สารสำคัญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สารสำคัญ หรือ สารสำคัญในสมุนไพร ( chemotype บางครั้ง chemovar ) เป็นเอกลักษณ์ทางเคมีที่แตกต่างกันใน พืช หรือ จุลินทรีย์ โดยมีความแตกต่างในองค์ประกอบของ สารทุติยภูมิ การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมและนอกเหนือพันธุกรรม (อีพีเจเนติกส์) เพียงเล็กน้อย ซึ่งมีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยต่อสัณฐานวิทยาหรือกายวิภาคศาสตร์ของพืช อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ใน ฟีโนไทป์ ทางเคมี

สารเคมี (สารประกอบอินทรีย์) ที่มีปริมาณมากสุดในพืชชนิดนั้น ๆ และมีประโยชน์ต่องานของนักนิเวศวิทยาทางเคมี ผู้เชี่ยวชาญทางเคมีสมุนไพร และนักเคมีภัณฑ์จากธรรมชาติ เรียกว่า สารสำคัญ (chemotype) (หรืออธิบายได้ว่าเป็น เอกลักษณ์ทางเคมีของพืช - characteristics of plant)

ในทางชีววิทยาของพืชคำว่า สารสำคัญ (chemotype) ได้รับการบัญญัติขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Rolf Santesson และ Johan ลูกชายของเขาในปี 1968 โดยนิยามว่า "ส่วนที่มีลักษณะทางเคมีที่เป็นเอกลักษณ์ในกลุ่มประชากรสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถแยกออกอย่างชัดเจนทางสัณฐานวิทยา" [1]

ในทางจุลชีววิทยาคำว่า "chemoform" หรือ "chemovar" เป็นที่นิยมใช้ใน International Code of Nomenclature of Bacteria (ICNB) ฉบับปี 1990 ซึ่งเดิมหมายถึง องค์ประกอบพื้นฐานทางเคมีของสิ่งมีชีวิต และเปลี่ยนความหมายไปสู่ "การผลิตหรือปริมาณการผลิต ของสารเคมีเฉพาะชนิดใดชนิดหนึ่ง" และไม่แนะนำให้ใช้คำที่มีคำต่อท้าย -type เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับ ต้นแบบ (ทางชีววิทยา) [2] (type specimens) คำว่า chemotype และ chemovar เดิมได้รับการแนะนำให้รู้จักกับ ICNB ในการแก้ไขที่เสนอให้เป็นหนึ่งในกฎการตั้งชื่อที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งย่อยอนุกรมวิธานที่ไม่ เฉพาะเจาะจง ในการประชุมปี 1962 ของ International Microbiological Congress ในมอนทรีออล การเปลี่ยนแปลงที่นำเสนอเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่ากฎระเบียบตามธรรมชาติของตำแหน่งเหล่านี้เช่น serotype และ morphotype เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสน ในข้อเสนอแนะที่เสนอ 8a (7) มีการขอให้ "มีการอนุญาตสำหรับการใช้คำว่า chemovar และ chemotype" การกำหนดเงื่อนไขว่าเป็น "ใช้เพื่อกำหนดแผนกย่อยเฉพาะทาง infrasubspecific เพื่อรวมรูปแบบหรือสายพันธุ์เฉพาะที่มีลักษณะเฉพาะโดยการผลิตของ สารเคมีบางชนิดไม่ได้ผลิตตามสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต” การเปลี่ยนแปลงประมวลกฎหมายนี้ได้รับการอนุมัติในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2505 โดยคณะกรรมการตุลาการของคณะกรรมการระหว่างประเทศของระบบการตั้งชื่อแบคทีเรียที่ VIII International Microbiological Congress ในมอนทรีออล [3]

ตัวอย่างของพืชที่มีสารสำคัญแบบพหุสัณฐาน คือ ไธม์ (Thymus vulgaris) ซึ่งมีสารสำคัญุถึง 7 ชนิดคือ thymol, carvacrol, linalool, geraniol, sabinene hydrate (thuyanol), α-terpineol, or eucalyptol (สารเหล่านี้เป็นสารประกอบในน้ำมันหอมระเหย) ด้วยรูปลักษณ์ที่แยกไม่ออกของไธม์ ความแตกต่างในสัดส่วนหรือองค์ประกอบของสารสำคัญุแต่ละชนิดที่โดดเด่นต่างกัน เป็นตัวบ่งชี้ระบุว่าเป็นชนิดย่อยใด เช่น Thymus vulgaris ct. thymol (ไธม์แดง) หรือ Thymus vulgaris ct. geraniol (ไธม์หวาน) ฯลฯ ข้อบ่งชี้ดังกล่าวจากสารสำคัญไม่มีสถานะทางอนุกรมวิธาน [1] คือ ไม่สามารถระบุได้ทางสัณฐานวิทยาในการระบุสปีชีส์ย่อย

เนื่องจากสารสำคัญ (chemotype) ถูกจำกัดความด้วยสารทุติยภูมิที่พบ "มากที่สุด" เท่านั้น จึงอาจมีความหมายในทางปฏิบัติน้อยมาก เนื่องจากในกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเดียวกัน เอกลักษณ์ทางเคมีจากสารสำคัญชนิดหนึ่งอาจมีสัดส่วนทางเคมีที่หลากหลายอย่างมาก และยังมีความหลากหลายที่แตกต่างกันตามสัดส่วนทางเคมีของสารเคมีชนิดถัด ๆ มา (ที่ไม่นับเป็นสารสำคัญเนื่องจากมีปริมาณรองลงมา) ซึ่งหมายความว่าพืชสองต้นที่มีสารสำคัญเดียวกัน อาจมีผลกระทบที่ที่หลากหลาย (จากปริมาณสารเคมีชนิดรองลงมาต่างกันเพียงเล็กน้อย) ต่อ สัตว์กินพืช แมลงผสมเกสร หรือ ความต้านทานต่อศัตรูพืช (ขึ้นกับปริมาณสารเคมีประกอบอื่นชนิดรองลง ที่อาจต่างกันเพียงเล็กน้อย) การศึกษาของ Ken Keefover-Ring และเพื่อนร่วมงานในปี 2008 เตือนว่า "นี่เป็นการประเมินเชิงคุณภาพในรายละเอียดทางเคมีของสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต ซึ่งอาจซ่อนความหลากหลายทางเคมีไว้อย่างมีนัยสำคัญ" [1] (การประเมินเชิงปริมาณ บอกได้เพียงปริมาณของสารสำคัญ โดยเฉลี่ยในกลุ่มสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ไม่อาจจำแนกรายตัวได้)

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 Keefover-Ring K, Thompson JD, and Linhart YB. 2009. Beyond six scents: defining a seventh Thymus vulgaris chemotype new to southern France by ethanol extraction. Flavour and Fragrance Journal, 24(3): 117-122. doi:10.1002/ffj.1921
  2. Lapage SP, Sneath PHA, Lessel EF, et al., editors. 1992. Appendix 10B. Infrasubspecific Terms. International Code of Nomenclature of Bacteria: Bacteriological Code, 1990 Revision. Washington (DC): ASM Press; 1992.
  3. Clark WA, and Seeliger HPR. 1963. Detailed minutes concerning actions taken in the emendation of the International Code of Nomenclature of Bacteria and Viruses during the meetings of the Judicial Commission of the International Committee of Bacteriological Nomenclature at the VIII International Microbiological Congress in Montreal August, 1962. International Bulletin of Bacteriological Nomenclature and Taxonomy, 13(1): 1-22.