ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กะโหลกแก้ว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: thumb|กระโหลกคริสตัลที่[[พิพิธภัณฑ์บริติช มีมิติคล้ายกันกับกะโหลกมิตเชลล์-เฮดจิส (Mitchell-Hedges skull) ที่มีรายละเอียดมากกว่า]] '''กะโหลกคริสต...
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:49, 19 กันยายน 2565

กระโหลกคริสตัลที่พิพิธภัณฑ์บริติช มีมิติคล้ายกันกับกะโหลกมิตเชลล์-เฮดจิส (Mitchell-Hedges skull) ที่มีรายละเอียดมากกว่า

กะโหลกคริสตัลเป็นงานแกะสลักหินแข็งรูปกะโหลกศีรษะมนุษย์ ทำมาจากควอตซ์สีใสหรือขาวขุ่น (หรือเรียกว่า "ร็อกคริสตัล") และถูกอ้างว่าเป็นโบราณวัตถถจากเมโสอเมริกายุคพรีโคลัมเบียโดยผู้ที่อ้างว่าค้นพบ กระนั้น คำกล่าวอ้างเหล่านี้ได้ถูกปฏิเสธว่าเป็นเท็จทั้งหมดหลังการศึกษาเพิ่มเติมทางวิทยาศาสตร์ ผลจากการศึกษาเหล่านี้แสดงให้เห็นว่ากะโหลกคริสตัลผลิตขึ้นในศตวรรษที่ 19 หรือหลังจากนั้น และแทบจะมั่นใจได้ว่าผลิตในยุโรป ในสมัยที่ความสนใจในวัฒนธรรมโบราณกำลังเป็นที่นิยม[1][2][3] เข้าใจว่ากะโหลกเหล่านี้ทำขึ้นในเบอรมนี โดยเฉาพะในเมือง Idar-Oberstein ซึ่งเป็นที่รู้จักจากงานหัตถกรรมแกะสลักควอตซ์ที่นำเข้ามาจากบราซิลในปลายศตวรรษที่ 19[2][4]

ถึงแม้ว่าจะมีคำกล่าวอ้างในวรรณกรรมมากมายที่สร้างความนิยมให้กับกะโหลกคริสตัลเหล่านี้ว่ามีพลังวิเศษ ในความเป็นจริงไม่ปรากฏตำนานห่ือความเชื่อที่คล้ายกันเลยในปรัมปราวิทยาของชาวเมโสอเมริกันและพื้นเมืองอเมริกันแท้จริงใด ๆ[5] กะโหลกเหล่านี้ยังมักถูกอ้างว่ามากับปรากฏการณ์เหนือธรรมชาตโดยบรรดาสมาชิกของขบวนการนิวเอจ และยังปรากฏในงานสมมติมากมาย เช่น ในนวนิยายวิทยาศาสตร์, ละครโทรทัศน์, ภาพยนตร์ ไปจนถึงวิดีโอเกม

การค้นคว้า

กะโหลกคริสตัลจำนวนมากถูกอ้างว่าเป็นของสมัยพรีโคลัมเบียน ส่วนใหญ่อ้างว่ามาจากอารยธรรมแอซเท็ก หรือ มายา ในวัฒนธรรมของเมโสอเมริกามีการผลิตวัตถุรูปกะโหลกอยู่มากมาย แต่ไม่มีกะโหลกคริสตัลชิ้นใดที่มาจากการขุดค้นที่มีบันทึกไว้เลย[6] งานค้นคว้าวิจัยกะโหลกคริสตัลจำนวนมากของพิพิธภัณฑ์บริติชในปี 1967, 1996 และอีกครั้งในปี 2004 แสดงให้เห็นว่าเส้นร่อง (indented lines) ที่ใช้ทำเป็นรูปฟัน (กะโหลกเหล่านี้ไม่มีการแยกขากรรไกรออกมา ไม่เหมือนกะโหลกมิตเชล-เฮดจิส) แกะสลักโดยใช้เครื่องมือสำหรับการทำเครื่องประดับอย่างเครื่องมือโรตารี ซึ่งมีพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 19 ทำให้คำอ้างว่าเป็นของยุคพรีโคลัมเบียนเป็นไปได้น้อยลง[7]

คริสตัลที่ใช้ถูกนำไปตรวจสอบด้วยการตรวจสิ่งเจือปนคลอไรต์[8] การตรวจสอบพบว่าคริสตัลที่ใช้ทำกะโหลกนี้พบได้เฉพาะที่มาดากัสการ์และบราซิลเท่านั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะนำมาใช้ในเอโสอเมริกายุคพรีโคบัมเบียน งานวิจัยสรุปว่ากะโหลกคริสตัลสร้างขึ้นในเยอรมนี สมัยศตวรรษที่ 19 เป็นไปได้สูงว่ามาจากเมือง Idar-Oberstein ซึ่งเป็นที่รู้จักจากงานหัตถกรรมแกะสลักควอตซ์นำเข้าจากบราซิลในยุคศตวรรษที่ 19[4]

