ข้ามไปเนื้อหา

แฮเฮาเหียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แฮเฮาเหียน (เซี่ยโหว เสฺวียน)
夏侯玄
เสนาบดีพิธีการ (太常 ไท่ฉาง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 254 (254)
กษัตริย์โจฮอง
เสนาบดีปฏิคม (大鴻臚 ต้าหงหลู)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 249 (249) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจฮอง
ขุนพลโจมตีตะวันตก (征西將軍 เจิงซีเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 249 (249)
กษัตริย์โจยอย / โจฮอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 209[a]
เสียชีวิตป. 27 มีนาคม ค.ศ. 254 (45 ปี)[a]
นครลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน
บุพการี
ความสัมพันธ์
อาชีพนักเขียนเรียงความ, นักประวัติศาสตร์, ขุนพล, นักปรัชญา, ขุนนาง
ชื่อรองไท่ชู (泰初/太初)
บรรดาศักดิ์ชางหลิงเซียงโหว (昌陵鄉侯)

แฮเฮาเหียน (209 – 27 มีนาคม ค.ศ. 254)[a] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เซี่ยโหว เสฺวียน (จีน: 夏侯玄; พินอิน: Xiàhóu Xuán) ชื่อรอง ไท่ชู (จีน: 泰初/太初; พินอิน: Tàichū) เป็นนักเขียนเรียงความ นักประวัติศาสตร์ ขุนพล นักปรัชญา และขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน

ภูมิหลังครอบครัว[แก้]

แฮเฮาเหียนเป็นบุตรชายของแฮหัวซง[b] มารดาของแฮหัวซงคือเจ้าหญิงเต๋อหยาง (德陽鄉主 เต๋อหยางเซียงจู่; น้องสาวของโจจิ๋น) จึงทำให้แฮเฮาเหียนมีความใกล้ชิดกับฝ่ายโจซอง แฮเฮาเหียนมีน้องสาวชื่อเซี่ยโหว ฮุย (夏侯徽) ซึ่งเป็นภรรยาของสุมาสู บุตรสาวคนหนึ่งของแฮเฮาเหียนกลายมาเป็นภรรยาของเหอ เจี้ยว (和嶠) หลานชายของเหอ เชี่ย (和洽) และบุตรชายของเหอ จฺหย่ง (和迥)

ประวัติ[แก้]

เมื่อแฮเฮาเหียนอายุ 20 ปี ได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางทหารม้ามหาดเล็ก (散騎侍郎 ซ่านฉีชื่อหลาง) และขุนนางสำนักประตูเหลือง (黃門侍郎 หฺวางเหมินชื่อหลาง) ในราชสำนักวุยก๊ก[2] วันหนึ่งขณะที่เข้าเฝ้าจักรพรรดิโจยอย แฮเฮาเหียนแสดงออกซึ่งความรังเกียจที่จะนั่งร่วมกับเหมา เจิง (毛曾) พี่ชายของมอซือ (毛氏 เหมาชื่อ) ซึ่งเป็นจักรพรรดินีของโจยอย เหตุการณ์ทำให้โจยอยทรงกริ้ว จึงทรงลดขั้นแฮเฮาเหียนให้ไปเป็นหัวหน้าของหน่วยราชองครักษ์ยฺหวี่หลิน (羽林監 ยฺหวี่หลินเจียน)[3]

แฮเฮาเหียน, หลีซิน, เตงเหยียง และจูกัดเอี๋ยนเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ถูกเรียกร่วมกันว่า "สี่อัจฉริยะ" (四聰 ชื่อชง) โจยอยไม่โปรดทั้งสี่คนนี้เพราะพระองค์ทรงเห็นว่าพฤติกรรมของทั้งสี่คนนี้ไร้แก่นสารและเย่อหยิ่ง จึงทรงปลดทั้งสี่คนออกจากราชการ

หมายเหตุ[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 ชีวประวัติของแฮเฮาเหียนในจดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่าแฮเฮาเหียนมีอายุ 46 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ขณะถูกประหารชีวิตในเดือน 2 ศักราชเจียผิง (嘉平; ค.ศ. 249-254) ปีที่ 6 ในรัชสมัยของโจฮอง[1] พระราชประวัติโจฮองระบุวันที่ของเหตุการณ์นี้ว่าเป็นเกิงซฺวี (庚戌) ของเดิอนนั้น ซึ่งเทียบได้กับวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 254 ในปฏิทินจูเลียน เมื่อคำนวณแล้วปีเกิดของแฮเฮาเหียนจึงควรเป็นปี ค.ศ. 209
  2. ชื่อสกุล "แฮหัว" ของแฮหัวซง (夏侯尚 เซี่ยโหว ช่าง) และชื่อสกุล "แฮเฮา" ของแฮเฮาเหียนเป็นชื่อสกุลเดียวกันคือชื่อสกุล "เซี่ยโหว" (夏侯) ในภาษาจีนกลาง

อ้างอิง[แก้]

  1. (嘉平六年二月, ...玄格量弘濟,臨斬東巿,顏色不變,舉動自若,時年四十六。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
  2. (玄字太初。少知名,弱冠爲散騎黃門侍郎。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9
  3. (嘗進見,與皇后弟毛曾並坐,玄恥之,不恱形之於色。明帝恨之,左遷爲羽林監。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9

บรรณานุกรม[แก้]