ท่าอากาศยานไขตั๊ก

พิกัด: 22°19′43″N 114°11′39″E / 22.32861°N 114.19417°E / 22.32861; 114.19417
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานนานาชาติไขตั๊ก

啟德機場
ภาพถ่ายทางอากาศของท่าอากาศยานไขตั๊กใน ค.ศ. 1998 ในช่วงเช้าหลังปิดบริการ
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานปิดบริการ
เจ้าของรัฐบาลฮ่องกง
ผู้ดำเนินงานCivil Aviation Department
พื้นที่บริการPearl River Delta
สถานที่ตั้งเกาลูน ฮ่องกง
วันที่เปิดใช้งาน25 มกราคม ค.ศ. 1925 (1925-01-25)
วันที่ปิดใช้งาน6 กรกฎาคม ค.ศ. 1998 (1998-07-06)
ฐานการบิน
เมืองสำคัญแพนแอม (–1986)
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล9 เมตร / {{{elevation-f}}} ฟุต
พิกัด22°19′43″N 114°11′39″E / 22.32861°N 114.19417°E / 22.32861; 114.19417
แผนที่
ท่าอากาศยานนานาชาติไขตั๊กตั้งอยู่ในฮ่องกง
ท่าอากาศยานนานาชาติไขตั๊ก
ท่าอากาศยานนานาชาติไขตั๊ก
ที่ตั้งของท่าอากาศยานไขตั๊กในฮ่องกง
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
13/31 3,390 11,122 ยางมะตอย (ปิด)
ท่าอากาศยานไขตั๊ก
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม啟德機場
อักษรจีนตัวย่อ启德机场
ยฺหวิดเพ็งKai2dak1 Gei1coeng4
เยลกวางตุ้งKáidāk Gēichèuhng
ฮั่นยฺหวี่พินอินQǐdé Jīchǎng
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ啓徳空港
การถอดเสียง
โรมาจิKaitakku kūkō
Keitoku kūkō

ท่าอากาศยานไขตั๊ก (IATA: HKGICAO: VHHH) เป็นอดีตท่าอากาศยานนานาชาติของฮ่องกงใน ค.ศ. 1925 ถึง 1998 มีชื่อทางการว่า ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ใน ค.ศ. 1954 ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1998 มักเรียกกันว่า ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง, ไขตั๊ก[1] หรือสั้น ๆ ว่า ไขตั๊ก และ ท่าอากาศยานนานาชาติไขตั๊ก เพื่อแยกจากท่าอากาศยานนานาชาติเช็กล้าปก๊อกแห่งใหม่ได้เปิดให้บริการ สร้างขึ้นบนที่ดินถมทะเลและพื้นที่ถมรอบเกาะเช็กล้าปก๊อกกับLam Chauทางตะวันตก 30 กิโลเมตร (19 ไมล์)[2]

ท่าอากาศยานแห่งนี้เคยเป็นฐานการบินหลักของ คาเธย์แปซิฟิก, ดราก้อนแอร์ ,ฮ่องกงเอ็กซ์เพรสแอร์เวย์, ฮ่องกงแอร์ไลน์ และ แอร์ฮ่องกง

ประวัติ[แก้]

ท่าอากาศยานไขตั๊กตั้งอยู่ทางเหนือของอ่าวเกาลูน ท่าอากาศยานแห่งนี้ล้อมรอบไปด้วยภูเขาน้อยใหญ่ซึ่งภูเขาที่มีความสูงที่สุดได้อยู่ห่างจากสนามบินไปทางเหนือ เพียง 10 กิโลเมตร มีความสูงถึง2000 ฟุต (610 เมตร) ไขตั๊กมีทางวิ่งเพียงหนึ่งทางวิ่งเรียกว่า รันเวย์ 13/31 รันเวย์นี้สร้างขึ้นจากการถมทะเลบนอ่าว และได้ขยายความยาวมาเรื่อยๆจนถึง 3,390 เมตร

ปิดท่าอากาศยาน[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงแห่งใหม่ได้เปิดในเช้าวันที่ 6 กรกฎาคม 2541 ซึ่งหมายถึงกิจกรรมการบินต่างๆต้องถูกย้ายไปที่ท่าอากาศยานแห่งใหม่ทั้งหมด

วันที่ 6 กรกฎาคม 2541 เวลา 01:28 หลังจากเครื่องบินลำสุดท้ายได้ทะยานออกไป ท่าอากาศยานไขตั๊ก ก็ถูกปิดอย่างสมบูรณ์แบบ หลังจากเปิดให้บริการแก่ประชาชนชาวฮ่องกง และทั่วโลกมาอย่างยาวนานถึง 77 ปี

  • ไฟลท์ขาเข้าสุดท้าย: สายการบินดรากอนแอร์ เที่ยวบิน KA841 มาจาก ฉงชิ่ง แตะรันเวย์เวลา 23.38 น.
  • ไฟลท์ขาออกสุดท้าย : สายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค เที่ยวบิน CX251 ไป ลอนดอน ออกเวลา 00.02 น.

หลังจากส่งเครื่องบินลำสุดท้ายขึ้น พนักงานบนหอบังคับการบินได้จัดพิธีปิดสนามบินบนหอบังคับการบิน และได้พูดคำสุดท้ายขณะปิดไฟรันเวย์ว่า " ลาก่อนไขตั๊ก, ขอบคุณ"

ปัจจุบัน[แก้]

ปัจจุบันท่าอากาศยานไขตั๊ก ได้ถูกเปลี่ยนให้เป็นท่าเรือสำราญ (Cruise Terminal) และได้เปลี่ยนชื่อเป็น ไขตั๊กครูสเทอมินอล (ภาษาอังกฤษ:Kai Tak Cruise Terminal) ซึ่งเปิดให้บริการแล้วเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556 โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 1,000 ล้านเหรียญ ดอลลาร์สหรัฐ

อ้างอิง[แก้]

  1. Photo of Kai Tak Airport, shown the official name of the airport เก็บถาวร 18 กันยายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "Kai Tak Airport 1925–1998". Civil Aviation Department, Government of Hong Kong. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2012. สืบค้นเมื่อ 2013-01-25.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]