มิล็อช ออบิลิช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มีโลช โอบิลิช)
มิล็อช ออบิลิช
ภาพวาดโดยอาเล็กซานดาร์ ดอบริช ค.ศ. 1861
เกิดไม่ทราบ
เสียชีวิต28 มิถุนายน ค.ศ. 1389
ทุ่งคอซอวอ เขตบรางกอวิช
อาชีพอัศวิน
มีชื่อเสียงจากการลอบสังหารสุลต่านมูรัดที่ 1

มิล็อช ออบิลิช (เซอร์เบีย: Милош Обилић / Miloš Obilić, ออกเสียง: [mîloʃ ôbilit͡ɕ]) เป็นอัศวินเซอร์เบียในตำนานที่มีชื่อเสียงจากการรับใช้เจ้าชายลาซาร์ในช่วงการรุกรานเซอร์เบียของออตโตมันในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 เขาไม่ได้รับการกล่าวถึงในเอกสารร่วมสมัย แต่ปรากฏอย่างเด่นชัดในยุคหลังผ่านบันทึกยุทธการที่คอซอวอเมื่อ ค.ศ. 1389 ในฐานะผู้ลอบสังหารสุลต่านมูรัด[1] แม้ว่าชื่อผู้ลอบสังหารคนนี้ยังไม่ปรากฏในแหล่งข้อมูลจนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 การเผยแพร่เรื่องราวการลอบสังหารมูรัดในแหล่งข้อมูลฟลอเรนซ์ เซอร์เบีย ออตโตมัน และกรีก เสนอแนะว่าเรื่องราวดังกล่าวแพร่กระจายอย่างกว้างขวางทั่วคาบสมุทรบอลข่านหลังจากเหตุการณ์นั้นภายในครึ่งศตวรรษ

แม้ว่าชื่อดั้งเดิมของออบิลิชคือ "มิล็อช กอบิลิช" (Милош Кобилић / Miloš Kobilić) แต่ก็ปรากฏชื่อของเขาในรูปแบบอื่น ๆ ในแหล่งข้อมูลประวัติศาสตร์ต่าง ๆ และไม่เป็นที่กระจ่างว่าเขามีตัวตนจริงหรือไม่ แต่ตระกูลลาซาร์ที่เสริมสร้างการควบคุมทางการเมืองของตน "ให้กำเนิดเรื่องปรัมปราคอซอวอ" ซึ่งรวมถึงเรื่องราวออบิลิช[2] เขากลายเป็นบุคคลสำคัญในมหากาพย์เซอร์เบียที่เขาได้รับการเลื่อนขั้นถึงระดับวีรบุรุษแห่งชาติผู้สูงศักดิ์ที่สุดในคติชนเซอร์เบียสมัยกลาง การกระทำของมิล็อชกลายเป็นส่วนสำคัญของประเพณีเซอร์เบียที่เกี่ยวกับยุทธการที่คอซอวอ ร่วมกับการพลีชีพของเจ้าชายลาซาร์และข้อกล่าวหาการทรยศของวูก บรางกอวิช ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มิล็อชได้รับการยกย่องเป็นนักบุญในคริสตจักรเซอร์เบีย

มิล็อชยังเป็นที่จดจำในมหากาพย์แอลเบเนียจากคอซอวอในชื่อ "มิลลอช กอปีลีชี" (แอลเบเนีย: Millosh Kopiliqi) และกล่าวกันว่าบ้านเกิดของเขาอยู่ในภูมิภาคเดรนิตซาที่มีหมู่บ้านชื่อกอปีลิช (Kopiliq) ตั้งอยู่[3][4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Battle of Kosovo | Summary". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-16.
  2. Judah (2009). The Serbs. Yale University Press. p. 32. ISBN 978-0-300-15826-7.
  3. Schwartz, Stefan (2000). Kosovo: Background to a War. Anthem Press. p. 38. ISBN 978-1898855569. The tale told to us by Berisha corresponds to an Albanian - language Kosovo ballad recorded by the folklorist G. Elezović in the 1920s and later commented upon anew by Lord . Indeed, Lord treats the tale of Murat and Milos Kobilić as a mainly Albanian folk expression, tracing its major elements to Albanian oral traditions and noting their absence from the canon elaborated by the famous Serb linguist Vuk Stefanović Karadžić. Lord argues that two traditions, Slav and Albanian, developed independently but then borrowed from each other, meeting in the Sandžak region. Cultural influences went in both directions with the story of the old woman and her advice to the Turks being considered by Lord as essentially Albanian but appearing as far north as eastern Croatia. Lord argued persuasively that this folk image emerged from ancient Albanian lore associated with the land and the origins of rivers.
  4. Di Lellio 2013, p. 155:Kopiliq is believed to hail from a village by the same name in Drenica, a central and rural area of Kosovo, famous for its rebelliousness. He plays the role, together with historical characters from the same region, of establishing an uninterrupted genealogy of heroes through history.

ข้อมูล[แก้]