบันอยู่ทีสปอร์ต 7 ในนามสำนักข่าวเมนสแตนด์)
  • ชนิตรนันทน์ ปุณณะนิธิ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 8)
  • ธีระ ธัญญอนันต์ผล (ปัจจุบันอยู่ช่อง 8)
  • โศธิดา โชติวิจิตร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ภาคภูมิ พันธุ์สถิตย์ (ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี)
  • พงศ์เกษม สัตยาประเสริฐ (ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี)
  • ปริศนา กัมพูสิริ (ปัจจุบันเป็นนักแสดงและพิธีกรอิสระ)
  • ชมะนันทน์ วรรณวินเวศร์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ธนกฤต ชูเชิด (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • วรวิตา จันทร์หุ่น (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • อกนิษฐ์ วิเชียรเจริญ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • วรุณวรรณ วราสินธุ์ (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
  • แจ็คเกอรีน (ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี)
  • กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ณัฐธีร์ โกศลพิศิษฐ์ (ปัจจุบันอยู่โมโน 29)
  • เนติ์ ตันเจริญ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ลลิตา มั่งสูงเนิน (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ชไมพร เห็นประเสริฐ (ปัจจุบันอยู่ไทยพีบีเอสและทีสปอร์ต 7 ในนามสำนักข่าวเมนสแตนด์ และจัดรายการที่สถานีวิทยุ FM 99 Active Radio)
  • ภูมิภัทร บุญนิล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • สลิลาทิพย์ ทิพยไกรศร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ณขจร จันทวงศ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ลักษณ์สุดา รักษากิจ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ฐานวีร์ ฐานะวรรษพงศ์ (นามสกุลเดิม : เลิศบุญมี) (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ไพศาล มังกรไชยา (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
  • ณรงค สุทธิรักษ์ (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
  • อรการ จิวะเกียรติ (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
  • ณัฏฐ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา (ปัจจุบันเป็นนักแสดง และพิธีกรอิสระ)
  • สุจิรา อรุณพิพัฒน์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • รณภพ รากะรินทร์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ทิพย์สุดา ทิพามณีกุล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • รัฐวิชญ์ พีระศราโรจน์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ณัฎฐพร ศิริไพบูลย์วรลักษณ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ปิยพัทธ์ เรือนเหล้า (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • พิชญุตม์ จงใจพิพัฒน์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • วัชราภรณ์ สุวินย์ชัย (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • อันนา เชื้อประมง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • วริยา นาวีปัญญาธรรม (ปัจจุบันอยู่พีพีทีวี)
  • เมลดา ศรุติบวรเดช (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • พีรวิชช์ อนันตศิรรัตน์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • วินัย สุขแสวง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • นฤมล วงศ์สายจันทร์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • วุฒิธร มิลินทจินดา (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ และทำยูทูป Woody)
  • ธัญญาเรศ เองตระกูล (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • มยุรา เศวตศิลา (ปัจจุบันเป็นนักแสดง และพิธีกรอิสระ)
  • คชาภา ตันเจริญ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • เฉลิมพล ทิฆัมพรธีรวงศ์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • สุมณทิพย์ ชี (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ชนุตม์ ลือกิจนา (ชื่อเดิม : ลือฤทธิ์) (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • พิชญาพร โพธิ์สง่า (ปัจจุบันอยู่ไทยพีบีเอส)
  • ภุสพงศ์ ฉายประเสริฐ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • วรเกียรติ นิ่มมาก (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • ณรินทร์ภัทร บุญยวีรพันธ์ (ปัจจุบันอยู่สำนักข่าวเมนสแตนด์)
  • ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ (ปัจจุบันอยู่ช่องเวิร์คพอยท์และช่อง 8 และผู้อำนวยการวิทยาลัยธุรกิจเทคโนโลยีการอาหารไทยและนานาชาติ TIFTEC)
  • สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา (ปัจจุบันอยู่ช่อง 7HD)
  • พิมพ์ชนก จิตชู (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ภิญญาพัชญ์ ด่านอุตรา (ปัจจุบันยุติการหน้าที่แล้ว)
  • ชลธิชา อัศวาณิชย์ (นามสกุลเดิม: ทรัพย์ไพบูลย์เลิศ) (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
  • ชนกวนันท์ รักชืพ (ปัจจุบันเป็นนักแสดงและพิธีกรอิสระ)
  • เจษฎา ศาลาทอง (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
  • สุภาวดี สิริฤกษ์วิภาส (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ภัสธิยา ทองเฟือง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ศัลย์ อิทธิสุขนันท์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ทวีรัตน์ จิรดิลก (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
  • พิภู พุ่มแก้วกล้า (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
  • รวิฌา ทังสุบุตร (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
  • ศุภัคญาฎาร์ อัครวัฒนะอังกูร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • กีรติ ศุภดิเรกกุล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • พัทธ์ ชนภัณฑารักษ์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • ธิติพร จุติมานนท์ (ปัจจุบันเป็นรองบรรณาธิการข่าวบันเทิงช่องวัน 31)
  • พิพัฒน์ วิทยาปัญญานนท์ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 7HD)
  • โศภณ นวรัตนาพงษ์ (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
  • ภรภัทร นีลพัทธ์ (ชื่อเดิม : สุวดี) (ปัจจุบันจัดรายการที่สถานีวิทยุ อสมท. พิษณุโลก)
  • วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
  • สุทธิชัย หยุ่น (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
  • ณัฏฐ์อาภา ผ่องทิพาภรณ์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • กิตติมา ณ ถลาง (ปัจจุบันเขียนข่าวต่างประเทศหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์)
  • ฐิติกร ทิพย์มณเฑียร (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
  • เชิงชาย หว่างอุ่น (ปัจจุบันทำเฟซบุ๊ก บ้านอาสา และพิธีกรอิสระ)
  • สกนธ์ จินดาวรรณ (ปัจจุบันอยู่ไทยพีบีเอส)
  • ณิชกานติ์ แววคล้ายหงษ์ (ปัจจุบันอยู่พีพีทีวี)
  • สุนทรี อรรถสุข (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ธันยมัย อนันตกรณีวัฒน์ (ปัจจุบันจัดรายการที่สถานีวิทยุ FM 96.5 คลื่นความคิด)
  • วิศาล ดิลกวณิช (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ดาวี ไชยคีรี (ปัจจุบันอยู่ไทยพีบีเอส)
  • ทิชาฎา อุ่นทรีจันทร์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ทิพย์สุดา ชาดี (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • อรวรรณ กริ่มวิรัตน์กุล (ปัจจุบันจัดรายการที่สถานีวิทยุ FM 96.5 คลื่นความคิด)
  • ชุษณะ สัตยานนท์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ญาณตา ธีพรเลิศ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • เกรียงไกร ฮ่องเฮ็งเส็ง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ปรียาพร ทรัพย์แสนยากร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • มูฮัมหมัดรุสดี เชคฮารูณ (ปัจจุบันเป็นนักการเมืองอิสระ)
  • ฐิติญาณ จันทนภูเผา (ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี)
  • พงศ์อิทธิ เชิดชูวงศ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ศรีสุดา วินิจสุวรรณ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • สามารถ คุ้มครองธรรม (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • สิริสาข์ ประชุมญาติ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ทัชธร วงศ์วานิช (ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี)
  • จิรภา สีตาบุตร (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • เอกชัย เอื้อสังคมเศรษฐ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • สมพล ปิยะพงศ์สิริ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • ดรุณี สุทธิพิทักษ์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • พัสกร พลบูรณ์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • ธีร์ธวิต เศรฐไชย (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • พรรณทิพา อรุณวัฒนชัย (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • ภิญโญ รู้ธรรม (ปัจจุบันเขียนในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์)
  • ทีนิว แซมเบอร์ส (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ชนัตพล สังสิทธิเสถียร (แจ็ค ไรเดอร์) (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • เมทนี บุรณศิริ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • ภูวนาท คุนผลิน (ปัจจุบันจัดรายการที่สถานีวิทยุGreen Wave 106.5 FM)
  • นารากร ติยายน (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
  • บูรพา สงวนวงศ์ (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
  • สุภชัย ปกป้อง (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
  • จตุพร สุวรรณรัตน์ (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
  • กฤษ ศรีนวลขาว (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • กรกฏ ประชุมชาติภักดี (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ปรียาดา สิทธาไชย (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • นิติเทพ กิ่งชา (ปัจจุบันอยู่พีพีทีวี)
  • สมประสงค์ ศรีบัว (ดีเจข้าวฟ่าง) (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ณปภา ตันตระกูล (ปัจจุบันนักแสดงและพิธีกรอิสระ)
  • บดินทร์ชัย เกรียงไกรชาญ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ณภัทร ชุ่มจิตตรี (คิง ก่อนบ่าย) (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • อาธิต พันธุ์ปิยะสิริ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • สันติวิธี พรหมบุตร (ปัจจุบันอยู่ช่อง 7HD)
  • ปริวัตร บุพศิริ (ปัจจุบันอยู่พีพีทีวี)
  • ยุทธนา บุญอ้อม​ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)​
  • ณัฐพงษ์ ธีระภัทรานนท์ (ปัจจุบันจัดรายการที่สถานีวิทยุ FM 96.5 คลื่นความคิด)
  • วัชรินทร์ เศรษฐกุดั่น (ปัจจุบันจัดรายการที่สถานีวิทยุ MCOT News FM 100.5)​
  • ปวีณา ปทุมานนท์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • เพ็ญพรรณ แหลมหลวง (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)​
  • อรชุลี พิศลยบุตร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)​
  • กฤษณะพงศ์​ พงศ์แสนยากร​ ​(ชื่อเดิม : วรุณันต์)​ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)​
  • กนกนวล​ อินสมภักษร (ปัจจุบันยุติการทำน้าที่แล้ว)
  • สิริธร พัฒน์ตระกูลชัย (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • เอกชัย ผดุงเกีรยติ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • เพ็ญพร พิพัฒโนทัย (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • นฤมล อมรปาน (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • มนภา ศิริสมบูรณ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • กิติพัฒน์ พิมพ์​เกษม​โสภณ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ Spring)
  • พรสินี ศิริเพิ่มพูล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • สุธิดา ปล้องพุดซา (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • ภิเษก ศรีสวัสดิ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ศิริพร กิจประกอบ (ปัจจุบันจัดรายการที่สถานีวิทยุ FM 96.5 คลื่นความคิด)
  • รณชัย ศิริขันธ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • เทมส์ สรรพกิจ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ภีมณพัชญ์ ธนชาญวิศิษฐ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • เกรียติยา ธรรมวิภัชน์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)

