วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเนเธอร์แลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเนเธอร์แลนด์ มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและรังสรรค์ผลผลิตนวัตกรรมมากมายให้กับโลก เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญกับเศรษฐกิจและสังคมของเนเธอร์แลนด์ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์เป็นแรงผลักดันที่สำคัญต่อความเจริญทางวิทยาศษตร์และเทคโนโลยีของประเทศโดยให้งบประมาณสูงถึง 4.5 พันล้านยูโรต่อปี[1]

เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ และประชาคมยุโรป ซึ่งต่อมากลายเป็นสหภาพยุโรป ประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเนเธอร์แลนด์มีส่วนไม่น้อยกับการพัฒนาทางวิทยาศาสร์และเทคโนโลยี

ประวัติศาสตร์[แก้]

อันโตนี ฟัน เลเวินฮุก, ผู้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์และเป็นบิดาแห่งจุลชีววิทยา

เนเธอร์แลนด์มีเข้าสู่ยุคทองราวศตวรรษที่ 17 ด้วยการมีระบบทางการเงินและการทหารที่แข็งแกร่ง ในยุคนี้มีนักวิทยาศาสตร์มากมายย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแผ่นดินต่ำนี้[2] และได้นำภูมิปัญญาและองค์ความรู้มาสู่ดินแดนเนเธอร์แลนด์ด้วย การค้าระหว่างประเทศที่รุ่งเรืองและเครือข่ายการค้าที่เติบโตนำมาซึ่งภาพเขียนและพรรณพืชต่างๆที่ไหลเข้ามาสู่ดินแดนเนเธอร์แลนด์ ทำให้วิทยาศาสตร์ด้านพืชและสัตว์ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วในยุคนี้[3]

ราวปี ค.ศ.1880 เกิดวิกฤตราคาธัญพืชตกต่ำ สังคมดัตช์ได้รับความเสียหายอย่างหนักเนื่องจากเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับภาคการเกษตรค่อนข้างมาก รัฐบาลได้เข้ามาช่วยเหลือด้วยการสร้างโมเดลเพื่อการพัฒนานโยบายวิทยาศาสตร์ขึ้น มีการทดลองทางวิทยาศาสตร์นำไปสู่การค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างปุ๋ยสังเคราะห์กับคุณภาพของดิน ผลผลิตของธัญพืช และต้นทุนการผลิต จากนั้น ภาครัฐและองค์กรเอกชนร่วมมือกันนำความรู้ที่พบนี้ไปแจ้งกับชาวไร่ชาวนาโดยอ้างอิงถึงผลการวิเคราะห์การทดลอง[4] นับเป็นครั้งแรกๆที่มีการนำเอางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้โดยตรง และยังเป็นวิธีที่ใช้กันอยู่จนถึงทุกวันนี้ รัฐบาลดัตช์ยังมีส่วนสำคัญในการผลักด้านการวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์จนถึงปัจจุบัน

วิทยาการที่สำคัญของชาวดัตช์[แก้]

เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีนวัตกรรมสูง[5] นำมาซึ่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมเช่นนี้เอื้อต่อการสร้างสิ่งประดิษฐ์และการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญมากมายในประวัติศาสตร์ เช่น

สถาบัน[แก้]

มหาวิทยาลัยเก่าแก่ของเนเธอร์แลนด์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยไลเดิน (ก่อตั้ง ค.ศ. 1575) มหาวิทยาลัยฟราเนอเกอร์ (ก่อตั้ง ค.ศ. 1585) และมหาวิทยาลัยโกรนิงเงิน (ก่อตั้ง ค.ศ. 1614) เป็นผู้ขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของเนเธอร์แลนด์ในอดีต เพราะก่อนศตวรรษที่ 18 ยังไม่มีการตั้งสมาคมวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการ[16] ปัจจุบัน งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยังคงมีมหาวิทยาลัยเป็นผู้ผลักดันสถาบันวิจัยหลายแห่งยังมีความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัย[17]

นโยบายวิทยาศาสตร์[แก้]

ความรับผิดชอบของภาครัฐ[แก้]

