ข้ามไปเนื้อหา

จักรวรรดิพาลไมรีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Imperium Palmyrenum

ค.ศ. 260ค.ศ. 273
จักรวรรดิพาลไมรีน (สีเหลือง) ภายใต้การปกครองของพระราชินีเซโนเบียในปี ค.ศ. 271
จักรวรรดิพาลไมรีน (สีเหลือง) ภายใต้การปกครองของพระราชินีเซโนเบียในปี ค.ศ. 271
สถานะจักรวรรดิ
เมืองหลวงพาลไมรา
ภาษาทั่วไปภาษาลาติน (ราชการ), กรีกโบราณ, อราเมอิก, ภาษาอาหรับ และภาษาท้องถิ่น
ศาสนา
เพกัน (ราชการ)
การปกครองราชาธิปไตย
• ค.ศ. 260-267
เซ็พติมัส โอเดนาธัส
• ค.ศ. 267-271
เซโนเบีย
ยุคประวัติศาสตร์ยุคโบราณตอนปลาย
• ก่อตั้ง
ค.ศ. 260
• สิ้นสุด
ค.ศ. 273
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิโรมัน
จักรวรรดิโรมัน

จักรวรรดิพาลไมรีน (ละติน: Imperium Palmyrenum อังกฤษ: Palmyrene Empire) เป็นจักรวรรดิที่แยกตัวออกจากจักรวรรดิโรมันระหว่างวิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3 ที่ประกอบด้วยจังหวัดโรมัน ซีเรีย, ซีเรียปาเลสตินา, โรมัน และบริเวณส่วนใหญ่ของอานาโตเลีย โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ พาลไมรา พาลไมรีนรุ่งเรืองระหว่างปี ค.ศ. 260 จนถึงปี ค.ศ. 273 จักรวรรดิพาลไมรีนมีพระราชินีเซโนเบียเป็นผู้ปกครองในนามของพระราชโอรสวาบาลลาธัส (Vaballathus)

วิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3[แก้]

แม้ว่าจะประสบกับวิกฤติการณ์ต่าง ๆ หลายครั้งแต่จักรวรรดิโรมันที่ก่อตั้งขึ้นในสมัยของออกัสตัส ซีซาร์ก็สามารถดำรงอยู่ได้ แต่เมื่อจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ เซเวรัสถูกสังหารโดยทหารในปี ค.ศ. 235, กองทหารโรมันได้รับความพ่ายแพ้ในการรณรงค์ทางสงครามต่อซาสซานิยะห์เปอร์เซีย และการล่มสลายของจักรวรรดิ ผู้นำทางการทหารต่างก็เริ่มต่อสู้แย่งชิงอำนาจกันภายในจักรวรรดิ ซึ่งเป็นผลทำให้พรมแดนโรมันถูกละเลยและกลายเป็นเป้าหมายในการโจมตีโดยชนกลุ่มต่าง ๆ ที่รวมทั้งคาร์เพียน, กอธ, แวนดัล และ อลามานนิ และรวมทั้งการรุกรานโดยตรงของซาสซานิยะห์อย่างรุนแรงทางตะวันออก

ในที่สุดในปี ค.ศ. 258 ความแตกแยกก็เกิดขึ้นจากภายใน เมื่อจักรวรรดิถูกแบ่งเป็นสามส่วน จังหวัดโรมันกอล, บริเตน และ ฮิสปาเนีย แยกตัวไปเป็นจักรวรรดิกอล

ในเมื่อจักรวรรดิโรมันไม่สามารถป้องกันจังหวัดทางตะวันออกจากการรุกรานของซาสซานิยะห์ได้ ข้าหลวงเซ็พติมัส โอเดนาธัส (en:Septimius Odaenathus) จึงก่อตั้งกองทหารของตนเองเป็นกองสิบสอง (Legio XII Fulminata) แทนที่จะเข้าไปร่วมการขัดแย้งแย่งชิงโรม

แต่เซ็พติมัส โอเดนาธัสถูกสังหารโดยลูกชายวาบาลลาธัส (Vabalathus) และได้รับแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์แห่งจักรวรรดิพาลไมรีน แต่อำนาจที่แท้จริงอยู่ในมือของพระราชินีเซโนเบียพระราชมารดา ผู้ถือโอกาสขณะที่โรมยังมีความขัดแย้งในการขยายอำนาจไปยังอียิปต์ ซีเรีย ปาเลสไตน์ เลบานอน และอานาโตเลีย และในที่สุดก็ถือตำแหน่ง ออกัสตัส สำหรับพระองค์เองและพระราชโอรส

อ้างอิง[แก้]

  • The "Tyranni Triginta", a book of the Augustan History (written in the 4th century) contains an unreliable account of Zenobia's life and triumph.
  • Public Domain บทความนี้ ประกอบด้วยข้อความจากสิ่งพิมพ์ซึ่งปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติChisholm, Hugh, บ.ก. (1911). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. {{cite encyclopedia}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  • Long, Jacqueline, "Vaballathus and Zenobia", De Imperatoribus Romanis site.

ดูเพิ่ม[แก้]