แค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แค
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Faboideae
เผ่า: Robinieae
สกุล: Sesbania
สปีชีส์: S.  grandiflora
ชื่อทวินาม
Sesbania grandiflora
(L.) Poiret

แค เป็นต้นไม้ขนาดเล็กในสกุลโสน มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกดังนี้: แคบ้าน (กลาง) แคขาว แคแดง (กทม. เชียงใหม่) แค (กลาง) แคดอกแดง แคดอกขาว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

แคเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 3-4 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ 2-4 ดอก ดอกสีขาวหรือแดง มีกลิ่นหอม ก้านเกสรเพศผู้สีขาว 60 อัน ผล เป็นฝัก ยาว 8-15 ซม. ฝักแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดกลมแป้น สีน้ำตาล มีหลายเมล็ด[1][2]

การกระจายพันธุ์[แก้]

กระจายพันธุ์ด้วยเมล็ด เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดียหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเจริญเติบโตได้ทุกพื้นที่ทั่วโลกในเขตร้อนชื้น

การใช้ประโยชน์[แก้]

ยอดอ่อนและใบอ่อนสามารถนำมาปรุงอาหารได้ เป็นสมุนไพรช่วยดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ดอกใช้เป็นอาหาร แก้ไข้หัวลม และช่วยบำรุงอาหาร ฝักอ่อนใช้เป็นอาหารได้

การเกษตร[แก้]

แคเป็นต้นไม้พื้นบ้าน เป็นไม้เนื้ออ่อน นิยมปลูกเป็นรั้วบ้าน คันนา และริมถนน ปลูกได้ในทุกพื้ที่ทั้งดินเหนียว ดินร่วน สามารถปลูกไว้ในบริเวณบ้านเพื่อปรับพื้นที่ให้มีปุ๋ย เนื่องจากใบแคที่ผุแล้วทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารมากขึ้น เมื่อเมล็ดแก่จัดจะแพร่พันธุ์ด้วยเมล็ด มีอายุประมาณ 20 ปี และเจริญเติบโตได้ทุกพื้นที่ทั่วโลกในเขตร้อนชื้น

ประกอบอาหาร[แก้]

ดอกแคลวกกับผักอื่น
ดอกแค
ดอกแคแดง

ส่วนที่นำมารับประทานได้ของแค คือ ยอดอ่อน ฝักอ่อนออกในช่วงฤดูฝน ใบอ่อนมีรสหวาน ดอกอ่อนออกในช่วงฤดูหนาว ดอกแคมีเส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก แคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง และวิตามินซี ก่อนนำไปทำอาหารต้องดึงเอาเกสรออกก่อนเพื่อลดความขม ส่วนที่รับประทานได้ของแคสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายอย่าง อาทิ เช่น แกงส้มดอกแค แกงเหลืองปลากระพงดอกแค ดอกใบยอกฝักอ่อนของแคนำมาลวกจิ้มน้ำพริกได้ ล้วนเป็นอาหารที่มีคุณค่าให้ประโยชน์ทั้งสิ้น

ดอกแคดิบ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน113 กิโลจูล (27 กิโลแคลอรี)
6.73 g
0.04 g
1.28 g
วิตามิน
ไทอามีน (บี1)
(7%)
0.083 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(7%)
0.081 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(3%)
0.43 มก.
โฟเลต (บี9)
(26%)
102 μg
วิตามินซี
(88%)
73 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(2%)
19 มก.
เหล็ก
(6%)
0.84 มก.
แมกนีเซียม
(3%)
12 มก.
ฟอสฟอรัส
(4%)
30 มก.
โพแทสเซียม
(4%)
184 มก.

ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

ยารักษาโรค[แก้]

  • นำเปลือกแคมาต้ม คั้นน้ำรับประทานแก้ท้องร่วง แก้บิด แก้มูกเลือด
  • ดอกแคช่วยแก้ไข้ลดไข้ถอนพิษไข้
  • แคยังอุดมด้วยสารต่าง ๆ โดยเฉพาะบีตา-แคโรทีนที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ จึงช่วยบำรุงสายตา ต่อต้านมะเร็ง และยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัสสูง จึงช่วยเสริมสร้างกระดูก

อ้างอิง[แก้]

  1. สวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน พรรณไม้ที่น่าสนใจ (เมล็ดมีลักษณะเหมือนลิ่ม), ธงชัย มาลาและคณะ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, 2551, หน้า 40
  2. "แค".

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]