ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาวะเงินเฟ้อ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Txp158 (คุย | ส่วนร่วม)
Txp158 (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มระบบมาตรฐานทองคำ
บรรทัด 46: บรรทัด 46:


ภายใต้ข้อตกลงเบรตตันวูดส์ ประเทศหลายๆประเทศทั่วโลกได้ทำการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนไว้กับดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมีประโยชน์ในการจำกัดการเพิ่มขึ้นอัตราเงินเฟ้อ แต่ข้อเสียคือทำให้ประเทศเหล่านั้นตกเป็นเป้าของการโจมตีค่าเงิน ดังนั้นภายหลังจากที่ข้อตกลงเบรตตันวูดส์มีอันเป็นที่สิ้นสุดลงในช่วงต้นปี 1970 ประเทศต่างๆจึงได้ทยอยหันไปใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว อย่างไรก็ดีในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 มีหลายประเทศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศทวีปอเมริกาใต้เช่น อาร์เจนตินา (1991-2002), โบลิเวีย, บราซิลและชิลี) ได้หวนกลับไปใช้การตรึงอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อ
ภายใต้ข้อตกลงเบรตตันวูดส์ ประเทศหลายๆประเทศทั่วโลกได้ทำการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนไว้กับดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมีประโยชน์ในการจำกัดการเพิ่มขึ้นอัตราเงินเฟ้อ แต่ข้อเสียคือทำให้ประเทศเหล่านั้นตกเป็นเป้าของการโจมตีค่าเงิน ดังนั้นภายหลังจากที่ข้อตกลงเบรตตันวูดส์มีอันเป็นที่สิ้นสุดลงในช่วงต้นปี 1970 ประเทศต่างๆจึงได้ทยอยหันไปใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว อย่างไรก็ดีในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 มีหลายประเทศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศทวีปอเมริกาใต้เช่น อาร์เจนตินา (1991-2002), โบลิเวีย, บราซิลและชิลี) ได้หวนกลับไปใช้การตรึงอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อ

===ระบบมาตรฐานทองคำ===
ระบบมาตรฐานทองคำเป็นระบบการเงินที่ประเทศต่างๆใช้เพื่อแลกเปลี่ยนสกุลเงิน โดยแต่ละประเทศจะต้องกำหนดความสัมพันธ์เชิงปริมาณระหว่างหน่วยเงินของประเทศของตัวเองกับทองคำ ในระบบนี้สกุลเงินของประเทศต่างๆไม่ถือว่ามีมูลค่าด้วยตัวของมันเอง แต่ผู้ค้ายอมรับตัวเงินเนื่องจากสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นทองคำได้ ตัวอย่างเช่น ธนบัตรดอลล่าร์สหรัฐในอดีตจะมีการประทับตรารับรองบนธนบัตรว่าสามารถนำไปแลกเป็นโลหะที่ทำจากเงิน (silver) ได้จากรัฐบาล

มาตรฐานทองคำได้ถูกเลิกใช้ไปบางส่วนภายหลังการนำข้อตกลงเบรตตันวูดส์มาใช้ ภายใต้ระบบนี้เงินสกุลใหญ่ทุกสกุลจะถูกตรึงให้มีอัตราคงที่กับเงินดอลลาร์ ในขณะที่เงินดอลลาร์จะถูกผูกติดอยู่กับทองคำในอัตรา 35 ดอลล่าร์สหรัฐต่อออนซ์ ระบบเบรตตันวูดส์มีอันเป็นที่สิ้นสุดลงลงในปี 1971 ทำให้ประเทศส่วนใหญ่จะเปลี่ยนไปใช้ระบบเงินกระดาษ (fiat money) ซึ่งหมายถึงการที่เงินมีค่าตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศเป็นผู้กำหนด