เทคโนโลยีการผลิตรายการ[แก้]

บมจ.อสมท มีนโยบายส่งเสริมให้สำนักข่าวไทย ใช้เทคโนโลยีเข้าส่งเสริมการผลิตรายการประเภทรายงานข่าว เพื่อเพิ่มความสวยงามและน่าสนใจ โดยมีเครื่องมือหลายชนิด ประกอบด้วย

การแสดงภาพในห้องส่งข่าว[แก้]

  • 9 เมษายน พ.ศ. 2552 – 24 เมษายน พ.ศ. 2555 / ใช้เทคโนโลยีกราฟิกสามมิติจากวิซอาร์ที (Vizrt) เข้าช่วยให้เข้าใจง่าย และเห็นภาพชัดเจน ส่วนมากจะใช้แสดงข้อมูลสถิติ หรือแผนที่ ประกอบข่าวต่างๆ
  • 25 เมษายน พ.ศ. 2555 – 15 มกราคม พ.ศ. 2557 / ใช้เทคโนโลยีวิดีโอวอลล์ ขนาดความยาว 20 เมตร ความกว้าง 3 เมตร จำนวนรวม 9 จอ กับการรายงานข่าว ในช่วงเวลาต่างๆ แต่มีการยกเลิกสัญญาเช่า อย่างกะทันหัน โดยไม่ทราบสาเหตุ พร้อมระบบกราฟิกสามมิติจากวิซอาร์ที (Vizrt)
  • 16 มกราคม – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557 / ใช้เทคโนโลยีฉากเสมือนจริงในโรงถ่าย (Virtual Studio) ด้วยระบบโมนาร์ก เวอร์ชุโอโซ (Monarch Virtuoso) แต่เดิมมีการใช้เทคโนโลยีกล้องเสมือน (Virtual Camera) ในการควบคุมฉาก ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้กล้องจริงแทนในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ในรายการข่าวเที่ยง
  • 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559 / ใช้ฉากรายการที่ออกแบบและสร้างขึ้นมาใหม่ ลักษณะพื้นที่เป็นทรงเหลี่ยม ประกอบกับการใช้เทคโนโลยีวิดีโอวอลล์ขนาด 12 cube ช่วยในการนำเสนอ ภายหลังมีการนำเทคโนโลยีกราฟิกสามมิติจากโมนาร์ก เวอร์ชุโอโซ (Monarch Virtuoso) มาใช้ในการรายงานข่าวบางช่วง เช่นข่าวกีฬา, ข่าวต้นชั่วโมง (9 Speed News)
  • 7 เมษายน พ.ศ. 2560 – 2 มกราคม พ.ศ. 2565 / มีการจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ เทคโนโลยีวิดีโอวอลล์จำนวน 12 จอ, เทคโนโลยีกราฟิกสามมิติ, เทคโนโลยีฉากเสมือนจริงในโรงถ่าย (Virtual Studio) จากวิซอาร์ที (Vizrt) มูลค่า 101,500,000 บาท แต่ต่อมาไม่ได้นำมาใช้จริง เนื่องจากต้นทุนสูงมาก

ข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์[แก้]

