จอห์น เฮอร์เชล
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
จอห์น เฮอร์เชล (อังกฤษ: John Herschel) (7 มีนาคม ค.ศ. 1792-11 พฤษภาคม ค.ศ. 1871) นักคณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นผู้คิดค้นกระบวนการไซยาโนไทป์ (Cyanotype) ที่เป็นต้นแบบของกระบวนพิมพ์เขียว (Blue Print) ที่พัฒนาต่อกันมาใช้ในการทำสำเนาแบบพิมพ์เขียว หรือกระดาษคาร์บอนพิมพ์ดีด ที่ใช้กันในปัจจุบันนี้ เนื่องจากว่าสมัยนั้นการบันทึกข้อมูลต้องเขียนด้วยลายมือ และหากต้องการสำเนาก็ต้องคัดลอกซ้ำให้เหมือนเดิม ทำให้ต้องใช้เวลามากขึ้นไป เฮอร์เชล จึงพยายามคิดวิธีการทำสำเนาขึ้นนั่นเอง ในทางการถ่ายภาพ เป็นผู้แนะนำให้ทัลบอท ผู้คิดค้นกระบวนการถ่ายภาพทัลบอทไทป์ (หรือเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า กระบวเนกาทิฟโพสิทิฟ) ให้ใช้ "ไฮโป" ในการคงสภาพให้ภาพติดถาวร ในยุคแรกของการคงสภาพนั้นใช้น้ำเกลือเข้มข้นในการคงสภาพ นอกจากนั้นยังเป็นผู้บัญญัติศัพท์ที่ใช้ในทางการถ่ายภาพ คือคำว่า "photograph" "negative" และ "positive"
จอห์น เฮอร์เชล เป็นลูกชายของวิลเลียม เฮอร์เชล นักดาราศาสตร์ ซึ่งค้นพบดาวยูเรนัส
ประวัติ
[แก้]เมื่อ John Herschel เกิดในปี1792 พ่อของเขามีอายุได้ 55 ปีและแม่มีอายุ 42 ปีพวกเขาอาศัยอยู่ด้วยกันพร้อมด้วย Coroline Herschel เป็นน้องสาวของ William Herschel Coroline Herschel เป็นคนที่สำคัญอีกคนหนึ่งที่มีส่วนช่วยอบรมเลี้ยงดู John Herschel William Herschel ไม่ได้มีความสามารถแต่ด้านดาราศาสตร์เท่านั้นแต่ทั้งเขาและน้องสาวยังมีความสามารถพิเศษทางด้านดนตรีอีกด้วย
เขาทั้งคู่ได้ใช้ความสามารถทางด้านดนตรีเพื่อหารายได้ ครั้งที่เพิ่งมาอาศัยอยู่ที่ประเทศอังกฤษ John Herschel มักที่จะขึ้นไปบนหอดูดาวพร้อมด้วยกล้องโทรทัศน์ขนาด 40 ฟุต เพื่อเตรียมที่จะเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย John Herschel ได้เข้ามาเรียนที่ St.John’s College Cambridge ในปี 1809 เขาได้มีเพื่อนชื่อ Peacock และ Babbage ปี 1812 ทั้ง 3 ได้ร่วมกันศึกษาวิเคราะห์วิจัยสังคมโดยมีจุดมุ่งหมายที่เผยแพร่หลักคณิตศาสตร์ตามวิธีของชาวยุโรป
ผลงาน
[แก้]ผลงานในวัยเรียน
[แก้]- ในมหาวิทยาลัยของอังกฤษซึ่งเป็นการดีที่จุดมุ่งหมายของพวกเขา ได้นำมาสู่ทฤษฏีทางคณิตศาสตร์เนื่องจากมหาวิทยาลัยของสกอตแลนด์ได้เจริญก้าวหน้ามากกว่ามหาวิทยาลัยของอังกฤษในเวลานั้น
- หลังจากจบการศึกษา John Herschel ได้รับเลือกจากเพื่อนๆที่ St.John’s College Cambridge ให้ได้รับรางวัลชนะเลิศ Smith
- John Herschel ได้จบการศึกษาในปี 1813 ด้วยผลคะแนนอันดับ 1 และPeacock ก็ตามมาเป็นที่ 2 ขณะที่ Babbage
ผลงานช่วงเริ่มทำงาน
[แก้]จอห์น เฮอร์เชล (John Herschel) นักคณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นผู้คิดค้นกระบวนการไซยาโนไทป์ (Cyanotype) ที่เป็นต้นแบบของกระบวน พิมพ์เขียว (Blue Print) ที่พัฒนาต่อกันมาใช้ในการทำสำเนาแบบพิมพ์เขียว หรือ กระดาษคาร์บอน พิมพ์ดีด ที่ใช้กันในปัจจุบันนี้ เนื่องจากว่าสมัยนั้นการบันทึกข้อมูลต้องเขียนด้วยลายมือ และหากต้องการสำเนาก็ต้องคัดลอกซ้ำให้เหมือนเดิม ทำให้ต้องใช้เวลามากขึ้นไป เฮอร์เชล จึงพยายามคิดวิธีการทำสำเนาขึ้นนั่นเอง ในทางการถ่ายภาพ เป็นผู้แนะนำให้ทัลบอท ผู้คิดค้นกระบวนการถ่ายภาพทัลบอทไทป์ (หรือเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า กระบวเนกาทิฟโพสิทิฟ) ให้ใช้ "ไฮโป" ในการคงสภาพให้ภาพติดถาวร ในยุคแรกของการคงสภาพนั้นใช้น้ำเกลือเข้มข้นในการคงสภาพ นอกจากนั้นยังเป็นผู้บัญญัติศัพท์ที่ใช้ในทางการถ่ายภาพ คือคำว่า "photograph" "negative" และ "positive"
Sir John Herschel ได้คิดตั้งชื่อของดวงจันทร์ต่างๆ ของดาวเสาร์อย่างเป็นทางการ การที่ Herschel รู้ว่า Titan เป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของสุริยจักรวาล เขาจึงเรียกมันว่า Titan ซึ่งแปลว่า ยักษ์ใหญ่ แต่การสำรวจในเวลาต่อมาแสดงให้เห็นว่า ดวงจันทร์ชื่อ Ganymede ของดาวพฤหัสบดีใหญ่กว่า Titan คือ Ganymede มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 5,280 กิโลเมตร ในขณะที่ Titan มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ 5,150 กิโลเมตร และปี 1839 Sir John Herschel ได้ผลิต glass photograph เป็นชิ้นแรก และเขาเป็นคนแรกที่ทำกระดาษชนิดเงินคลอไรด์ได้