เขื่อนไซยะบุรี

พิกัด: 19°14′34.4″N 101°49′06.4″E / 19.242889°N 101.818444°E / 19.242889; 101.818444
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขื่อนไซยะบุรี
เขื่อนไซยะบุรีตั้งอยู่ในประเทศลาว
เขื่อนไซยะบุรี
ที่ตั้งของ เขื่อนไซยะบุรี ใน ประเทศลาว
ประเทศลาว
ที่ตั้งไชยบุรี
พิกัดภูมิศาสตร์19°14′34.4″N 101°49′06.4″E / 19.242889°N 101.818444°E / 19.242889; 101.818444
สถานะดำเนินการ
เริ่มการก่อสร้าง2555
วันที่เปิดดำเนินการตุลาคม 2562
มูลค่าการก่อสร้าง3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
เจ้าของXayaburi Power Company Limited
เขื่อนและทางน้ำล้น
ชนิดของเขื่อนRun-of-river concrete barrage[1]
ปิดกั้นแม่น้ำโขง
ความสูง32.6 m (107 ft)
ความยาว820 m (2,690 ft)
ชนิดของทางน้ำล้น10 x radial gates
ความจุของทางน้ำล้น3,980 m3/s (141,000 cu ft/s)
อ่างเก็บน้ำ
ปริมาตรกักเก็บน้ำ1.3 km3 (1,100,000 acre·ft)[2]
พื้นที่กักเก็บน้ำ272,000 km2 (105,000 sq mi)
พื้นที่ผิวน้ำ49 km2 (19 sq mi)
ชนิดของเขื่อนRun-of-river concrete barrage[1]
โรงไฟฟ้า
ผู้ดำเนินการXaraburi Power Co., Ltd.
ไฮดรอลิกเฮด18 m (59 ft) (rated)
กังหันน้ำEDL: 1 × 60 MW
EGAT: 7 x 175 MW
กําลังการผลิตติดตั้ง1,285 MW[2]
กำลังผลิตรายปี7,370 GWh
เว็บไซต์
www.xayaburi.com/index_eng.aspx

เขื่อนไซยะบุรี (ลาว: ເຂື່ອນໄຊຍະບູລີ) เป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำแบบน้ำไหลผ่านตลอดปี (run-of-river) สร้างกั้นแม่น้ำโขงตอนล่าง ตั้งอยู่ประมาณ 30 กิโลเมตรทางทิศตะวันออกของเมืองไชยบุรี ทางตอนเหนือของประเทศลาว ก่อสร้างโดยบริษัท ช. การช่าง จากประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจัดซื้อกระแสไฟฟ้าระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกับรัฐบาลลาว[3] การดำเนินการพาณิชย์เริ่มต้นในเดือนตุลาคม 2562 จุดประสงค์หลักของเขื่อนคือการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยรับซื้อ 95% ของปริมาณดังกล่าว[4] โครงการนี้เต็มไปด้วยกรณีอื้อฉาวเนื่องจากมีข้อร้องเรียนจากชาวบ้านที่อยู่ปลายน้ำและนักสิ่งแวดล้อม การก่อสร้างเบื้องต้นเริ่มต้นในต้นปี 2555 แต่การก่อสร้างเขือนถูกระงับชั่วคราวเนื่องจากกัมพูชาและเวียดนามคัดค้าน[5] หลังมีการเปลี่ยนการออกแบบ จึงเริ่มการก่อสร้างโดยมีพิธีการในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2555[6] ทั้งนี้ เขื่อนไซยะบุรีเป็นหนึ่งใน 11 เขื่อนที่วางแผนก่อสร้างกั้นแม่น้ำโขงตอนล่าง[7]

ประวัติ[แก้]

บริษัท ช. การช่าง ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับรัฐบาลลาวเพื่อทำการศึกษาสำรวจออกแบบเขื่อนไซยะบุรีในปี 2550 จากนั้นได้มีการลงนามสัญญาตกลงกับรัฐบาลลาวเพื่อพัฒนาโครงการในปี 2551 การก่อสร้างเริ่มขึ้นในปี 2555 แต่การก่อสร้างได้ชะงักลงเนื่องจากการประท้วงของรัฐบาลเวียดนามและกัมพูชาซึ่งอยู่ด้านใต้น้ำ ซึ่งเกรงว่าเขื่อนจะสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม[8] ผู้ออกแบบจึงได้ปรับรูปแบบของเขื่อนใหม่ให้มีทางขึ้นลงของปลาและการไหลของตะกอนใต้น้ำ รัฐบาลลาวได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555[6] และดำเนินการก่อสร้างต่อ

โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนไซยะบุรีใช้เงินทุนก่อสร้างทั้งสิ้นกว่า 135,000 ล้านบาท มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 1,285 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยกังหันน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารวม 8 ระบบ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 7,768 ล้านหน่วยต่อปี ไฟฟ้าที่ได้จากเขื่อนนี้ร้อยละ 92.5 จะจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าการผลิตแห่งประเทศไทยในอัตราเฉลี่ย 2.159 บาทต่อหน่วย และอีกร้อยละ 7.5 จำหน่ายให้รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว

การดำเนินงานพาณิชย์ของเขื่อนเริ่มต้นในเดือนตุลาคม 2562[9][10]

ผลกระทบ[แก้]

ปริมาณรับซื้อไฟฟ้าเกินความต้องการในประเทศจากเขื่อนทำให้ค่าไฟฟ้าในประเทศไทยแพงขึ้น[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Xayaburi Hydroelectric Power Project: Fast Facts". Xayaburi Power Company Ltd (XPCL). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-06. สืบค้นเมื่อ 25 July 2019.
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ damspec
  3. The Xayaburi Dam — A Looming Threat To The Mekong River (PDF). International Rivers. January 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-02-06.
  4. "Thai govt urged not to buy power from Laos dam". The Straits Times. 26 July 2019. สืบค้นเมื่อ 27 July 2019.
  5. "Construction forges ahead at Xayaburi Dam project". Bangkok Post. 22 July 2012.
  6. 6.0 6.1 Fisher, Jonah (5 November 2012). "Laos approves Xayaburi 'mega' dam on Mekong". BBC News. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 6 November 2012.
  7. "Thai state agencies likely to get away with Xayaburi Dam construction". Prachatai English. 2015-11-30. สืบค้นเมื่อ 1 December 2015.
  8. "Construction forges ahead at Xayaburi Dam project". Bangkok Post. 22 July 2012.
  9. Wipatayotin, Apinya (20 July 2019). "Dam tests spark crisis". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 20 July 2019.
  10. "CK gets B19bn environmental contract for Xayaburi dam". Bangkok Post. 18 May 2016. สืบค้นเมื่อ 13 July 2017.
  11. "ทุนไทยใน 'เขื่อนลาว' ปชช.แบกค่าไฟ ประโยชน์อยู่ไหน ?". VoiceTV. สืบค้นเมื่อ 21 October 2020.