เป็นเทคโนโลยี การนำเสนอข่าวในรูปแบบตัวอักษรบนหน้าจอทีวี เรียกว่า Teletext ในรายการ ข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะออกอากาศในช่วงบ่าย เวลา 13:00 – 15:00 น. ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2520 – 2538 รูปแบบการออกอากาศ จะแสดงหัวข้อข่าว และ เนื้อหาของข่าว ขึ้นหน้าจอทีวี พื้นหลังสีน้ำเงิน และ แถบสีแดงข้างล่าง แสดงข้อความรณรงค์ หรือ คำขวัญประจำรายการ

แถบอักษรข่าววิ่ง[แก้]

เป็นเทคโนโลยี การนำเสนอเนื้อหาข่าวอย่างสั้น ในรูปแบบอักษรวิ่ง โดยนับเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของไทย ที่นำเสนอในลักษณะดังกล่าว เนชั่นแชนแนล เป็นประโยคข่าวจบในหนึ่งหน้าจอ โดยตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2545 ข่าวที่อยู่ในแถบ จะแสดงต่อเนื่องกัน โดยแต่ละข่าวจะเว้นช่องว่างเป็นช่วงกว้าง ต่อมาเปลี่ยนเป็นใช้ตราสัญลักษณ์ สขท.คั่นระหว่างข่าว และเพิ่มตัวอักษร "สำนักข่าวไทย" บนแถบฝั่งซ้ายมือ โดยให้อักษรวิ่งหายเข้าไปในแถบดังกล่าว ครั้งหลังสุด เปลี่ยนรูปแบบเป็น แสดงครั้งละหนึ่งข่าว ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2552

ตั้งแต่วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554 – วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555 แถบอักษรข่าวจะแสดงครั้งละประโยคข่าวโดยไม่มีการเลื่อนไปทางซ้ายของจอ เช่นเดียวกับเนชั่นแชนแนล แต่การแสดงหัวข้อข่าว ใช้แบบ CNN คือข่าวหนึ่งจะเลื่อนขึ้นเป็นอีกข่าวหนึ่ง แต่ต่อมาข่าวในแถบตัวอักษรวิ่งเริ่มกลับมามีการเลื่อนไปทางซ้ายของจอ เนื่องจากหัวข้อข่าวบางชิ้นมีลักษณะยาว จึงต้องบีบอัดตัวอักษร ทำให้อ่านยากขึ้น

ต่อมาในวันพุธที่ 25 เมษายน 2555 – วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557 แถบอักษรข่าวจะแสดงครั้งละประโยคข่าวโดยมีการเลื่อนจากด้านขวาอย่างรวดเร็ว และเลื่อนไปทางซ้ายอย่างช้า และเลื่อนไปทางซ้ายอย่างเร็ว โดยทางด้านซ้ายจะมีคำว่า "สำนักข่าวไทย" และ "THAI NEWS AGENCY" โดยให้อักษรวิ่งหายเข้าไปในแถบดังกล่าว ซึ่งทั้ง 2 คำนี้จะมีการแสดงสลับกันในแต่ละหัวข้อข่าว ต่อมาในวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 จึงเปลี่ยนเป็นคำว่า "สำนักข่าวไทย อสมท" เพียงคำเดียว

ตั้งแต่วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม 2557 – วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2566 สถานี ก็กลับไปใช้แถบวิ่งตามรูปแบบเมื่อปลายปี 2545 โดยจะมีตราสัญลักษณ์ สขท.คั่นระหว่างข่าว (ในก่อนหน้านั้นมีการเพิ่มตัวอักษร "สำนักข่าวไทย" บนแถบฝั่งซ้ายมือ โดยให้อักษรวิ่งหายเข้าไปในแถบดังกล่าว)

นอกจากในข่าวทุกช่วงแล้ว ยังมีการแสดงแถบอักษรข่าววิ่งในรายการอื่น ๆ ที่มิใช่รายการข่าวอีกด้วย เช่นเดียวกับ ททบ.5 เอชดี และ เอ็นบีที 2 เอชดี แต่เปลี่ยนบริเวณที่เป็นคำว่า "สำนักข่าวไทย อสมท" เป็นสัญลักษณ์ของ คลื่นข่าว 100.5 แถบตัววิ่งข่าว 9 Speed เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อเดือน มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นการแสดงแถบตัววิ่งข่าวเมื่อเหตุการณ์ด่วนสำคัญที่ขึ้นบนหน้าจอของ ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี

ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม 2566 ได้ยกเลิกการเผยแพร่แถบอักษรข่าววิ่งแล้ว

แถบข้อมูลตลาดหลักทรัพย์[แก้]

