ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบกะฟาละฮ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''ระบบกะฟาละ''' ({{lang-en|kafala system}} หรือ kefala system; {{lang-ar|نظام الكفالة|niẓām al-kafāla}}; แปลว่า "ระบบการสนับสนุน") เป็นระบบที่ใช้สำหรับตรวจตราแรงงานต่างด้าวที่ทำงานหลัก ๆ อยู่ในภาคส่วนการก่อสร้...
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:22, 25 พฤศจิกายน 2565

ระบบกะฟาละ (อังกฤษ: kafala system หรือ kefala system; อาหรับ: نظام الكفالة, อักษรโรมัน: niẓām al-kafāla; แปลว่า "ระบบการสนับสนุน") เป็นระบบที่ใช้สำหรับตรวจตราแรงงานต่างด้าวที่ทำงานหลัก ๆ อยู่ในภาคส่วนการก่อสร้างและขนส่งในรัฐสมาชิกของสภาการร่วมมือรัฐอ่าว และประเทศรอบข้างอีกสองสามป่ะเทศ ได้แก่ บาห์เรน, คูเวต, เลบานอน, โอมาน, ซาอุดิอาระเบีย และ [[สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์][1][2] ระบบนี้บังคับให้แรงงานต่างด้าวทุกคน[3] ต้องมีคนในประเทศเป้นผู้สนับสนุน โดยทั่วไปหมายถึงนายจ้าง ผู้สนับสนุนนี้มีภาระในการดูแลเรื่องวีซ่าและสถานะทางกฎหมายของลูกจ้าง ระบบนี้ถูกวิจารณ์โดยกลุ่มสิทธิมนุษยชนว่าทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดการขูดรีดแรงงาน นายจ้างจำนวนมากริบหนังสือเดินทางของลูกจ้างไว้ และให้ทำงานอย่างหนัก โดยแทบไม่ได้รับการตรวจสอบทางกฎหมายเลย[4]

นักวิชาการเช่น Omar Hesham AlShehabi และ Shirleen Anushika Datt ได้บรรยายไว้ว่ารากฐานของระบบกะฟาละมีมาตั้งแต่ยุคอาณานิคม เมื่อจักรวรรดิอังกฤษนำเอาแรงงานจากอนุทสีปอินเดียมายังตะวันออกกลาง[5][6]

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีระบบสนับสนุนวีซ่าทำงานเพื่อออกใบอนุญาตทำงานแก่บุคคลต่างชาติที่ประสงค์จะอพยพมาทำงานในประเทศ วีซ่าส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนโดยสถาบันและบริษัทต่าง ๆ บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศเพื่อทำงานจะต้องมีใบอนุญาตทำงานซึ่งมีอายุสองเดือน ออกให้โดยกระทรวงทรัพยากรมนุษย์ (Ministry of Human Resources) ผู้สนับสนุนจะมีภาระในการตรวจทางการแพทย์และสรรหาบัตรยืนยันตัวตน เอกสารที่จำเป็น และจ่ายค่าอากรในการดำเนินเอกสารต่าง ๆ ให้แก่ลูกจ้าง จากนั้นผู้จ้างยังสามารถสนับสนุนครอบครัวของลูกจ้างนั้นให้มาสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้เช่นกัน มาตรา 1 ของกฤษฎีกาว่าด้วยการจ้างงาน ที่ 766 (Ministerial Decree No. 766) ซึ่งตราในปี 2015 ระบุไว้ว่าลูกจ้างที่สิ้นสุดสัญญาจ้างแล้วจะสามารถขอรับใบอนุญาตใหม่และสามารถยังคงอยู่ในประเทศได้ถึง 6 เดือนภายใต้วีซ่าผู้หางาน[7][8]

ในเดือนตุลาคม 2014 องค์การ Human Rights Watch (HRW) ประมาณไว้ว่ามีแรงงานหญิงต่างด้าวราว 146,000 คนในประเทศที่อยู่ภายใต้ระบบการสนับสนุนจากนายจ้างนี้ จากการสัมภาษณ์กับแรงงานหญิง 99 คน HRW ได้เขียนรายการการขูดรีดและใช้อำนาจในทางมิชอบต่อแรงงานจากการสัมภาษณ์นี้ไว้ โดยพบว่าส่วนใหญ่ถูกนายจ้างริบหนังสือเดินทาง, ถูกบังคับทำงานล่วงเวลา (มากถึง 21 ชั่วโมงต่อวัน) และสาธารณูปโภคด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย และการรักษายามเจ็บป่วยนั้นมีไม่เพียงพอ ในจำนวนนี้มี 24 คนที่ถูกทำร้ายร่างกายหรือคุกคามทางเพศ[9] HRW ได้ประณามรัฐบาลของ UAE ที่ไม่สามารถปกป้องแรงงานต่างด้าวจากการถูกขูดรีดได้ รวมถึงยังยื่นข้อเสนอจำนวนหนึ่งแก่รัฐบาล[9]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ HRW_ifiamnothuman_pdf_en
  2. Khan, Azfar and Hélène Harroff-Tavel (2011). "Reforming the Kafala: Challenges and Opportunities in Moving Forward" [ลิงก์เสีย], Asian and Pacific Migration Journal, Vol. 20, Nos. 3–4, pp. 293–313
  3. "Kafala System - Facts about Sponsorship System for UPSC".
  4. Harmassi, Mohammed (6 May 2009). "Bahrain to end 'slavery' system". BBC News.
  5. AlShehabi, Omar Hesham (2021). "Policing labour in empire: the modern origins of the Kafala sponsorship system in the Gulf Arab States". British Journal of Middle Eastern Studies. 48 (2).
  6. Datt, Shirleen Anushika (2018). "Born to Work: An In-Depth Inquiry on the Commodification of Indian Labour – A Historical Analysis of the Indian Indentureship and Current Discourses of Migrant Labour Under the Kafala System". ใน Sefa Dei, George J.; Hilowle, Shukri (บ.ก.). Cartographies of Race and Social Difference. pp. 49–50. doi:10.1007/978-3-319-97076-9. ISBN 978-3-319-97076-9.
  7. "Getting a work and residency permit". UAE Government.
  8. "UAE Amnesty 2018: 6-month visa for violators who seek jobs a golden opportunity". Gulf News. 30 July 2018.
  9. 9.0 9.1 "'I Already Bought You' — Abuse and Exploitation of Female Migrant Domestic Workers in the United Arab Emirates (pdf)" (PDF). Human Rights Watch. 9 October 2014. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2014. สืบค้นเมื่อ 1 February 2015.