ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอห้วยกระเจา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอห้วยกระเจา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Huai Krachao
โรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคม
โรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคม
คำขวัญ: 
แหล่งหนองนาทะเล เสน่ห์ไทยทรงดำ หัตถกรรมทอผ้า
พระปรางค์ล้ำค่าเขารักษ์ เลื่องลือนักวัวลาน
ถิ่นฐานรำแคน ดินแดนรำเหย่ย งามเอยประเพณีแห่เทียน
แผนที่จังหวัดกาญจนบุรี เน้นอำเภอห้วยกระเจา
แผนที่จังหวัดกาญจนบุรี เน้นอำเภอห้วยกระเจา
พิกัด: 14°19′38″N 99°40′0″E / 14.32722°N 99.66667°E / 14.32722; 99.66667
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาญจนบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด622.0 ตร.กม. (240.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด33,852 คน
 • ความหนาแน่น54.42 คน/ตร.กม. (140.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 71170
รหัสภูมิศาสตร์7113
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอห้วยกระเจา เลขที่ 399 ถนนบ่อพลอย-อู่ทอง หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยกระเจา อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี 71170
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ห้วยกระเจา เป็นอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพนมทวน แยกตั้งเป็นกิ่งอำเภอปี พ.ศ. 2537[1] และตั้งเป็นอำเภอลำดับที่ 13 ของทางจังหวัดปี พ.ศ. 2540[2] พร้อมกับอำเภอหนองปรือ

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอห้วยกระเจามีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ[แก้]

ท้องที่อำเภอเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพนมทวน เมื่อพื้นที่มีความกว้างขวางยากต่อการดูแล หม่อมหลวงภัคศุก กำภู ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี และนายพิศาล มูลศาสตรสาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศแยกหมู่ 3 บ้านสระลงเรือ รวมกับ 5 หมู่บ้านของตำบลดอนแสลบ ตั้งเป็น ตำบลสระลงเรือ ปี พ.ศ. 2527[3] และแยกหมู่ 4 บ้านวังไผ่ รวมกับ 7 หมู่บ้านของตำบลห้วยกระเจา ตั้งเป็น ตำบลวังไผ่ ปี พ.ศ. 2531[4]

ในปี พ.ศ. 2536 นายณัฏฐ์ ศรีวิหค ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี และนายชวลิต ยงใจยุทธ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้พิจารณาท้องที่ด้านเหนือ 4 ตำบลของอำเภอพนมทวนห่างไกลจากอำเภอสังกัดเฉลี่ย 25–26 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของชุมชน สถานีตำรวจ จึงพิจารณาให้ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ปี พ.ศ. 2537 จึงประกาศแยกพื้นที่ คือ ตำบลดอนแสลบ ตำบลห้วยกระเจา ตำบลสระลงเรือ ตำบลวังไผ่ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ[1]

โดยมีการใช้ชื่อกิ่งว่า "ห้วยกระเจา" เดิมเรียกว่า ห้วยกบเจ่า จากการที่บริเวณทิศตะวันออกของหมู่บ้านมีห้วยซึ่งมีกบเป็นจำนวนมากมานั่งจับเจ่าให้ชาวบ้านเห็นเป็นประจำ ชาวบ้านจึงเรียกลำห้วยว่า "ห้วยกบเจ่า" และเพี้ยนเสียงเป็น ห้วยกระเจา และเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 นายขวัญชัย วศวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี และนายชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีพิจารณาและยกฐานะกิ่งอำเภอห้วยกระเจา ขึ้นเป็นอำเภอ[2] โดยมีระยะเวลาการเป็นกิ่งอำเภอรวม 3 ปี 6 เดือน เป็นอำเภอล่าสุดของทางจังหวัดกาญจนบุรี

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอห้วยกระเจาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 73 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ห้วยกระเจา (Huai Krachao) 21 หมู่บ้าน
2. วังไผ่ (Wang Phai) 11 หมู่บ้าน
3. ดอนแสลบ (Don Salaep) 24 หมู่บ้าน
4. สระลงเรือ (Sa Long Ruea) 17 หมู่บ้าน
 

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอห้วยกระเจาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลห้วยกระเจา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยกระเจาทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลสระลงเรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระลงเรือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังไผ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแสลบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนแสลบทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอห้วยกระเจา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (42 ง): 12. วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2537
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองปรือ อำเภอห้วยกระเจา อำเภอทรายทองวัฒนา อำเภอปางศิลาทอง อำเภอเนินสง่า อำเภอนาทม อำเภอพระพรหม อำเภอแม่วงก์ อำเภอสองแคว อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอไทยเจริญ อำเภอกาบัง อำเภอพยุห์ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอภูพาน อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอนาวัง อำเภอพิบูลย์รักษ์ และอำเภอทุ่งศรีอุดม พ.ศ. ๒๕๔๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (50 ก): 24–27. วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2540
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่ามะกา อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (142 ง): 3663–3667. วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2527
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ่อพลอย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (234 ง): (ฉบับพิเศษ) 76-88. วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2531