เป็นเทคโนโลยี การนำเสนอข้อมูลการซื้อขายตลาดหลักทรัพย์ ในรูปแบบอักษรวิ่ง (ภายหลังพัฒนาเป็นการใช้อักษรเลื่อนขึ้นร่วมด้วย) โดยในปี พ.ศ. 2533 ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. นับเป็นสถานีโทรทัศน์ ที่เริ่มใช้แถบรายงานดังกล่าว เป็นครั้งแรกของประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] (ก่อนหน้านั้นคือสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 แต่เป็นรูปแบบตัวเลื่อนขึ้นบน) ต่อมา ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2547 ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอข่าวเศรษฐกิจ โดยมีรายการเศรษฐกิจ ในช่วงเวลาประมาณ 08:30 – 16:30 น. พร้อมทั้งใช้กราฟิก ประกอบรายงานข่าวเศรษฐกิจ โดยใช้ชื่อว่า "สถานีหุ้น โมเดิร์นไนน์ทีวี" ซึ่งในสมัยนั้นมี 2 ชั้น

นับจากวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 แถบข้อมูลหุ้นได้ลดลงเหลือเพียงชั้นเดียว และเปลี่ยนสีเป็นสีม่วง ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีเมื่อแรกใช้ในสมัยที่แถบวิ่งมี 2 ชั้น เมื่อวันที่ 21 มกราคม ปีเดียวกัน

นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 โมเดิร์นไนน์ทีวีได้เริ่มออกอากาศคู่ขนานผ่านระบบโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลภาพคมชัดสูง ในนาม MCOT HD (ปัจจุบันเป็น ช่อง 9 MCOT HD 30) โดยระยะแรกอาจมีการปรากฏแถบข้อมูลหุ้นในบางครั้ง จนกระทั่งเมื่อรายการทั้งหมดพร้อมออกอากาศในระบบภาพคมชัดสูง ก็ไม่มีการปรากฏของแถบข้อมูลหุ้น ส่งผลให้ผู้ที่รับชมเอ็มคอตเอชดีผ่านโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ช่อง 30 และผ่านดาวเทียมและโทรทัศน์เคเบิล Must Carry ช่อง 40 ในขณะนั้น ไม่สามารถรับชมแถบข้อมูลหุ้นได้พร้อมกับผู้ชมในระบบแอนะล็อก วีเอชเอฟ ช่อง 9 และผ่านดาวเทียมไทยคม 5 ระบบซี-แบนด์ ทำให้ต่อมาในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 มีการปรับปรุงแถบข้อมูลหุ้นเพื่อให้ผู้ชมในระบบแอนะล็อกและดิจิทัลสามารถรับชมได้พร้อมกัน โดยเพิ่มแถบแยกประเภทหลักทรัพย์ในช่วงที่มีการแสดงข้อมูลหลักทรัพย์รายตัว (แถบสีเหลือง) โดยให้ตัววิ่งหายไปเมื่อวิ่งเข้าสู่แถบนี้แล้วจะเลื่อนขึ้นเมื่อเข้าสู่หมวดธุรกิจ (Sector) ถัดไป และปรับขนาดให้ยาวขึ้น รองรับอัตราส่วนภาพ 16:9

ช่วงปลายเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560 มีการทดลองระบบแถบข้อมูลตลาดหุ้นแบบใหม่ล่าสุด ซึ่งพบว่าส่วนที่แสดงดัชนีที่เป็นอักษรเลื่อนขึ้น เกิดความไม่ต่อเนื่องกัน คือหลังจากแสดงดัชนีใหม่แล้ว มีการปล่อยแถบดัชนีว่างประมาณ 2 วินาที และขึ้นดัชนีใหม่ ส่งผลให้ต้องกลับไปใช้แถบข้อมูลตลาดหุ้นแบบเดิม (ในระหว่างปรับปรุงระบบแถบข้อมูลหุ้นแถบใหม่) หลังจากนั้นไม่นาน กลับมาใช้แถบข้อมูลนี้อีกครั้ง

ส่วนระยะเวลาการแสดงข้อมูลนั้น จะแสดงเฉพาะทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ซึ่งเป็นวันทำการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยกเว้นวันหยุดทำการ เริ่มแสดงเวลา 10:00 น. จบการแสดงเวลา 16:50 น.

