ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์
(เทศ บุนนาค)
เกิดพ.ศ. 2384
เสียชีวิต10 กันยายน พ.ศ. 2449 (66 ปี)
บิดามารดา

เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ มีนามเดิมว่า เทศ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2384 ในสกุลบุนนาค ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) กับหม่อมหรุ่น เข้ารับราชการในรัชกาลที่ 4 เป็นนายรองไชยขรรค์มหาดเล็ก แล้วเป็นนายสรรพวิชัยหุ้มแพรมหาดเล็ก จากนั้นเป็นพระเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ ปลัดเมืองเพชรบุรี

ในรัชกาลที่ 5 ได้เลื่อนเป็นพระยาสุรินทรฦๅชัย ผู้ว่าราชการเมืองเพชรบุรี และราชการจรในเมืองราชบุรี ดูแลการทำโทรเลขทางเมืองทวายและตัดทาง ได้รับความลำบากตรากตรำเป็นอันมาก รับราชการได้เลื่อนตำแหน่งเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี เป็นผู้ที่มีความวิริยอุตสาหะ และมีความจงรักภักดียิ่ง ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2440 จึงโปรดฯ ให้สถาปนาเป็นเจ้าพระยา มีสมญาตามจารึกในหิรัญบัฏว่า เจ้าพระยาสุรพันธพิสุทธิ์ ชนุตมราชภักดี สกลเทพมนตรีมิตรจิตร สุจริตวราธยาไศรย เสนานุวัตรสมัยสมันตโกศล ยุติธรรมวิมลสัตยารักษ์ สุนทรศักดิ์วัฒนไวย อภัยพิริยพาหุ ดำรงศักดินา 10,000[1] ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า

เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ) สมรสกับท่านผู้หญิงอู่[2]ธิดาพระยาภักดีนฤบดินทร์ (กุ้ง วงศาโรจน์) หลานเจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์) เหลนของเจ้าพระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์) ซึ่งเป็นราชินิกุลสืบเชื้อสายมาจากท่านยายเจ้าเมือง พระปิตุจฉาพระองค์โตของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 1

ท่านมีบุตรธิดากับท่านผู้หญิงอู่ 14 คน ที่สำคัญได้แก่

  • พระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทียน บุนนาค)
  • พระยาสุรินทรฤๅชัย (เทียม บุนนาค)
  • พระสัจจาภิรมย์ (แถบ บุนนาค)

ธิดาอีก 5 คน ได้เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า "เจ้าจอมก๊กออ" คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน มีพระเจ้าลูกเธอ 2 พระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา และน้องสาวของเจ้าจอมมารดาอ่อน ได้แก่ เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน ส่วนธิดาอีก 3 คน ได้สมรสกับพี่น้องในตระกูลบุนนาคสายเดียวกันคือ คุณหญิงอิ่ม เป็นภรรยาพระยาศรีสัชนาลัย (เจิม บุนนาค) บุตรเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) คุณหญิงอบ เป็นภรรยาพระยาธรรมสารเนติ (ถึก บุนนาค) บุตรเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) และคุณหญิงอาย เป็นภรรยาพระยานิพัทธสุริยานุวงศ์ (เหม บุนนาค) บุตรเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)

นอกจากนี้เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ ยังมีบุตรธิดาอีกหลายคนกับภรรยาอื่น โดยบุตรที่มีบรรดาศักดิ์เป็นชั้นพระยา ได้แก่

  • พระยามหานุภาพ (ไท บุนนาค)
  • พระยาสุรพันธเสนี (อิ้น บุนนาค) ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี
  • พระยาพิชัยชาญฤทธิ์ (ฮก บุนนาค)

และบุตรบางคนยังได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระ จมื่น และหลวง เช่น