ศาสตราจารย์ไวท์ (Lawrence H. White) และฮาเยค (F. A. Hayek) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ของระบบเศรษฐกิจได้กล่าวไว้ว่า หากระบบเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับมาตรฐานทองคำโอกาสที่ประเทศจะพบอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าร้อยละ 2 ต่อปีนั้นมีอยู่น้อยมาก <ref>* {{cite encyclopedia |last1=White |first1=Lawrence H. |authorlink1=Lawrence H. White |last2= |first2= |authorlink2= |editor= [[David R. Henderson]] (ed.) |encyclopedia=[[Concise Encyclopedia of Economics]] |title=Inflation|url=http://www.econlib.org/library/Enc/Inflation.html |year=2008 |edition= 2nd |publisher=[[Library of Economics and Liberty]] |location=Indianapolis |isbn=978-0865976658 |oclc=237794267}}</ref> อย่างไรก็ตามในอดีตที่ผ่านมา สหรัฐต้องพบกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่า 2% หลายครั้งและจุดที่สูงที่สุดของอัตราเงินเฟ้อเกิดขึ้นภายใต้มาตรฐานทอง คำเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อภายหลังจากที่มาตรฐานทองคำได้ถูกยกเลิกไปแล้ว <ref>[[:File:US Historical Inflation Ancient.svg]]</ref> ภายใต้ระบบมาตรฐานทองคำ อัตราเงินเฟ้อการในระยะยาว (หรือภาวะเงินฝืด) จะถูกกำหนดโดยอัตราการเติบโตของปริมาณของทองคำที่ถูกผลิตขึ้น <ref>Bordo, M. (2002) [http://www.econlib.org/library/Enc/GoldStandard.html "Gold Standard"] ''Concise Encyclopedia of Economics''</ref> จึงมีผู้วิจารณ์ว่าระบบทองคำทำให้เกิดความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อ และนโยบายการเงินจะถูกกำหนดจากผลผลิตการทำเหมืองแร่ทองคำเป็นหลัก <ref name="BarskyDeLong">{{cite journal|last=Barsky |first=Robert B |coauthors=J Bradford DeLong |year=1991 |title=Forecasting Pre-World War I Inflation: The Fisher Effect and the Gold Standard |journal=Quarterly Journal of Economics |volume=106 |issue=3 |pages=815–36 |url=http://ideas.repec.org/a/tpr/qjecon/v106y1991i3p815-36.html |accessdate=September 27, 2008|doi=10.2307/2937928|jstor=2937928|ref=harv }}</ref><ref name="DeLong">{{cite web|url=http://www.j-bradford-delong.net/Politics/whynotthegoldstandard.html |title=Why Not the Gold Standard?|last=DeLong |first=Brad |accessdate=September 25, 2008}}</ref>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:39, 14 สิงหาคม 2557

อัตราเงินทั่วโลกในปี พ.ศ. 2550

ภาวะเงินเฟ้อ (อังกฤษ: inflation) หมายถึง การที่ระดับราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละจากดรรชนีราคา เงินเฟ้อ เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินฝืด อัตราเงินเฟ้ออาจมีได้หลายอัตรา เนื่องจากเราสามารถคำนวณหาอัตราเงินเฟ้อได้จากสินค้าแต่ล่ะชนิด หรือ อัตราเงินเฟ้อที่มีอิทธิพลและผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น ดัชนีเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ดัชนี ได้แก่ ดรรชนีราคาผู้บริโภค (CPI) , เกิดจากการสุ่มสินค้าบางตัวมาคำนวณ, ตัวหักลด GDP (GDP deflator) , ค่าที่แสดงระดับราคาของ GDP ในช่วงระยะเวลานั้นเปรียบเทียบกับระดับราคาของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน

หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ [1]

