ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนหัวหิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนหัวหิน
Huahin school
ที่ตั้ง
184 ถนนชมสิทธุ์ ต.หัวหิน อ.หัวหิน
จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110
ข้อมูล
ชื่ออื่นHH
ประเภททั้งรัฐบาลและเอกชน (กึ่งกลาง)
คำขวัญปญฺญา โลกฺสมิ ปชฺโชโต
(ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก)
สถาปนา1 มิถุนายน พ.ศ. 2494
หน่วยงานกำกับสพม. เขต 10
รหัส1005770701
ผู้อำนวยการผู้อำนวยการระดับ 8
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.1-ม.6
สี███ สีฟ้า -███ สีขาว
เพลงมาร์ชโรงเรียนหัวหิน
เว็บไซต์www.huahin.ac.th

โรงเรียนหัวหิน เป็นโรงเรียนในสังกัดของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 โดยเปิดทำการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 ก่อตั้งเมือ 1 มิถุนายน 2494 เป็นโรงเรียนสหศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 184 ถนนชมสินธุ์ ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื้อที่ของโรงเรียน 29 ไร่ 1 งาน 71 ตารางวา

ประวัติ[แก้]

ป้ายโรงเรียนหัวหิน

โรงเรียนหัวหิน ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2549 เดิมเรียกว่า โรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ ระยะแรกอาศัยห้องเรียนของโรงเรียนเทศบาลประชาธิปถัมภ์ (โรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหินในปัจจุบัน) 1 ห้อง มีนักเรียนระดับชั้นมัธยม 1 จำนวน 23 คน ทางกรมวิสามัญศึกษาได้ส่งครูจากโรงเรียนประจวบวิทยาลัยมาช่วยสอน 2 คน คือ นายสิน สุหร่าย และนายสุรินทร์ สุภาพสวัสดิ์ใช้อักษรย่อโรงเรียนว่า ป.ข.5 ซึ่งหมายถึง โรงเรียนรัฐบาลลำดับที่ 5 ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2495 ได้ขยายชั้นเรียนเพิ่ม เป็นชั้น ม.2 จึงจำเป็นต้องเพิ่มห้อง โดยการแบ่งกั้นห้องด้วยฝาเสื่อลำแพน ในปีเดียวกันนี้ กรมวิสามัญศึกษาได้อนุมัติให้จัดซื้อที่ดิน 1 แปลง ริมถนนหัวหิน ที่ดินดังกล่าวติดป่าช้าวัดหัวหิน เป็นจำนวนเงิน 9,000 บาท และมอบให้โรงเรียนช่างไม้ประจวบฯ เป็นผู้ก่อสร้าง ในวงเงิน 15,00 บาท เป็นอาคารไม้ขนาด 3 ห้องเรียน ใต้ถุนสูง นับเป็นอาคารไม้หลังแรก เสร็จใช้การได้ในปี พ.ศ. 2496 ในปีเดียวกันนี้กรมวิสามัญศึกษา ได้แต่งตั้งนายสวัสดี ณ พัทลุง มาเป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียน มีครูเพิ่มขึ้นรวมเป็น 5 คน โรงเรียนได้รับการพัฒนาการเรียนการสอนและอาคารสถานที่ให้ร่มรื่น สวยงาม จนได้รับการกล่าวขวัญชมเชย นักเรียนมีสัมมาคารวะ มีความสมัครสมานสามัคคี

