มอก. 820
มอก. 820 (TIS 820) เป็นการกำหนดตำแหน่งอักขระไทยบนแผงแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ที่จัดวางไว้บนแผงแป้นพิมพ์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งมีอักขระไทยครบทุกตัวอักษร ที่ผู้ใช้จำเป็นต้องใช้ในการป้อนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มาตรฐานนี้ถูกพัฒนามาจากแป้นพิมพ์เกษมณี โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม
มอก. 820 ถูกปรับปรุงล่าสุดเป็น มอก. 820 - 2538 เมื่อปี พ.ศ. 2538
ประวัติ
[แก้]มอก. 820 เป็นการกำหนดตำแหน่งอักขระไทยบนแผงแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งกำหนดโดย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) สำหรับมาตรฐานในปัจจุบับคือ มอก. 820 - 2538
มอก. 820 ตัวแรกคือ มอก. 820 - 2531 ซึ่งมีรูปแบบเหมือนพิมพ์ดีดภาษาไทย คือ แป้นพิมพ์เกษมณี ต่อมา มีการกำหนดมาตรฐาน การใช้งานและรับข้อมูลภาษาไทย โดย Thai API Consortium (TAPIC) คือ วทท. ซึ่งมีการกำหนดเพิ่มเติมให้กับ มอก. 820 - 2531 เพื่อให้ปุ่มกดบางปุ่ม ใช้งานร่วมกับภาษาละตินได้ ซึ่งรวมใน มอก. 820 - 2536 ด้วย
ในปี พ.ศ. 2538 มีการปรับปรุง มอก. 820 ใหม่เป็น มอก. 820 - 2538 ซึ่งย้ายตัวอักษรบางตัวด้วย และ เพิ่มให้สามารถพิมพ์ตัวอักษรพิเศษบางตัว และมีการกำหนดมาตรฐานบางอย่างให้รองรับ วทท 2.0
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของของสมอ. เก็บถาวร 2007-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ข้อมูลจาก Nectec เก็บถาวร 2008-09-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ภาษาไทย)
- ข้อมูลจาก Nectec เก็บถาวร 2011-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ภาษาอังกฤษ)
- ข้อมูลจากศูนย์รวมความรู้ออนไลน์[ลิงก์เสีย]