สาเหตุ

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางแล้วว่าทฤษฎีปริมาณเงินเป็นทฤษฎีที่สามารถใช้อธิบายและคาดการณ์รูปแบบของเงินเฟ้อในระยะยาวได้ดีสุด ดังนั้นข้อตกลงในหมู่นักเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับเงินเฟ้อก็คือ อัตราเงินเฟ้อในระยะยาวจะขึ้นอยู่กับอัตราการขยายตัวของปริมาณเงิน อย่างไรก็ตามสาเหตุของการเกิดภาวะเงินเฟ้อในระยะสั้นและกลางอาจมาจากแรงกดดันอุปสงค์ (ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น) และอุปทาน (ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น) ในระบบเศรษฐกิจ และความการเปลี่ยนแปลงของค่าจ้าง ราคาสินค้าและอัตราดอกเบี้ย[2] คำถามสำคัญจึงอยู่ที่ว่าเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในระยะสั้นและกลางจะมีผลกระทบมากหรือน้อยต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมหรือไม่อย่างไร นี่คือหัวข้อหลักของการโต้เถียงระหว่างนักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยมและนักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยม ราคาและค่าจ้างมักปรับตัวไปพร้อม ๆ กันพอที่จะทำให้ไม่เกิดผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจระยะยาว ในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ ราคาสินค้าและค่าจ้างปรับมักปรับตัวไปไม่พร้อมกันทำให้ความเกิดความแตกต่างที่ทำให้เกิดผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจในระยะยาว

มุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยม

นักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยมใช้ทฤษฎีปริมาณเงินเพื่ออธิบายว่า ภาวะเงินเฟ้อจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ กล่าวคือ ถ้ามีการพิมพ์แบงก์หรือผลิตเหรียญเพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจ จะทำให้มูลค่าของเงินลดลง เนื่องจากมีปริมาณของเงินในมือของผู้บริโภคและผู้ผลิตเพิ่มขึ้น อำนาจการซื้อที่เพิ่มขึ้นจากการมีเงินเพิ่มขึ้น ผลักดันให้มีการแย่งชิงสินค้าและบริการซึ่งหากเศรษฐกิจเติบโตไม่ทันกับการขยายตัวของปริมาณเงิน ก็จะทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น หรือเกิดภาวะเงินเฟ้อตามมา[3] ด้วยเหตุผลนี้นักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยมจึงพิจารณาว่าการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าขึ้นของรัฐบาลไม่ว่าจะโดยการออกนโยบายการคลัง ลดภาษีหรือเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐถือเป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่สามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้จริง[4]

นักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยมมักกล่าวว่าการศึกษาเชิงประจักษ์ของประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเงินได้แสดงให้เห็นแล้วว่าอัตราเงินเฟ้อเป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับปริมาณของเงินในระบบเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว[5] ดูสมการทฤษฎีปริมาณเงิน MV = PQ M แทนปริมาณเงิน V แทนการหมุนเวียนของเงินเป็นครั้ง P แทนราคาสินค้า Q แทนปริมาณสินค้า %ΔM+%ΔV = %ΔP+%ΔQ %ΔM แทนอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน %ΔV แทนอัตราการหมุนเวียนของเงิน %ΔP แทนอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า หรืออัตราเงินเฟ้อ %ΔQ แทนอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้า หรือ GDP ตัวอย่างเช่น นาย A ไปซื้อของ 1 ชิ้นก็จะเป็นรายได้ของพ่อค้าซึ่งพ่อค้าก็จะเอาธนบัตร 100 บาทของนาย A ไปซื้อของต่อ ตามตัวอย่างนี้ปริมาณเงินทั้งระบบมีเพียงธนบัตร 100 บาทใบเดียว (M = 100) แต่ใช้ 2 ครั้ง (V = 2) จะเท่ากับซื้อของได้ 2 ชิ้น (Q = 2) ชิ้นละ 100 บาท (P = 100) เนื่องจาก V หรือ การหมุนเวียนของเงินของทั้งระบบเป็นสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยมเชื่อว่ารัฐบาลควบคุมไม่ได้และไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงในระยะยาว ดังนั้น %ΔV จึงใกล้เคียงหรือเท่ากับ 0 หากรัฐบาลผลิตเงินตราเข้าสู่ระบบมากเกินกว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้า (%ΔM มากกว่า %ΔQ) ก็จะเป็นแรงกดดันให้ราคาสินค้าเพิ่ม (%ΔP จะเป็นบวก) หรือทำให้เกิดเงินเฟ้อ ในทางกลับกันหากรัฐบาลนำเงินตราเข้าระบบน้อยเกินไป (%ΔM น้อยกว่า %ΔQ) เมื่อเทียบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ก็อาจส่งผลให้เกิดเงินฝืด (%ΔP เป็นลบ) [6]

มุมมองของนักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเคนส์กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงในปริมาณของเงินในระบบเศรษฐกิจจะไม่ส่งผลโดยตรงต่อราคาสินค้า ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากแรงกดดันในทางเศรษฐกิจ สาเหตุหรือแรงกดดันที่นำไปสู่การเกิดเงินเฟ้อแบ่งได้เป็น 3 สาเหตุหลัก ๆ ซึ่งโรเบิร์ต เจ กอร์ดอน เรียกว่า "Triangle Model" ได้แก่

  • เงินเฟ้อแบบบิลท์อิน (Built-in inflation) ซึ่งเกิดจากการปรับตัวที่เป็นผลมาจากการคาดการณ์ เช่นพนักงานในบริษัทเรียกร้องให้ขึ้นเงินเดือน (ในอัตราที่สูงกว่าเงินเฟ้อ) บริษัทจึงปล่อยให้ต้นทุนที่สูงขึ้นเป็นภาระของลูกค้า แล้วราคาสินค้าและค่าแรงก็ผลัดกันเป็นต้นเหตุและผลเกลียวแล้วเกลียวเล่า Price/Wage Spiral จนกลายเป็นวงจรอุบาทว์ (vicious circle) ทำให้ราคาสินค้าลอยขึ้นไปค้างเติ่งบนยอดดอย (hangover inflation) [7]
  • ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น (Cost-push inflation) ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เช่น การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน[8]
  • ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้น ๆ จึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น (Demand-pull inflation) หรือ มีแรงดึงทางด้านอุปสงค์ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน[8]

การแก้ปัญหาเงินเฟ้อ

นโยบายการเงิน

รัฐบาลและธนาคารกลางส่วนใหญ่ใช้นโยบายการเงิน (monetary policy) เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ตัวอย่างเช่น ธนาคารกลางสหรัฐสามารถเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ชะลอหรือหยุดการผลิตเงิน เพื่อให้เกิดการลดปริมาณของเงินในระบบ ธนาคารกลางบางแห่งมีเป้าหมายควบคุมเงินเฟ้อแบบสมมาตร (symmetrical inflation target) กล่าวคือควบคุมไม่ให้อัตราเงินเฟ้อต่ำหรือสูงเกินไป ในขณะที่ธนาคารกลางบางแห่งจะเพียงควบคุมอัตราเงินเฟ้อเมื่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้

ธนาคารกลางส่วนใหญ่จะได้รับมอบหมายให้รักษาอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างธนาคารภายในประเทศในระดับที่ต่ำ ซึ่งโดยปกติจะมีเป้าหมายคงอัตราดอกเบี้ยนี้ไว้ที่ประมาณ 2% ถึง 3% ซึ่งจะอยู่ในช่วงเป้าหมายประจำปีของอัตราเงินเฟ้อซึ่งมีค่าประมาณ 2% ถึง 6% ธนาคารกลางมักกำหนดเป้าหมายอัตราเงินให้เฟ้อต่ำ แต่ไม่เป็นลบเพราะผู้บริหารธนาคารกลางส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเงินฝืดนั้นเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจ

การปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นสามารถทำให้ปริมาณของเงินในระบบลดลงได้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำให้คนขอสินเชื่อน้อยลง โดยปกติเงินใหม่ที่จะถูกสร้างขึ้นจะถูกนำไปใช้ในรูปแบบของสินเชื่อหรือการปล่อยเงินกู้จากธนาคาร หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือหากธนาคารต้องการจะปล่อยเงินกู้ ธนาคารจำต้องสร้างเงินใหม่เพื่อนำไปใช้ปล่อยสินเชื่อ ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่มีการปล่อยกู้เงิน เงินในระบบจึงมีปริมาณมากขึ้น และหากลูกหนี้จ่ายคืนเงินกู้ ธนาคารก็สามารถที่จะทำลายเงินนั้นทำให้ปริมาณเงินในระบบลดลง ยกตัวอย่างเช่นในต้นปี 1980 เมื่ออัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 15 ปริมาณเงินของธนาคารกลางสหรัฐมีค่าลดลงถึงร้อยละ 8.1 จาก 8.6 ล้านล้าน เหลือเพียง 7.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

นักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยมจะเน้นอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องของเงินและการใช้นโยบายการเงินเพื่อควบคุมเงินเฟ้อโดยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยและชะลอการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์จะเน้นการลดอุปสงค์รวมในช่วงที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการสร้างอุปสงค์ขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อมีเสถียรภาพ การควบคุมของอุปสงค์รวมในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์สามารถทำได้โดยใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง (เช่นการเก็บภาษีเพิ่มหรือลดการใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อลดอุปสงค์รวม)

การตรึงอัตราแลกเปลี่ยน

ระบบการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงิน หมายถึงการผูกมูลค่าของสกุลเงินนั่นๆให้เท่ากับมูลค่าของสกุลเงินของประเทศใดประเทศหนึ่ง (ที่มีความแข็งแกร่งเช่น เงินดอลล่าร์สหรัฐ) หรือสกุลเงินของหลายๆประเทศ การตรึงอัตราแลกเปลี่ยนสามารถนำมาใช้เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้ แต่เนื่องจากมลูค่าของสกุลเงินที่นำมาอ้างอิงมีการเพิ่มและลดลงตลอดเวลา ดังนั้นมูลค่าของเงินในประเทศที่อยู่ภายใต้ระบบการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนจึงเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามมูลค่าของสกุลเงินที่นำมาอ้างอิง ซึ่งหมายความว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศนั้นๆจะถูกกำหนดโดยอัตราเงินเฟ้อของประเทศที่เป็นเจ้าของสกุลเงินที่นำมาอ้างอิง ดังนั้นการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนจึงทำให้รัฐบาลไม่สามารถใช้นโยบายการเงิน (monetary policy) ของตัวเองในการที่จะบรรลุเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคได้

ภายใต้ข้อตกลงเบรตตันวูดส์ ประเทศหลายๆประเทศทั่วโลกได้ทำการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนไว้กับดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมีประโยชน์ในการจำกัดการเพิ่มขึ้นอัตราเงินเฟ้อ แต่ข้อเสียคือทำให้ประเทศเหล่านั้นตกเป็นเป้าของการโจมตีค่าเงิน ดังนั้นภายหลังจากที่ข้อตกลงเบรตตันวูดส์มีอันเป็นที่สิ้นสุดลงในช่วงต้นปี 1970 ประเทศต่างๆจึงได้ทยอยหันไปใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว อย่างไรก็ดีในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 มีหลายประเทศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศทวีปอเมริกาใต้เช่น อาร์เจนตินา (1991-2002), โบลิเวีย, บราซิลและชิลี) ได้หวนกลับไปใช้การตรึงอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อ

ระบบมาตรฐานทองคำ

ระบบมาตรฐานทองคำเป็นระบบการเงินที่ประเทศต่างๆใช้เพื่อแลกเปลี่ยนสกุลเงิน โดยแต่ละประเทศจะต้องกำหนดความสัมพันธ์เชิงปริมาณระหว่างหน่วยเงินของประเทศของตัวเองกับทองคำ ในระบบนี้สกุลเงินของประเทศต่างๆไม่ถือว่ามีมูลค่าด้วยตัวของมันเอง แต่ผู้ค้ายอมรับตัวเงินเนื่องจากสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นทองคำได้ ตัวอย่างเช่น ธนบัตรดอลล่าร์สหรัฐในอดีตจะมีการประทับตรารับรองบนธนบัตรว่าสามารถนำไปแลกเป็นโลหะที่ทำจากเงิน (silver) ได้จากรัฐบาล