ต่อมากรมวิสามัญ มีหนังสือแจ้งจังหวัดว่า ไม่มีนโยบายจะขยายชั้นเรียนในระดับ ม.4 ทำให้เกิดความระส่ำระสายในกลุ่มผู้ปกครอง ผู้ปกครองส่วนใหญ่จึงนำบุตรหลานของตนไปเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนอื่น คงเหลือนักเรียนเพียง 10 คนเท่านั้น ที่ยังหวังว่ากรมวิสามัญศึกษาจะอนุญาตให้ขยายชั้นเรียนได้ กลุ่มผู้ปกครองได้พยายามต่อรองโดยยินดีรับผิดชอบในเรื่องที่กรมฯ อ้างถึงข้อจำกัดกำลังครู เป็นต้น ในที่สุดด้วยความพยายามและความตั้งใจจริงของผู้ปกครอง ซึ่งนำโดยคุณพร้อม สุวัฒนา ทำให้กรมฯ อนุญาตให้เปิดสอนในระดับ ม.4 ต่อไปได้ โดยผู้ปกครองของนักเรียนทั้ง 10 รายที่เหลืออยู่ ได้จัดสร้าง โต๊ะเรียนเองคนละ 1 ชุด ชุดละ 150 บาท และบริจาคเงินซื้อวัสดุสร้างห้องเรียน 1 ห้อง ผู้ปกครองนกเรียนที่เป็นช่างท่านหนึ่ง ได้อุทิศเวลาช่วยควบคุมการก่อสร้างต่อเติมห้องเรียนขนาด 9x12 เมตร ใช้แรงงานนักเรียนชาย 78 คน ที่อยู่ในรุ่นแรก

ในเรื่องอัตรากำลังครูที่ประสบปัญหาขาดแคลน ก็ได้รับความกรุณาจากผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอหัวหิน คือ นายพรหม สว่างแจ้ง พร้อมด้วยครูช่วยราชการสำนักงานศึกษาธิการอำเภอหัวหิน อีก 2 ท่าน คือ นายบุญลือ สัมพันธารักษ์ และนายมนัส ประกอบชาติ ซึ่งเป็นคนหัวหินได้อุทิศเวลาช่วยสอนโดยไม่คิดค่าตอบแทนแต่อย่างใดตลอดปีการศึกษานั้น นอกจากนี้ในด้านสถานที่ยังได้รับความอนุเคราะห์จากพระศีลวัตรวิมล เจ้าอาวาสวัดหัวหิน มอบเนื้อที่ส่วนที่เป็นป่าช้าของวัดให้ ทำให้เนื้อที่ของโรงเรียนขยายเพิ่มขึ้นอีกมาก โรงเรียนหัวหินได้เจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ มีผู้บริหารและครูหลายต่อหลายท่านที่หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนมาปฏิบัติหน้าที่ สร้างความก้าวหน้าให้แก่โรงเรียนมาจนถึงปัจจุบันมีศิษย์เก่ามากมายหลายรุ่นที่ประสบความสำเร็จในชีวิต และหน้าที่การงาน สร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคม อันบ่งบอกถึงศักยภาพของโรงเรียนหัวหิน

สถานที่[แก้]

ในปัจจุบันมีอาคารเรียนถาวร 4 หลัง อาคารชั่วคราว 3 หลัง โรงฝึกงาน 2 หลังอาคารพยาบาล 1 หลัง หอประชุมอเนกประสงค์ 1 หลัง โรงอาหาร 1 หลัง ห้องสุขานักเรียนแบบ 8 ที่ 2หลัง ห้องสุขานักเรียนแบบ 6 ที่ 5 หลัง และสนามฟุตบอล 1 สนามบ้านพักครูเดี่ยว 17 หลัง บ้านพักครูแบบเรือนแถว 3 หลัง บ้านพักภารโรงเดี่ยว 1 หลัง

อาคารเรียน[แก้]

แผนผัง พื้นที่รับผิดชอบของแต่ละคณะสี

อาคารอัศวพาหุ[แก้]

อาคารอัศวพาหุ หรือ อาคาร 1 (หมายเลข 1) ตั้งอยู่บริเวณทิศใต้ของโรงเรียน เป็นอาคารที่มีห้องที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายต่างๆ เป็นอาคารเรียนแบบ 318 ป ตัวอาคารวางตัวในแนวขนานกับอาคาร 3
เรียงจากห้องทางตะวันออกไปยังตะวันตกของอาคาร ชั้นแรก ประกอบไปด้วย ห้องธุรการ ,ห้องพัสดุ ,งานนโยบาย ,ห้องวิชาการ ,ห้องอำนวยการ
ชั้นที่สอง (121 - 126) ประกอบไปด้วย ห้องพยาบาล ,ห้องเรียน Intensive จำนวน 6 ห้อง ,ห้องแนะแนว
ชั้นที่สาม (131 - 136) ประกอบไปด้วย ห้องเรียน intensive

