ข้ามไปเนื้อหา

เครื่องยนต์สี่จังหวะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เครื่องยนต์ 4 จังหวะ)
ภาพเคลื่อนไหวแสดงการทำงานของเครื่องยนต์สี่จังหวะ
1 ‐ ดูดไอดี
2 ‐ อัดไอดี
3 ‐ จุดระเบิด
4 ‐ คายไอเสีย

เครื่องยนต์สี่จังหวะ (อังกฤษ: four-stroke engine) เป็นเครื่องยนต์สันดาปภายในประเภทหนึ่ง ซึ่งลูกสูบมีช่วงชักเต็มกระบอกสูบอยู่สี่ชัก ได้แก่:

  1. ดูด (Intake): ลูกสูบเลื่อนลง สูบไอดีเข้ามา ลิ้นไอดีเปิด เพื่อดูดไอดีเข้ามาในกระบอกสูบ ลิ้นไอเสียปิด
  2. อัด (Compression): ลูกสูบเลื่อนขึ้น จากศูนย์ตายล่าง ขึ้นสู่ศูนย์ตายบน ลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียปิดสนิท ไอดีถูกแรงดันอัดอย่างรวดเร็ว จนอุณหภูมิสูงถึง 700-900 องศาเซลเซียส
  3. ระเบิด (ignite): ลูกสูบเลื่อนขึ้นไปกระแทกหัวเทียน(ในเครื่องยนต์เบนซิน)จุดประกายไฟเผาไหม้ไอดี เกิดการระเบิดขึ้นในห้องเผาไหม้ แรงระเบิดทำให้ลูกสูบเลื่อนลง ทำให้เพลาข้อเหวี่ยงเกิดการหมุน เครื่องยนต์ได้พลังงานในช่วงชักนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกล
  4. คาย (Exhaust): ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้น ลิ้นไอดีปิด ลิ้นไอเสียเปิด แก๊สไอเสียออกจากกระบอกสูบผ่านลิ้นไอเสีย, ท่อไอเสีย และออกสู่ชั้นบรรยากาศภายนอกเครื่องยนต์

ไอดีคือส่วนผสมของไอระเหยหรือละอองเชื้อเพลิงผสมกับอากาศ ไอดีจะถูกดูดเข้ากระบอกสูบหรือฉีดเข้ากระบอกสูบโดยหัวฉีดในช่วงชักดูด และไอดีจะถูกอัดให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 700-900 องศาเซลเซียส แล้วไอดีถูกจุดระเบิดโดยประกายไฟแรงดันประมาณ 25,000 โวลต์จากเขี้ยวหัวเทียน เรียกช่วงชักนี้ว่าช่วงชักระเบิด หรือ "ช่วงชักงาน" แรงระเบิดทำให้ลูกสูบเลื่อนลง เครื่องยนต์ได้งานในช่วงชักนี้ ทำให้เพลาข้อเหวี่ยงเกิดการหมุน เป็นการเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกล ช่วงชักคายลูกสูบเลื่อนขึ้น ลิ้นไอดี "ปิด" ลิ้นไอเสีย "เปิด" ไอเสียออกจากกระบอกสูบทางลิ้นไอเสียผ่านท่อไอเสียออกสู่ภายนอก เครื่องยนต์ทำงานครบ 4 ช่วงชัก

อ้างอิง

[แก้]

อาจารย์ศราวุธ จันไตรรัตน์ ตึกอุตสาหกรรม ชั้นที่ 1 ห้องพักอาจารย์สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยการอาชีพนาหว้า มหาวิทยาลัยนครพนม