ภูมิธรรม เวชยชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภูมิธรรม เวชยชัย
ภูมิธรรม ใน พ.ศ. 2564
รองนายกรัฐมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 274 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
สมศักดิ์ เทพสุทิน (พ.ศ. 2566–2567)
ปานปรีย์ พหิทธานุกร (พ.ศ. 2566–2567)
อนุทิน ชาญวีรกูล (พ.ศ. 2566–ปัจจุบัน)
พัชรวาท วงษ์สุวรรณ (พ.ศ. 2566–ปัจจุบัน)
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พ.ศ. 2566–ปัจจุบัน)
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (พ.ศ. 2567–ปัจจุบัน)
พิชัย ชุณหวชิร (พ.ศ. 2567–ปัจจุบัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ก่อนหน้าประวิตร วงษ์สุวรรณ
วิษณุ เครืองาม
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
อนุทิน ชาญวีรกูล
ดอน ปรมัตถ์วินัย
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 274 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
รัฐมนตรีช่วยนภินทร ศรีสรรพางค์
สุชาติ ชมกลิ่น
ก่อนหน้าจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รักษาราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
28 เมษายน พ.ศ. 2567 – 30 เมษายน พ.ศ. 2567
(0 ปี 2 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ถัดไปมาริษ เสงี่ยมพงษ์
(รัฐมนตรีว่าการ)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
(1 ปี 192 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
พงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล
ก่อนหน้านิกร จำนง
พิเชษฐ สถิรชวาล
ถัดไปสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม
เลขาธิการพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
(6 ปี 255 วัน)
ก่อนหน้าจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
ถัดไปอนุดิษฐ์ นาครทรรพ
รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
6 ธันวาคม พ.ศ. 2565 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 325 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ธวัชชัย เวชยชัย

5 ธันวาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี)
เขตภาษีเจริญ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (2519–2520)[1]
ประชาธิปัตย์ (2520–2540)
ไทยรักไทย (2541–2550)
เพื่อไทย (2555–ปัจจุบัน)
คู่สมรสอภิญญา เวชยชัย
ลายมือชื่อ

ภูมิธรรม เวชยชัย ป.ช. ป.ม. (เกิด 5 ธันวาคม พ.ศ. 2496) หรือชื่อเดิม ธวัชชัย ชื่อเล่น อ้วน เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร

ประวัติ[แก้]

ภูมิธรรม เวชยชัย เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2496 ที่จังหวัดพระนคร มีชื่อเล่นว่า อ้วน สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนทวีธาภิเศก ปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2518 และปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2527 และได้ผ่านการศึกษาหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ในปี พ.ศ. 2547

การทำงาน[แก้]

เขาเป็นรองผู้อำนวยการโครงการอาสาสมัคร สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ต่อมาได้หันเหมาทำงานในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง และเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ประจำสำนักประธานบริหารกลุ่มบริษัทในเครือชินวัตร ในระหว่างปี พ.ศ. 2540 - 2541

งานการเมือง[แก้]

เขาเริ่มเข้าสู่งานการเมืองด้วยการเป็นที่ปรึกษาคณะทำงานสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.) ในปี พ.ศ. 2544 และเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (ประจำ รศ. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) และเป็นรองเลขาธิการพรรคไทยรักไทย กระทั่งได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อปี พ.ศ. 2548[2] ซึ่งในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ได้นำเสนอพระราชกฤษฎีกา ต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 ให้ยุบเลิกองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) โดยให้เหตุผลว่า มีปัญหาขาดสภาพคล่อง และมีหนี้สินสะสมกว่า 1,800 ล้านบาท และไม่มีความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจขนส่งของเอกชน[3][4]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 เขาถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[6] และได้รับเลือกให้ทำหน้าที่เลขาธิการพรรค ในการประชุมพรรคเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555[7]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 21[8]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 4[9] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 100 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในคณะรัฐมนตรีของเศรษฐา ทวีสิน[10]

ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2566 เศรษฐาได้มอบหมายให้เขาเป็นประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560[11][12] และในเดือนมกราคมปีถัดมาเขาได้เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567[13]

ต่อมาตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2567 ปานปรีย์ พหิทธานุกร ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[14] ส่งผลให้กระทรวงการต่างประเทศไม่มีทั้งรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการ ภูมิธรรมจึงรักษาการในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแทน[15]

รางวัลและเกียรติยศ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "รุกสู่"รัฐไทยใหม่"". mgronline.com. 2012-11-03.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  3. "วาระสุดท้ายเสนอยุบรสพ. ปลดพนง.เลหลังรถบรรทุก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
  4. แข่งขันกับธุรกิจขนส่งของเอกชนหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
  5. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  6. บ้านเลขที่ 111 ซบอก'เพื่อไทย'แล้ว[ลิงก์เสีย]
  7. 'จารุพงษ์'ผงาดนั่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[ลิงก์เสีย]
  8. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  9. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  10. "ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (พิเศษ 214 ง): 1–3. 2023-09-02. สืบค้นเมื่อ 2023-09-02.
  11. https://prachatai.com/journal/2023/09/105887
  12. [1]กก.ชุดภูมิธรรมเคาะทำประชามติ 3 ครั้ง รอบแรกใช้คำถามเดียว-ไม่ล็อก สสร. จัดทำรัฐธรรมนูญ
  13. https://www.prachachat.net/politics/news-1474946
  14. "ด่วน "ปานปรีย์ พหิทธานุกร" ลาออกจากรัฐมนตรีต่างประเทศ มีผลวันนี้ 28 เม.ย.67". ฐานเศรษฐกิจ. 28 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. ""ภูมิธรรม" ใหญ่จริง รักษาการ "รมว.ตปท." แทน ปานปรีย์". ฐานเศรษฐกิจ. 28 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2018-08-16.
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
ก่อนหน้า ภูมิธรรม เวชยชัย ถัดไป
ประวิตร วงษ์สุวรรณ
วิษณุ เครืองาม
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
อนุทิน ชาญวีรกูล
ดอน ปรมัตถ์วินัย
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์

รองนายกรัฐมนตรี
(ครม. 63)

(1 กันยายน พ.ศ. 2566 — ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(ครม. 63)

(1 กันยายน พ.ศ. 2566 — ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
นิกร จำนง
พิเชษฐ สถิรชวาล

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
(ครม. 55)

(2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 — 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549)
สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
เลขาธิการพรรคเพื่อไทย
(30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562)
อนุดิษฐ์ นาครทรรพ