นักผจญเพลิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักผจญเพลิง
ทีมนักผจญเพลิงทำงานร่วมกันเพื่อควบคุมโรงนาที่ไฟลุกโชน
รายละเอียด
ชื่ออื่น ๆพนักงานดับเพลิง (นักดับเพลิง)
พนักงานดับเพลิงหญิง (นักดับเพลิงหญิง)
กลุ่มงานการกู้ภัย, การคุ้มกันให้พ้นอัคคีภัย, ราชการ, บริการสาธารณะ, ความปลอดภัยสาธารณะ

นักผจญเพลิง หรือ พนักงานดับเพลิง เป็นผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นและผู้ช่วยชีวิตที่ได้รับการฝึกอย่างครอบคลุมในการดับเพลิง โดยหลักแล้วเพื่อดับไฟที่เป็นอันตรายที่คุกคามชีวิต, ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมตลอดจนการช่วยชีวิตผู้คน และในบางเคสหรือเขตอำนาจศาล รวมถึงสัตว์จากสถานการณ์อันตราย ซึ่งนักผจญเพลิงชายบางครั้งเรียกว่าพนักงานดับเพลิง (และนักผจญเพลิงหญิงเรียกว่าพนักงานดับเพลิงหญิง)[1][2]

บริการดับเพลิง หรือที่รู้จักในบางประเทศว่ากองดับเพลิงหรือหน่วยดับเพลิง เป็นหนึ่งในสามหน่วยบริการยามฉุกเฉินหลัก ตั้งแต่พื้นที่เมืองไปจนถึงเรือกำปั่น นักผจญเพลิงจึงอยู่ไปทั่วทุก ๆ แห่งทั่วโลก

โดยมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยซึ่งได้รับการฝึกอย่างสม่ำเสมอในระหว่างการประเมินการฝึกตลอดอาชีพนักผจญเพลิง ซึ่งโดยปกติ ทักษะการดับเพลิงเบื้องต้นจะได้รับการสอนผ่านสถาบันหรือหลักสูตรฝึกอบรมด้านอัคคีภัยที่ได้รับการรับรองในระดับท้องถิ่น, ระดับภูมิภาค หรือระดับรัฐ[3] โดยขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแผนก, ทักษะและใบรับรองเพิ่มเติม เช่น การช่วยเหลือทางเทคนิคและเวชศาสตร์ก่อนเข้าโรงพยาบาลอาจได้รับในเวลานี้

ทั้งนี้ นักผจญเพลิงทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานรับมือเหตุฉุกเฉินอื่น ๆ เช่น ตำรวจ และบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งบทบาทของนักผจญเพลิงอาจทับซ้อนกับทั้งสองอย่าง โดยผู้สอบสวนอัคคีภัยหรือผู้บัญชาการดับเพลิงตรวจสอบสาเหตุของเพลิงไหม้ หากเพลิงไหม้เกิดจากการลอบวางเพลิงหรือความประมาทเลินเล่อ งานของพวกเขาจะทับซ้อนกับการบังคับใช้กฎหมาย นักผจญเพลิงมักให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในระดับหนึ่ง ซึ่งรวมถึงการรับรองและทำงานเป็นเจ้าหน้าที่กู้ชีพฉุกเฉินประจำจากหมู่รถดับเพลิง, รถบรรทุกน้ำดับเพลิง และหน่วยกู้ภัยในบางระบบเพื่อเริ่มต้นการช่วยชีวิตขั้นสูงจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง

หน้าที่[แก้]

ดับเพลิง[แก้]

บรรดานักผจญเพลิงได้มุ่งความพยายามไปที่การกอบกู้โบสถ์ที่อยู่ติดกัน แทนอาคารที่ถูกไฟไหม้ ซึ่งเป็นคอนแวนต์ที่ถูกทิ้งร้างในเมืองแมสซูวิล รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา
นักผจญเพลิงกำลังดําเนินการบันไดสไลด์

ไฟลุกไหม้เนื่องจากมีองค์ประกอบสามประการ ได้แก่: เชื้อเพลิง, ออกซิเจน และความร้อน ซึ่งมักเรียกกันว่าองค์ประกอบของไฟ และบางครั้งเรียกว่าจัตุรมุขแห่งไฟหากเพิ่มองค์ประกอบที่สี่เข้าไป ซึ่งก็คือปฏิกิริยาลูกโซ่ทางเคมีที่สามารถช่วยรักษาไฟบางประเภทได้ ส่วนจุดมุ่งหมายของการดับเพลิงคือการกีดกันไฟจากองค์ประกอบเหล่านั้นอย่างน้อยหนึ่งองค์ประกอบ ที่โดยทั่วไปจะทำโดยการดับไฟด้วยน้ำ แม้ว่าไฟบางประเภทจะต้องใช้วิธีอื่น เช่น โฟมหรือสารแห้งก็ตาม บรรดานักผจญเพลิงได้รับการติดตั้งอุปกรณ์หลากหลายเพื่อจุดประสงค์นี้ ซึ่งรวมถึงรถบันได, รถปั๊ม, รถบรรทุกของเหลว, สายส่งน้ำดับเพลิง และถังดับเพลิง

อ้างอิง[แก้]

  1. Knowles, Michael (January 4, 2018). "BBC in sexism row over cartoon hippo in Hey Duggee who wants to be a fireman". Express.co.uk.
  2. Coulter, Martin (January 3, 2018). "London Fire Brigade accuses BBC of sexism over use of term 'fireman' in children's show Hey Duggee". www.standard.co.uk.
  3. "Fire Academy". Public Safety Elite. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-03. สืบค้นเมื่อ 2016-03-10.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]