โยฮัน ชเตราส์ (ผู้บุตร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โยฮัน ชเตราส์ ที่สอง
รูปปั้นราชาแห่งเพลงวอลซ์เหมือนมีชีวิต ที่สแตดพาร์ก ในกรุงเวียนนา

โยฮัน ชเตราส์ (เยอรมัน: Johann Strauß; 25 ตุลาคม ค.ศ. 1825 – 3 มิถุนายน ค.ศ 1899) บ้างเรียก โยฮัน ชเตราส์ที่ 2 เป็นคีตกวีชาวออสเตรีย ซึ่งบทประพันธ์เพลงวอลซ์ของเขาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เดอะ บลู ดานูบ

โยฮัน ชเตราส์ ผู้บุตร เป็นบุตรชายของโยฮัน ชเตราส์ ผู้พ่อ ซึ่งเป็นคีตกวีเช่นกัน น้องชายของเขา 2 คน คือ โยเซฟ ชเตราส์ กับ เอด๊วด ชเตราส์ ก็เป็นนักประพันธ์เพลง แต่โยฮันที่สองเป็นคนที่โด่งดังที่สุดในตระกูล เขาเป็นที่รู้จักในนามของ ราชาเพลงวอลซ์ ในช่วงที่เขายังมีชีวิตอยู่ และเป็นผู้สร้างให้เกิดกระแสความนิยมเพลงวอลซ์ในกรุงเวียนนา ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชเตราส์ได้กลายเป็น ราชาเพลงวอลซ์ เนื่องจากได้ปฏิวัติรูปแบบวอลซ์ด้วยการยกระดับเพลงระบำชาวนาอันต่ำต้อย ขึ้นมาเป็นเพลงเพื่อให้ความบันเทิงแก่บุคคลชั้นสูงในราชสำนักฮับส์บวร์กได้ เขาไม่เพียงแค่ปฏิวัติเพลงวอลซ์เท่านั้น แต่งานของเขายังโดดเด่นกว่าคีตกวีในยุคเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น โยเซฟ แลนเนอร์ และ โยฮัน ชเตราส์ ผู้พ่อ รวมทั้งยังได้สุขสำราญกับชื่อเสียงที่มากกว่าอีกด้วย เพลงโพลก้า กับเพลงมาร์ชของเขายังเป็นที่รู้จักกันดี รวมถึงจุลอุปรากร ชื่อว่า Die Fledermaus.

ประวัติ[แก้]

ชเตราส์เกิดที่กรุงเวียนนา บิดาของเขาไม่ต้องการให้เขาประกอบอาชีพนักดนตรีแต่อยากให้เป็นนายธนาคารมากกว่า อย่างไรก็ดี เขาได้หัดเล่นไวโอลินอย่างลับ ๆ ตั้งแต่วัยเด็กกับฟรานซ์ อามอน นักไวโอลินในวงดนตรีของพ่อ อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อบิดาทราบว่าเขาฝ่าฝืนคำสั่ง โยฮันที่สองเล่าถึงเหตุการณ์วันนั้นว่า เป็น "ฉากที่มีแต่ความรุนแรงและไม่น่าดูชม" และ "บิดาของเขาไม่ต้องการรับรู้ใด ๆ ทั้งสิ้นเกี่ยวกับแผนการทางดนตรีของเขา" มิใช่ว่าชเตราส์ผู้พ่อไม่ต้องการให้เกิดนักดนตรีคู่แข่ง แต่เขาต้องการให้บุตรของตนหลีกหนีจากชีวิตนักดนตรีเสียมากกว่า จนกระทั่งเมื่อบิดาทิ้งครอบครัวไปอยู่กับภรรยาน้อย เอมิล แทรมบุช จึงเปิดโอกาสให้โยฮันที่สองสามารถเริ่มอาชีพนักประพันธ์เพลงอย่างจริงจังได้ เมื่อเขามีอายุได้ 17 ปี

ชเตราส์ได้ศึกษา counterpoint และ เสียงประสาน จากนักทฤษฎีดนตรี ศาสตราจารย์โยอาคิม ฮอฟฟ์มันน์ ผู้เป็นเจ้าของโรงเรียนดนตรีเอกชน ความสามารถของเขาเป็นที่ประจักษ์แก่คีตกวี โยเซฟ เดร็คชเลอร์ ซึ่งเป็นครูสอนแบบฝึกหัดด้านเสียงประสานให้ ครูสอนไวโอลินอีกคนชื่ออันโตน โคลมันน์ เป็นผู้ฝึกสอนบัลเลต์ให้กับอุปรากรแห่งราชสำนักเวียนนา ก็ได้เขียนจดหมายแนะนำตัวให้เขาเป็นอย่างดี ด้วยจดหมายแนะนำที่ยอดเยี่ยมหลายฉบับ เขาได้เข้าพบผู้มีอำนาจในกรุงเวียนนาเพื่อขอใบอนุญาตเปิดการแสดง และตั้งวงดุริยางค์ของตนเองขึ้น โดยได้ว่าจ้างสมาชิกจากวงดนตรีต่าง ๆ ที่เล่นในผับ Zur Stadt Belgrad (แหล่งของนักดนตรีที่หางานทำ) มาร่วมวง อิทธิพลของโยฮัน ชเตราส์ ผู้พ่อ ทำให้สถานที่ต่าง ๆ ไม่กล้าว่าจ้างชเตราส์บุตร ด้วยเกรงว่าจะทำให้ชเตราส์ผู้พ่อโกรธ แต่ชเตราส์บุตรสามารถโน้มน้าวผู้บริหารของคาสิโนดอมมาเยอร์ ผู้จัดการสถาบันไฮท์ซิง ในกรุงเวียนนาเป็นผลสำเร็จ ทำให้เขาได้เริ่มเปิดการแสดง สื่อมวลชนต่างโหมเสนอข่าว "ชเตราส์ ปะทะ ชเตราส์" หรือการเผชิญหน้าระหว่างบุตรกับบิดา ซึ่งผู้เป็นพ่อเองก็ไม่ยอมไปเปิดการแสดงที่คาสิโนของนายดอมเมอเยอร์อีกตลอดชีวิต ด้วยความโกรธที่บุตรฝ่าฝืนความปรารถนาของเขา ซึ่งเป็นที่น่าประหลาดใจเนื่องจากสถาบันไฮท์ซิงเป็นที่ที่เขาประสบความสำเร็จในการแสดงหลายครั้งด้วยกัน

ผลงานของโยฮัน ชเตราส์ ที่สอง[แก้]

จุลอุปรากร[แก้]

อุปรากร[แก้]

บัลเลต์[แก้]

วอลซ์[แก้]

โพลก้า[แก้]

มาร์ช[แก้]

  • Kaiser Franz Josef Rettungs op. 126
  • Napoleon op. 156
  • Persischer op. 289
  • Egyptischer op. 335
  • Jubelfest op. 396
  • Deutschmeister Jubiläumsmarsch op. 470
  • Auf's Korn! op. 478

ภาพยนตร์[แก้]