คอมมอนลอว์
ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (อังกฤษ: common law) หรือเรียกอีกอย่างว่า ระบบกฎหมายจารีตประเพณี[1] เป็นกฎหมายซึ่งพัฒนาขึ้นโดยผู้พิพากษาผ่านทางการตัดสินคดีความของศาล และศาลชำนัญพิเศษอื่น ๆ มากกว่าผ่านทางพระราชบัญญัติของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือการดำเนินการของฝ่ายบริหาร[2][3] ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์เป็นระบบกฎหมายที่ทรงอิทธิพลมากระบบหนึ่งของโลก ทั้งนี้เนื่องจากการขยายตัวของจักรวรรดิบริเตน ในระหว่างศตวรรษที่ 18 และ 19 ทำให้กฎหมายของสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะกฎหมายอังกฤษ แพร่กระจายไปทั่วดินแดนอาณานิคม. ปัจจุบันมีประมาณการว่า ประชากรกว่า 1 ใน 3 ของโลกอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายคอมม่อนลอว์ หรือภายใต้ระบบกฎหมายผสมกับระบบซีวิลลอว์.[4]
"ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์" เป็นระบบกฎหมายซึ่งให้น้ำหนักในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่มีมาก่อนเป็นอย่างมาก บนแนวคิดซึ่งเชื่อว่าจะเป็นการอยุติธรรมหากศาลจะมีคำพิพากษาที่แตกต่างกัน สำหรับคดีพิพาทซึ่งมีข้อเท็จจริงที่คล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่าคำพิพากษาเป็นที่มาประการหนึ่งของกฎหมาย (a source of law) ในระบบกฎหมายนี้. ด้วยเหตุนี้การตัดสินคดีในระบบ "คอมมอนลอว์" จึงไม่ได้เป็นเพียงการตีความกฎหมาย แต่มีผลเป็น "บรรทัดฐานทางกฎหมาย" (precedent) ที่ผูกมัดการตัดสินคดีในอนาคตตามไปด้วย ทั้งนี้ตามหลักการภาษาละตินที่เรียกว่า stare decisis แปลว่า "ยืนตามคำวินิจฉัย (บรรทัดฐาน) ต่อไป". อย่างไรก็ตาม หากศาลพบว่าข้อพิพาทในปัจจุบันเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่เคยเกิดขึ้น หรือมีความแตกต่างอย่างชัดเจนกับข้อพิพาทในอดีตทั้งหมด (matter of first impression) รวมถึงไม่มีกฎหมายทางนิติบัญญัติที่จะปรับใช้แก่คดีได้ ผู้พิพากษาย่อมมีอำนาจและหน้าที่ที่จะสร้างกฎหมายโดยการริเริ่มเป็นแบบอย่าง ภายหลังจากนั้น การตัดสินคดีครั้งนี้จะเป็นตัวอย่างแก่การตัดสินคดีครั้งต่อไป ซึ่งศาลในอนาคตจะต้องยึดถือตามเป็นบรรทัดฐาน.
ในทางปฏิบัติ ระบบคอมมอนลอว์เป็นระบบซึ่งมีความซับซ้อนยิ่งกว่าคุณสมบัติทั่วไปดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น การตัดสินดำเนินดคีของศาลหนึ่งจะผูกมัดศาลในคดีต่อไปในเฉพาะเขตอำนาจศาลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น. คำพิพากษาของศาลนอกเขตอำนาจ แม้จะตัดสินโดยศาลที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า ก็เป็นได้เพียงแต่ "บรรทัดฐานที่มีกำลังโน้มน้าว" (persuasive precedent) เท่านั้น. และกระทั่งภายในเขตอำนาจศาลที่กำหนดไว้ ศาลที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่าก็ไม่จำเป็นต้องเดินตามแนวบรรทัดฐานที่ศาลระดับล่าง (lower courts หรือ inferior courts) วางไว้. นอกจากนี้ความเชื่อที่ว่าระบบกฎหมายคอมมอนลอว์เป็นระบบกฎหมายที่สร้างขึ้นโดยผู้พิพากษา ก็เป็นแนวความคิดที่ได้รับโต้เถียงอย่างมากในปัจจุบัน แม้ในแวดวงวิชาชีพกฎหมายในประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์เอง, เช่น ในสหรัฐอเมริกา, ความคิดที่ว่า "ผู้พิพากษาสามารถสร้างกฎหมายเองได้" ถูกมองว่าเป็นความคิด หรือค่านิยมที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตย ซึ่งถือว่าอำนาจทางนิติบัญญัติเป็นอำนาจอธิปไตยของปวงชนเท่านั้น. ดังนั้นหากผู้พิพากษาถือวิสาสะวินิจฉัยคดีในลัฏษณะที่เปลี่ยนผลการบังคับใช้กฎหมาย และมีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ซึ่งเป็นการใช้อำนาจก้าวก่ายกิจการทางนิติบัญญัติ การใช้อำนาจตุลาการในลักษณะดังกล่าวก็จะมีลักษณะเป็นการ "ตุลาการภิวัฒน์" (judicial activism). ตัวอย่างสำคัญของ judicial activism เช่น ในคดีประวัติศาสตร์ Roe vs. Wade (1973) ซึ่งศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาพิพากษาว่าการลงโทษทางอาญาต่อการทำแท้งเป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักวิถีทางที่ถูกต้องแห่งกฎหมาย หรือ Due Process ตามการแก้ไขเพิ่มเติมข้อที่ 14 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา.
