ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นาเกลือ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{ต้องการอ้างอิง}}{{รายการอ้างอิง}}

'''นาเกลือ''' คือพื้นที่สำหรับผลิต[[เกลือ]] คล้าย[[นาข้าว]]แต่ไม่ได้ปลูกพืช มีมากในบริเวณพื้นที่ติด[[ทะเล]] เช่น ตำบลบางหญ้าแพรก นาโคก บางโทรัด บ้านบ่อ บางกระเจ้า ชายทะเลของ[[สมุทรสาคร]] เป็นดินเลนมีคุณสมบัติสามารถขังน้ำไม่ให้ซึมลงดินได้ นาเกลือที่ได้มาตรฐานต้องมีเนื้อที่ไม่ควรน้อยกว่า 25 ไร่ เพราะต้องใช้พื้นที่ในการตากน้ำจำนวนมาก

== การทำนาเกลือ ==
การทำนาเกลือมีกรรมวิธีเป็นขั้นตอนประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้

# '''นาปลง''' เป็นนาขั้นตอนแรก ตากน้ำเค็มไว้ประมาณ 10-15 วัน เมื่อเริ่มตกผลึกเป็นเกลือหนาประมาณ 1 นิ้ว ก็จะเริ่ม รื้อเกลือ โดยใช้ "คฑารื้อ" แซะให้เกลือแตกออกจากกันแล้วใช้ "คฑาแถว" ชักลากเกลือมากองรวมกันเป็นแถวๆ จากนั้นใช้ "คฑาสุ้ม" โกยเกลือมารวมเป็นกองๆ เหมือนเจดีย์ทราย เพื่อให้เกลือแห้งน้ำ จากนั้นจะหาบเกลือลงเรือบรรทุกล่องไปตาม "แพรก" หรือคลองซอยเล็กๆ แล้วหาบขึ้นไปเก็บไว้ในลานเกลือหรือฉางเกลือรอการจำหน่ายต่อไป
# '''นาเชื้อ''' เป็นที่สำหรับรอให้เกลือตกผลึก ใช้สำหรับเก็บน้ำทะเลเพื่อป้องกันให้นาปลง บางครั้งถ้าเกลือราคาดี อาจใช้นาเกลือทำเกลือทำเกลือเหมือนนาปลง แต่ต้องเสียเวลาและสิ้นเปลืองค่าแรงในการหาบเกลือเก็บไว้ในฉางเนื่องจากอยู่ไกลจากลำคลอง
# '''นาตาก''' พื้นที่สุดท้ายที่จะได้ผลิตผลจากน้ำทะเล คือ เกลือสมุทร จะอยู่จดชายทะเล มีขนาดใหญ่มาก ตั้ง[[ระหัด]]เพื่อใช้วิดน้ำทะเลจากรางน้ำทะเลเข้านาตาก

ชาวนาเกลือจะเริ่มทำเกลือประมาณเดือนตุลาคม หรือพฤศจิกายน ซึ่งเป็นปลายฤดูฝนเพราะต้องอาศัยน้ำฝนช่วยในการละเลงนา ปรับระดับให้เสมอกันโดยใช้ลูกกลิ้งซึ่งทำด้วยไม้ยาวประมาณ 2 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 เซนติเมตร หนักประมาณ 100 กิโลกรัม ปัจจุบันนำเครื่องจักรเข้ามาช่วย นาปลงแต่ละกระทงจะตองกลิ้งประมาณ 4-5 วัน การไขน้ำเข้าสู่นาปลงจะไขตอนบ่าย พื้นนาจะไม่แตกระแหง น้ำที่ไขเข้าต้องสูงกว่าพื้นนาประมาณ 4-5 นิ้ว เพื่อให้เกลืกตกผลึกช้า เม็ดเกลือจะแน่นไม่โพลงทำให้เกลือมีความเค็มสูง ในการตกผลึกของเกลือ เมื่อน้ำเข้มข้น 20-22 ดีกรีโบเม่ จะได้[[เกลือจืด]] (Calcium) มีลักษณะเหมือนทรายเม็ดใหญ่ ๆ ตกจมปนกับดิน ชาวนาจะเก็บเกลือจืด เมื่อเลิกทำนาเกลือแล้ว เมื่อความเข้มข้นสูง 25-27 ดีกรีโบเม่ เป็นระยะที่เกลือเค็มตกมากที่สุด ถ้าความเข้มข้นเกิน 27 ดีกรีโบเม่ จะเกิดการตกผลึกของ[[ดีเกลือ]] (Magnesium) ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดความชื้น ดีเกลือจะตกผลึกในช่วงกลางคืนเมื่อน้ำในนาปลงเย็น

นอกจากการทำนาเกลือนี้แล้วยังมีการทำ[[นาเกลือพลาสติก]]อีกด้วย
[[ไฟล์:B1 699.jpg‎ |thumb|right|การเก็บเกลือ<ref>http://www.patongbeachthailand.com/thai/2115/699.shtml</ref>]]

== การเก็บเกลือ ==
การเก็บเกลือ หรือรื้อเกลือ ส่วนมากทำในตอนเช้าหรือตอนเย็น เพราะอากาศไม่ร้อน นาปลงที่จะรื้อ[[เกลือ]]ได้จะต้องมีน้ำขังให้มากเพราะจะช่วยล้างเกลือ [[ชาวนา]]จะใช้ไม้รุนซึ่งทำด้วยโคน[[ไม้ไผ่]] หรือไม้กระบอกผ่าซีก ยาวประมาณครึ่งเมตรใช้ไม้รวกเป็นด้ามยาวประมาณ 2 เมตร เกลือจะแตกแยกออกเป็นเมล็ดเกลือ นา 1 กระทง จะชักเกลือเป็นแถวได้ประมาณ 5 - 15 แถว และกระต่อมเกลือให้เป็นกอง ๆ เหมือน[[เจดีย์]] แถวหนึ่งประมาณ 12-18 กอง แล้วปล่อยน้ำในนาออกสู่[[ลำกระโดง]]อาจนำมาใช้ปลงเกลือได้อีก เมื่อไขน้ำออกหมดแล้วให้ทิ้งไว้ประมาณครึ่งวัน หรือ 1 วัน เพื่อให้เกลือแห้งมีความชื้นน้อย การหาบเกลือใช้แรงงานคนหาบด้วยบุ้งกี๋เก็บเกลือไว้ในฉาง อาชีพทำนาเกลือเป็นอาชีพที่รัฐบาลไทยสงวนไว้สำหรับคนไทย จังหวัดสมุทรสาครเริ่มทำอย่างจริงจังประมาณ พุทธศักราช 2478 โดยการนำของ [[ขุนสมุทรมณีรัตน์]]

== การเก็บเกลือของนาพลาสติก ==
การเก็บของนาพลาสติกไม่จำเป็นต้องเปิดน้ำออกขณะรื้อเกลือ เพราะการปูพลาสติกจะไม่มีดินจึงไม่ต้องล้างเกลือเหมือนนาดิน สามารถที่จะรื้อเกลือที่ตกผลึกตอได้เลย เมื่อทำให้เกลือเป็นลอมเกลือคล้ายเจดีย์แล้วจะใช้ช้อนเกลือตักใส่รถเข็นถ่ายเข้ายุ้งเก็บเกลือ รถเข็นและช้อนตักเกลือจะเป็นพลาสติกอย่างดีและหนา ด้ามจะทำด้วยไม้เพื่อป้องกัน[[สนิม]]

== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}


[[หมวดหมู่:เกษตรกรรม]]
[[หมวดหมู่:เกษตรกรรม]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:01, 23 มกราคม 2562