ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บริการสุขภาพในสหราชอาณาจักร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''บริการสุขภาพในสหราชอาณาจักร''' เป็นกิจการที่อำนาจเป็นของท้องถิ่นในประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์เหนือ สก็อตแลนด์ และ เวลส์ ในแต่ละประเทศยังประกอบด้วยpublicly funded healthcare|...
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:00, 24 พฤษภาคม 2565

บริการสุขภาพในสหราชอาณาจักร เป็นกิจการที่อำนาจเป็นของท้องถิ่นในประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์เหนือ สก็อตแลนด์ และ เวลส์ ในแต่ละประเทศยังประกอบด้วยบริการสุขภาพที่รัฐเป็นผู้อุดหนุนเป็นของตนเอง ภายใต้งบประมาณจากรัฐบาลและรัฐสภาคนละส่วนกัน ในแต่ละประเทศจึงมีนโยบายสุขภาพ ลำดับขั้นความสำคัญ และการจัดสรรงบประมาณที่แตกต่างกัน นับตั้งแต่การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น[1][2] บริการสุขภาพในทั้งสี่ประเทศสามารถดูเพิ่มที่บริการสุขภาพในประเทศอังกฤษ, เวลส์, สก็อตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ

ถึงแม้จะมีระบบบริการสุขภาพที่แยกกันในแต่ละประเทศ ประสิทธิภาพการทำงานของบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS) ทั่วทั้งสหราชอาณาจักรสามารถนำมาวัดเพื่อเปรียบเทียบกับชาติอื่น ๆ ได้ ในปี 2017 รายงานของกองทุนเครือจักรภพจัดอันดับให้สหราชอาณาจักรมีระบบบริการสุขภาพที่ดีที่สุดในโลกพัฒนาแล้ว และดีที่สุดในสาขากระบวนการดูแล (Care Process ได้แก่ ประสิทธิภาพ, ความปลอดภัย, การประสานงาน, การมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง) และความเท่าเทียม[3] นอกจากนี้สหราชอาณาจักรยังได้รับการจัดอันดับให้ดีที่สุดในรายงานของปี 2007, 2010 และ 2014[4][5][6]

ระบบการรักษาประคับประครองของสหราชอาณาจักรยังได้รับการจัดอันดับมห้ดีที่สุดในโลกจามรายงานของอีโคโนมิสต์อินเทลลิเจนซ์ยูนิต[7] ในขณะที่อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งในปี 2005–09 ในสหราชอาณาจักรต่ำกว่ามาตรฐานของยุโรปอยู่สิบปี[8] อย่างไรก็ตาม ในปีถัด ๆ มาก็เพิ่มสูงขึ้น[9][10] ในปี 2015 สหราชอาณาจักรอยู่อันดับที่ 14 จาก 35 ประเทศ ในดัชนีผู้บริโภคสุขภาพยุโรปประจำปี[11] อย่างไรก็ตาม ดัชนีดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงความแม่นยำโดยนักวิชาการ[12]

ในข้อมูลปี 2018 ของ OECD ระบุว่าสหราชอาณาจักรจัดสรรงบประมาณสุขภาพให้ประชากรอยู่ที่ £3,121 ต่อหัว[13] การใช้จ่ายสำหรับบริการสุชภาพเทียบเป็นสัดส่วนของจีดีพีสูงขึ้นตลอดตั้งแต่ปี 1997 (ในปี 1997 อยู่ที่ 6.8%) โดยในปี 2019 อยู่ที่ 10.2 % ของจีดีพี[14][15] ในปี 2017 สหราชอาณาจักรใช้จ่ายค่าบริการสุขภาพ £2,989 ต่อหัว คิดเป็นประมาณค่ากลางของประเทศในกลุ่ม OECD[16]

อ้างอิง

  1. "'Huge contrasts' in devolved NHS". BBC News. 28 August 2008. สืบค้นเมื่อ 27 July 2014.
  2. "NHS now four different systems". BBC News. 2 January 2008. สืบค้นเมื่อ 27 July 2014.
  3. "Mirror, Mirror 2017: International Comparison Reflects Flaws and Opportunities for Better U.S. Health Care". www.commonwealthfund.org. สืบค้นเมื่อ 1 August 2019.
  4. "Mirror, Mirror on the Wall: An International Update on the Comparative Performance of American Health Care | Commonwealth Fund". www.commonwealthfund.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 August 2019.
  5. "Mirror, Mirror on the Wall: How the Performance of the U.S. Health Care System Compares Internationally, 2010 Update". Commonwealth Fund. สืบค้นเมื่อ 16 June 2014.
  6. "Mirror, Mirror on the Wall, 2014 Update: How the U.S. Health Care System Compares Internationally". Commonwealth Fund.
  7. "Quality of Death Index 2015: Ranking palliative care across the world". The Economist Intelligence Unit. 6 October 2015. สืบค้นเมื่อ 8 October 2015; "UK end-of-life care 'best in world'". BBC. 6 October 2015. สืบค้นเมื่อ 8 October 2015.
  8. Allemani, Claudia; และคณะ (2015). "Global surveillance of cancer survival 1995–2009: analysis of individual data for 25 676 887 patients from 279 population-based registries in 67 countries (CONCORD-2))". The Lancet. 385 (9972): 977–1010. doi:10.1016/S0140-6736(14)62038-9. hdl:10447/129931. PMC 4588097. PMID 25467588; "UK cancer survival rates trail 10 years behind other European countries". The Guardian. 24 March 2015. สืบค้นเมื่อ 19 October 2015.
  9. "UK cancer death rates after diagnosis drop 10% in ten years". The Guardian. 4 February 2016. สืบค้นเมื่อ 4 February 2016; "Cancer death rates fall by almost 10 per cent in 10 years". Cancer Research UK. สืบค้นเมื่อ 4 February 2016.
  10. "Bowel cancer death rate falling faster in the UK than in most other EU countries". Cancer Research UK. 7 October 2015. สืบค้นเมื่อ 31 October 2015; "Cancer survival in England is improving – but still lagging behind similar countries". Cancer Research UK. 5 August 2015. สืบค้นเมื่อ 31 October 2015; "How to improve cancer survival" (PDF). The King's Fund. June 2011. สืบค้นเมื่อ 19 October 2015; "Cancer mortality trends: 1992–2020" (PDF). Macmillan. May 2013. สืบค้นเมื่อ 19 October 2015; "Improving Outcomes: A Strategy for Cancer" (PDF). Department of Health, Public Health England. December 2014. สืบค้นเมื่อ 31 October 2015.; "Cancer Survival in England: Adults Diagnosed 2008 to 2012, followed up to 2013". Office for National Statistics. สืบค้นเมื่อ 19 October 2015
  11. "Outcomes in EHCI 2015" (PDF). Health Consumer Powerhouse. 26 January 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 June 2017. สืบค้นเมื่อ 27 January 2016.
  12. Cylus, Jonathan; Nolte, Ellen; Figueras, Josep; McKee, Martin (9 February 2016). "What, if anything, does the EuroHealth Consumer Index actually tell us?". BMJ. Retrieved 10 February 2016.
  13. "Swindells: They aren't 'your' patients". Health Service Journal. 24 September 2019. สืบค้นเมื่อ 19 November 2019.
  14. "Healthcare expenditure, UK Health Accounts provisional estimates - Office for National Statistics". www.ons.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 2021-10-11.
  15. OECD, "Health Expenditure". Accessed 10 February 2016.
  16. "How does UK healthcare spending compare with other countries?". Office of National Statistics. 29 August 2019. สืบค้นเมื่อ 5 October 2019.