อาคารพระขรรค์เพชร[แก้]

อาคารพระขรรค์เพชร หรือ อาคาร 2 (หมายเลข 2) เป็นอาคารเรียนวิทยาศาสตร์ เป็นอาคารเรียนแบบ 318 ค ส่วนใหญ่เป็นห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ตัวอาคารวางตัวในแนวตั้งฉากกับสนามกีฬา
เรียงจากทางตะวันออกไปยังตะวันตกของอาคาร
ชั้นแรก (211 - 216) ประกอบไปด้วยห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ขนาด 2 ห้อง ,ห้องพักครู 1 ,ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ขนาด 2 ห้อง, ห้องพักครู 2 ,ห้องเรียน 215 ,ห้องปกครอง
ชั้นสอง (221 - 226) ประกอบไปด้วย ห้องเรียนโต๊ะรวม, ห้องเก็บอุปกรณ์, ห้องคอมพิวเตอร์, ห้องพักครู ขนาด 2 ห้อง, ห้องปฏิบัติการขนาด 2ห้อง
ชั้นสาม (231 - 236) ประกอบไปด้วย ห้องเรียนโต๊ะรวม x3, ห้องโครงการวิทยาศาสตร์ (4/1)

อาคารศรีอยุธยา[แก้]

อาคารศรีอยุธยา หรือ อาคาร 3 (หมายเลข 3) เป็นอาคารวิทยบริการ อาคารเรียนแบบ 318ค ตัวอาคารวางตัวในแนวขว้างกับสนามกีฬา
เรียงจากทางตะวันออกไปยังตะวันตกของอาคาร
ชั้นหนึ่ง เป็น ศูนย์วิทยบริการ (ห้องสมุดโรงเรียนหัวหิน)
ชั้นสอง ประกอบไปด้วย ห้องจัดการเครือข่าย, ห้องพักครู, ห้องเรียนคอมพิวเตอร์
ชั้นสาม ประกอบไปด้วย ห้องสมุดอินเตอร์, ห้องพักครู ขนาด 2 ห้อง, ห้องเรียน English Programe

อาคารรามจิตติ[แก้]

อาคารรามจิติ หรือ อาคาร 4 (หมายเลข 4) เป็นอาคารของนักเรียนระดับ ม1 และ ม2 อีกทั้งยังมีห้องประจำหมวดสาระภาษาไทย ภาษาต่างประเทศและสังคมอยู่ด้วย อาคารแบบ 216 ล/ป 29 ตัวอาคารวางตัวในแนวขนานกับอาคาร 2
เรียงจากตะวันตกไปตะวันออก
ชั้นหนึ่ง ประกอบด้วย ห้องหัตถกรรม, ห้องเครื่องบิน, ห้องเรียนแบบผนังกัน, ห้องโสต
ชั้นสอง ประกอบไปด้วย ห้องภาษาไทย และห้อง เดอะสมายคลับ, ห้องเรียนเก้าอี้เดี๋ยว, ห้องภาษาไทย 2 และห้องภาษาต่างประเทศ
ชั้นสาม ประกอบไปด้วย ห้องพระพุทธ, ห้องเรียนแบบเก้าอี๋เดียว, ห้องสังคม

อาคาร 60 ปีโรงเรียนหัวหิน[แก้]

อาคาร 60ปี โรงเรียนหัวหิน หรือ อาคาร 5 (หมายเลข 5) เป็นอาคารชั่วคราว ส่วนใหญ่จะเป็นห้องระดับชั้น ม3 ตัวอาคารวางตัวในแนวขนานกับอาคาร 2 เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2552 โดยใช้ช่วงปิดภาคเรียนในการดำเนินการก่อสร้างต่อ

คณะสี[แก้]

แบ่งออกเป็น 4 คณะสี

  • คณะอัศวพาหุ (สีแดง)
  • คณะพระขรรค์เพชร (สีเหลือง)
  • คณะศรีอยุธยา (สีม่วง)
  • คณะรามจิตติ (สีเขียว)

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]