  • พระราชวิสูตรวิสุทธิรักษ์ (เชย บุนนาค)
  • พระภิรมย์เสนารักษ์ (โพล้ง บุนนาค)
  • พระสุรพันธาทิตย์ (ฮัก)
  • จมื่นมณเฑียรพิทักษ์ (เจิม บุนนาค)
  • หลวงภักดีบริรักษ์ (ชวน บุนนาค) ผู้ช่วยราชการจังหวัดเพชรบุรี
  • หลวงนาสาลี (เนียม บุนนาค) ข้าราชการเมืองเพชรบุรี
  • หลวงไอศูรย์สุทธิวิไชย (อิศร์ บุนนาค)
  • หลวงวิจิตรสุรพันธ์ (อุ่น บุนนาค)
  • หลวงสมานนันทพรรค (คลุ้ย บุนนาค)
  • หลวงวิจารณ์ภัณฑกิจ (แจ๋ว บุนนาค)
  • หลวงวิสูตรอัศดร (คลาย บุนนาค)

ส่วนธิดาที่เกิดแต่ภรรยาอื่น และได้เข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 ได้แก่ เจ้าจอมแก้ว ในรัชกาลที่ 5 และ เจ้าจอมแส ในรัชกาลที่ 5 ธิดาชื่อ หวน ได้เป็น หม่อมห้ามในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ ธิดาชื่อ คุณหญิงกุ่ม เป็นภรรยาพระยาชัยสุรินทร์ (ตาล บุนนาค) และธิดาชื่อ คุณหญิงขลิบ เป็นภรรยาพระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา)

เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) มีบุตรธิดารวม 62 คน บุตรหลายคนรับราชการปฏิบัติหน้าที่ตามหัวเมืองโดยเฉพาะจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่บิดาเคยรับราชการมาก่อน

เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ) ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อเวลา 10 ทุ่มเศษของวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2449 อายุ 66 ปี[3]

บุตรธิดา[แก้]

เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) มีบุตรธิดา ดังนี้
1. ท่านผู้หญิงอู่ ธิดาพระยาภักดีนฤบดินทร์ (กุ้ง วงศาโรจน์) มีบุตรธิดา 14 คน ได้แก่


2. ลำภู มีบุตร 1 คน ได้แก่

  • ขุนตำรวจเอกพระยามหานุภาพ (ไท บุนนาค)


3. ใย มีธิดา 1 คน ได้แก่

  • นางสาวเทียบ บุนนาค


4. พวง ธิดาพระยาสมุทสงคราม (โนรี วงศาโรจน์) มีบุตรธิดา 3 คน ได้แก่

  • นายพุ่ม มหาดเล็ก
  • นายพ่วง มหาดเล็ก
  • เจ้าจอมแก้ว ในรัชกาลที่ 5


5. แจ้ง มีบุตร 1 คน ได้แก่

  • พระราชวิสูตรวิสุทธิรักษ์ (เชย บุนนาค)


6. สุด ธิดาพระยาราชบุรี (กลั่น วงศาโรจน์) มีบุตร 2 คน ได้แก่

  • หลวงภักดีบริรักษ์ (ชวน บุนนาค)
  • หลวงมหาดไทย (เล็ก บุนนาค)


7. บาง มีบุตร 1 คน ได้แก่

  • พระภิรมย์เสนารักษ์ (โพล้ง บุนนาค)


8. จัน มีธิดา 1 คน ได้แก่

  • จอน ภรรยาขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น)


9. นวม มีธิดา 1 คน ได้แก่

  • นางสาวสั้น บุนนาค


10. จอน มีบุตร 1 คน ได้แก่

  • จมื่นมณเฑียรพิทักษ์ (เจิม บุนนาค)


11. บางเล็ก มีบุตรธิดา 3 คน ได้แก่

  • นางสาวเหลี่ยม บุนนาค
  • นายอ่อง มหาดเล็ก
  • หลวงวิจิตรสุรพันธ์ (อุ่น บุนนาค)


12. ปริก มีธิดา 1 คน ได้แก่

  • นางสาวอ้อน บุนนาค


13. หรั่ง มีบุตรธิดา 4 คน ได้แก่

  • นางสาวหริ่ง บุนนาค
  • หริ่ม ภรรยาพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทียน บุนนาค)
  • นางสาวหรุ่ม บุนนาค
  • นายเหลี่ยม มหาดเล็ก


