จีฟอร์ซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก GeForce)
หน่วยประมวลผลกราฟิกจีฟอร์ซ
ผู้ผลิตอินวิเดีย
เปิดตัว31 สิงหาคม พ.ศ. 2541 (25 ปี)
ประเภทการ์ดแสดงผล

จีฟอร์ซ (อังกฤษ: GeForce) เป็นตราสินค้า ของหน่วยประมวลผลกราฟิกส์ ออกแบบโดยอินวิเดีย โดยเมื่อปี พ.ศ. 2556 ได้มีวางขายทั้งหมด 12 แบบ ผลิตภัณฑ์จีฟอร์ซในช่วงแรกเป็นหน่วยประมวลผลกราฟิกส์สำหรับใส่เพิ่มบนบอร์ด, ใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกมในระดับสูง และสุดท้ายก็ได้ผลิตในหลากหลายรุ่นเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดในแต่ละระดับของราคา เป็นหน่วยประมวลผลกราฟิกส์ที่ใส่เพิ่มบนเมนบอร์ด เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการนำเทคโนโลยีของจีฟอร์ซไปใช้บนหน่วยประมวลผลที่ฝังตัวกับแอปพลิเคชัน สำหรับอุปกรณ์พกพาและมือถือ

ด้วยการผลิตหน่วยประมวลผลกราฟิกส์ อินวิเดีย จีฟอร์ซ และ เอเอ็มดี เรดีออน ได้เป็นคู่แข่งในการทำตลาดระดับบน ทำให้จีฟอร์ซขยับมาทำตลาดหน่วยประมวลผลกราฟิกส์เพื่องานอเนกประสงค์ หรือ GPGPU โดยจะขยายการทำงานของหน่วยประมวลผลกราฟิกส์แบบธรรมดาให้มากขึ้น เช่น การประมวลผลภาพ 3 มิติ, การทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถสั่งทำงานโค้ดแบบที่หน่วยประมวลผลกลางทำได้ ซึ่งมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่ต่างกัน

ที่มาของชื่อ[แก้]

ชื่อ "จีฟอร์ซ" ได้มาจากการประกวดที่จดโดยอินวิเดียในปี พ.ศ. 2541 ที่มีชื่อว่า "เนมแดทชิพ" (อังกฤษ: Name That Chip) ซึ่งทางบริษัทได้จัดขึ้นเพื่อประกวดการตั้งชื่อชิปใหม่ที่เป็นรุ่นต่อจาก "รีวาทีเอ็นที 2" มีผู้ส่งประกวดมากกว่า 12,000 ชื่อ โดยผู้ชนะ 7 ชื่อจะได้รับหน่วยประมวลผลกราฟิกส์รีวาทีเอ็นที 2 เป็นของรางวัล[1][2]

รุ่น[แก้]

ชิปจีฟอร์ซบนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์พกพา

จีฟอร์ซ 256[แก้]

เปิดตัวเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2541 จีฟอร์ซ 256 (เอ็นวี 10) เป็นชิปกราฟิกส์สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานด้านกราฟิกส์ เช่นการใช้แสงและเงาของรูป 3 มิติ แม้ว่าการรองรับเกม 3 มิติที่ใช้การแสดงผลสูงยังไม่ปรากฏในรุ่นนี้ ในช่วงแรก จีฟอร์ซ 256 ใช้ หน่วยความจำเอสดีอาร์เอสดีแรม หลังจากนั้นจะขายพร้อมกับดีดีอาร์เอสดีแรม ซึ่งเร็วกว่าเอสดีอาร์เอสดีแรม

จีฟอร์ซ 2 ซีรีส์[แก้]

จีฟอร์ซ 2 (เอ็นวี 15) (อังกฤษ: GeForce2 (NV15)) รุ่นแรกได้เปิดตัวเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2543 เป็นชิปกราฟิกส์ที่มีประสิทธิภาพสูง อินวิเดียได้เปลี่ยนการออกแบบเป็นหน่วยประมวลผลคู่ต่อแถว (4x2) ซึ่งสัญญาณนาฬิกาจะถี่ขึ้นกว่าจีฟอร์ซ 256 ถึง 2 เท่า หลังจากนั้น อินวิเดีย ได้เปิดตัว จีฟอร์ซ 2 เอ็มเอ็กซ์ (เอ็นวี 11) (อังกฤษ: GeForce2 MX (NV11)) โดยมีประสิทธิภาพคล้ายคลึงกับ จีฟอร์ซ 256 แต่มีราคาถูกกว่า ซึ่งเอ็มเอ็กซ์ผลิตมาเพื่อทำตลาดกลางถึงล่าง เพราะมีราคาที่คุ้มค่าและยังเป็นที่นิยมในการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เช่นเดียวกันกับผู้ใช้ ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน และ จีฟอร์ซ 2 อัลตรา (อังกฤษ: GeForce2 Ultra) เป็นรุ่นสูงสุดสำหรับซีรีส์นี้

จีฟอร์ซ 3 ซีรีส์[แก้]

จีฟอร์ซ 4 ซีรีส์[แก้]

จีฟอร์ซ เอฟเอกซ์ ซีรีส์[แก้]

จีฟอร์ซ 6 ซีรีส์[แก้]

จีฟอร์ซ 7 ซีรีส์[แก้]

จีฟอร์ซ 8 ซีรีส์[แก้]

จีฟอร์ซ 9 ซีรีส์ และ 100 ซีรีส์[แก้]

จีฟอร์ซ 200 ซีรีส์ และ 300 ซีรีส์[แก้]

จีฟอร์ซ 400 ซีรีส์ และ 500 ซีรีส์[แก้]

จีฟอร์ซ 600 ซีรีส์, 700 ซีรีส์ และ 800 เอ็ม ซีรีส์[แก้]

จีฟอร์ซ 900 ซีรีส์[แก้]

จีฟอร์ซ 10 ซีรีส์[แก้]

สถาปัตยกรรมในกราฟิคจีฟอร์ซ[แก้]

 โดยส่วนใหญ่นั้น การเอาซื่อในสถาปัตยกรรมในกราฟิคนั้น จะเอาตามชื่อของนักฟิสิกส์ โดยจะมีดังนี้

ชื่อของสถาปัตยกรรม ชื่อของนักฟิสิกส์ เปิดตัวในปี
เทสลา นิโคลา เทสลา 2006
แฟร์มี เอนรีโก แฟร์มี 2010
เคปเลอร์ โยฮันเนส เคปเลอร์ 2012
แมกซ์เวลล์ เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ 2014
ปัสกาล แบลซ ปัสกาล 2016
โวลตา อาเลสซานโดร โวลตา 2018
เทสลา ในที่นี้ จะไม่ใช่ เทสลามอเตอร์ส และ อินวิเดียเทสลา

อ้างอิง[แก้]

  1. "Winners of the Nvidia Naming Contest". Nvidia. 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2000-06-08. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. Taken, Femme (17 เมษายน 2541). "Nvidia "Name that chip" contest". Tweakers.net. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]