ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไบโอดีเซล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:BDF Bottles.JPG|thumb|ไบโอดีเซล บรรจุขวด]]
'''ไบโอดีเซล''' ({{lang-en|biodiesel}}) เป็น[[เชื้อเพลิง]]ดีเซลที่ผลิตจากแหล่ง[[ทรัพยากรหมุนเวียน]] เช่น [[น้ำมันพืช]] ไขมันสัตว์ หรือ[[สาหร่าย]] ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิง[[ดีเซล]]ทางเลือก นอกเหนือจากดีเซลที่ผลิตจาก[[ปิโตรเลียม]] โดยมีคุณสมบัติ[[การเผาไหม้]] เหมือนกับดีเซลจากปิโตรเลียมมาก และสามารถใช้ทดแทนกันได้

คุณสมบัติสำคัญของไบโอดีเซลคือ สามารถย่อยสลายได้เอง ตาม[[กระบวนการชีวภาพในธรรมชาติ]] และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

== นิยาม ==

ไบโอดีเซลเป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงดีเซล จัดเป็นสารประเภท[[เอสเทอร์]]ทำจากน้ำมันพืชผ่านกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่ากระบวนการ[[ทรานส์เอสเตอริฟิเคชัน]] (Transesterification Process) โดยให้น้ำมันพืชทำปฏิกิริยากับ[[แอลกอฮอล์]] เช่น[[เมทานอล]] หรือ[[เอทานอล]] และมีด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา มีลักษณะเป็นเอสเตอร์ของกรดไขมัน เรียกว่า Fatty Acid Methyl Ester

การเรียกชื่อประเภทของไบโอดีเซลขึ้นกับชนิดของแอลกอฮอล์ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา เช่น [[เมทิลเอสเตอร์]] เป็นเอสเตอร์ที่ได้จากการใช้เมทานอลเป็นสารในการทำปฏิกิริยา หรือเอทิลเอสเตอร์ เป็นเอสเตอร์ที่ได้จากการใช้เอทานอล เป็นสารในการทำปฏิกิริยา เป็นต้น<ref name="วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี">พิศมัย เจนวนิชปัญจกุล, คุยเฟื่องเรื่องวิทย์, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปีที่ 20 ฉบับที่ 3, 2548, หน้า 12-16</ref> ไบโอดีเซลแบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือ<ref>อีลีหย๊ะ สนิโซ เชิดตระกูล หอมจำปา และ สูรายา เจ๊ะเต๊ะ. [http://www.yru.ac.th/e-journal/file/pdf_53.pdf ความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานความร้อนและความหนืดของน้ำมันพืชใช้แล้วผสมกับน้ำมันดีเซล]. วารสาร[[มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา]]. ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2551.
</ref>
* ไบโอดีเซลที่ได้จาก[[น้ำมันพืช]]หรือ[[ไขมันสัตว์]]ซึ่งสามารถนำมาใช้กับ[[เครื่องยนต์ดีเซล]]ได้เลย
* ไบโอดีเซลแบบผสม เป็นการนำน้ำมันพืชหรือน้ำมันจากสัตว์มาผสมกับ[[น้ำมันก๊าด]] หรือ[[น้ำมันดีเซล]] ก่อนนำไปใช้เช่น [[โคโคดีเซล]] (Coco-diesel) และ[[ปาล์มดีเซล]] (Palm-diesel) เป็นต้น
* ไบโอดีเซลแบบเอสเตอร์ ได้จากปฏิกิริยาเคมีที่เรียกว่า [[ทรานส์เอสเตอริฟิเคชัน]] (Transesterification process) ซึ่งนำแอลกอฮอล์มาทำปฏิกิริยากับน้ำมันจากพืชหรือสัตว์โดยใช้กรด หรือด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

== การผลิต ==

ในปัจจุบัน ต้นทุนการผลิตไบโอดีเซล ยังมีราคาแพงกว่าดีเซลจากปิโตรเลียมเมื่อไม่นับรวมถึงอัตราภาษีสรรพสามิต ใน[[ประเทศเยอรมนี]] ในปี[[พ.ศ. 2548]] มีกำลังการผลิต 2 ล้านตันต่อปี ราคาจำหน่ายตามสถานีประมาณ 45 บาทต่อลิตร ซึ่งมีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซลเพราะมีการยกเว้นภาษีสรรพสามิต

ประเทศไทยริเริ่มโครงการไบโอดีเซลเมื่อ ปี[[พ.ศ. 2543]] และได้มีการติดตั้งระบบผลิตเอทธิลเอสเตอร์โดย[[โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา]] ตั้งแต่ [[7 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2547]] และได้มีการพัฒนาโครงการไบโอดีเซลชุมชนที่ จ.เชียงใหม่ ปัจจุบัน ([[มีนาคม]] [[พ.ศ. 2549]]) มีไบโอดีเซล 5% จำหน่ายในสถานีของ ปตท. และบางจาก ในกทม. และเชียงใหม่ (ตามโครงการล้านนาฟ้าใสไบโอดีเซล) ทั้งหมด 15 สถานี

== วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ==
# [[น้ำมันปาล์มดิบ]]
# น้ำมันมะพร้าว ราคาวัตถุดิบต่ำ แต่เสถียรภาพด้านปริมาณและมูลค่าเพิ่มไม่ดีเท่าน้ำมันปาล์มดิบ
# [[น้ำมันสบู่ดำ]]
# [[น้ำมันดอกทานตะวัน|น้ำมันดอทานตะวัน]]
# น้ำมัน[[แรพซีด]] (rape seed oil)
# [[น้ำมันถั่วเหลือง]]
# [[น้ำมันถั่วลิสง]]
# [[น้ำมันละหุ่ง]]
# [[น้ำมันงา]]
# [[น้ำมันพืช]]ใช้แล้ว มีปัญหาเรื่องการปนเปื้อนในรูปของน้ำและตะกอน

== ขั้นตอนการผลิต ==

=== การทำไบโอดีเซล ===
# ขั้นตอนจากพืชน้ำมันไปเป็นน้ำมันพืช
# ขั้นตอนจากน้ำมันพืชไปเป็นไบโอดีเซล

=== ขั้นตอนในการผลิตไบโอดีเซล ===
# นำน้ำมันพืชที่ได้จากพืชน้ำมันมาผสมทำปฏิกิริยากับ[[เมทานอล]] (methanol) กับสารเร่งปฏิกิริยา ซึ่งจะได้เป็นไบโอดีเซล กับกลีเซอรีน
# แยก[[กลีเซอรีน]]ออก ทำความสะอาดไบโอดีเซล

== มาตรฐานภาพ ==

# ตัวจุดวาบไฟ (flash point) โดยปกติมาตรฐานจะอยู่ที่ 130 ถ้าหากสูงกว่านี้ คือเป็น 150 หรือ 170 จะทำให้รถสตาร์ทติดง่าย
# ความบริสุทธิ์ของไบโอดีเซล

== ข้อแตกต่างระหว่างไบโอดีเซลกับน้ำมันดีเซล ==

*# ลดการนำเข้าน้ำมันปิโตรเลียมทำให้ประหยัดเงินตราไว้ในประเทศ
*# มีค่าซีเทน (Cetane Index) สูงกว่าน้ำมันดีเซลทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทติดง่ายเครื่องยนต์เดินเรียบ
*# มีความปลอดภัยในการใช้งานมากกว่าน้ำมันดีเซลเพราะจุดติดไฟสูงกว่า (น้ำมันดีเซล 69 องศาเซลเซียสน้ำมันไบโอดีเซล 150 องศาเซลเซียส) มีกลิ่นสะอาดไม่เป็นอันตรายเพราะผลิตจากไขมันพืชและสัตว์
*# ลดควันดำถึง 75 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันดีเซล
*# ลดมลภาวะจากคาร์บอนมอนอกไซด์
*# ไม่มีกำมะถันจึงไม่ก่อให้เกิดสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เหมือนน้ำมันดีเซล
*# จุดวาบไฟของน้ำมันดีเซลต่ำ ประมาณ 50 กว่า ในขณะที่จุดวาบไฟของน้ำมันไบโอดีเซล ประมาณ 100 กว่าขึ้นไป

== ผลต่อการทำงานของรถยนต์ ==
: ไบโอดีเซลช่วยหล่อลื่นแทนกำมะถัน และลดฝุ่นละอองหรือควันดำ ที่เรียกว่า particulate matter ให้ต่ำลง โดยไม่ทำให้เครื่องยนต์อุดตันเพราะเผาไหม้หมดดอ<ref name="วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี">พิศมัย เจนวนิชปัญจกุล, คุยเฟื่องเรื่องวิทย์, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปีที่ 20 ฉบับที่ 3, 2548, หน้า 12-16</ref>
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์|Biodiesel}}
* [http://www.biodiesel.eng.psu.ac.th/ สถานวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนจากน้ำมันปาล์มและพืชน้ำมัน]
* [http://www.navy.mi.th/dockyard/biodesel.html ขั้นตอนการผลิตไบโอดีเซล] เว็บไซต์ กรมอู่ทหารเรือ
* [http://www.biodiesel.org/ คณะกรรมการไบโอดีเซลแห่งชาติ, สหรัฐอเมริกา]
** [http://www.biodiesel.org/buyingbiodiesel/retailfuelingsites/default.shtm แผนที่แสดงจุดขายปลีกไบโอดีเซลในสหรัฐฯ]
* [http://www.biodiesel.org.au/ สมาคมไบโอดีเซลออสเตรเลีย]
* [http://www.greenfuels.org/biodiesel.html ข้อมูลไบโอดีเซล สมาคมเชื้อเพลิงหมุนเวียนแคนาดา]

{{พลังงาน}}
[[หมวดหมู่:พลังงาน]]
[[หมวดหมู่:พลังงาน]]
[[หมวดหมู่:พลังงานหมุนเวียน]]
[[หมวดหมู่:พลังงานหมุนเวียน]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:53, 18 มกราคม 2560