วากาชู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Wakashu)
ภาพพิมพ์แกะไม้นักแสดงคาบูกิ นากามูระ ชิจิซาบูโรที่สอง และ ซาโนงาวะ อิจิมัตสึ โดย อิชิกาวะ โทโยโนบุ
ภาพพิมพ์แกะไม้โดยอิชิกาวะ โทโยโนบุ ป. 1740 แสดงนักแสดงคาบูกิสองคนแสดงเป็นวากาชู (ซ้าย) และชายหนุ่ม (ขวา)

วากาชู (ญี่ปุ่น: 若衆โรมาจิwakushū, "วัยรุ่น" ไม่เคยใช้กับผู้หญิงมาก่อน) เป็นคำศัพท์ทางประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นใช้หมายถึงวัยรุ่นชายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคเอโดะ (ค.ศ. 1603–1867) สถานะวากาชู บ่งชี้โดยทรงผม "วัยรุ่นชาย" มักหมายถึงเด็กชายที่มีอายุประมาณ 7–17 ปี ซึ่งไว้ทรงผมที่ตัดผมบางส่วนออกไป เมื่อถึงวัย เด็กชายจะพ้นจากความเป็นเด็กและสามารถเข้าศึกษาในระบบการศึกษา, เข้ารับการฝึกทักษะ หรือได้รับการว่าจ้างนอกบ้านของตน โดยมีพิธีการก้าวข้ามผ่านวัย (เก็มปูกุ) เมื่ออายุราว 20 ปี เป็นการปักหมุดหมายการเปลี่ยนผ่านไปยังวัยผู้ใหญ่[1][2] เมื่อถึงยุคเมจิ (ค.ศ. 1868–1912) คำศัพท์นี้เลือนหายไป ความหมายว่าชายหนุ่มถูกแทนที่โดยคำว่า "โชเน็ง" และอีกความหมายหนึ่งถูกแทนที่โดย "บิโชเน็ง" (หนุ่มสวย)[3]

เพศสภาพ[แก้]

ประเทศญี่ปุ่นในยุคเอโดะ วัยรุ่นชายถูกมองว่าเป็นวัตถุที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางเพศของหญิงสาว, ผู้หญิงและผู้ชายวัยกลางคน (ตราบเท่าที่พวกเขาทำหน้าที่เป็นฝ่ายรุก) อายุเป็นเรื่องสำคัญ แต่ไม่ถึงกับจำเป็นสำหรับวากาชู ด้วยเหตุนี้ บางครั้งผู้ชายวัยกลางคนอาจรับการแต่งกายและกิริยาอาการของวากาชู ไปปรับใช้ด้วย[4] อย่างไรก็ดี ผู้ให้บริการทางเพศชายที่ผ่านการก้าวข้ามผ่านวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่แล้ว มักไม่ได้ถูกมองว่าเป็นวัตถุที่เหมาะสมต่อการตอบสนองความต้องการทางเพศของผู้ชายวัยกลางคน (วากาชูโด หรือ ชูโด) ใน ค.ศ. 1685 มีรายงานมาโดยตลอดว่า รัฐบาลโชกุนกวาดล้าง "โอวากาชู" (วัยรุ่นที่มีอายุ) ซึ่งชะลอการเข้าพิธีก้าวข้ามผ่านวัยจนถึงอายุราว 25 ปี[5]

Kannazuki (tenth month of the traditional Japanese calendar), polychrome woodblock print. Original woodblock by Harunobu Suzuki ป. 1770, later printing. One of a pair (with Risshun) showing a young couple in autumn and spring, respectively.
วากาชู (นั่ง) และผู้หญิงซึ่งเป็นคู่ของเขา ในแวดล้อมของฤดูใบไม้ร่วงที่สวยงาม โดย ซูซูกิ ฮาราโนบุ ภาพพิมพ์แกะไม้หลายสี ป. 1770

ในงานศิลปะ[แก้]

ชูโด (衆道, Shudō, "วิถีแห่งชายรักชาย") มักเกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศ (โดยเฉพาะในหมู่ซามูไร) และความประณีตทางศิลปะ ในหนังสือของ ทารูโฮะ อินางากิ สุนทรียภาพแห่งชายรักชาย เขียนไว้ว่า มีเพียง "คนในชนชั้นอภิสิทธิ์เท่านั้นที่จะสามารถเข้าใจความสุขใจแห่งชายรักชายได้" ความสวยงามของวากาชู ที่มีระยะเวลาอันสั้น เปรียบดั่งได้กับดอกซากูระ การสรรเสริญความสวยงามของชายหนุ่มวัยรุ่นในวรรณกรรมญี่ปุ่นอาจย้อนรอยได้ไกลถึงวรรณกรรมคลาสสิกอย่างตำนานเก็นจิ ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ซึ่งมีการบรรยายตัวเอกว่า "เป็นตัวละครที่น่าดึงดูดจนชายอื่นรู้สึกปรารถนามองว่าเขาเป็นหญิง"[4]

การค้าประเวณีและการแสดงมักมีส่วนเกี่ยวข้องกันในโรงละครคาบูกิช่วงแรก นักแสดงหญิงถูกสั่งห้ามจากคาบูกิใน ค.ศ. 1629 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามกวาดล้างการค้าประเวณี และวากาชู เริ่มรับบทแสดงของผู้หญิงและวัยรุ่นชายแทน อย่างไรก็ตาม พวกเขาถูกห้ามจากการแสดงใน ค.ศ. 1652 ด้วยความต้องการที่จะร่วมประเวณีกับวากาชู ที่เพิ่มไม่หยุด และบทเหล่านี้ได้รับนักแสดงอนนางาตะ (ชายแสดงเป็นหญิง) ผู้ใหญ่แทน[4] หรือนักแสดงวากาชูงาตะ ที่เชี่ยวชาญในการรับบทวัยรุ่นชาย[6]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Pflugfelder, Gregory M. (1999). Cartographies of desire: male-male sexuality in Japanese discourse, 1600–1950. University of California Press. p. 33. ISBN 0-520-20909-5.
  2. Leupp, Gary P. (1997). Male Colors: The Construction of Homosexuality in Tokugawa Japan. University of California Press. p. 125. ISBN 0-520-20900-1.
  3. Pflugfelder, Gregory M. (1999). Cartographies of desire: male-male sexuality in Japanese discourse, 1600–1950. University of California Press. pp. 221–234. ISBN 0-520-20909-5.
  4. 4.0 4.1 4.2 Iam Buruma (May 11, 2017). "The 'Indescribable Fragrance' of Youths". The New York Review of Books.
  5. Pflugfelder, Gregory M. (1999). Cartographies of desire: male-male sexuality in Japanese discourse, 1600–1950. University of California Press. pp. 34, note 24. ISBN 0-520-20909-5.
  6. Leupp, Gary P. (1997). Male Colors: The Construction of Homosexuality in Tokugawa Japan. University of California Press. p. 90. ISBN 0-520-20900-1.