หมู่โบสถ์คริสต์แห่งมอลเดเวีย

พิกัด: 47°46′42″N 25°42′46″E / 47.77833°N 25.71278°E / 47.77833; 25.71278
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Painted churches of northern Moldavia)
หมู่โบสถ์คริสต์แห่งมอลเดเวีย
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
แผนที่อารามสำคัญในมอลเดเวีย
ที่ตั้งเทศมณฑลซูชาวา ภูมิภาคมอลเดเวีย ประเทศโรมาเนีย
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: (i), (iv)
อ้างอิง598bis
ขึ้นทะเบียน1993 (สมัยที่ 17)
เพิ่มเติม2010
พิกัด47°46′42″N 25°42′46″E / 47.77833°N 25.71278°E / 47.77833; 25.71278
หมู่โบสถ์คริสต์แห่งมอลเดเวียตั้งอยู่ในโรมาเนีย
หมู่โบสถ์คริสต์แห่งมอลเดเวีย
หมู่โบสถ์คริสต์แห่งมอลเดเวีย
หมู่โบสถ์คริสต์แห่งมอลเดเวีย
หมู่โบสถ์คริสต์แห่งมอลเดเวีย
หมู่โบสถ์คริสต์แห่งมอลเดเวีย
หมู่โบสถ์คริสต์แห่งมอลเดเวีย
หมู่โบสถ์คริสต์แห่งมอลเดเวีย
หมู่โบสถ์คริสต์แห่งมอลเดเวีย
ที่ตั้งของโบสถ์แห่งมอลเดเวีย

ทางตอนเหนือของภูมิภาคมอลเดเวีย ประเทศโรมาเนีย เป็นที่ตั้งของศาสนสถานจำนวนหนึ่งที่ได้รับการรักษาอย่างดี สร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบมอลเดเวีย ซึ่งมีวิวัฒนาการขึ้นในราชรัฐมอลเดเวียตั้งแต่ศตวรรษที่ 14

ในจำนวนนี้ โบสถ์ออร์ทอดอกซ์โรมาเนียแปดแห่งตั้งอยู่ในเทศมณฑลซูชาวา สร้างขึ้นตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 15 ถึงปลายศตวรรษที่ 16 และได้รับการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกตั้งแต่ปี 1993 และมีโบสถ์การฟื้นคืนพระชนม์ (Church of the Resurrection) ในอารามซูเชวิตซาที่ได้รับการเพิ่มชื่อเข้ามาในปี 2010 ผนังด้านนอกของโบสถ์ตกแต่งไปด้วยงานภาพเขียนปูนเปียกแสดงเรื่องราวทางศาสนา

แหล่งมรดกโลก[แก้]

ภาพ ชื่อ ที่ตั้ง สร้างเมื่อ ผู้ก่อตั้ง
โบสถ์การตัดศีรษะนักบุญยอห์น ผู้บัปติสต์ อาร์บอเร 1502 ลูกา อาร์บอเร
โบสถ์แม่พระมารีย์นิรมลเสด็จขึ้นสวรรค์ เมอเนิสตีเรอาฮูมอรูลุย 1530 ตออาเดร์ บูบูยอก
โบสถ์พระแม่รับสาร วาตรามอลดอวิตเซย์ 1532 เปตรู ราเรช
โบสถ์กางเขนชัยอันศักดิ์สิทธิ์ เปอเตรอวุตส์ 1487 ชเตฟันมหาราช
โบสถ์นักบุญนิโกลัส ปรอบอตา 1530 เปตรู ราเรช
โบสถ์นักบุญจอร์จ ซูชาวา 1522 บอกดันที่ 3
โบสถ์นักบุญจอร์จ วอรอเนตส์ 1488 ชเตฟันมหาราช
โบสถ์การฟื้นคืนพระชนม์ ซูเชวิตซา 1581 กียอร์กีเย มอวีเลอ

อ้างอิง[แก้]

Kocój E., Świątynie, postacie, ikony. Malowane cerkwie i monastyry Bukowiny Południowej w wyobrażeniach rumuńskich [Temples, persons, icons. Painted churches and monasteries of South Bucovina in Romanian imagology], Kraków 2006, Wydawnictwo Uniwersytetu Jagiellońskiego, ss. 444, 120 photos, https://www.academia.edu/24331662/%C5%9Awi%C4%85tynie_postacie_ikony._Malowane_cerkwie_i_monastyry_Bukowiny_Po%C5%82udniowej_w_wyobra%C5%BCeniach_rumu%C5%84skich_Temples_persons_icons._Painted_churches_and_monasteries_of_South_Bukovina_in_Romanian_imagology_Wydawnictwo_Uniwersytetu_Jagiello%C5%84skiego_Krak%C3%B3w_2006_s._440

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]