มาตรฐานทองคำได้ถูกเลิกใช้ไปบางส่วนภายหลังการนำข้อตกลงเบรตตันวูดส์มาใช้ ภายใต้ระบบนี้เงินสกุลใหญ่ทุกสกุลจะถูกตรึงให้มีอัตราคงที่กับเงินดอลลาร์ ในขณะที่เงินดอลลาร์จะถูกผูกติดอยู่กับทองคำในอัตรา 35 ดอลล่าร์สหรัฐต่อออนซ์ ระบบเบรตตันวูดส์มีอันเป็นที่สิ้นสุดลงลงในปี 1971 ทำให้ประเทศส่วนใหญ่จะเปลี่ยนไปใช้ระบบเงินกระดาษ (fiat money) ซึ่งหมายถึงการที่เงินมีค่าตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศเป็นผู้กำหนด

ศาสตราจารย์ไวท์ (Lawrence H. White) และฮาเยค (F. A. Hayek) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ของระบบเศรษฐกิจได้กล่าวไว้ว่า หากระบบเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับมาตรฐานทองคำโอกาสที่ประเทศจะพบอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าร้อยละ 2 ต่อปีนั้นมีอยู่น้อยมาก [9] อย่างไรก็ตามในอดีตที่ผ่านมา สหรัฐต้องพบกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่า 2% หลายครั้งและจุดที่สูงที่สุดของอัตราเงินเฟ้อเกิดขึ้นภายใต้มาตรฐานทอง คำเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อภายหลังจากที่มาตรฐานทองคำได้ถูกยกเลิกไปแล้ว [10] ภายใต้ระบบมาตรฐานทองคำ อัตราเงินเฟ้อการในระยะยาว (หรือภาวะเงินฝืด) จะถูกกำหนดโดยอัตราการเติบโตของปริมาณของทองคำที่ถูกผลิตขึ้น [11] จึงมีผู้วิจารณ์ว่าระบบทองคำทำให้เกิดความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อ และนโยบายการเงินจะถูกกำหนดจากผลผลิตการทำเหมืองแร่ทองคำเป็นหลัก [12][13]

อ้างอิง

  1. เงินเฟ้อเงินฝืด เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย (ข้อมูลสำรอง)
  2. Federal Reserve Board's semiannual Monetary Policy Report to the CongressRoundtable Introductory statement by Jean-Claude Trichet on July 1, 2004
  3. ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ. เหรียญ 2 บาท กับเงินเฟ้อ. คอลัมน์ นอกรอบ ประชาชาติธุรกิจ หน้า 2 วันที่ 06 มิถุนายน 2548
  4. Lagassé, Paul (2000). "Monetarism". The Columbia Encyclopedia (6th ed.). New York: Columbia University Press. ISBN 0-7876-5015-3.
  5. [Friedman, Milton. A Monetary History of the United States 1867-1960 (1963).]
  6. Monetarism The Basics
  7. [Robert J. Gordon (1988), Macroeconomics: Theory and Policy, 2nd ed., Chap. 22.4, 'Modern theories of inflation'. McGraw-Hill.]
  8. 8.0 8.1 http://www.vcharkarn.com/varticle/34764
  9. * White, Lawrence H. (2008). "Inflation". ใน David R. Henderson (ed.) (บ.ก.). Concise Encyclopedia of Economics (2nd ed.). Indianapolis: Library of Economics and Liberty. ISBN 978-0865976658. OCLC 237794267. {{cite encyclopedia}}: |editor= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  10. File:US Historical Inflation Ancient.svg
  11. Bordo, M. (2002) "Gold Standard" Concise Encyclopedia of Economics
  12. Barsky, Robert B (1991). "Forecasting Pre-World War I Inflation: The Fisher Effect and the Gold Standard". Quarterly Journal of Economics. 106 (3): 815–36. doi:10.2307/2937928. JSTOR 2937928. สืบค้นเมื่อ September 27, 2008. {{cite journal}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  13. DeLong, Brad. "Why Not the Gold Standard?". สืบค้นเมื่อ September 25, 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link GA