แบบจำลองของโปร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แบบจำลองของบอร์)
แบบจำลองรัทเทอร์ฟอร์ด–โปร์ ของอะตอมไฮโดรเจน (Z = 1) หรือไอออนคล้ายไฮโดรเจน (Z > 1) มีอิเล็กตรอนประจุลบอยู่ในชั้นพลังงานของอะตอม โคจรเป็นวงกลมรอบนิวเคลียสอะตอมประจุบวกที่มีขนาดเล็ก อิเล็กตรอนที่กระโดดข้ามระดับชั้นพลังงานจะทำให้เกิดการแผ่หรือดูดซับพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าจำนวนหนึ่ง ()[1] วงโคจรที่อิเล็กตรอนสามารถเดินทางไปได้แสดงในภาพด้วยวงกลมสีเทา รัศมีจะเพิ่มขึ้นแบบ n2 โดยที่ n คือ เลขควอนตัมพื้นฐาน (principal quantum number) การเปลี่ยนระดับพลังงานจาก 3 → 2 อย่างที่แสดงไว้ในรูป จะทำให้เกิดเส้นแรกในอนุกรมบอลเมอร์ สำหรับอะตอมไฮโดรเจน (Z = 1) ผลที่เกิดคือโฟตอนในช่วงคลื่น 656 nm (แสงสีแดง)

ในการศึกษาฟิสิกส์อะตอม แบบจำลองของโปร์ (อังกฤษ: Bohr model) ที่นิลส์ โปร์นำเสนอเมื่อปี ค.ศ. 1913 อธิบายถึงภาพของอะตอมว่าคือนิวเคลียสขนาดเล็กมาก ๆ ที่มีประจุบวก ล้อมรอบไปด้วยอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่เป็นวงโคจรกลมรอบนิวเคลียสนั้นในลักษณะที่คล้ายคลึงกับโครงสร้างของระบบสุริยะ แต่อาศัยแรงไฟฟ้าสถิตในการดึงดูดกันแทนที่จะเป็นแรงโน้มถ่วง ถือเป็นการพัฒนาแบบจำลองอะตอมยุคก่อนหน้านี้คือ แบบจำลองคิวบิก (1902) แบบจำลองขนมปังลูกเกด (1904) แบบจำลองดาวเสาร์ (1904) และแบบจำลองรัทเทอร์ฟอร์ด (1911) แบบจำลองของโปร์เป็นการปรับแต่งเชิงควอนตัมฟิสิกส์จากแบบจำลองของรัทเทอร์ฟอร์ด ดังนั้นแหล่งข้อมูลหลายแห่งอาจเรียกแบบจำลองทั้งสองนี้รวม ๆ กันว่า "แบบจำลองรัทเทอร์ฟอร์ด–โปร์"

อ้างอิง[แก้]

  1. Akhlesh Lakhtakia (Ed.) (1996). "Models and Modelers of Hydrogen". World Scientific. ISBN 981-02-2302-1. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)

หนังสืออ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Linus Carl Pauling (1970). General Chemistry, Chapter 5-1(3rd ed). San Francisco: W.H. Freeman & Co.
  • Reprint: Linus Pauling (1988). General Chemistry, Chapter 5-1 (3rd ed). New York: Dover Publications. ISBN 0-486-65622-5.
  • George Gamow (1985). Thirty years that shook Physics, Chapter 2. Dover Publications.
  • Walter J. Lehmann (1972). Atomic and Molecular Structure: the development of our concepts, chapter 18. John Wiley and Sons.
  • Paul Tipler and Ralph Llewellyn (2002). Modern Physics (4th ed.). W. H. Freeman. ISBN 0-7167-4345-0.
  • Steven and Susan Zumdahl (2010). Chemistry (8th ed.), Ch7.4. Brooks/Cole. ISBN 978-0-495-82992-8.
  • Helge Kragh. "Conceptual objections to the Bohr atomic theory — do electrons have a "free will" ?". European Physical Journal H. doi:10.1140/epjh/e2011-20031-x.