ข้ามไปเนื้อหา

การเลื่อนไปทางแดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การเคลื่อนไปทางแดง)
แถบการดูดกลืนแสงในสเปกตรัมของแสงที่ได้จากกระจุกดาราจักรอันห่างไกล (ด้านขวา) เปรียบเทียบกับแถบการดูดกลืนแสงในสเปกตรัมของแสงดวงอาทิตย์ (ด้านซ้าย) ลูกศรชี้แสดงถึงการเลื่อนไปทางแดง ความยาวคลื่นจะเพิ่มขึ้นและความถี่ลดลง

ในวิชาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ การเลื่อนไปทางแดง (อังกฤษ: redshift) เกิดขึ้นเมื่อการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (โดยมากเป็นแสงที่ตามองเห็น) มีการเปล่งแสงหรือสะท้อนกับวัตถุ แล้วเกิดปรากฏการณ์ด็อพเพลอร์ทำให้สเปกตรัมของคลื่นเลื่อนตัวไปในทางฝั่งสีแดงของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า (ซึ่งมีพลังงานน้อยกว่า) การเลื่อนไปทางแดงจึงหมายถึงการที่ผู้สังเกตหรืออุปกรณ์ตรวจจับได้รับรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับแหล่งกำเนิด การที่ความยาวคลื่นเพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับการที่ความถี่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าลดลง ดังนั้นในทางตรงกันข้าม หากตรวจพบว่าความยาวคลื่นลดลงก็จะเรียกปรากฏการณ์นั้นว่า การเลื่อนไปทางน้ำเงิน

การเลื่อนไปทางแดงที่เกิดจากปรากฏการณ์ด็อพเพลอร์เกิดขึ้นเมื่อแหล่งกำเนิดแสงเคลื่อนที่ห่างออกไปจากผู้สังเกต เช่นเดียวกับการเคลื่อนดอปเปลอร์ซึ่งความถี่จะเปลี่ยนแปลงลดลงเมื่อต้นกำเนิดเสียงเคลื่อนห่างออกไป ฟิสิกส์ดาราศาสตร์สเปกโตรสโกปีอาศัยปรากฏการณ์ด็อพเพลอร์เช่นนี้ในการคำนวณการเคลื่อนที่ของวัตถุทางดาราศาสตร์ที่อยู่ในที่ห่างไกล[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. โปรดดูหนังสืออ่านเพิ่มเติมของ บินนีย์และเมอร์ริเฟลด์ (1998), คาร์โรลล์และออสต์ไล (1996), คัตเนอร์ (2003) สำหรับวิธีการนำปรากฏการณ์นี้ไปใช้ในทางดาราศาสตร์

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • Binney, James; and Michael Merrifeld (1998). Galactic Astronomy, Princeton University Press. ISBN 0-691-02565-7.
  • Carroll, Bradley W. and Dale A. Ostlie (1996). An Introduction to Modern Astrophysics, Addison-Wesley Publishing Company, Inc.. ISBN 0-201-54730-9.
  • Feynman, Richard; Leighton, Robert; Sands, Matthew (1989). Feynman Lectures on Physics. Vol. 1, Addison-Wesley. ISBN 0-201-51003-0.
  • Grøn, Øyvind; Hervik, Sigbjørn (2007). Einstein's General Theory of Relativity. New Yor: Springer. ISBN 978-0-387-69199-2.
  • Kutner, Marc (2003). Astronomy: A Physical Perspective, Cambridge University Press. ISBN 0-521-52927-1.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]