โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยวิจิตรศิลป
Thaivichitsilp Technological College
ตราสัญลักษณ์ของโรงเรียน
ที่ตั้ง
42 ซอยพหลโยธิน 35 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทร: 0-2512-1415-6 42
ข้อมูล
ชื่ออื่น-
ประเภทอาชีวศึกษา
คำขวัญข้าพเจ้า จะรักศิลปะ กระทำความดี มีวินัย ตั้งใจเรียน
สถาปนา-
ผู้ก่อตั้งโภคัย ว่องกสิกร
หน่วยงานกำกับสังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ
ระดับปีที่จัดการศึกษาชั้น ปวช. และ ปวส.
สีทอง-น้ำเงิน
เพลงเพลงมาร์ชโรงเรียน
เว็บไซต์[1]

วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยวิจิตรศิลป์ ก่อตั้งโดย ร.ท. โภคัย ว่องกสิกร (ยศในขณะนั้น) ปัจจุบันเป็นสถาบันเอกชนที่เปิดสอนในระดับอาชีวศึกษาในหลักสูตร ปวช. (ประกาศนียบัตรวิชาชีพ) และหลักสูตร ปวส. (ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง) โดยใช้หลักสูตรการสอนชั้น ปวช. เป็นหลักสูตรเดียวกับสถาบันในสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

ตราสัญลักษณ์วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยวิจิตรศิลป[แก้]

ประกอบด้วย ลายยอดกนก (เป็นเครื่องเร้าให้นักศึกษาใฝ่ดี และขยันหมั่นเพียรเรียนหาความรู้เพื่อเดินสู่ที่สูงและดีกว่า) , แผ่นสี่เหลี่ยม 4 แผ่น (หมายถึงเป็นโรงเรียนของมวลชนที่อ้าแขนต้อนรับเยาวชนจาก 4 ภาค เหนือ, ใต้, ตะวันออก, ตะวันตก) และ วงกลมล้อมรอบ (หมายถึงความรักสมัครสมาน แต่มีอุดมการณ์เพื่อชาติ)

หลักสูตรที่เปิดสอน[แก้]

  • หลักสูตรปวช. มี 3 สาขา คือ

1.สาขาวิจิตรศิลป วิชาที่มีการเรียนการสอน คือ วาดเส้น, จิตรกรรม, ประติมากรรม,คอมพิวเตอร์กราฟิก และอีกหลายประเภท

2.สาขาออกแบบ (เดิมใช้ชื่อว่าสาขาออกแบบประยุกต์ศิลป์) วิชาที่มีการเรียนการสอน คือ ออกแบบพาณิชยศิลป์, ออกแบบตกแต่งภายใน, ออกแบบผลิตภัณฑ์, ถ่ายภาพ, คอมพิวเตอร์กราฟิก

3.สาขาสถาปัตยกรรม วิชาที่มีการเรียนการสอน คือ ออกแบบสถาปัตยกรรม, เขียนแบบก่อสร้าง, วัสดุและวิธีการก่อสร้าง, การประเมินราคา

  • หลักสูตรปวส. มี 4 สาขาวิชา คือ

1. สาขาจิตรกรรม วิชาที่มีการเรียนการสอน คือ จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์

2. สาขาออกแบบตกแต่งภายใน วิชาที่มีการเรียนการสอน คือ ออกแบบตกแต่งภายใน, เขียนแบบตกแต่งภายใน

3. สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ วิชาที่มีการเรียนการสอน คือ ออกแบบนิเทศศิลป์, คอมพิวเตอร์กราฟิก

4. สาขาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม วิชาที่มีการเรียนการสอน คือ ออกแบบสถาปัตยกรรม, เขียนแบบสถาปัตยกรรม, สถาปัตยกรรมไทย, เทคโนโลยีทางการก่อสร้าง

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

ศิษย์เก่าของโรงเรียนมีทั้งศิลปินและช่างทางศิลปะ นักออกแบบ รวมไปถึงผู้สร้างงานสร้างสรรค์หลายประเภท เช่น ศักดา พัทธสีมา (ดา วงดนตรีอินคา) , มานะ ประเสริฐวงศ์ (อ้วน วง ไมโคร) , สันธาน เลาหวัฒนาวิทย์ (บอย วงไมโคร) เกษม นิธิมาภินันท์ (หนึ่ง วง ยังบลัด) สมพงษ์ ศิวิโรจ์ (สมาชิกวงดนตรีมาลีฮวนน่า), อังเคิล-อดิเรก วัฏลีลา (ผู้กำกับภาพยนตร์) , ปิ๊บ-รวิชญ์ เทิดวงศ์ (ดารานักแสดง) , อนุชัย ศรีจรูญพู่ทอง (นักถ่ายภาพชื่อดัง) เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล นักเขียนเจ้าของสำนักพิมพ์เศรษฐศิลป์, ภาณุ สมบูรณ์พสุธา (นักเขียนอิสระ) , ธงชัย ทองกันธม (ปิงปอง ไดอารี่ตุ๊ดซี่) และ มีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงอีกหลายด้าน,เปิ้ล ไอริณ ศรีแกล้ว นาธาน โอมาน, ศรีศิลป์ เอมเจริญ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]