การ์ดแสดงผล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การ์ดจอ)
การ์ดแสดงผล

การ์ดแสดงผล หรือ การ์ดจอ (video card หรือ display card) เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงผลจากหน่วยความจำ มาคำนวณและประมวลผล จากนั้นจึงส่งข้อมูลในรูปแบบสัญญาณเพื่อนำไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผล (มักเป็นจอภาพ)

ชื่อ[แก้]

การ์ดแสดงผลมีชื่อในภาษาอังกฤษหลายคำ รวมถึง video card, display card, graphic adaptor, graphics card , video board, video display board, display adapter, video adapter , VGA Card

การทำงาน[แก้]

การ์ดแสดงผลสมัยเก่าทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลเป็นสัญญาณเท่านั้น แต่จากกระแสของการ์ดเร่งความเร็วสามมิติ ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 90 โดยบริษัท 3dfx และ nVidia ทำให้เทคโนโลยีด้านสามมิติพัฒนาไปมาก ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสมัยใหม่ได้รวมความสามารถในการแสดงผลภาพสามมิติมาไว้เป็นมาตรฐาน และได้เรียกชื่อใหม่ว่า GPU (Graphic Processing Unit) โดยสามารถลดงานด้านการแสดงผลของของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ได้มาก

ในปัจจุบันการ์ดแสดงผลจำนวนมากไม่อยู่ในรูปของการ์ด แต่จะอยู่เป็นส่วนหนึ่งของแผงเมนบอร์ดซึ่งทำหน้าที่เดียวกัน วงจรแสดงผลเหล่านี้มักมีความสามารถด้านสามมิติค่อนข้างจำกัด แต่ก็เหมาะสมกับงานในสำนักงาน เล่นเว็บ อ่านอีเมล เป็นต้น สำหรับผู้ที่ต้องการความสามารถด้านสามมิติสูง ๆ เช่น ใช้เพื่อเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ยังอยู่ในรูปของการ์ดที่ต้องเสียบเพิ่มเพื่อให้ได้ภาพเคลื่อนไหวที่เป็นสามมิติที่สมจริง ในทางกลับกัน การใช้งานบางประเภท เช่น งานทางการแพทย์ กลับต้องการความสามารถการแสดงภาพสองมิติที่สูงแทนที่จะเป็นแบบสามมิติ

เดิมการ์ดแสดงผลแบบสามมิติอยู่แยกกันคนละการ์ดกับการ์ดแบบสองมิติและต้องมีการต่อสายเชื่อมถึงกัน เช่น การ์ด Voodoo ของบริษัท 3dfx ซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสามมิติมีความสามารถเกี่ยวกับการแสดงผลสองมิติในตัว

การแบ่งตามการใช้งาน[แก้]

การ์ดแสดงผลอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการ์ดวิดีโอหรือการ์ดจอ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่นำผล การประมวลจากซีพียูไปแสดงบนจอภาพ การ์ดแสดงผลมีอยู่หลายแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะการนำไป ใช้งาน ถ้าหากเป็นการใช้งานทั่วๆ ไป เช่น พิมพ์งานในสำนักงาน ใช้อินเทอร์เน็ต อาจใช้การ์ดแบบ 2 มิติ ก็เพียงพอแล้ว แต่หากเป็นการ เล่นเกมใช้โปรแกรมประเภทกราฟิก 3 มิติ ก็ควรเลือกการ์ดจอ ที่จะ ช่วยแสดงผลแบบสามมิติหรือ 3D การ์ดการ์ดจอบางแบบอาจถูกออกแบบติดไว้กับเมนบอร์ด โดยเฉพาะเมนบอร์ดแบบจอเข้ากับเมนบอร์ด อาจสะดวกและ ประหยัด แต่หากพูดถึงประสิทธิภาพ โดยรวมของเครื่องแล้ว อาจจะไม่ดีเท่ากับการ์ดที่แยกต่างหากจากเมนบอร์ด ซึ่งอาจแบ่งช่วงของการ ใช้การ์ดจอได้ดังนี้