อนึ่ง เมื่อมีการไว้ทุกข์ถวายพระราชวงศ์ที่สิ้นพระชนม์ลงแล้ว โดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เมื่อปี พ.ศ. 2551 และ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกเมื่อปี พ.ศ. 2556 และล่าสุด พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พ.ศ. 2559 ก็จะเปลี่ยนสีเป็นสีเทาเพื่อแสดงความไว้อาลัย และก่อนช่วงปี พ.ศ. 2550 โมเดิร์นไนน์ทีวี ได้แสดงตัววิ่งรายงานข่าวเศรษฐกิจหรือข้อมูลการเงินต่างประเทศ ประกบแถบข้อมูลตลาดหุ้นอีกด้วย ซึ่งจะขึ้นต้นคำว่า "สำนักข่าวไทย-เศรษฐกิจ" เป็นหัวหลัก (โดยเฉพาะรายการสดเกี่ยวกับข่าวเศรษฐกิจ เช่น จับเงินชนทอง และรายการวิเคราะห์หุ้น เช่น สดจากห้องค้า ,วิพากษ์หุ้น) ถ้ามีการถ่ายทอดสดหรือประกาศต่าง ๆ จากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ในช่วงที่มีการแสดงแถบข้อมูลหุ้น ทางสถานีจะทำการปิดการแสดงแถบข้อมูลหุ้นไว้ชั่วคราว และจะเปิดการแสดงแถบข้อมูลหุ้นอีกครั้งหลังจากการถ่ายทอดสดหรือประกาศนั้น ๆ จบลง

แถบข้อความทวิตเตอร์[แก้]

สำนักข่าวไทย ได้นำแถบข้อความทวิตเตอร์ ในลักษณะแถบยาว เช่นเดียวกับแถบอักษรข่าววิ่ง (แตกต่างจากเนชั่นทีวี ซึ่งจะปรากฏในลักษณะแถบขนาดใหญ่ ทีละข้อความจากผู้ติดต่อ และไม่มีการเลื่อนตัวอักษรไปทางแนวนอน) มาปรากฏบนหน้าจอโทรทัศน์ โดยปรากฏครั้งแรกตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ซึ่งติดต่อได้ทาง Twitter ที่@tnamcot ชึ่งจะมีการเปิดโอกาสให้ผู้ติดต่อสามารถติดแท็ก (#:tags) พร้อมคำศัพท์ ตามที่รายการฯได้เสนอคำศัพท์ไว้ด้วย (ปัจจุบันยกเลิกการเผยแพร่แถบข้อความแบบนี้แล้ว)

ภาษามือ[แก้]

รายการข่าวที่ใช้คือ 9 ข่าวเที่ยง และ ช่อง 9 เล่าข่าวเที่ยง เสาร์–อาทิตย์ ล่ามช่อง 9 จะใช้ตอนเที่ยง

บุคลากรสำคัญ[แก้]

รายนามประธานคณะกรรมการ[แก้]

บจก.ไทยโทรทัศน์[แก้]

อ.ส.ม.ท[แก้]

บมจ.อสมท[แก้]

รายนามผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์[แก้]

สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4[แก้]

อ.ส.ม.ท[แก้]

บมจ.อสมท[แก้]

  • มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ : พ.ศ. 2545 – 2549
  • ชิตณรงค์ คุณะกฤดาธิการ (รักษาการ) พ.ศ. 2549 – 2550
  • วสันต์ ภัยหลีกลี้ : พ.ศ. 2550 – 2552
  • ธนวัฒน์ วันสม : พ.ศ. 2552 – 2554
  • จักรพันธุ์ ยมจินดา (รักษาการ) : พ.ศ. 2555
  • เปรมกมลย์ ทินกร ณ อยุธยา (รักษาการ) : พ.ศ. 2555
  • เอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ : พ.ศ. 2555 – 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557
  • กมลาสิริ อิศรางกูร ณ อยุธยา : 13 มิถุนายน – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
  • ศิวะพร ชมสุวรรณ : 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559
  • พิเศษ จียาศักดิ์ (รักษาการ) : 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 – 2560
  • เขมทัตต์ พลเดช : พ.ศ. 2560 – 2563
  • สิโรตม์ รัตนามหัทธนะ (รักษาการ) : พ.ศ. 2563 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564 และ 1 กันยายน พ.ศ. 2565 – 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
  • รองศาสตราจารย์เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์ : 1 กันยายน พ.ศ. 2564 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565
  • ผาติยุทธ ใจสว่าง (รักษาการ) : 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2567
  • วศิน บุณยาคม (รักษาการ) : 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน

ปุจฉา-วิสัชนา[แก้]

ช่วง ปุจฉา-วิสัชนา ออกอากาศคั่นระหว่างข่าวภาคค่ำ ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. กับภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์, วันละ 2 ชุดคำถามและคำตอบ, โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง เริ่มแพร่ภาพเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2536 จนถึงราวปี พ.ศ. 2539

ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 มีการเผยแพร่ข้อมูลในลักษณะเดียวกัน ผ่านทางสถานีวิทยุอสมท เอฟเอ็ม 95.0 เมกะเฮิร์ตซ์ ลูกทุ่งมหานคร LTM FM 95 ก่อนและหลังเวลา เข้าสู่ข่าวต้นชั่วโมง หรือหลังจากบรรเลงเพลงประจำสถานีฯ