มีการยืนยันแล้วว่ากะโหลกคริสตัลของพิพิธภัณฑ์บริติช และ Musée de l'Homme ในปารีส[9] ถูกขายมาโดยพ่อค้าของโบราณชาวฝรั่งเศส Eugène Boban ผู้ทำงานค้าชายอยู่ในเม็กซิโกซิตีในระหว่างปี 1860 ถึง 1880[10] กะโหลกคริสตัลของพิพิธภัณฑ์บริติชถูกส่งต่อผ่านมาทางบริษัท Tiffany & Co. จากนิวยอร์ก ส่วนกะโหลกของ Musée de l'Homme's บริจาคให้โดยนักชาติพันธุ์วรรณา Alphonse Pinart ซึ่งซื้อกะโหลกนี้มาจาก Boban


กะโหลกชิ้นสำคัญ

กะโหลกมิตเชล-เฮดจิส

กะโหลกมิตเชล-เฮดจิส (อังกฤษ: Mitchell-Hedges skull) เป็นกะโหลกชิ้นโด่งดังที่ถูกอ้างว่าพบในปี 1924 โดยแอนนา มิตเชล-เฮดจิส (Anna Mitchell-Hedges) ลูกสาวบุญธรรมของนักผจญภัยและนักเขียนขาวอังกฤษ เอฟ เอ มิตเชล-เฮดจิส กะโหลกนี้เป็นประเด็นหลักในสารคดีปี 1990 เรื่อง Crystal Skull of Lubaantun[11] กะโหลกนี้ได้รับการตรวจสอบนักวิจัยของสถาบันสมิตโซเนียน และสรุปผลว่า "แทบจะเป็นของทำเลียนแบบจากกะโหลกของพิพิธภัณฑ์บริติช - แทบจะเป็นรูปเดียวกัน แต่มีการทำรูปบริเวณตาและฟันที่ละเอียดกว่า"อ้างอิงผิดพลาด: ไม่มีการปิด </ref> สำหรับป้ายระบุ <ref>

พิพิธภัณฑ์บิรติช

กะโหลกคริสตัลของพิพิธภัณฑ์บริติชมีปรากฏครั้งแรกในปี 1881 ในร้านค้าของพ่อค้าของโบราณ Eugène Boban ในปารีส ต้นตอของกะโหลกไม่มีระบุไว้ในแคตตาล็อกในเวลานั้น มีการกล่าวอ้างว่าเขาพยายามขายกะโหลกนี้ให้แก่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติของเม็กซิโกในฐานะโบราณวัตถุของแอซเท็ก แต่ไม่สำเร็จ จากนั้นเขาได้ย่ายธุรกิจมาที่นครนิวยอร์ก ที่ซึ่งเขาได้ขายกะโหลกนี้ให้กับ จอร์จ เอช ซิสสัน กะโหลกนี้ได้ไปจัดแสดงในงานพบปะของสมาคมอเมริกันเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ในนครนิวยอร์กเมื่อปี 1887 โดยจอร์จ เอฟ กันซ์[12] ต่อมากะโหลกถูกขายต่อในงานประมูล ที่ซึ่งบริษัท Tiffany and Co. ได้ซื้อไป และขายต่อแก่พิพิธภัณฑ์บริติชในปี 1897[13][2]

ในบัญชีโบราณวัตถุของพิพิธภัณฑ์บริติชระบุข้อมูของกะโหลกคริสตัลนี้ในส่วนแหล่งกำเนิดว่า "น่าจะยุโรป, ศตวรรษที่ 19"[13] และบรรยายไว้ว่า "ไม่ใช่โบราณวัตถุยุคพรีโคบัมเบียนที่แท้จริง" ("not an authentic pre-Columbian artefact".)[14][15]

อ้างอิง

  1. "Crystal Skulls". National Geographic. สืบค้นเมื่อ 1 October 2014.
  2. 2.0 2.1 2.2 British Museum (n.d.-b).
  3. Jenkins (2004, p. 217), Sax et al. (2008), Smith (2005), Walsh (1997; 2008).
  4. 4.0 4.1 Craddock (2009, p. 415).
  5. Aldred (2000, passim.); Jenkins (2004, pp. 218–219). In this latter work, Philip Jenkins, former Distinguished Professor of History and Religious Studies and subsequent endowed Professor of Humanities at PSU, writes that crystal skulls are among the more obvious of examples where the association with Native spirituality is a "historically recent" and "artificial" synthesis. These are "products of a generation of creative spiritual entrepreneurs" that do not "[represent] the practice of any historical community".
  6. Walsh (2008)
  7. Craddock (2009, p. 415)
  8. "These iron chlorite inclusions found in the British Museum's fake skull are found only in quartz from Brazil or Madagascar but not Mexico;
    from google (crystal skull fakes) result 1"
    .
  9. The specimen at the Musée de l'Homme is half-sized.
  10. See "The mystery of the British Museum's crystal skull is solved. It's a fake", in The Independent (Connor 2005). See also the Museum's issued public statement on its crystal skull (British Museum (n.d.-c).
  11. "Crystal Skull of Labaantun (1990)". Movies & TV Dept. The New York Times. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-09. สืบค้นเมื่อ 2008-07-20.
  12. "A Great Labor Problem. It Receives Attention from the Scientists. They devote attention, too, to a beautiful adze and a mysterious crystal skull" (PDF). New York Times. No. August 13. 1887. สืบค้นเมื่อ 2008-07-17.
  13. 13.0 13.1 British Museum (n.d.-a).
  14. British Museum (n.d.-c).
  15. See also articles on the investigations which established it to be a fake, in Connor (2005), Jury (2005), Smith (2005), and Walsh (1997, 2008).

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น