บีเอ็มที กรุป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก BMT Group)

บีเอ็มที กรุป ลิมิเต็ด (อังกฤษ: BMT Group Ltd) มีชื่อก่อนหน้าคือ บริติชแมริไทม์เทคโนโลยี (อังกฤษ: British Maritime Technology) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1985 จากการควบรวมกิจการของสมาคมวิจัยเรืออังกฤษในสหราชอาณาจักรและสถาบันการเดินเรือแห่งชาติ ในฐานะที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมสหสาขาวิชาชีพ, วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีระหว่างประเทศ[1] โดยเสนอบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการป้องกัน, พลังงาน, สิ่งแวดล้อม, การขนส่งทางทะเล, ความเสี่ยงและการประกันภัยทางทะเล, การขนส่งทางเรือและภาคการขนส่งทั่วไป สิ่งที่สืบช่วงของบริษัทมีมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง[2] สำนักงานใหญ่ของบีเอ็มทีตั้งอยู่ที่เทดดิงตัน มิดเดิลเซ็กส์ สหราชอาณาจักร[3]

บีเอ็มทีมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบ, การสนับสนุนการออกแบบ, ความเสี่ยงและการจัดการสัญญา รวมถึงการกู้เรือ บีเอ็มทีให้บริการผ่านบริษัทในเครือ 29 แห่งที่เน้นด้านภูมิศาสตร์, เทคโนโลยี และ/หรือภาคการตลาด บริษัทนี้มีพนักงานประมาณ 1,500 คนที่ทำงานจาก 66 สำนักงานใน 24 ประเทศ โดยมีฐานหลักอยู่ในยุโรป, อเมริกาเหนือ และเอเชียแปซิฟิก[1]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2017 ซาราห์ เคนนี ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของบริษัท[4] ซึ่งผลประกอบการประจำปีของบริษัทสำหรับปี ค.ศ. 2017 อยู่ที่ประมาณ 167 ล้านปอนด์[5]

ประวัติ[แก้]

เดิมทีเกิดจากการแปรรูปของสมาคมวิจัยการต่อเรือแห่งอังกฤษ (BSRA) และสถาบันการเดินเรือแห่งชาติ (NMI) กลุ่มวิศวกรรมบีเอ็มทีมีสิทธิสถานะปลอดภาษีในฐานะสมาคมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มานานกว่าทศวรรษ[1]

บีเอ็มที กรุป ลิมิเต็ด เป็นบริษัทจำกัดโดยหลักประกันและยึดหลักสมาชิก กองทรัสต์สิทธิประโยชน์สำหรับพนักงานบีเอ็มที (EBT) เป็นสมาชิกที่มีสิทธิออกเสียงแต่เพียงผู้เดียว การส่งเงินของผู้จัดการทรัสต์อีบีทีคือการกระทำเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของพนักงานทุกคนในระยะสั้น, กลาง และระยะยาว และตัวผู้จัดการทรัสต์เองไม่ได้รับผลประโยชน์ หากแต่สินทรัพย์ของบริษัทถูกจัดให้มีขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของพนักงาน[6]

โครงการที่โดดเด่น[แก้]

บีเอ็มทีได้รับชื่อเสียงในปี ค.ศ. 2003 เมื่อรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมเปิดเผยบทบาทสำคัญของบีเอ็มที ดีเฟนส์เซอร์วิส ในการออกแบบเรือบรรทุกอากาศยานในอนาคต[7] บริษัทเอื้ออำนวยความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบจำนวนมากภายในทีมตาเลซ เซเวแอ็ฟ ซึ่งการออกแบบได้นำไปสู่การเป็นพันธมิตรกับบีเออี ซิสเต็มส์ ส่วนโครงการอื่นคือการแปลงไทรเอิลแพลตฟอร์มลองโบว์ของกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักร เพื่อทำการทดลองทางทะเลในระบบต่อต้านขีปนาวุธอากาศหลัก (PAAMS) เพื่อติดตั้งกับเรือพิฆาตแบบ 45 ของสหราชอาณาจักร เช่นเดียวกับสิ่งเหล่านี้ การออกแบบเวเนเตอร์-110 ของบีเอ็มทีสำหรับเรือฟริเกตแบบ 31 ของราชนาวีอังกฤษถือว่าเป็นส่วนที่น่าจะได้รับการคัดเลือกมากที่สุด[8]

นอกวงการการป้องกัน บริษัทได้รับความสนใจรวมไปถึงการทดสอบลมของอาคารสูง เช่น ทเวนตีเฟิสต์เซนจูรีทาวเวอร์ และโรงแรมบุรญุลอะร็อบของดูไบ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "What We Do". BMT Group. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  2. "Heritage". BMT Group. สืบค้นเมื่อ 11 July 2018.
  3. "Head Office". BMT Group. สืบค้นเมื่อ 13 July 2018.
  4. "BMT News". BMT Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-11. สืบค้นเมื่อ 11 July 2018.
  5. "BMT Annual Report". BMT Annual Report 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-13. สืบค้นเมื่อ 13 July 2018.
  6. Rae, David (25 May 2006). "David McSweeney, finance director, British Maritime Technology". Financial Director. สืบค้นเมื่อ 31 December 2012.
  7. Geoffrey HoonSecretary of State for Defence (30 January 2003). "Future Aircraft Carrier". Parliamentary Debates (Hansard). House of Commons. col. 1026–1028.
  8. Allison, George (15 September 2016). "The Venator-110, could this be Britain's future light frigate?". UK Defence Journal. สืบค้นเมื่อ 10 February 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]