เนื่องจากวิทยาศาสต์และเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเนเธอร์แลนด์ รัฐบาลจึงเป็นผู้ควบคุมโดยตรง ปัจจุบัน ผู้รับผิดชอบนโยบายด้านวิทยาศาสตร์คือกระทรวงศึกษา วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ (OCW) ดูแลแผนยุทธศาสตร์การศึกษาระดับสูงและงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ทุกๆ 4 ปี กระทรวงยังมีหน้าที่กำกับดูแลหน่วยงานวิจัยอีกหลายแห่ง[18] ได้แก่

นอกจากนี้ กระทรวงเศรษฐกิจและนโยบายสภาพภูมิอากาศ (EZK) ยังมีส่วนร่วมในการวางนโยบายการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ ตลอดจนเทคโนโลยีและนวัตกรรมอีกด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. Ministerie van Onderwijs, Cultuur en Wetenschap (2011-12-14). "Science - Government.nl". www.government.nl (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-05-29.
  2. editor (2012-06-13). "The Netherlands, from Golden Age to shining science". Digital Single Market - European Commission (ภาษาอังกฤษ). {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  3. "Discovering the Dutch". Discovering the Dutch: On Culture and Society of the Netherlands. Amsterdam University Press. 2010. ISBN 9789089641007. JSTOR j.ctt46ms67.
  4. Julius, H. W. (1967). "Scientific policy in the Netherlands". Minerva. 5 (4): 507–519. doi:10.1007/BF01096780. ISSN 0026-4695. JSTOR 41821807.
  5. "Indicator Rankings & Analysis". Global Innovation Index (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-20. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
  6. "Treasures of the Library : De humani corporis fabrica. Epitome". Cambridge Digital Library. สืบค้นเมื่อ 2019-06-11.
  7. Van Helden, Albert (1977). "The Invention of the Telescope". Transactions of the American Philosophical Society. 67 (4): 1–67. doi:10.2307/1006276. ISSN 0065-9746. JSTOR 1006276.
  8. "Drebbel's submarine - Australian National Maritime Museum". www.sea.museum (ภาษาอังกฤษ).
  9. 9.0 9.1 "Discovering the Dutch". Discovering the Dutch: On Culture and Society of the Netherlands. Amsterdam University Press. 2014. ISBN 9789089647924. JSTOR j.ctt1x76h7z.
  10. Sutton, Peter C.; Bikker, Jonathan; Unidos), Bruce Museum of Arts and Science (Greenwich, Estados; Rijksmuseum (Netherlands) (2006). Jan van der Heyden (ภาษาอังกฤษ). Yale University Press. ISBN 9780300119701.
  11. "Discovering the Dutch". Discovering the Dutch: On Culture and Society of the Netherlands. Amsterdam University Press. 2010. ISBN 9789089641007. JSTOR j.ctt46ms67.
  12. "Discovering the Dutch". Discovering the Dutch: On Culture and Society of the Netherlands. Amsterdam University Press. 2010. ISBN 9789089641007. JSTOR j.ctt46ms67.
  13. "Gatso | Motor Sport Magazine Archive". Motor Sport Magazine (ภาษาอังกฤษ). 2014-07-07. สืบค้นเมื่อ 2019-06-11.
  14. "Guido van Rossum | Computer History Museum". www.computerhistory.org. สืบค้นเมื่อ 2019-06-11.
  15. "Eight Dutch scientists who changed the world". DutchNews.nl (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2017.
  16. STAMHUIS, IDA H. (2002). van Berkel, Klaas; van Helden, Albert; Palm, Lodewijk (บ.ก.). "RECAPTURING DUTCH SCIENCE". Minerva. 40 (4): 407–415. doi:10.1023/A:1020981806432. ISSN 0026-4695. JSTOR 41821222.
  17. "Discovering the Dutch". Discovering the Dutch: On Culture and Society of the Netherlands. Amsterdam University Press. 2014. ISBN 9789089647924. JSTOR j.ctt1x76h7z.
  18. "Policies, facts and figures 2006" (PDF). Science, Technology and Innovation in the Netherlands. Ministry of Economic Affairs and the Ministry of Education, Culture and Science. 2006.[ลิงก์เสีย]