ระบบกฎหมายของอังกฤษถูกเรียกว่า "คอมมอนลอว์" เพราะในอดีตถือว่าเป็นกฎหมายที่ "ถือร่วมกัน" (common) ในศาลของพระมหากษัตริย์ทั่วประเทศอังกฤษ อันเป็นประเพณีปฏิบัติในศาลของพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ ในช่วงหลังจากการบุกรุกรานเกาะอังกฤษของชาวนอร์แมนในปี ค.ศ. 1066.[5]
ลักษณะเฉพาะของระบบกฎหมายคอมม่อนลอว์
[แก้]โดยทั่วไปแล้วระบบกฎหมายคอมมอนลอว์มักจะหมายถึงกฎหมายที่มีเนื้อหา หรือมีที่มาจากคำพิพากษา ซึ่งเรียกว่ากฎหมายจากคดีพิพาท หรือ "case law" เพื่อแสดงความแตกต่างจากกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Statutory law) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ.
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศูนย์วิเทศอาเซียน, สำนักงานศาลยุติธรรม. "ภาพรวมระบบกฎหมายของแต่ละประเทศในอาเซียน". acc.coj.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-07. สืบค้นเมื่อ 2022-03-07.
- ↑ Garner, Bryan A. (2001) [1995]. A Dictionary of Modern Legal Usage (2nd, revised ed.). New York: Oxford University Press. p. 177. ISBN 9780195077698.
In modern usage, common law is contrasted with a number of other terms. First, in denoting the body of judge-made law based on that developed in England... [P]erhaps most commonly within Anglo-American jurisdictions, common law is contrasted with statutory law ...
- ↑ Black's Law Dictionary – Common law (10th ed.). 2014. p. 334.
1. The body of law derived from judicial decisions, rather than from statutes or constitutions; [synonym] CASE LAW [contrast to] STATUTORY LAW.
- ↑ "The Common Law in the World: the Australian Experience" (PDF). W3.uniroma1.it. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-27. สืบค้นเมื่อ 2010-05-30.
- ↑ Langbein, Lerner & Smith (2009), p. 4.
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Barrington, Candace; Sobecki, Sebastian (2019). The Cambridge Companion to Medieval English Law and Literature. Cambridge: Cambridge University Press. doi:10.1017/9781316848296. ISBN 9781316632345. S2CID 242539685. Chapters 1–6.
- Crane, Elaine Forman (2011), Witches, Wife Beaters, and Whores: Common Law and Common Folk in Early America. Ithaca, NY: Cornell University Press. [ไอเอสบีเอ็น ไม่มี]
- Friedman, Lawrence Meir (2005). A History of American Law (3rd ed.). New York: Simon and Schuster. ISBN 978-0-7432-8258-1.
- Garner, Bryan A. (2001). A Dictionary of Modern Legal Usage (2nd, revised ed.). New York: Oxford University Press. p. 178. ISBN 978-0-19-514236-5.
- Glenn, H. Patrick (2000). Legal Traditions of the World. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-876575-2.
- Ibbetson, David John (2001). Common Law and Ius Commune. Selden Society. ISBN 978-0-85423-165-2.
- Langbein, John H.; Lerner, Renée Lettow; Smith, Bruce P. (2009). History of the Common Law: The Development of Anglo-American Legal Institutions. New York: Aspen Publishers. ISBN 978-0-7355-6290-5.
- Jain, M.P. (2006). Outlines of Indian Legal and Constitutional History (6th ed.). Nagpur: Wadhwa & Co. ISBN 978-81-8038-264-2.
- Milsom, S.F.C., A Natural History of the Common Law. Columbia University Press (2003) ISBN 0231129947
- Milsom, S.F.C., Historical Foundations of the Common Law (2nd ed.). Lexis Law Publishing (Va), (1981) ISBN 0406625034
- Morrison, Alan B. (1996). Fundamentals of American Law. New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-876405-2.
- Nagl, Dominik (2013). No Part of the Mother Country, but Distinct Dominions – Law, State Formation and Governance in England, Massachusetts and South Carolina, 1630–1769. Berlin: LIT. ISBN 978-3-643-11817-2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2016. สืบค้นเมื่อ 30 September 2015.
- Potter, Harry (2015). Law, Liberty and the Constitution: a Brief History of the Common Law. Woodbridge: Boydell and Brewer. ISBN 978-1-78327-011-8.
- Salmond, John William (1907). Jurisprudence: The Theory of the Law (2nd ed.). London: Stevens and Haynes. p. 32. OCLC 1384458.