ไพจิต ศรีวรขาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไพจิต ศรีวรขาน
ไพจิต ใน พ.ศ. 2553
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม
ดำรงตำแหน่ง
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
(34 ปี 239 วัน)
ก่อนหน้าไขแสง สุกใส
ถัดไปอลงกต มณีกาศ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 (77 ปี)
อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ประเทศไทย
พรรคการเมืองราษฎร (2531–2535)
ความหวังใหม่ (2535–2545)
ไทยรักไทย (2545–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2552–ปัจจุบัน)
คู่สมรสสุจินดา ศรีวรขาน

ไพจิต ศรีวรขาน (เกิด 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2490) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และเป็นแกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา[1]

ประวัติ[แก้]

ไพจิต ศรีวรขาน เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 เป็นบุตรของนายอุย กับนางผาง ศรีวรขาน เกิดที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สมรสกับนางสุจินดา ศรีวรขาน (สกุลเดิม แสนคำ)

นายไพจิต สำเร็จการศึกษาชั้นประกาศนียบัตรการศึกษา (ป.กศ.) จากโรงเรียนฝึกหัดครูสกลนคร ระดับปริญญาตรี สาขาประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม และนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

การทำงาน[แก้]

ไพจิต ศรีวรขาน เริ่มเข้าสู่งานการเมืองโดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครพนม ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2531 และได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งเรื่อยมา พ.ศ. 2535/1 พ.ศ. 2535/2 พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2562 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และในสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24 ได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร

บทบาทในพรรคการเมือง นายไพจิต เคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ และเป็นแกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา มีบทบาทสำคัญร่วมกับ ศักดา คงเพชร และ ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข ในการเปิดเผยเรื่องอำนาจของแก๊งออฟโฟร์[2] ซึ่งประกอบด้วย เนวิน ชิดชอบ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี สมัคร สุนทรเวช และธีรพล นพรัมภา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ‘ไพจิต ศรีวรขาน’ ประกาศสู้ศึกเลือกตั้งนครพนม ลั่นพร้อมตายกับ ‘เพื่อไทย’ มั่นใจชนะทุกเขต
  2. เปิดประวัติรมต.ใหม่ ครม. "ยิ่งลักษณ์ 2"
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓, ๘ ตุลาคม ๒๕๑๖