เพลงประกอบรายการข่าว[แก้]

  • พ.ศ. 2520 – 2524 เพลงมาร์ช (ไม่ทราบชื่อ)
  • พ.ศ. 2524 – 2538 เพลงซิมโฟนี (ข่าวร่วม ช่อง 3 และ ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ปัจจุบันเป็นเพลงประกอบรายการ ก้าวทันข่าว ของเอ็มคอตเรดิโอเน็ตเวิร์ก)
  • พ.ศ. 2530 – 2538 เพลงประกอบชุด Tar Sequence (แบบที่ใช้โดยสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 ประเทศออสเตรเลีย ตั้งแต่ พ.ศ. 2526 จนถึง พ.ศ. 2543) (ใช้ในช่วงข่าวทันโลก)
  • พ.ศ. 2538 – 2545 เพลงของ บรูซ แกสตัน และวงฟองน้ำ (ไม่ทราบชื่อ; ปัจจุบัน ใช้เป็นเพลงเปิด รายงานข่าวต้นชั่วโมง ของเอ็มคอตเรดิโอเน็ตเวิร์ก)
  • พ.ศ. 2538 – 2545 เพลงเขมรคราม ของ บรูซ แกสตัน และวงฟองน้ำ เป็นเพลงปิดรายการรายงานข่าว 9 อ.ส.ม.ท.ภาคค่ำ
  • พ.ศ. 2545 – 2550 เพลงที่ สขท.จัดทำเอง (ไม่ทราบชื่อ)
  • พ.ศ. 2550 – 2552 เพลงที่ สขท.จัดทำเอง (ไม่ทราบชื่อ)
  • พ.ศ. 2552 – ปัจจุบัน เพลงที่ สขท.จัดทำเอง (ไม่ทราบชื่อ)
  • พ.ศ. 2552 – พ.ศ. 2556 และ พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน เพลงประกอบจากอสมท ประเทศไทย (ใช้ในช่วงข่าวต้นชั่วโมง)
  • พ.ศ. 2554 – 2555 เพลงประกอบชุด Nightly ของ Opuzz (ใช้ในช่วงข่าวเที่ยงคืน) Corporate Headlines ของ Opuzz (ใช้ในช่วงข่าวด่วนและรายงานพิเศษ)
  • พ.ศ. 2557 – 2560 เพลงประกอบจากสถานีโทรทัศน์ N24 ประเทศเยอรมนี (ใช้ในช่วง 9 Speed)
  • พ.ศ. 2557 – 2564 เพลงประกอบจากสถานีโทรทัศน์ TF1 ประเทศฝรั่งเศส (ใช้เป็นเพลงประกอบตราสัญลักษณ์ของสำนักข่าวไทยช่วงจบรายการข่าวทุกช่วง และสปอตแนะนำประเด็นข่าวที่จะเสนอในข่าวภาคค่ำประจำวัน)
  • พ.ศ. 2559 – 2560 เพลงประกอบจากสถานีโทรทัศน์ RTL 4 ประเทศเนเธอร์แลนด์ (ใช้ในช่วงรอบวันข่าว)
  • พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2567 เพลงประกอบจากสถานีโทรทัศน์ France 2 ประเทศฝรั่งเศส (ใช้ในช่วงข่าวต้นชั่วโมง)

ความร่วมมือกับสำนักข่าวต่างประเทศ[แก้]

สำนักข่าวไทย ขยายความร่วมมือกับสำนักข่าว และสื่อต่างประเทศสำคัญ ๆ ของโลก เป็นจำนวนมาก ได้แก่

สถานีโทรทัศน์ ได้แก่

สถานีวิทยุ ได้แก่

กลุ่มองค์กรความร่วมมือ ได้แก่

ตราสัญลักษณ์[แก้]

พ.ศ. 2520 – พ.ศ. 2545[แก้]

ตราสัญลักษณ์แรก เป็นภาพกลุ่มวงกลมสีชมพูเข้ม ซ้อนกันเป็นรูปคลื่นกระจายสัญญาณ มีรูปสามเหลี่ยมคล้ายลำโพงอยู่ทางซ้าย

พ.ศ. 2546 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557[แก้]

ตราสัญลักษณ์ที่สอง ใช้ตราจากช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี เป็นสัญลักษณ์ประจำหน่วยงาน พร้อมกันกับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)

ตราสัญลักษณ์สำหรับการออกอากาศภาพคมชัดสูง 1 เมษายน พ.ศ. 2557 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557[แก้]

ตราสัญลักษณ์ที่ใช้กับการออกอากาศข่าว ในระบบดิจิทัลภาพคมชัดสูง ทางช่องเอ็มคอตเอชดี เป็นภาพตัวอักษร "TNA NEWS HD สำนักข่าวไทย" มีลูกโลกสีส้มใต้ตัวอักษร "T"

