พีระมิดแห่งเจดเอฟเร

พิกัด: 30°01′56″N 31°04′29″E / 30.03222°N 31.07472°E / 30.03222; 31.07472
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พีระมิดแห่งเจดเอฟเร
ภาพถ่ายของพีระมิดที่ถูกทำลาย
ฐานพีระมิดแห่งเจดเอฟเรที่ถูกทำลาย
เจดเอฟเร
พิกัดทางภูมิศาสตร์30°01′56″N 31°04′29″E / 30.03222°N 31.07472°E / 30.03222; 31.07472
นามร่วมสมัย
<
N5R11I9
>S29V28D46
F18
N14G43O24

Sḥdu Ḏd-f-Rˀ[1]
เซเฮดู เจด-เอฟ-เร
"ท้องฟ้าเต็มไปด้วยดวงดาวแห่งเจดเอฟเร"[2]
"เจดเอฟเร พระองค์ทรงเป็นดาว "เซเฮด"[3]
การก่อสร้างราชวงศ์ที่สี่
ประเภทมาตรฐาน (เดิม)
ถูกทำลาย (ปัจจุบัน)
ความสูง67 m (220 ft; 128 cu) (เดิม)[4]
11.4 m (37 ft; 21.8 cu) (ปัจจุบัน)[5]
ฐาน106 m (348 ft; 202 cu)[5][4]
ปริมาณ131,043 m3 (171,398 cu yd)[6]
ความชัน51°[5] ถึง 52°[4]
พีระมิดแห่งเจดเอฟเรตั้งอยู่ในประเทศอียิปต์
พีระมิดแห่งเจดเอฟเร
ที่ตั้งของพีระมิดในประเทศประเทศอียิปต์

พีระมิดแห่งเจดเอฟเร เป็นพีระมิดที่ตั้งอยู่เหนือสุดของอียิปต์ เชื่อกันว่าโปรดให้สร้างขึ้นโดยฟาโรห์เจดเอฟเร ซึ่งเป็นพระราชโอรสและผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์คูฟู ปัจจุบันประกอบด้วยซากปรักหักพังส่วนใหญ่ที่อะบู เราะวัชในอียิปต์ รายงานการขุดค้นบริเวณพีระมิดถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2011[7]

ด้านทฤษฎี[แก้]

แม้ว่านักไอยคุปต์วิทยาบางคนในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาจะนำเสนอในประเด็นอื่น ๆ แต่การขุดค้นที่อะบู เราะวัชเมื่อเร็ว ๆ นี้ดำเนินการโดย ดร.มีแชล โบด์ จากพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ในปารีส เสนอความเห็นที่ว่าจริง ๆ แล้วพีระมิดดังกล่าวสร้างเสร็จไปแล้วกว่าครึ่งแล้ว[8][9] อย่างไรก็ตาม หากสร้างเสร็จ คาดว่าน่าจะมีขนาดพอ ๆ กับพีระมิดแห่งเมนคาอูเร ซึ่งเป็นพีระมิดที่ใหญ่เป็นอันดับสามของกลุ่มพีระมิดแห่งกิซา[10] เชื่อกันว่าเดิมทีเป็นพีระมิดที่สวยงามที่สุด โดยมีภายนอกเป็นหินแกรนิตนำเข้าขัดเงา หินปูน และสวมยอดด้วยมงกุฏพีระมิดขนาดใหญ่ เชื่อกันว่าด้วยเหตุนี้พีระมิดที่สร้างแล้วเสร็จจึงถูกรื้อถอนออกส่วนใหญ่ในช่วงจักรวรรดิโรมัน เพื่อสร้างโครงการก่อสร้างของตนเองหลังจากการพิชิตอียิปต์โดยจักรพรรดิโรมันออกุสตุส ชื่อโบราณของพีระมิดคือ "ท้องฟ้าเต็มไปด้วยดวงดาวแห่งเจดเอฟเร"[11] การทำลายพีระมิดเริ่มต้นเมื่อสิ้นสุดช่วงสมัยราชอาณาจักรใหม่อย่างช้าที่สุด และทำลายมากเป็นพิเศษในช่วงยุคโรมันและช่วงต้นของช่วงคริสตศาสนาในอียิปต์เมื่อมีการสร้างอารามคอปติกในวาดิ การินที่อยู่ใกล้เคียง ยิ่งไปกว่านั้น ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 19 ยังมีการลากหินออกไปในอัตราอูฐสามร้อยตัวต่อวัน[12]

