ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขอบทวีปทางตะวันออกของทะเลญี่ปุ่น"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: 250px|thumb|right|ขอบทวีปทางตะวันออกของทะเลญี่ปุ่น '''ขอบทวีปทางตะวันออกของทะเลญี่ปุ่น''' ({{ญี่ปุ่น|日本海東縁変動帯}}) เป็นแนวเขตที่มีความเครียดทางธรณีวิทยาสูงมาก มี...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:21, 4 มิถุนายน 2566

ขอบทวีปทางตะวันออกของทะเลญี่ปุ่น

ขอบทวีปทางตะวันออกของทะเลญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本海東縁変動帯) เป็นแนวเขตที่มีความเครียดทางธรณีวิทยาสูงมาก มีแนวอาณาเขตขยายออกไปหลายร้อยกิโลเมตร ทอดตัวไปทางเหนือ-ใต้ในด้านตะวันออกของขอบทวีปทะเลญี่ปุ่น ขอบทวีปนี้เคลื่อนตัวมาบรรจบกันตั้งแต่ปลายยุคไพลโอซีน[1][2] เชื่อกันว่าเป็นเขตมุดตัวการแปรสัณฐานระหว่างแผ่นอามูร์กับแผ่นโอค็อตสค์พื้นที่ทางธรณีวิทยานี้มีการเกิดแผ่นดินไหวและเป็นแหล่งกำเนิดคลื่นสึนามิที่ก่อความเสียหายแก่ชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น ขอบทวีปนี้ทอดยาวจากชายฝั่งตะวันตกของเกาะฮนชูไปทางตะวันตกของคาบสมุทรชาโกตันบนจังหวัดฮกไกโดไปยังเกาะเกาะซาฮาลิน

การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก

แผนที่ภูมิประเทศของทะเลญี่ปุ่น

ทะเลญี่ปุ่นเป็นแอ่งหลังแนวภูเขาไฟก่อตัวขึ้นจากการแตกแยกทางธรณีวิทยาในเปลือกโลกตั้งแต่สมัยโอลิโกซีนตอนปลายจนถึงสมัยไมโอซีนตอนกลาง เมื่อประมาณ 28-13 ล้านปีก่อน [3] ทะเลญี่ปุ่นสามารถแบ่งแอ่งต่าง ๆ ได้แก่ แอ่งญี่ปุ่น แอ่งยามาโตะ และแอ่งสึชิมะ พื้นมหาสมุทรขยายตัวในทะเลญี่ปุ่นจนถึงแอ่งญี่ปุ่นจะหยุดลงในสมัยไมโอซีนตอนกลาง [4]

หลังจากการแผ่ขยายของก้นทะเลหยุดลงขอบทวีปทางตะวันออกของทะเลญี่ปุ่นประสบกับแรงอัดขนาดเล็กระหว่าง 10 ถึง 3.5 ล้านปีก่อน ทำให้แผ่นเปลือกโลกบริเวณดังกล่าวสั้นลงตั้งแต่ 3.5 ล้านปีที่แล้ว การเปลี่ยนรูปเกิดจากแรงอัดจากฝั่งตะวันออกและตะวันตก ทำให้เกิดแนวหินคดโค้งตามแนวขอบทวีปด้านตะวันออก ขอบทวีปด้านใต้ถูกบีบอัดจากทางเหนือ ใต้ ตะวันตกเฉียงเหนือ และตะวันออกเฉียงใต้เมื่อประมาณ 8-5 ล้านปีก่อน ในปัจจุบันขอบทวีปทางตอนใต้ส่วนใหญ่เป็นรอยเลื่อนจาการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก [4]

ขอบทวีปตั้งอยู่บริเวณรอยต่อของแผ่นอามูร์และแผ่นโอค็อตสค์ มี Wadati–Benioff zone เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญว่าไม่มีการมุดตัวในขอบทวีปฝั่งนี้ ดังนั้นการมุดตัวจึงเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ แต่อย่างไรก็ตามอาจจะมีการมุดตัวเกิดขึ้นบริเวณทางทิศตะวันออก [5] ใน ค.ศ. 1983 มีการเสนอว่าการมุดตัวตามแนวขอบทวีปแห่งนี้เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 1–2 ล้านปีที่แล้ว [6]

ลักษณะพื้นฐานเพื่อกำหนดขอบเขตการมีอยู่ของขอบทวีปนี้คือการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่มากกว่า 7 ตามแนวนอกชายฝั่งจังหวัดนีงาตะไปจนถึงนอกชายฝั่งตะวันตกของเกาะฮกไกโด [7] หลังจากแผ่นดินไหวในทะเลญี่ปุ่น ค.ศ. 1983 มีการเสนอแนวคิดเกี่ยวกับขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็ก แต่ไม่ทราบกลไกของมัน ได้รับการเสนอให้เป็นรอยเลื่อนแปรสภาพขนาดใหญ่หรือเขตการชนกัน [8]

อ้างอิง

  1. 過去にも繰り返し発生 新潟沖にのびる「ひずみ集中帯」の地震 เก็บถาวร 2019-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน FNN.jpプライムオンライン 記事:2019年6月19日
  2. 佐藤比呂志 ほか、「ひずみ集中帯地殻構造探査・三条-弥彦測線の成果 (総特集 日本海東縁ひずみ集中帯の構造とアクティブテクトニクス(2))」 『月刊地球』 32(7), 403–410, July 2010
  3. Matsuzaki, K.M.; Itaki, T.; Tada, R.; Kamikuri, S. (18 September 2018). "Paleoceanographic history of the Japan Sea over the last 9.5 million years inferred from radiolarian assemblages (IODP Expedition 346 Sites U1425 and U1430)". Progress in Earth and Planetary Science. 54 (5). doi:10.1186/s40645-018-0204-7. S2CID 59942556.
  4. 4.0 4.1 Sato, T.; No, T.; Arai, R.; Miura, S.; Kodaira, S. (9 January 2020). "Transition from continental rift to back-arc basin in the southern Japan Sea deduced from seismic velocity structures". Geophysical Journal International. 221 (1): 722–739. doi:10.1093/gji/ggaa006.
  5. Tamaki, Kensaku; Honza, Eiichi (20 October 1985). "Incipient subduction and deduction along the eastern margin of the Japan Sea". Tectonophysics. 119 (1–4): 381–406. Bibcode:1985Tectp.119..381T. doi:10.1016/0040-1951(85)90047-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2022. สืบค้นเมื่อ 20 June 2022.
  6. Nakamura, K. (1983). "Possible nascent trench along the eastern Japan Sea as the convergent boundary between Eurasian and North American plates". Bull. Earthq. Res. Inst. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-12. สืบค้นเมื่อ 2023-01-11.
  7. 渡辺真人 ほか、日本海東縁,奥尻海嶺および周辺の大地震と海底変動 เก็บถาวร 2021-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 『JAMSTEC深海研究』 2000年 第16号
  8. Uda, Tsuyoshi; Hiramatsu, Yukiko; Azuma, Shinji. "新潟平野~信濃川構造帯の地震と活断層" [Earthquakes and Active Faults in the Niigata Plain-Shinanogawa Tectonic Zone] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Niigata University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 February 2016. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)