14. น่วม มีบุตร 1 คน ได้แก่

  • หลวงนาสาลี (เนียม บุนนาค)


15. เป๋า ธิดาพระยาประสิทธิสงคราม (โป วงศาโรจน์) มีบุตร 1 คน ได้แก่

  • นายหาด มหาดเล็ก


16. เหม จากสกุลมหานนท์ มีบุตรธิดา 2 คน ได้แก่


17. อ้น มีบุตร 5 คน ได้แก่

  • นายอั้ง มหาดเล็ก
  • นายอุ้ง มหาดเล็ก
  • พระยาสุรพันธเสนี (อิ้น บุนนาค)
  • หลวงไอศูรย์สุทธิวิไชย (อิศร์ บุนนาค)
  • นายอัด มหาดเล็ก


18. เม้า หลานปู่พระยาราชบุรี (กลั่น วงศาโรจน์) มีบุตรธิดา 3 คน ได้แก่

  • พระยาพิชัยชาญฤทธิ์ (ฮก บุนนาค)
  • พระสุรพันธาทิตย์ (ฮัก)
  • นางสาวเหล็ง บุนนาค


19. คล้อย จากสกุลวัชโรบล มีบุตรธิดา 5 คน ได้แก่


20. ตลับ มีธิดา 1 คน ได้แก่

  • คุณหญิงไลย ภรรยาพระยาศรีสัชนาลัย (เจิม บุนนาค)


21. เลี่ยม มีธิดา 1 คน ได้แก่

  • นางสาวเมี้ยน บุนนาค


22. กิม มีธิดา 1 คน ได้แก่

  • คุณหญิงกุ่ม ภรรยาพระชัยสุรินทร์ (ตาล บุนนาค)


23. ทรัพย์ มีธิดา 1 คน ได้แก่


24. มอญ มีบุตร 1 คน ได้แก่


25. กล่อม มีธิดา 1 คน ได้แก่

  • กลม ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "สุพรรณ" ภรรยาพระมิตรกรรมรักษา (นัดดา บุรณศิริ)


26. ชัง มีบุตร 1 คน ได้แก่

  • นายชิน มหาดเล็ก


27. เมือง มีบุตร 1 คน ได้แก่

  • หลวงไอศูรย์สรรพการี (มิ่ง บุนนาค)


28. ย้อย มีบุตรธิดา 3 คน ได้แก่

  • นายหยัด มหาดเล็ก
  • นายหยด มหาดเล็ก
  • นางสาวหยุด บุนนาค


29. ทิพย์ มีบุตร 1 คน ได้แก่

  • นายทุ้ย มหาดเล็ก


30. ผาด มีธิดา 1 คน ได้แก่

  • นางสาวผุด บุนนาค


31. เผื่อน มีบุตร 1 คน และธิดา 2 คน แต่ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเยาว์
32. ขลิบ มีบุตร 1 คน ได้แก่

  • นายคลอบ มหาดเล็ก


33. ทิม มีธิดา 1 คน ได้แก่

  • นางสาวทับ บุนนาค


34. แปลก มีบุตร 1 คน ได้แก่

  • นายศรี มหาดเล็ก


35. แก้ว มีบุตร 1 คน ได้แก่

  • นายเกี้ยว มหาดเล็ก


36. หลี มีธิดา 1 คน ได้แก่

  • นางสาวหลิน บุนนาค


37. สุด มีธิดา 1 คน แต่ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเยาว์


38. พ่วง มีบุตร 1 คน ได้แก่

  • นายเพ่ง มหาดเล็ก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งเจ้าพระยา, เล่ม 14, หน้า 702-3
  2. ข่าวอสัญกรรม
  3. ข่าวอสัญกรรม
  4. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  5. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-06. สืบค้นเมื่อ 2020-07-05.
  6. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  7. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  8. พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 21, ตอน 32, 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447, หน้า 564