คำอธิบาย[แก้]

พีระมิดแห่งเจดเอฟเรมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากพีระมิดรุ่นก่อน ๆ ตรงที่ห้องต่าง ๆ จะอยู่ใต้พีระมิดแทนที่จะเป็นด้านใน พีระมิดถูกสร้างขึ้นเหนือเนินดินธรรมชาติ และห้องต่าง ๆ ถูกสร้างขึ้นโดยใช้วิธี "หลุมและทางลาด" ซึ่งก่อนหน้านี้เคยใช้กับสุสานมาสตาบาบางแห่ง โดยที่ขุดหลุมขนาด 21 ม. x 9 ม. และลึก 20 ม. ในเนินธรรมชาติ ทางลาดถูกสร้างขึ้นที่มุม 22°35' และห้องและทางเข้าถูกสร้างขึ้นภายในหลุมและบนทางลาด เมื่อ 'ห้องด้านใน' เสร็จสิ้น หลุมและทางลาดก็ถูกถมให้เต็ม และสร้างพีระมิดไว้ด้านบน ซึ่งช่วยให้สามารถสร้างห้องต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องขุดอุโมงค์ และหลีกเลี่ยงความยุ่งยากทางโครงสร้างของการสร้างห้องต่าง ๆ ภายในตัวพีระมิดเอง นอกจากนี้ยังหวนกลับไปใช้รูปแบบการก่อสร้างแบบเดิมด้วยการสร้างกำแพงล้อมรอบสี่เหลี่ยมโดยวางแนวเหนือ-ใต้ คล้ายกับพีระมิดแห่งดโจเซอร์และเซเคมเคต

พีระมิดและวิหารพระอาทิตย์หลายแห่งถูกสร้างขึ้นเหนือเนินดินธรรมชาติ การใช้วิธีนี้อาจเป็นวิธีหนึ่งในการลดระยะเวลาการทำงานจริงที่ต้องการ ถึงแม้ว่าเนินดินอาจจะเป็นสัญลักษณ์ของเนินดึกดำบรรพ์แห่งตำนานการสร้างของชาวอียิปต์ก็ตาม

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Budge 1920, pp. 684b–685a.
  2. Verner 2001d, p. 217.
  3. Edwards 1975, p. 297.
  4. 4.0 4.1 4.2 Lehner 2008, p. 17.
  5. 5.0 5.1 5.2 Verner 2001d, p. 462.
  6. Bárta 2005, p. 180.
  7. Valloggia, Michel (2011). Abou Rawash. I, Le complexe funéraire royal de Rêdjedef : étude historique et architecturale. Le Caire. ISBN 978-2-7247-0568-3. OCLC 731043888.
  8. "Could Djedefre's Pyramid be a Solar Temple?".
  9. "CyberScribe 178" (PDF). www.fitzmuseum.cam.ac.uk. 2010. สืบค้นเมื่อ 2020-07-15.
  10. Vallogia, Michel (1997). Études sur l'Ancien Empire et la nécropole de Saqqara. 418
  11. Vallogia, Michel (University of Geneva); Rowlands, Joanne (University of Oxford); Hawass, Zahi (Secretary General, Supreme Council of Antiquities, Egypt) (2008-06-23). The Lost Pyramid. History. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-20. สืบค้นเมื่อ 2008-12-12.
  12. Verner, Miroslav (2001). The Pyramids. London: Atlantic Books. p. 144. ISBN 9781782396802.