1. การ์ดจอแบบ ISA และ VL เป็นการ์ดจอที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า 386 และ 486 รุ่นแรกๆ การ์ดรุ่นนี้ สามารถ แสดงสีได้เพียง 256 สีเท่านั้น การดูภาพ จึงอาจจะไม่สมจริงเท่าไรนัก เพราะขาดสีบางสีไป

2. การ์ดจอแบบ PCI เป็นการ์ดจอที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ 486 รุ่นปลายๆ เช่น 486DX4-100 และเครื่องระดับ เพนเทียมหรือคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วตั้งแต่ 100 MHz ถึง ประมาณ 300 MHz จะมีความเร็ว ในการแสดงผลสูงกว่าการ์ดจอแบบ ISA

3. การ์ดจอแบบ AGP เป็นการ์ดจอที่แสดงผลได้เร็วที่สุด เริ่มใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น AMD K6-II/III, K7, Duron, Thunderbird, Athlon XP, Cyrix MII, MIII, VIA Cyrix III, Pentium II, III, IV และ Celeron เป็นการ์ดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน การ์ดจอบางรุ่นจะมีช่อง TV Out สามารถต่อสายไปยังทีวีได้

4. การ์ดจอแบบ 3 มิติ การ์ดจอสำหรับงานกราฟิค เล่นเกมที่มีภาพสามมิติ ตัดต่อวิดีโอ ราคาแพงกว่าการ์ด จอสามประเภทแรก การ์ดจอต่างๆ เหล่านี้จะมี ตัวประมวลผล (GPU) ช่วยประมวลผลหรือคำนวณเกี่ยวกับการสร้างภาพให้ปรากฏบนจอ(และสามารถนำไปใช้ในการคำนวณค่า hash เพื่อใช้ในการทำเหมือง cryptocurrency ได้) ซึ่งจะทำให้ การแสดงภาพทำได้ดีมากกว่าการ์ดจอทั่วๆไป และด้วยการประมวลผลที่สูงนี้ทำให้เกิดความร้อนในวงจรจึงต้องมีพัดลม

ช่วยระบายความร้อน ด้วยการ์ดจอแบบนี้ อาจมีอินเตอร์เฟสหรือลักษณะการเชื่อมต่อแบบ PCI หรือ AGP ตัวอย่างการ์ดจอ 3 มิติ Asus V7700 Ultra, Winfast GF2 Ultra, Hercules 3D Prophet II Ultra, Ati Radeon All-In-Wonder เป็นต้น

ผู้ผลิตการ์ดแสดงผล[แก้]

AMD หรือที่ใช้ชื่อว่า ATI Raedon ผลิตการ์ดแสดงผล (Expansions card)เป็นคู่แข่งกับบริษัท Nvidia

ทาง Nvidia มีจุดเด่นที่ส่วนประมวลผล PhysX ซึ่งจะประมวลผลทางฟิสิกส์ เช่นไอน้ำ กระดาษปลิว กระจกแตก ล้อรถหลุดและกลิ้งไปตามถนนล้มลง มีระบบ Surround ซึ่งสามารถต่อจอแสดงผลได้ 3 จอแบบเชื่อมต่อกันแต่ต้องใช้การ์ดสองตัวขึ้นไปหรือการ์ดที่มี GPU คู่ และมีระบบ 3DVision ซึ่งประมวลผลภาพ 3 มิติออกมาได้

ส่วน AMD มีจุดเด่นที่ระบบ Eyefinity ซึ่งสามารถต่อจอแสดงผลได้ 3-6 จอแบบเชื่อมต่อกันโดยใช้การ์ดใบเดียว และมีระบบ HD3D ซึ่งประมวลผลภาพ 3 มิติออกมาได้เช่นเดียวกับ Nvidia แต่ใช้ระบบที่ไม่ซับซ้อนเท่า

ผู้ผลิตรายใหญ่[แก้]

ผู้ผลิตการ์ดเฉพาะทาง[แก้]

ผู้ผลิตรายย่อย[แก้]

อ้างอิง[แก้]