1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – ปัจจุบัน[แก้]

ตราสัญลักษณ์ที่สาม จะมี 2 แบบ คือ แบบภาษาอังกฤษ จะมีคำว่า "Thai News Agency" โดยคำว่า Thai จะเป็นสีแดง และคำว่า News Agency เป็นสีขาว อยู่ในวงกลมสีน้ำเงิน และด้านล่างวงกลมสีน้ำเงินนั้น มีคำว่า "สำนักข่าวไทย" กำกับอยู่ด้วย ซึ่งเริ่มใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 (ปัจจุบันยังมีให้เห็นในเว็บไซต์สำนักข่าวไทยและบนยานพาหนะที่ใช้ทำข่าวนอกสถานที่) และแบบภาษาไทย จะมีคำว่า "สำนักข่าวไทย" โดยคำว่า สำนัก จะเป็นสีแดง และคำว่า ข่าวไทย เป็นสีขาว อยู่ในวงกลมสีน้ำเงิน และด้านล่างวงกลมสีน้ำเงินนั้น มีคำว่า "Thai News Agency" กำกับอยู่ด้วย ซึ่งแบบภาษาไทย เริ่มใช้ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2557

ตราสัญลักษณ์ที่มิได้ใช้จริง[แก้]

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555 บมจ.อสมท แถลงข่าวว่าจะเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ ที่ใช้กับการนำเสนอข่าวทางโทรทัศน์ของสำนักข่าวไทย โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน เป็นต้นไป ภายใต้แนวคิดดังนี้

  • เส้นที่วิ่งรอบจุดศูนย์กลาง แสดงถึงเนื้อหาที่ครอบคลุมทั่วโลก การเดินทางรอบโลกอย่างรวดเร็ว ภายใต้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ที่เข้าไปสัมพันธ์ ตั้งแต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบโลก ไปจนถึงในชีวิตประจำวัน และความสนใจของแต่ละบุคคล
    • ภาพที่นำมาใช้กับเส้นรอบโลก เป็นได้ทั้งภาพจักรวาล ท้องฟ้า เมือง ธรรมชาติ สัตว์ป่า ใต้ทะเลลึก เซลล์อะตอม หรือแม้แต่ หน่วยที่เล็กที่สุดในร่างกาย
  • จุดศูนย์กลางที่แทนความหมายของโลก ทั้งที่เป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในจักรวาล เป็นสถานที่รวมเหตุการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งเป็นโลกของคนที่มีความสนใจแตกต่างกันไป
    • สีของจุดศูนย์กลาง สามารถใช้สีต่าง ๆ โดยเปลี่ยนไปตามเรื่องราว แต่สีหลักเป็นสีฟ้า ตามสีของโลก
  • ในพื้นที่ว่าง ระหว่างเส้นรอบโลกกับลูกโลก มีรูปร่างเป็นเลข 9 แทนลักษณะการนำเสนอเนื้อหา ที่มองจากมุมที่แตกต่าง ในแง่ที่คนทั่วไปยังไม่ตระหนักถึง
  • ช่องส่วนปลายของเลข 9 ที่เจาะทะลุ เป็นช่องที่เปิดผ่านเปลือกนอก เข้าไปสู่แก่นแท้ สื่อถึงความเข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และวิเคราะห์ถึงประเด็นหลักที่แท้จริง

อนึ่ง สำนักข่าวไทยมิได้นำตราสัญลักษณ์นี้มาใช้จริง เนื่องจากมีกระแสโจมตีโดยฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองและประชาชนบางกลุ่ม

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ขุดกรุ : จากสถานี HS 1 PJ ถึงโทรทัศน์สีสเตอริโอ". รถไฟไทยดอตคอม. 26 ตุลาคม 2549. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 2.2 ประวัติ อ.ส.ม.ท. องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากหน้าเว็บ ประวัติและเทคโนโลยีโทรทัศน์ของ บมจ.อสมท เก็บถาวร 2020-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ในเว็บไซต์ บมจ.อสมท
  3. หนังสือประวัติศาสตร์ อสมท 59 ปี สื่อไทย (หน้า 24)
  4. อึ๊งภากรณ์, ใจ; ยิ้มประเสริฐ, สุธาชัย; และคณะ (2544). อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง (PDF). คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519. ISBN 9748858626. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-19. สืบค้นเมื่อ 2020-12-18.
  5. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 94 ตอน 24 ก, 25 มีนาคม 2520, หน้า 1-17.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก, เล่ม 98, ตอน 107 ง ฉบับพิเศษ, 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2524, หน้า 14

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]