บุงโกบง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างชั้นวางบุงโกบงในร้านหนังสือ

บุงโกบง (ญี่ปุ่น: 文庫本โรมาจิbunkobon) ในประเทศญี่ปุ่น เป็นหนังสือปกอ่อนขนาดเล็กที่ออกแบบมาให้มีราคาไม่แพงและประหยัดพื้นที่ ส่วนใหญ่แล้วมีขนาด A6 (105×148 มม. หรือ 4.1×5.8 มม.)[1] บางครั้งก็มีภาพประกอบและเหมือนกับหนังสือปกอ่อนอื่น ๆ ของประเทศญี่ปุ่นที่มักจะมีกระดาษกันฝุ่นคลุมปกธรรมดา บุงโกบงยุคใหม่มีทั้งหนังสือขายดีและผลงานอื่น ๆ และด้วยความที่ขนาดเท่าสมุดพกจึงทำให้มีประโยชน์ในขณะเดินทาง[2] ใช้เพื่อจุดประสงค์เดียวกันกับหนังสือปกอ่อน โดยทั่วไปสำหรับหนังสือรุ่นที่ราคาถูกกว่าซึ่งได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือปกแข็งแล้ว[3]อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปจะพิมพ์บนกระดาษที่เเข็งแรง และเข้าเล่มอย่างแข็งแรง และผลงานบางชิ้นได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในรูปแบบ บุงโกบงอีกด้วย

ที่มาของชื่อ[แก้]

ชื่อ บุงโกบง มาจากสำนักพิมพ์อิวานามิโชเต็ง (ญี่ปุ่น: 岩波書店โรมาจิIwanami Shoten) ซึ่งในปี 1927 ได้เปิดตัวอิวานามิบุงโกะ (ห้องสมุดอิวานามิ) ซึ่งเป็นชุดผลงานระดับนานาชาติที่มีจุดมุ่งหมาย "เพื่อนำความคลาสสิกทั้งเก่าและใหม่ ตะวันออกและตะวันตกมาสู่ผู้ชมในวงกว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้" โดยสำนักพิมพ์อิวานามิโชเต็งได้รับการยกย่องจากการเปลี่ยนหนังสือในประเทศญี่ปุ่นให้กลายเป็นสินค้าที่มีราคาไม่แพงในตลาดหนังสือในประเทศญี่ปุ่น[1]

รูปแบบบุงโกบงเริ่มรุ่งเรืองในช่วงปลายทศวรรษ 1920 ตามการพัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์ที่สามารถผลิตหนังสือและนิตยสารราคาถูกจำนวนมากได้ ในช่วงเวลานี้ อุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่นได้พัฒนารูปแบบบุงโกบงเพิ่มเติม จากรูปแบบหนังสือ Universal-Bibliothek ของ Reclam ของประเทศเยอรมัน[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Shockey, Nathan (2019-12-16), "The Typographic Imagination: Reading and Writing in Japan's Age of Modern Print Media", The Typographic Imagination (ภาษาอังกฤษ), Columbia University Press, doi:10.7312/shoc19428/html, ISBN 978-0-231-55074-1, สืบค้นเมื่อ 2024-05-20
  2. Bourdaghs, Michael K.; Sakai, Cécile; Hirokazu, Toeda (2018-01-02). "Introduction: Kawabata Yasunari in the twenty-first century". Japan Forum (ภาษาอังกฤษ). 30 (1): 2–11. doi:10.1080/09555803.2017.1307249. ISSN 0955-5803. S2CID 148746846.
  3. Bourdaghs, Michael K.; Sakai, Cécile; Hirokazu, Toeda (2018-01-02). "Introduction: Kawabata Yasunari in the twenty-first century". Japan Forum (ภาษาอังกฤษ). 30 (1): 2–11. doi:10.1080/09555803.2017.1307249. ISSN 0955-5803. S2CID 148746846.
  4. Kamei-Dyche, Andrew T. (2011). "The History of Books and Print Culture in Japan: The State of the Discipline". Book History (ภาษาอังกฤษ). 14 (1): 270–304. doi:10.1353/bh.2011.0008. ISSN 1529-1499. S2CID 162397590.